![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7opIxS36mN4g2KuE5CfOgl0q2IOrkdCYkYFS6KE2MUmM6jlx0UPTSCNMmU_Ad0iGBBulb72hC-6Y1fhnNwQhYj_bhJWzrnzY2u7B1AZMgDoJIKGMhM0QOCI1dAn5aU8tZC_nHTmCeVTc1vRJErPoxfZFBfMGpBB8-LiE1AhGuNiemG8hrvPrPaA/w401-h210/GjFiyExa448888-1024x538.jpg)
6 กุมภาพันธ์ 2568
มติชนออนไลน์
‘ศิริกัญญา’ หวั่น คดี ‘พิรงรอง กสทช.’ ถูก จำคุก 2 ปี ทำกลไกตรวจสอบ-ถ่วงดุลสั่นสะเทือน ชี้ควรแก้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐ เหตุอาจผวาจนกระทบการทำหน้าที่ เผย ลือบีบลาออกแลกถอนฟ้องเป็นเรื่องจริง
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษา นางพิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ มีความผิดตามมาตรา 157 ให้มีโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในคดีระหว่างฝ่ายโจทก์ คือ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด และจำเลย คือ นางพิรงรอง รามสูต
โดย น.ส.ศิริกัญญา ระบุว่า กรณีนี้ทำให้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลสั่นสะเทือน เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้กำกับดูแล กลับถูกฟ้องในฐานะที่ถือว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยหน้าที่ตรงนั้น ก็ต้องมีการถกกันว่า ตกลงมีหรือไม่มี และอำนาจเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณาจริงๆ คือเจตนามากกว่า เนื่องจากต้องการคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภค
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อไปว่า เราจึงอยากเรียกร้องว่า ควรจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างกลไกคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่กำกับดูแล ไม่ใช่แค่เฉพาะ กสทช. แต่ยังมีหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
มติชนออนไลน์
‘ศิริกัญญา’ หวั่น คดี ‘พิรงรอง กสทช.’ ถูก จำคุก 2 ปี ทำกลไกตรวจสอบ-ถ่วงดุลสั่นสะเทือน ชี้ควรแก้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐ เหตุอาจผวาจนกระทบการทำหน้าที่ เผย ลือบีบลาออกแลกถอนฟ้องเป็นเรื่องจริง
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษา นางพิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ มีความผิดตามมาตรา 157 ให้มีโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในคดีระหว่างฝ่ายโจทก์ คือ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด และจำเลย คือ นางพิรงรอง รามสูต
โดย น.ส.ศิริกัญญา ระบุว่า กรณีนี้ทำให้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลสั่นสะเทือน เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้กำกับดูแล กลับถูกฟ้องในฐานะที่ถือว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยหน้าที่ตรงนั้น ก็ต้องมีการถกกันว่า ตกลงมีหรือไม่มี และอำนาจเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณาจริงๆ คือเจตนามากกว่า เนื่องจากต้องการคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภค
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อไปว่า เราจึงอยากเรียกร้องว่า ควรจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างกลไกคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่กำกับดูแล ไม่ใช่แค่เฉพาะ กสทช. แต่ยังมีหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
น.ส.ศิริกัญญากล่าวอีกว่า หากเราดูจากการที่ศาลตัดสินในวันนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดความหวาดกลัวว่า ในอนาคตหากจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างตามที่มีระบุในกฎหมาย จะถูกบริษัทเอกชนฟ้องร้องหรือไม่ และจะทำให้เขาสามารถปฏิบัติหน้าที่สร้างกลไกตรวจสอบกำกับดูแลได้อย่างเดิมได้หรือไม่
น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า กฎหมายที่จะช่วยในเรื่องนี้ เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ พรรคประชาชนได้ยื่นเข้าสู่สภาเรียบร้อยขณะนี้อยู่ในชั้นที่คณะกรรมาธิการกำลังพิจารณา เพื่อต่อต้านการฟ้องปิดปาก เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในวันนี้ ให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่ถูกฟ้องร้องในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อถามย้ำว่ามองว่าเป็นการฟ้องปิดปากใช่หรือไม่ น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า ใช่ คิดว่าเข้าข่ายกรณีฟ้องปิดปาก เพราะกระบวนการสามารถร้องเรียนได้ หากได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรมจากผู้ดูแล ซึ่งบริษัทเอกชนก็ใช้กลไกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เป็นช่องทางลัดขั้นตอน และเป็นไปเพื่อให้ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรองไม่สามารถเข้าร่วมในกลไก กสทช. ต่อจากนี้ และไม่สามารถเข้าไปพิจารณาได้แล้ว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า จากจำนวนคณะกรรมการ กสทช.เดิมมี 7 คน มีเสียงฝั่งประธานประมาณ 3 และเสียงข้างมากในฝ่ายนางพิรงรอง อีก 4 คน แต่ตอนนี้กลายเป็นเหลือ 3 ต่อ 3 เท่ากัน ซึ่งอาจทำให้การตัดสินใจต่างๆ มีความหมายมากขึ้น ไม่ได้ง่ายดายเหมือนที่ผ่านมา ส่วนผลที่ตามมาหลังจากนี้ ยังมีสิ่งที่เราต้องติดตามอยู่อีก และกรณีควบรวม ทรู-ดีแทค แล้ว คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ก็ยังติดตามความคืบหน้าอยู่ และเห็นว่ามีหลายมาตรการและเงื่อนไข เฉพาะภายหลังการอนุญาต หลายเรื่องก็ล่าช้ากว่ากำหนด อย่างการตั้งที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบค่าบริการ
น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า หากกลไกการกำกับดูแล เกิดชะงักงันขึ้นมา เนื่องจากอาจมีหลายคนผวาจากการถูกฟ้อง จะยิ่งทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ ก็ยิ่งล่าช้าเข้าไปอีก และตนไม่เชื่อว่าเป็นเฉพาะกรณีนี้ แต่กรณีควบรวม AIS-3BB ก็อาจจะซ้ำรอยด้วยเช่นเดียวกัน แม้จะเป็นเอกชนคนละราย แต่อาจทำให้องค์กรที่กำกับดูแล ทำการคุ้มครองผู้บริโภคย่อหย่อนลง
ส่วนกระแสข่าวมีการยื่นข้อเสนอให้ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรองลาออกจาก กสทช. แลกกับการถอนฟ้องในคดีนั้น น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า เท่าที่ได้ยินมา ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และน่าจะยิ่งกว่าคนใน ที่เป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อรองแลกถอนฟ้องกับการลาออกจาก กสทช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติ เนื่องจากดูเหมือนจะมีการรู้ล่วงหน้า ตั้งแต่วันก่อนหน้าวันตัดสินว่าผลตัดสินจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก เพราะไม่ควรมีใครล่วงรู้มาก่อน ตอนแรกตนเองก็ยังไม่อยากจะเชื่อ คิดว่าคงต่อรองแค่ให้ไม่สามารถเข้าร่วมการตัดสินใจได้เฉยๆ แต่ไม่คิดว่าผลการตัดสินจะเป็นไปตามที่ข่าวลือมา ทั้งนี้ เราคงทำได้เพียงตรวจสอบคู่ขนานกันไป เพราะเป็นขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และสิ่งที่ต้องเร่งคือเรื่องการทำกฎหมายต่อต้านการฟ้องปิดปากให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมถึงการแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับกิจการ OTT (Over the top) เพื่อควบคุมกำกับดูแลสื่อตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วย สำหรับเรื่องคำพิพากษา คงจะต้องมีการสู้ต่อไปในหลายชั้นศาล ทั้งอุทธรณ์และฎีกา คิดว่านางพิรงรองมีสิทธิในการต่อสู้คดีนี้จนถึงที่สุด
เมื่อถามว่า กสทช.คนอื่นๆ ควรจะออกมาแสดงท่าทีต่อกรณีบ้างหรือไม่ น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า เราอยากเห็นความเป็นปึกแผ่น ที่จะออกมาส่งเสียง และให้กำลังใจกัน เพราะของอย่างนี้ถ้าไม่เจอกับตัวก็คงไม่รู้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ตนก็กังวลและอยากให้กำลังใจกับ กสทช.ทุกคน ว่าอย่าเป็นกังวลมากเกินไป ยืนหยัดทำหน้าที่อยู่บนหลักการที่ถูกต้องดีกว่
https://www.matichon.co.th/politics/news_5036863
ศาลตัดสินให้จำคุกอ.พิรงรอง 2 ปี แบบไม่รอลงอาญา หากยื่นประกันตัวไม่ได้ ก็จะหลุดจากการเป็นบอร์ดกสทช.ทันที
— Sirikanya Tansakun (@SirikanyaTansa1) February 6, 2025
การฟ้องคดีแบบนี้เข้าข่ายคดีประเภทที่เรียกว่าการฟ้องปิดปาก หรือ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) ซึ่งเป็นวิธีที่จะปิดปากไม่ให้คนวิพากษ์วิจารณ์… https://t.co/i1UVZ5TXKd
Sirikanya Tansakun
@SirikanyaTansa1
ศาลตัดสินให้จำคุกอ.พิรงรอง 2 ปี แบบไม่รอลงอาญา หากยื่นประกันตัวไม่ได้ ก็จะหลุดจากการเป็นบอร์ดกสทช.ทันที
การฟ้องคดีแบบนี้เข้าข่ายคดีประเภทที่เรียกว่าการฟ้องปิดปาก หรือ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) ซึ่งเป็นวิธีที่จะปิดปากไม่ให้คนวิพากษ์วิจารณ์ โดยปกติจะเป็นการฟ้องหมิ่นประมาท แต่ในกรณีนี้ เป็นการฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่เป็น regulator ว่าประพฤติมิชอบ โดยใช้อำนาจโดยมีอคติและไม่เป็นกลาง
เพื่อกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลสามารถทำงานได้ เราจำเป็นต้องมีกลไกการคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ โดยขณะนี้ ปปช. กำลังทำร่างกฎหมายต่อต้านการฟ้องปิดปาก หรือ anti-slapp ที่จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และขณะนี้กฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา
แต่กว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ เอกชนก็สามารถยับยั้งไม่ให้องค์กรอิสระสามารถทำงานได้อย่างเข้มแข็งได้สำเร็จไปแล้ว