![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgnAPOMvBegWeanA8Kbq_HcvHLDNzKhPVCpEyji3cYcvuHcDjK45Cv834xA-wjEy-Eb-LP7Qhjrn1wFWyC5vMViK40wEFXHLlQexACdiO9qLgRQxE0JMN4_-wr5FTX1QsiPDXSFbpd1v_zFnOOs0HtmSRJEFNbi8ifyCi5TbX7iZmHL2DmmnvXp0A/w399-h499/Infographic_nbct_1.jpg)
ยังคงเป็นคำถามสำหรับคดีที่เกิดขึ้นกับ “ศ.กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต” กรรมการ กสทช. ว่า สุดท้ายผลแห่งคำพิพากษาที่เกิดขึ้นนั้น จะกลายเป็นอุปสรรคในกระบวนการ “คุ้มครองผู้บริโภค” ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ? เมื่อการออกมาปกป้องผู้บริโภค กลายเป็นเป้าหมายของการถูกดำเนินคดีเสียเอง
‘คุ้มครองผู้บริโภค’ แบบไหน ? ในวันที่กลไกรัฐอ่อนแรง แต่เอกชนมีอำนาจต่อรอง
8 กุมภาพันธ์ 2025
โดย พีรดนย์ ภาคีเนตร
ธนธร จิรรุจิเรข
GRAPHIC DESIGNER
ย้อนมองกลไก กสทช. คุ้มครองผู้บริโภคแค่ไหน ?
The Active ได้สืบค้นสถิติเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค แยกตามประเภทกิจการ นับตั้งแต่ปี 2552 – 2567 ที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้ พบตัวเลขการร้องเรียนสูงถึง 40,387 กรณี จากข้อมูลดังกล่าว บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ถูกระบุว่ามีจำนวนการร้องเรียนสูงสุดที่ 5,477 กรณี ตามมาด้วย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ที่ 5,302 กรณี และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ 5,082 กรณี
เฉพาะปี 2567 ที่ผ่านมามียอดการร้องเรียนทั้งสิ้น 1,088 กรณี แบ่งเป็น เครือ AIS มีจำนวนร้องเรียนสูงสุดที่ 326 เรื่อง (29.96%) เครือ TRUE ตามมาเป็นอันดับที่สอง มี 231 เรื่อง (27.67%) เครือ DTAC อยู่ในอันดับที่สาม มี 193 เรื่อง (17.74%)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhNQX6V_ttr0uO76-hm_fSJMQSSFXZW2ystu8Iasbiz1Qs3JR3nBHn5O_wAavYWpS_Du0XjUGeYF5lZLkkItAm4vivr8Fg60JdL9ANFmbRxSQ7XBPm2m0iQUnTlIF0wIEIUUgwagKkiune2j_jd0jwI8qVtroh0gYHP1LJmgpmowGsSWGov30I0gw/w393-h491/Infographic_nbct_2.jpg)
นอกเหนือจากกรณีที่ผู้บริโภคร้องเรียนถึงบริษัทผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมแล้ว ที่ผ่านมา กสทช. ก็ยังมีบทบาทการกำกับดูแลสื่อที่สังคมให้ความสนใจ กว่าจะมาถึงกรณีล่าสุดในคดีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง
31 มี.ค. 57 – กสทช. ปรับ บ.บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ 500,000 บาท กรณีรายการ ไทยแลนด์ ก็อททาเล้นท์ ซีซั่น 3 มีเนื้อหาไม่เหมาะสม กลุ่มผู้ร้องชี้เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผ่านกรณี ‘สิทธัตถะ เอมเมอรัล’
28 มี.ค. 60 – กสทช. สั่งปิด วอยซ์ทีวี 7 วัน จากเดิม 3 วัน ฐานเสนอเนื้อหากระทบความมั่นคงและประกาศของทาง คสช. และอีกหลายกรณีของวอยซ์ทีวีหลังจากนั้นอีก
23 ก.ย. 64 – กสทช. สั่งให้ทุกค่ายมือถือบล็อก SMS เนื้อหาหลอกลวง เว็บพนัน หรืออนาจาร
20 ต.ค. 65 – กสทช. รับทราบการควบรวม ทรู-ดีแทค โดยกำหนดเงื่อนไขการควบรวม เช่น การลดเพดานค่าบริการ 12% ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟ้องคดีปกครอง ขอให้เพิกถอนมติ กสทช.
9 พ.ย. 65 – กสทช. อนุมัติ 600 ล้าน สนับสนุนฟรีทีวีถ่ายทอด ฟุตบอลโลก 2022
10 พ.ย. 66 – กสทช. อนุญาตให้ AIS ควบรวม 3BB ด้วยมติ 4 ต่อ 1
27 พ.ค. 67 – กสทช. สั่ง ช่อง 3 ระงับ โหนกระแส 1 วัน ให้ปรับปรุงมาตรฐานเนื้อหา โดยในวันนั้น (7 มิ.ย. 67) รายการถูกปรับผังเป็นโหนกระป๋อง แทน
16 ม.ค. 68 – กสทช.ขีดเส้น OPPO-Realme ลบแอปฯ กู้เงิน 16 ม.ค. 68 สั่งหยุดจำหน่ายสินค้าหากพบแอปฯ ยังอยู่ ชี้ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนหากถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
6 ก.พ. 68 – ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาจำคุก ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. 2 ปี ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกใน TrueID ต่อมาได้รับการประกันตัว
การที่ กสทช. เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและเผยแพร่ข้อมูลสถิติการร้องเรียนเช่นนี้ ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วย ถ่วงดุลและกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เมื่อมีการเปิดเผยตัวเลขร้องเรียน ผู้ให้บริการที่ถูกระบุจำนวนร้องเรียนจะถูกตรวจสอบและกดดันให้ปรับปรุงคุณภาพบริการ นอกจากนี้ กสทช. สามารถใช้ข้อมูลร้องเรียนเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
เอกชนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐเข้าข่าย SLAPP ?
นพ.ประวิทย์ ยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงของตนเองก่อนเป็น กสทช. ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เคยถูกเอกชนฟ้องร้องในคดีแพ่ง กล่าวหาว่า การทำหน้าที่ของตนละเมิดสิทธิของเอกชน อย่างไรก็ตาม ศาลยกฟ้องเนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีฟ้องแพ่งโดยตรง
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการใดที่อาจกระทบเอกชน ฝ่ายเอกชนอาจใช้สิทธิทางกฎหมายในการดำเนินคดี แม้จะฟ้องร้องทางแพ่งโดยตรงไม่ได้ แต่ยังสามารถดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งนำไปสู่คำถามสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเจ้าหน้าที่รัฐและประโยชน์สาธารณะ
“เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีใครอยากถูกฟ้องร้อง เพราะนอกจากต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางกฎหมาย ยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทางคดี เช่น ค่าทนาย ค่าพยาน และค่าเดินทาง ถึงแม้จะชนะคดี แต่เจ้าหน้าทีก็ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ลักษณะการดำเนินคดีเช่นนี้ เข้าข่ายการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ (Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP) ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐอาจเลือกไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง แม้ว่าจะเป็นหน้าที่ในการพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชน หากเจ้าหน้าที่รัฐหลีกเลี่ยงการทำงานที่กระทบเอกชน ประโยชน์ของสังคมโดยรวมอาจถูกละเลย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWw-cWMdqi-QGtvsMKbDsPDKKqsTqg0FRfaTnhNv2EiK2737K9hGUpYdUFD6GDrO2q7JjnHxjXAbUkKLU-GSUimvP2cHkQsrst7udaeCPl6gwL6V4LLds_-SXLrqBaevUVwsb4Tbj5s4xFCxlWTHwfn1IBei_Cg47r7c3KKw6u-hS45XfZauh8RQ/w395-h222/TSNBg3wSBdng7ijM75S9OgLkF93yhszykFqYkNDJjda.jpg)
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช.
กลไกคุ้มครองผู้บริโภครัฐอ่อนกำลัง
เมื่อเอกชนมีอำนาจต่อรองสูงกว่า
แม้กฎหมายเอื้อให้ กสทช. มีอำนาจจัดการกับ SMS คิดเงินโดยไม่ได้สมัคร มีมาตั้งแต่ปี 2553 ผ่านมา 15 ปี แต่ปัญหานี้ยังคงอยู่ ทุกวันนี้ผู้บริโภคยังได้รับ SMS ดูดวง หรือข้อความแปลก ๆ ที่คิดค่าบริการโดยไม่ได้สมัครใช้งาน คำถามคือ ทำไม ? กสทช. ยังแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ ทั้งที่กฎหมายมีอยู่แล้ว คำตอบส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเกรงจะกระทบกับเอกชน ซึ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่า
นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่ นพ.ประวิทย์ ชี้ว่า มาตรฐานของ กสทช. ที่กำหนดว่า เมื่อผู้บริโภคโทร.ไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการโทรคมนาคม จะต้องมีพนักงานรับสายภายใน 60 วินาที แต่ในความเป็นจริง ผู้บริโภคกลับต้องฟังเพลง ฟังโฆษณา หรือโปรโมชันก่อน กว่าจะได้คุยกับพนักงานก็เสียเวลานานและอาจต้องเสียค่าโทร. แต่เมื่อบริษัทโทรคมนาคม รายงานต่อ กสทช. กลับบอกว่า ไม่มีใครรอสายเกิน 60 วินาที ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า
“เราเชื่อข้อมูลนี้เพราะเป็นข้อเท็จจริง
หรือเพราะไม่มีข้อมูลตรวจสอบ
หรืออาจเพราะไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งกับเอกชน”
ตอกย้ำเอกชนไม่ให้ความสำคัญหน่วยงานกำกับดูแล
สอดคล้องกับมุมมองของ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ยอมรับว่า การฟ้องร้องอย่างกรณีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง จะกลายเป็นอุปสรรคในการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะนี่คือการดำเนินคดีที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหน่วยงานที่ควรจะปกป้องผู้บริโภค ไม่ใช่กลายเป็นเป้าหมายของการดำเนินคดีเสียเอง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEitfafIdL22i6G8W85cpGxFyXCpRNhrtWAQwnT2BVzlRZGZXht84SjNNmLYjTu1NdJptAVtKLvpeh3UHO8OG7jePV6o0Y0TDzyg5s3dc7zdsXYO_aREObHKtHT9ER5M3C95HChv_8qQf4SKAHGcMC7jEaZ6R27r1ncBNtB58c20NGW3fp9iFM9_iw/w398-h265/IMG_1688-1131x754-1-1024x683.jpeg)
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค
โดยที่ผ่านมา เราเคยทำงานเชิงรูปธรรมในการช่วยเหลือผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่ไม่เคยเจอกรณีที่คำพิพากษาตัดสินว่า เราผิดแบบนี้เลย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระด้านการคุ้มครองผู้บริโภคถูกฟ้องร้องเอง ก็สะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลเลย และที่สำคัญคือในกรณีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง ศาลตัดสินโดยไม่รอลงอาญา ทั้งที่เป็นการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ์ของประชาชน
“คำพิพากษาไม่ได้พูดถึงประโยชน์สาธารณะเลย ทำให้คนที่ทำงานด้านนี้รู้สึกไม่ปลอดภัย เกรงว่าจะถูกฟ้องร้องหากออกมาปกป้องสิทธิของผู้บริโภค”
เดินหน้าหากลไกปกป้องคนคุ้มครองผู้บริโภค
การมีกฎหมายเพื่อปกป้องคนที่ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นอีกกลไกที่ เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เชื่อว่า จะช่วยให้คนที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภคกลายเป็นเหยื่อเสียเอง ปัจจุบันมีความพยายามผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่ต้องเร่งให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ดังนั้นเรื่องนี้ควรเป็นสิ่งที่พรรคการเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของระบบคุ้มครองผู้บริโภคทั้งประเทศ
“เราไม่ควรปล่อยให้คนที่ทำหน้าที่นี้
ต้องมาเสี่ยงถูกฟ้องร้องหรือถูกลงโทษแบบนี้”
ชวนสังคมร่วมทำหน้าที่ตรวจสอบ ปกป้องผลประโยชน์ผู้บริโภค
เช่นเดียวกับ อดีตกรรมการ กสทช. ที่เสนอว่า หากเกิดคดีลักษณะเดียวกันในอนาคต สังคมควรช่วยกันตรวจสอบและตีแผ่ข้อเท็จจริงก่อนที่เรื่องจะเข้าสู่กระบวนการศาล เพื่อพิจารณาว่าเป็นการฟ้องร้องโดยสุจริต หรือเป็นการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ (Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP)
ทางออกของปัญหานี้ คือ การที่สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบตั้งแต่ต้น ก่อนที่คดีจะเข้าสู่กระบวนการศาล หากพบว่า เป็นการฟ้องเพื่อปิดปาก หรือข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ควรมีการตีแผ่ข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เพราะเมื่อเกิดแรงกดดันจากสังคม จะช่วยให้การพิจารณาคดีดำเนินไปด้วยความรอบคอบมากขึ้น สื่อต้องทำหน้าที่ของตน ไม่ใช่เพียงมาจับตาในวันตัดสินคดีเท่านั้น แต่ต้องติดตามตั้งแต่ต้น ว่าคดีนั้นเกิดจากอะไร มีมูลความจริงแค่ไหน และเป็นการใช้กฎหมายเพื่อคุกคามหรือไม่
“ผมไม่ได้ต้องการก้าวล่วงการตัดสินของศาล คดีนี้จะเป็นอย่างไรก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในอนาคต หากเกิดกรณีลักษณะเดียวกัน สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะหากไม่มีใครกล้าปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ เพียงเพราะกลัวจะถูกฟ้องร้องหรือถูกดำเนินคดี สุดท้ายแล้วผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือประชาชนเอง“
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ทางแก้ไขที่เสนอในกรณีนี้คือ การเปิดโอกาสให้มีการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคประชาสังคม นักวิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ หากมีการดำเนินการที่ไม่สุจริตหรือมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ องค์กรต่าง ๆ จะสามารถมีบทบาทในการตรวจสอบและช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐจากการถูกแทรกแซงจากเอกชนได้
การทำงานของ กสทช. ควรโปร่งใส ข้อมูลต้องเปิดเผยและเข้าถึงได้ ยกเว้นในกรณีข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลลักษณะนี้เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น จริง ๆ แล้วกฎหมายไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวมีมากมาย การปกปิดข้อมูลเหล่านั้นไม่จำเป็น หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้สื่อมวลชนหรือประชาชนได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้ กสทช. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
การให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกำกับดูแลจะเป็นการสร้างความชัดเจนและยุติธรรมในการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดำเนินการตามหลักการสุจริตและกล้าทำสิ่งที่ถูกต้องในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค และร่วมมือกันคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์สาธารณะให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้นในสังคม
https://theactive.thaipbs.or.th/data/nbtc-and-consumer-protection-mechanisms
‘คุ้มครองผู้บริโภค’ แบบไหน ? ในวันที่กลไกรัฐอ่อนแรง แต่เอกชนมีอำนาจต่อรอง
8 กุมภาพันธ์ 2025
โดย พีรดนย์ ภาคีเนตร
ธนธร จิรรุจิเรข
GRAPHIC DESIGNER
อภิวรรณ หวังเจริญไพศาล
The Active Thai PBS
กรณี ศาสตราจารย์กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตลิ่งชัน พิพากษาจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในความผิดมาตรา 157 กรณีออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับโฆษณาแทรกบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ทรูไอดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เข้าข่ายจงใจกลั่นแกล้ง ก่อนจะได้รับการประกันตัวเพื่อสู้คดีต่อในชั้นอุทธรณ์นั้น
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สร้างอารมณ์ร่วมให้กับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคำถามว่า การทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในบทบาทของ กสทช. ทำไม ? จึงกลายเป็นความผิด แล้วกลไกของ กสทช. นับจากนี้จะสามารถทำงานควบคุม ตรวจสอบได้ตามบทบาทหน้าที่แค่ไหน ?
The Active ชวนหาคำอธิบายปรากฎการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้นกับ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช. โดยชี้ว่า เรื่องนี้เป็นคดีอาญาที่เอกชนฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง ซึ่งปกติแล้ว กรณีที่เป็นคดีแพ่ง เจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และหากจะฟ้องต้องฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ฟ้องตัวบุคคล
ปัญหานี้เริ่มจากการที่มีผู้ชมร้องเรียนมายัง กสทช. ว่า ขณะรับชมรายการผ่านแอปพลิเคชัน พบว่า มีโฆษณาแทรกเข้ามาในรายการที่ออกอากาศทางฟรีทีวี ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบมาก่อนแล้ว ต่อมา กสทช. ได้ส่งเรื่องไปยังอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านโทรทัศน์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากการตรวจสอบ พบว่า แอปพลิเคชันที่ให้บริการแพร่ภาพโทรทัศน์ไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาตโดยตรง แต่เป็นการนำรายการไปออกอากาศ ซึ่งขัดกับเงื่อนไขของผู้ให้บริการฟรีทีวี ที่ต้องไม่เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น กสทช. จึงออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังสถานีโทรทัศน์ทุกช่องให้ระมัดระวังในการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน
ข้อพิพาทสำคัญของคดี
ประเด็นสำคัญที่เป็นข้อถกเถียงในคดีนี้ คือ แอปพลิเคชันสามารถนำเนื้อหาฟรีทีวีไปเผยแพร่ได้หรือไม่ ? และหากทำได้ จะสามารถดัดแปลงหรือแทรกโฆษณาเพิ่มเติมได้หรือไม่ ?
นพ.ประวิทย์ อธิบายว่า โดยทั่วไป หากเป็นการออกอากาศผ่านดาวเทียม หรือ IPTV จะไม่สามารถดัดแปลงโฆษณาได้ เช่น หากช่องใดมีโฆษณาก็ต้องออกอากาศตามเดิม หรือหากเป็นช่องไทยพีบีเอสที่ไม่มีโฆษณา ก็ต้องออกอากาศโดยไม่มีโฆษณาเช่นกัน ดังนั้น ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ แอปพลิเคชันมีสิทธิ์ดัดแปลงโฆษณาหรือไม่ ? ซึ่งเป็นจุดที่ยังต้องมีการถกเถียงทางกฎหมาย
กรณีนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างบทบาทของ สำนักงาน กสทช. และ กรรมการ กสทช. โดยสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ที่ออกหนังสือแจ้งเตือน และหนังสือฉบับนี้ยังคงมีผลอยู่ ไม่เคยถูกเพิกถอน อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวเป็นเพียง “หนังสือแจ้งเตือน” ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย และไม่ได้กำหนดโทษหากไม่ปฏิบัติตาม เป้าหมายของหนังสือนี้คือการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการอนุญาตที่มีมาแต่เดิม ไม่ใช่การกำหนดเงื่อนไขใหม่
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ คดีนี้เป็นคดีอาญา ซึ่งสามารถอุทธรณ์และฎีกาได้ หมายความว่า ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาอย่างไร ก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของคดี เมื่อศาลตัดสินว่า จำเลยมีความผิด จำเลยก็สามารถอุทธรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญไทย ผู้ถูกกล่าวหาถือเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งล่าสุด ศ.กิตติคุณ พิรงรอง ได้ยื่นขอประกันตัวเพื่อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ และต่อมาได้รับการประกันตัว ด้วยหลักทรัพย์ค้ำประกัน 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ จึงทำให้ตำแหน่งกรรมการ กสทช. ไม่ได้รับผลกระทบ
The Active Thai PBS
กรณี ศาสตราจารย์กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตลิ่งชัน พิพากษาจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในความผิดมาตรา 157 กรณีออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับโฆษณาแทรกบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ทรูไอดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เข้าข่ายจงใจกลั่นแกล้ง ก่อนจะได้รับการประกันตัวเพื่อสู้คดีต่อในชั้นอุทธรณ์นั้น
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สร้างอารมณ์ร่วมให้กับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคำถามว่า การทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในบทบาทของ กสทช. ทำไม ? จึงกลายเป็นความผิด แล้วกลไกของ กสทช. นับจากนี้จะสามารถทำงานควบคุม ตรวจสอบได้ตามบทบาทหน้าที่แค่ไหน ?
The Active ชวนหาคำอธิบายปรากฎการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้นกับ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช. โดยชี้ว่า เรื่องนี้เป็นคดีอาญาที่เอกชนฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง ซึ่งปกติแล้ว กรณีที่เป็นคดีแพ่ง เจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และหากจะฟ้องต้องฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ฟ้องตัวบุคคล
ปัญหานี้เริ่มจากการที่มีผู้ชมร้องเรียนมายัง กสทช. ว่า ขณะรับชมรายการผ่านแอปพลิเคชัน พบว่า มีโฆษณาแทรกเข้ามาในรายการที่ออกอากาศทางฟรีทีวี ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบมาก่อนแล้ว ต่อมา กสทช. ได้ส่งเรื่องไปยังอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านโทรทัศน์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากการตรวจสอบ พบว่า แอปพลิเคชันที่ให้บริการแพร่ภาพโทรทัศน์ไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาตโดยตรง แต่เป็นการนำรายการไปออกอากาศ ซึ่งขัดกับเงื่อนไขของผู้ให้บริการฟรีทีวี ที่ต้องไม่เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น กสทช. จึงออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังสถานีโทรทัศน์ทุกช่องให้ระมัดระวังในการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน
ข้อพิพาทสำคัญของคดี
ประเด็นสำคัญที่เป็นข้อถกเถียงในคดีนี้ คือ แอปพลิเคชันสามารถนำเนื้อหาฟรีทีวีไปเผยแพร่ได้หรือไม่ ? และหากทำได้ จะสามารถดัดแปลงหรือแทรกโฆษณาเพิ่มเติมได้หรือไม่ ?
นพ.ประวิทย์ อธิบายว่า โดยทั่วไป หากเป็นการออกอากาศผ่านดาวเทียม หรือ IPTV จะไม่สามารถดัดแปลงโฆษณาได้ เช่น หากช่องใดมีโฆษณาก็ต้องออกอากาศตามเดิม หรือหากเป็นช่องไทยพีบีเอสที่ไม่มีโฆษณา ก็ต้องออกอากาศโดยไม่มีโฆษณาเช่นกัน ดังนั้น ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ แอปพลิเคชันมีสิทธิ์ดัดแปลงโฆษณาหรือไม่ ? ซึ่งเป็นจุดที่ยังต้องมีการถกเถียงทางกฎหมาย
กรณีนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างบทบาทของ สำนักงาน กสทช. และ กรรมการ กสทช. โดยสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ที่ออกหนังสือแจ้งเตือน และหนังสือฉบับนี้ยังคงมีผลอยู่ ไม่เคยถูกเพิกถอน อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวเป็นเพียง “หนังสือแจ้งเตือน” ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย และไม่ได้กำหนดโทษหากไม่ปฏิบัติตาม เป้าหมายของหนังสือนี้คือการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการอนุญาตที่มีมาแต่เดิม ไม่ใช่การกำหนดเงื่อนไขใหม่
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ คดีนี้เป็นคดีอาญา ซึ่งสามารถอุทธรณ์และฎีกาได้ หมายความว่า ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาอย่างไร ก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของคดี เมื่อศาลตัดสินว่า จำเลยมีความผิด จำเลยก็สามารถอุทธรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญไทย ผู้ถูกกล่าวหาถือเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งล่าสุด ศ.กิตติคุณ พิรงรอง ได้ยื่นขอประกันตัวเพื่อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ และต่อมาได้รับการประกันตัว ด้วยหลักทรัพย์ค้ำประกัน 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ จึงทำให้ตำแหน่งกรรมการ กสทช. ไม่ได้รับผลกระทบ
ย้อนมองกลไก กสทช. คุ้มครองผู้บริโภคแค่ไหน ?
The Active ได้สืบค้นสถิติเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค แยกตามประเภทกิจการ นับตั้งแต่ปี 2552 – 2567 ที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้ พบตัวเลขการร้องเรียนสูงถึง 40,387 กรณี จากข้อมูลดังกล่าว บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ถูกระบุว่ามีจำนวนการร้องเรียนสูงสุดที่ 5,477 กรณี ตามมาด้วย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ที่ 5,302 กรณี และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ 5,082 กรณี
เฉพาะปี 2567 ที่ผ่านมามียอดการร้องเรียนทั้งสิ้น 1,088 กรณี แบ่งเป็น เครือ AIS มีจำนวนร้องเรียนสูงสุดที่ 326 เรื่อง (29.96%) เครือ TRUE ตามมาเป็นอันดับที่สอง มี 231 เรื่อง (27.67%) เครือ DTAC อยู่ในอันดับที่สาม มี 193 เรื่อง (17.74%)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhNQX6V_ttr0uO76-hm_fSJMQSSFXZW2ystu8Iasbiz1Qs3JR3nBHn5O_wAavYWpS_Du0XjUGeYF5lZLkkItAm4vivr8Fg60JdL9ANFmbRxSQ7XBPm2m0iQUnTlIF0wIEIUUgwagKkiune2j_jd0jwI8qVtroh0gYHP1LJmgpmowGsSWGov30I0gw/w393-h491/Infographic_nbct_2.jpg)
นอกเหนือจากกรณีที่ผู้บริโภคร้องเรียนถึงบริษัทผู้ให้บริการทางโทรคมนาคมแล้ว ที่ผ่านมา กสทช. ก็ยังมีบทบาทการกำกับดูแลสื่อที่สังคมให้ความสนใจ กว่าจะมาถึงกรณีล่าสุดในคดีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง
31 มี.ค. 57 – กสทช. ปรับ บ.บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ 500,000 บาท กรณีรายการ ไทยแลนด์ ก็อททาเล้นท์ ซีซั่น 3 มีเนื้อหาไม่เหมาะสม กลุ่มผู้ร้องชี้เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผ่านกรณี ‘สิทธัตถะ เอมเมอรัล’
28 มี.ค. 60 – กสทช. สั่งปิด วอยซ์ทีวี 7 วัน จากเดิม 3 วัน ฐานเสนอเนื้อหากระทบความมั่นคงและประกาศของทาง คสช. และอีกหลายกรณีของวอยซ์ทีวีหลังจากนั้นอีก
23 ก.ย. 64 – กสทช. สั่งให้ทุกค่ายมือถือบล็อก SMS เนื้อหาหลอกลวง เว็บพนัน หรืออนาจาร
20 ต.ค. 65 – กสทช. รับทราบการควบรวม ทรู-ดีแทค โดยกำหนดเงื่อนไขการควบรวม เช่น การลดเพดานค่าบริการ 12% ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟ้องคดีปกครอง ขอให้เพิกถอนมติ กสทช.
9 พ.ย. 65 – กสทช. อนุมัติ 600 ล้าน สนับสนุนฟรีทีวีถ่ายทอด ฟุตบอลโลก 2022
10 พ.ย. 66 – กสทช. อนุญาตให้ AIS ควบรวม 3BB ด้วยมติ 4 ต่อ 1
27 พ.ค. 67 – กสทช. สั่ง ช่อง 3 ระงับ โหนกระแส 1 วัน ให้ปรับปรุงมาตรฐานเนื้อหา โดยในวันนั้น (7 มิ.ย. 67) รายการถูกปรับผังเป็นโหนกระป๋อง แทน
16 ม.ค. 68 – กสทช.ขีดเส้น OPPO-Realme ลบแอปฯ กู้เงิน 16 ม.ค. 68 สั่งหยุดจำหน่ายสินค้าหากพบแอปฯ ยังอยู่ ชี้ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนหากถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
6 ก.พ. 68 – ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาจำคุก ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. 2 ปี ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกใน TrueID ต่อมาได้รับการประกันตัว
การที่ กสทช. เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและเผยแพร่ข้อมูลสถิติการร้องเรียนเช่นนี้ ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วย ถ่วงดุลและกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เมื่อมีการเปิดเผยตัวเลขร้องเรียน ผู้ให้บริการที่ถูกระบุจำนวนร้องเรียนจะถูกตรวจสอบและกดดันให้ปรับปรุงคุณภาพบริการ นอกจากนี้ กสทช. สามารถใช้ข้อมูลร้องเรียนเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
เอกชนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐเข้าข่าย SLAPP ?
นพ.ประวิทย์ ยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงของตนเองก่อนเป็น กสทช. ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เคยถูกเอกชนฟ้องร้องในคดีแพ่ง กล่าวหาว่า การทำหน้าที่ของตนละเมิดสิทธิของเอกชน อย่างไรก็ตาม ศาลยกฟ้องเนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐในกรณีฟ้องแพ่งโดยตรง
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการใดที่อาจกระทบเอกชน ฝ่ายเอกชนอาจใช้สิทธิทางกฎหมายในการดำเนินคดี แม้จะฟ้องร้องทางแพ่งโดยตรงไม่ได้ แต่ยังสามารถดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งนำไปสู่คำถามสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเจ้าหน้าที่รัฐและประโยชน์สาธารณะ
“เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีใครอยากถูกฟ้องร้อง เพราะนอกจากต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางกฎหมาย ยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทางคดี เช่น ค่าทนาย ค่าพยาน และค่าเดินทาง ถึงแม้จะชนะคดี แต่เจ้าหน้าทีก็ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปกับกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ลักษณะการดำเนินคดีเช่นนี้ เข้าข่ายการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ (Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP) ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐอาจเลือกไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง แม้ว่าจะเป็นหน้าที่ในการพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชน หากเจ้าหน้าที่รัฐหลีกเลี่ยงการทำงานที่กระทบเอกชน ประโยชน์ของสังคมโดยรวมอาจถูกละเลย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWw-cWMdqi-QGtvsMKbDsPDKKqsTqg0FRfaTnhNv2EiK2737K9hGUpYdUFD6GDrO2q7JjnHxjXAbUkKLU-GSUimvP2cHkQsrst7udaeCPl6gwL6V4LLds_-SXLrqBaevUVwsb4Tbj5s4xFCxlWTHwfn1IBei_Cg47r7c3KKw6u-hS45XfZauh8RQ/w395-h222/TSNBg3wSBdng7ijM75S9OgLkF93yhszykFqYkNDJjda.jpg)
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการ กสทช.
กลไกคุ้มครองผู้บริโภครัฐอ่อนกำลัง
เมื่อเอกชนมีอำนาจต่อรองสูงกว่า
แม้กฎหมายเอื้อให้ กสทช. มีอำนาจจัดการกับ SMS คิดเงินโดยไม่ได้สมัคร มีมาตั้งแต่ปี 2553 ผ่านมา 15 ปี แต่ปัญหานี้ยังคงอยู่ ทุกวันนี้ผู้บริโภคยังได้รับ SMS ดูดวง หรือข้อความแปลก ๆ ที่คิดค่าบริการโดยไม่ได้สมัครใช้งาน คำถามคือ ทำไม ? กสทช. ยังแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ ทั้งที่กฎหมายมีอยู่แล้ว คำตอบส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเกรงจะกระทบกับเอกชน ซึ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่า
นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่ นพ.ประวิทย์ ชี้ว่า มาตรฐานของ กสทช. ที่กำหนดว่า เมื่อผู้บริโภคโทร.ไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการโทรคมนาคม จะต้องมีพนักงานรับสายภายใน 60 วินาที แต่ในความเป็นจริง ผู้บริโภคกลับต้องฟังเพลง ฟังโฆษณา หรือโปรโมชันก่อน กว่าจะได้คุยกับพนักงานก็เสียเวลานานและอาจต้องเสียค่าโทร. แต่เมื่อบริษัทโทรคมนาคม รายงานต่อ กสทช. กลับบอกว่า ไม่มีใครรอสายเกิน 60 วินาที ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า
“เราเชื่อข้อมูลนี้เพราะเป็นข้อเท็จจริง
หรือเพราะไม่มีข้อมูลตรวจสอบ
หรืออาจเพราะไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งกับเอกชน”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ปัญหาบางอย่างสามารถแก้ไขได้ง่าย แต่กลับถูกปล่อยทิ้งไว้นานนับสิบปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกังวลต่ออำนาจของภาคเอกชนและต้นทุนในการต่อสู้คดีของหน่วยงานรัฐ การฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายอนุญาตให้ฟ้องตรงต่อศาลอาญาคดีทุจริต เดิมทีคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 157 เรื่องการละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จะต้องผ่านกระบวนการไต่สวนและตรวจสอบพยานหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ป.ป.ช. แต่เมื่อลดขั้นตอน กลายเป็นว่าคดีสามารถไปถึงศาลได้ทันที นำไปสู่การใช้กฎหมายเป็น ทางลัด เพื่อเล่นงานเจ้าหน้าที่รัฐ
ปัญหานี้ควรเป็นเรื่องที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องให้ความสนใจ อาจต้องมีมาตรการกลั่นกรองคดีให้รอบคอบก่อนรับฟ้อง หรือมีระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้ง ไม่ใช่เพื่อปิดกั้นสิทธิของผู้เสียหายที่แท้จริง แต่เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายถูกใช้เพื่อทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่อย่างสุจริต สังคมต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ และต้องช่วยกันตรวจสอบว่า คดีที่เกิดขึ้นเป็นการปกป้องสิทธิอย่างถูกต้อง หรือเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้าม
ในโลกที่หมุนเร็ว กสทช. ต้องปรับตัว
ในอดีต โทรทัศน์ฟรีทีวีที่รับชมผ่านเครื่องรับโทรทัศน์เป็นสื่อหลักของประชาชน แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมการรับชมเปลี่ยนไปอย่างมาก จากการดูผ่านดาวเทียมในช่วงกลาง มาเป็นการรับชมผ่านสมาร์ททีวี มือถือ และแท็บเล็ต ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าถึงแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริการสตรีมมิ่ง อินเทอร์เน็ตทีวี หรือแพลตฟอร์มสมัครสมาชิกอย่าง Netflix, Disney+ และ HBO สิ่งที่ตามมาคือคำถามว่า กสทช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบทบาทกำกับดูแลแค่ไหน ?
