Charnvit Kasetsiri
8h
·
ในนามของ progress without development
แม่น้ำโขง คงไม่รอด
สามัญชนคนธรรมดา 2 ฟากฝั่ง ก้อคงไม่รอดเช่นกัน
...
Jay Pattajit Tangsinmunkong
August 9
·
“เขื่อน คือ เครื่องมือสร้างความมั่งคั่งระดับประเทศ แต่แลกมากับความเป็นชายขอบและความยากจนยิ่งกว่าของคนริมฝั่งน้ำ”
.
กนกวรรณ มะโนรมย์. (2022). ภววิทยาแม่น้ำโขง (Mekong Ontology). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์
.
อ่านเล่มนี้เพราะจะไปลง field ที่อุบลเดือนหน้ากับอาจารย์กนกวรรณ เลยอ่านเพื่อเตรียมความรู้ให้ตัวเองได้เข้าใจความซับซ้อนของเขื่อนและแม่โขง
.
หนังสือเล่มนี้พยายามเข้าใจพลวัตและความสัมพันธ์ระหว่าง แม่น้ำโขง เขื่อน มนุษย์ในระดับและกลุ่มที่หลากหลาย และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น เวินเพาะและถ้ำพัก เรือ สีแม่น้ำโขง ความรู้ของชาวบ้าน ปลา คนหาปลา ชีวิตประจำวัน ความเชื่อ โดยเสนอว่า งานในสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ส่วนใหญ่ มักมองมนุษย์เป็นผู้ครองอำนาจ มนุษย์เป็นผู้ให้ความหมายกับสรรพสิ่ง แต่งานชิ้นนี้เสนอว่าการมองแบบนี้ให้น้ำหนักมนุษย์มากเกินไป จึงใช้ concept "ontological turn" มาอธิบายการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง หรือการเป็น (Being) ของสรรพสิ่งทั้งที่เป็นคนและไม่ใช่คนอย่างไร้เส้นแบ่ง
.
วัตถุไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัวรอให้มนุษย์เข้ามาตีความ "มนุษย์ไม่ได้เหนือกว่าสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์" "และสรรพสิ่งล้วนมีความหมาย" การมองวัตถุเป็นผู้ประกอบสร้าง ทำให้เรามองเห็นถึงความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ระหว่างมนุษย์กับวัตถุ และมนุษย์กับธรรมชาติ
.
ส่วนที่รู้สึกว้าวของหนังสือ น่าจะเป็นส่วนที่เสนอว่า สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับแม่โขงเป็นผลจากการประกอบสร้างจากวาทกรรมการพัฒนา ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นสะท้อนการคัดง้างกันของวาทกรรมที่มีต่อแม่น้ำโขงและเขื่อน และข้อพิพาทนั้นก็สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมอีกทีนึง
.
นักวิทยาศาสตร์ นิยามแม่โขงว่า "แม่น้ำที่มีความสมบูรณ์ทางกายภาพและชีวภาพ"
นักการเมือง รัฐบาล นักลงทุน มองแม่โขงว่าเป็น "แม่น้ำที่ทำงานได้" (working river)
ภาคประชาสังคมมองแม่โขงว่าเป็น "แม่น้ำมีตัวตนและรูปร่างเพื่อชีวิตของคนในชุมชนและความมั่นคงทางอาหาร"
บริบททางประวัติศาสต์ที่ฝรั่งเศสเข้ามาจัดการแม่น้ำโขงช่วงล่าอาณานิยม ที่อเมริกาเข้ามาให้เงินสร้างเขื่อนใน SEA จำนวนมากช่วงสงครามเย็น ทำให้แม่น้ำกลายเป็นพรมแดน กลายเป็นทรัพยากร ทำให้เกิดองค์กรจัดการน้ำขึ้นมาจำนวนมาก และทำให้ความหมายของแม่น้ำโขงเปลี่ยนไป ปัจจุบัน แม่น้ำโขงกลายเป็น just another battleground ของสงครามการทูตของมหาอำนาจ ที่ช่วงชิงการควบคุมแม่น้ำระหว่าง GMS ที่ริเริ่มโดยอเมริกากับ LMC ที่นำโดยจีน
.
ในขณะเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ก็คลี่ให้เราเห็นคำถามมากมายเกี่ยวกับมายาคติเรื่องการสร้างเขื่อน
เขื่อน คือ เทคโนโลยีที่ถูกสร้างเพื่อควบคุมแม่น้ำ หรือ เทคโนโลยีของการคุกคามธรรมชาติของระบบนิเวศแม่น้ำ
เขื่อน คือ ผู้ที่ทำให้แม่น้ำทันสมัย สัญลักษณ์ของการพัฒนา หรือ ผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม
.