ในขณะที่กฎหมายเดิมกำหนดให้ผู้ประกอบการฟรีทีวีในไทยต้องจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 25% แต่บริการสตรีมมิ่งจากต่างประเทศสามารถเข้าถึงผู้ชมไทยได้โดยตรง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการถือหุ้น นั่นหมายความว่า ผู้บริโภคสามารถรับชมเนื้อหาที่มาจากต่างประเทศโดยไม่มีการกลั่นกรองหรือกำกับดูแลในลักษณะเดียวกับฟรีทีวี สิ่งนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมไทยโดยไม่รู้ตัว
นพ.ประวิทย์ จึงระบุถึงปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ แนวทางการกำกับดูแลแพลตฟอร์มใหม่เหล่านี้ควรเป็นอย่างไร ? ควรควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อปกป้องศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ หรือควรปล่อยให้เสรีเพื่อไม่ให้ประชาชนเสียโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาจากทั่วโลก ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่มีฉากโป๊เปลือยหรือความรุนแรงสามารถออกอากาศบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้อย่างเสรี แต่กลับถูกห้ามบนฟรีทีวี ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ให้บริการสองกลุ่ม
กสทช. ชุดที่ผ่านมาได้มีมติว่ามีอำนาจในการกำกับดูแลสื่อประเภทนี้ แต่ยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ปล่อยให้เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศแพร่กระจายโดยไม่มีการควบคุม
“ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ หากมีการออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด เอกชนอาจไม่พอใจและยื่นฟ้องรัฐ ซึ่งอาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลเกิดความลังเลที่จะบังคับใช้กฎหมาย หรือออกกฎเพิ่มเติม เพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องร้อง นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เอกชนสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเครื่องมือยับยั้งการดำเนินงานของรัฐได้”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
กรรมการ กสทช. มีความผิด จากการปฏิบัติหน้าที่
แล้วหลังจากนี้เจอ ‘เกียร์ว่าง’ กลไกตรวจสอบ
จากคดีที่เกิดขึ้นกับ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง นั้นในมุมมองของ นพ.ประวิทย์ ยอมรับว่า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้นและอาจเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นจำเลยในคดีลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐมีการจำกัดมากขึ้น หรือมีการหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจกระทบกับผลประโยชน์ของเอกชนเกินไป สุดท้ายอาจทำให้เอกชนมีอำนาจในการแทรกแซงหรือข่มขู่โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
กรณีที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเตือนว่า ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการใด ๆ ที่อาจกระทบเอกชน ฝ่ายเอกชนก็สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายในการดำเนินคดี แม้ว่าท้ายที่สุดแล้วศาลจะยกฟ้อง แต่ความยุ่งยากและภาระที่ต้องแบกรับก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความลังเลในการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเอกชน
“นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางครั้งเจ้าหน้าที่รัฐจึงเลือกที่จะ ปล่อยเกียร์ว่าง เพราะการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอาจนำมาซึ่งการถูกดำเนินคดี ในขณะที่การเพิกเฉยต่อปัญหาอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งต้องแลกมาด้วยผลเสียต่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม”
ปัญหาบางอย่างสามารถแก้ไขได้ง่าย แต่กลับถูกปล่อยทิ้งไว้นานนับสิบปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกังวลต่ออำนาจของภาคเอกชนและต้นทุนในการต่อสู้คดีของหน่วยงานรัฐ การฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายอนุญาตให้ฟ้องตรงต่อศาลอาญาคดีทุจริต เดิมทีคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 157 เรื่องการละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จะต้องผ่านกระบวนการไต่สวนและตรวจสอบพยานหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ป.ป.ช. แต่เมื่อลดขั้นตอน กลายเป็นว่าคดีสามารถไปถึงศาลได้ทันที นำไปสู่การใช้กฎหมายเป็น ทางลัด เพื่อเล่นงานเจ้าหน้าที่รัฐ
ปัญหานี้ควรเป็นเรื่องที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องให้ความสนใจ อาจต้องมีมาตรการกลั่นกรองคดีให้รอบคอบก่อนรับฟ้อง หรือมีระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้ง ไม่ใช่เพื่อปิดกั้นสิทธิของผู้เสียหายที่แท้จริง แต่เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายถูกใช้เพื่อทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่อย่างสุจริต สังคมต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ และต้องช่วยกันตรวจสอบว่า คดีที่เกิดขึ้นเป็นการปกป้องสิทธิอย่างถูกต้อง หรือเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้าม
ในโลกที่หมุนเร็ว กสทช. ต้องปรับตัว
ในอดีต โทรทัศน์ฟรีทีวีที่รับชมผ่านเครื่องรับโทรทัศน์เป็นสื่อหลักของประชาชน แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมการรับชมเปลี่ยนไปอย่างมาก จากการดูผ่านดาวเทียมในช่วงกลาง มาเป็นการรับชมผ่านสมาร์ททีวี มือถือ และแท็บเล็ต ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าถึงแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริการสตรีมมิ่ง อินเทอร์เน็ตทีวี หรือแพลตฟอร์มสมัครสมาชิกอย่าง Netflix, Disney+ และ HBO สิ่งที่ตามมาคือคำถามว่า กสทช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบทบาทกำกับดูแลแค่ไหน ?
ในขณะที่กฎหมายเดิมกำหนดให้ผู้ประกอบการฟรีทีวีในไทยต้องจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 25% แต่บริการสตรีมมิ่งจากต่างประเทศสามารถเข้าถึงผู้ชมไทยได้โดยตรง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการถือหุ้น นั่นหมายความว่า ผู้บริโภคสามารถรับชมเนื้อหาที่มาจากต่างประเทศโดยไม่มีการกลั่นกรองหรือกำกับดูแลในลักษณะเดียวกับฟรีทีวี สิ่งนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมไทยโดยไม่รู้ตัว
นพ.ประวิทย์ จึงระบุถึงปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ แนวทางการกำกับดูแลแพลตฟอร์มใหม่เหล่านี้ควรเป็นอย่างไร ? ควรควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อปกป้องศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ หรือควรปล่อยให้เสรีเพื่อไม่ให้ประชาชนเสียโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาจากทั่วโลก ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่มีฉากโป๊เปลือยหรือความรุนแรงสามารถออกอากาศบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้อย่างเสรี แต่กลับถูกห้ามบนฟรีทีวี ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ให้บริการสองกลุ่ม
กสทช. ชุดที่ผ่านมาได้มีมติว่ามีอำนาจในการกำกับดูแลสื่อประเภทนี้ แต่ยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ปล่อยให้เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศแพร่กระจายโดยไม่มีการควบคุม
“ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ หากมีการออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด เอกชนอาจไม่พอใจและยื่นฟ้องรัฐ ซึ่งอาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลเกิดความลังเลที่จะบังคับใช้กฎหมาย หรือออกกฎเพิ่มเติม เพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องร้อง นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เอกชนสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเครื่องมือยับยั้งการดำเนินงานของรัฐได้”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
กรรมการ กสทช. มีความผิด จากการปฏิบัติหน้าที่
แล้วหลังจากนี้เจอ ‘เกียร์ว่าง’ กลไกตรวจสอบ
จากคดีที่เกิดขึ้นกับ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง นั้นในมุมมองของ นพ.ประวิทย์ ยอมรับว่า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้นและอาจเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นจำเลยในคดีลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐมีการจำกัดมากขึ้น หรือมีการหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจกระทบกับผลประโยชน์ของเอกชนเกินไป สุดท้ายอาจทำให้เอกชนมีอำนาจในการแทรกแซงหรือข่มขู่โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
กรณีที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเตือนว่า ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการใด ๆ ที่อาจกระทบเอกชน ฝ่ายเอกชนก็สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายในการดำเนินคดี แม้ว่าท้ายที่สุดแล้วศาลจะยกฟ้อง แต่ความยุ่งยากและภาระที่ต้องแบกรับก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความลังเลในการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเอกชน
“นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางครั้งเจ้าหน้าที่รัฐจึงเลือกที่จะ ปล่อยเกียร์ว่าง เพราะการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอาจนำมาซึ่งการถูกดำเนินคดี ในขณะที่การเพิกเฉยต่อปัญหาอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งต้องแลกมาด้วยผลเสียต่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ตอกย้ำเอกชนไม่ให้ความสำคัญหน่วยงานกำกับดูแล
สอดคล้องกับมุมมองของ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ยอมรับว่า การฟ้องร้องอย่างกรณีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง จะกลายเป็นอุปสรรคในการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะนี่คือการดำเนินคดีที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหน่วยงานที่ควรจะปกป้องผู้บริโภค ไม่ใช่กลายเป็นเป้าหมายของการดำเนินคดีเสียเอง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEitfafIdL22i6G8W85cpGxFyXCpRNhrtWAQwnT2BVzlRZGZXht84SjNNmLYjTu1NdJptAVtKLvpeh3UHO8OG7jePV6o0Y0TDzyg5s3dc7zdsXYO_aREObHKtHT9ER5M3C95HChv_8qQf4SKAHGcMC7jEaZ6R27r1ncBNtB58c20NGW3fp9iFM9_iw/w398-h265/IMG_1688-1131x754-1-1024x683.jpeg)
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค
โดยที่ผ่านมา เราเคยทำงานเชิงรูปธรรมในการช่วยเหลือผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่ไม่เคยเจอกรณีที่คำพิพากษาตัดสินว่า เราผิดแบบนี้เลย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระด้านการคุ้มครองผู้บริโภคถูกฟ้องร้องเอง ก็สะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลเลย และที่สำคัญคือในกรณีของ ศ.กิตติคุณ พิรงรอง ศาลตัดสินโดยไม่รอลงอาญา ทั้งที่เป็นการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ์ของประชาชน
“คำพิพากษาไม่ได้พูดถึงประโยชน์สาธารณะเลย ทำให้คนที่ทำงานด้านนี้รู้สึกไม่ปลอดภัย เกรงว่าจะถูกฟ้องร้องหากออกมาปกป้องสิทธิของผู้บริโภค”
สารี อ๋องสมหวัง
เดินหน้าหากลไกปกป้องคนคุ้มครองผู้บริโภค
การมีกฎหมายเพื่อปกป้องคนที่ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นอีกกลไกที่ เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เชื่อว่า จะช่วยให้คนที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภคกลายเป็นเหยื่อเสียเอง ปัจจุบันมีความพยายามผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่ต้องเร่งให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ดังนั้นเรื่องนี้ควรเป็นสิ่งที่พรรคการเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของระบบคุ้มครองผู้บริโภคทั้งประเทศ
“เราไม่ควรปล่อยให้คนที่ทำหน้าที่นี้
ต้องมาเสี่ยงถูกฟ้องร้องหรือถูกลงโทษแบบนี้”
สารี อ๋องสมหวัง
ชวนสังคมร่วมทำหน้าที่ตรวจสอบ ปกป้องผลประโยชน์ผู้บริโภค
เช่นเดียวกับ อดีตกรรมการ กสทช. ที่เสนอว่า หากเกิดคดีลักษณะเดียวกันในอนาคต สังคมควรช่วยกันตรวจสอบและตีแผ่ข้อเท็จจริงก่อนที่เรื่องจะเข้าสู่กระบวนการศาล เพื่อพิจารณาว่าเป็นการฟ้องร้องโดยสุจริต หรือเป็นการใช้กฎหมายเพื่อข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ (Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP)
ทางออกของปัญหานี้ คือ การที่สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบตั้งแต่ต้น ก่อนที่คดีจะเข้าสู่กระบวนการศาล หากพบว่า เป็นการฟ้องเพื่อปิดปาก หรือข่มขู่เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ควรมีการตีแผ่ข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เพราะเมื่อเกิดแรงกดดันจากสังคม จะช่วยให้การพิจารณาคดีดำเนินไปด้วยความรอบคอบมากขึ้น สื่อต้องทำหน้าที่ของตน ไม่ใช่เพียงมาจับตาในวันตัดสินคดีเท่านั้น แต่ต้องติดตามตั้งแต่ต้น ว่าคดีนั้นเกิดจากอะไร มีมูลความจริงแค่ไหน และเป็นการใช้กฎหมายเพื่อคุกคามหรือไม่
“ผมไม่ได้ต้องการก้าวล่วงการตัดสินของศาล คดีนี้จะเป็นอย่างไรก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในอนาคต หากเกิดกรณีลักษณะเดียวกัน สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะหากไม่มีใครกล้าปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ เพียงเพราะกลัวจะถูกฟ้องร้องหรือถูกดำเนินคดี สุดท้ายแล้วผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือประชาชนเอง“
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ทางแก้ไขที่เสนอในกรณีนี้คือ การเปิดโอกาสให้มีการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคประชาสังคม นักวิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ หากมีการดำเนินการที่ไม่สุจริตหรือมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ องค์กรต่าง ๆ จะสามารถมีบทบาทในการตรวจสอบและช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐจากการถูกแทรกแซงจากเอกชนได้
การทำงานของ กสทช. ควรโปร่งใส ข้อมูลต้องเปิดเผยและเข้าถึงได้ ยกเว้นในกรณีข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลลักษณะนี้เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น จริง ๆ แล้วกฎหมายไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวมีมากมาย การปกปิดข้อมูลเหล่านั้นไม่จำเป็น หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้สื่อมวลชนหรือประชาชนได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้ กสทช. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
การให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกำกับดูแลจะเป็นการสร้างความชัดเจนและยุติธรรมในการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดำเนินการตามหลักการสุจริตและกล้าทำสิ่งที่ถูกต้องในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค และร่วมมือกันคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์สาธารณะให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้นในสังคม
https://theactive.thaipbs.or.th/data/nbtc-and-consumer-protection-mechanisms