คนให้ทุนมักเรียกเขื่อนว่า "การพัฒนาสีเขียว" โดยอ้างว่า เขื่อนให้ประโยชน์ ธนาคารโลกเสนอว่า "การสร้างแม่น้ำที่ทันสมัยด้วยการมี "เขื่อนที่ดี" จะลดความยากจน ไม่ทำลายชุมชนและระบบนิเวศ มีการคิดค้นเทคนิคหลากหลาย เช่นบันไดปลาโจนขึ้นมา โดยอ้างว่าลดผลกระทบต่อการอพยพของปลา
.
แต่วาทกรรมสวยหรูตั้งใจลืมไปว่า คน 80 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นจากการสร้างเขื่อนทั่วโลก ถูกผลักไสสู่ความลำบากและยากจนกว่าเดิม ซึ่งคนเหล่านี้ ไม่ได้แม่แต่ถูกนับรวมอยู่ในคำนิยามของ"คนยากจน" ในหลาย ๆ ประเทศด้วยซ้ำ รวมทั้งประเทศไทยที่มักมองความยากจนว่ามาจากพฤติกรรมส่วนบุคคล ไม่ใช่โครงสร้าง
.
ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่าเคยเรียนว่า บันไดปลาโจนมีประโยชน์ยังไง แต่ไม่เคยอัพเดตความรู้หลังจากนั้นเลย ว่าจริง ๆ แล้วมันแทบไม่มีประสิทธิภาพในการอพยพของปลา
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 การสร้างเขื่อนเริ่มพบกับการต่อต้าน เพราะเขื่อนสร้างความยากจนและเหลื่อมล้ำ ต้นทุนทางชีวภาพและทางของสังคมของการพัฒนาสูงกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเทียบไม่ได้
.
แต่การประเมินผลกระทบของเขื่อนไม่ได้ตรงไปตรงมา ในหลายครั้ง การสร้างเขื่อนขึ้นกับอำนาจของกลุ่มคน ขึ้นอยู่กับการเมือง คนที่ได้ประโยชน์ คือนายทุน ชนชั้นนำ คนที่ต้องแบกรับต้นทุนคือ คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ...สุดท้ายแล้วก็หนีไม่พ้นเรื่องของอำนาจที่ไม่เท่าเทียม
.
ประโยคที่ชอบที่สุดในหนังสือเล่มนี้ ที่รู้สึกว่าสรุปใจความสำคัญได้ดีเหลือเกิน
“น้ำของ (ภาษาพูดของน้ำโขง) ถูกใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนส่วนน้อยบางกลุ่มพร้อมกับการกีดกันและผลักไสคนจำนวนมาก สร้างความขัดแย้งและท้ายที่สุด คนจำนวนมากที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงกลับกลายเป็นกลุ่มคนไร้อำนาจต่อรอง และเป็นผู้ต้องแบกรับต้นทุนจากการทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นแม่น้ำแห่งความทันสมัยด้วยเขื่อนพลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีทางผ่านของปลา และระบบชลประทานผันน้ำขนาดใหญ่ (pp.77-78)”
.
รัฐ นายทุนไทยและนานาชาติ..."นำเม็ดเงิน ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีเข้ามาซ่อมแซมความด้อยพัฒนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง...แต่กระบวนการดังกล่าวมาพร้อมกับ...การเบียดขับและการพรากสิทธิ์...จากคนในท้องถิ่นที่ใช้ทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพ"
.
อ่านเล่มนี้แล้ว ทำให้เราต้องย้ำกับตัวเองว่าเราไม่ควรลดทอนความหมายของแม่โขงว่าเป็นเพียงพื้นที่การแย่งชิงอำนาจนำของมหาอำนาจ (แบบที่เราชอบทำโดยไม่รู้ตัวในคลาสที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แต่ต้องไม่ลืมความจริงที่ว่าแม่น้ำมีชีวิต ให้ชีวิตและประทังชีวิตคนจำนวนมาก...ในขณะเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ก็ทำให้รู้สึกไร้อำนาจต่อรอง เพราะแม้ว่าคนที่ต้องแบกรับต้นทุนคือ คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ...แต่สุดท้ายแล้วเสียงใครจะดังกว่า ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการเมือง และอำนาจต่อรองของประเทศในเวทีโลกที่ความเท่าเทียมไม่เคยมีอยู่จริง
.
แต่หนังสือเล่มนี้ก็เปิดพื้นที่ให้กับคำถามที่ว่า
ภายใต้ความจริงที่ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่อาจย้อนกลับ ภายใต้ความจริงที่เสียงของคนตัวเล็กมักถูกมองข้ามโดยการเมืองระดับประเทศ
ภายใต้ความจริงที่ว่าประเทศเล็ก ๆ คงไม่มีวันคัดง้างกับประเทศมหาอำนาจได้
คำถามที่สำคัญกว่าอาจจะเป็น “แล้วเราจะปรับตัวเข้าหาความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร”