สุรพศ ทวีศักดิ์
13h ·
การเผชิญหน้าระหว่าง "เก่า-ใหม่"
หลังจากฟังศาลอ่านคำตัดสินคดี 112 จำคุกโฟล์ค 2 ปี ไม่รอลงอาญา (อยู่ระหว่างขอประกันตัว) ผมกอดอำลาโฟลค์ เขาพูดเบาๆ ว่า "อาจารย์อย่าลืมมาเยี่ยมผมนะ" ผมยืนมองเขาถูกเจ้าหน้าที่ศาลคุมตัวเดินจากไปจนลับตา แล้วเข้าไปเยี่ยมอานนท์ในห้องพิจารณาคดี 112 อีกคดี
เท่าที่ฟังจากเหตุผลของศาลที่ตัดสินจำคุกโฟล์ค และจากคำให้การของพยานโจทก์คดีอานนท์ ผมรู้สึกว่า "ศาลคือเวทีปะทะขัดแย้งทางความคิดเก่ากับใหม่" อย่างชัดเจน
ความคิดเก่าคือ ศรัทธา/ความเชื่อแบบก่อนยุคสมัยใหม่ที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้" อันเป็นความเชื่อหรือศรัทธาแบบพราหมณ์-พุทธที่ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ผลคือ ทำให้ความคิดแบบสมัยใหม่ เช่น สิทธิ เสรีภาพ และอื่นๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถูกกดทับให้อยู่ภายใต้ความคิดความเชื่อหรือศรัทธาแบบเก่านั้น
ดังนั้น ความคิดเก่าหรือศรัทธาความเชื่อแบบเก่าที่บัญญัติใน รธน. จึงเป็น #ศรัทธาความเชื่อที่ถูกบังคับโดยอำนาจรัฐ เพราะเป็นความเชื่อหรือศรัทธาที่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย
ดังเช่น พยายานโจทย์พูดตอนหนึ่งว่า "ในเมื่อมันมีกฎหมายแบบนี้อยู่ (หมายถึงมี รธน.บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละมิดมิได้" และมี 112 อยู่) จำเลยไปพูดแบบนั้นมันก็ต้องผิดกฎหมายสิ ถ้าอยากพูดแบบนั้นได้ก็ต้องแก้กฎหมายให้ได้ก่อน"
แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับพยานโจทก์หลายๆ เรื่อง แต่นี่คือข้อเท็จจริงว่า "เมื่อมีกฎหมายบังคับศรัทธาอยู่" และมีกฎหมาย เช่น 112 เป็นต้นเอาผิด "การล่วงละเมิด" หรือ "การแสดงออกที่ไม่เคารพสักการะ" ซึ่งตีความได้กว้างครอบจักรวาลมาก ก็ย่อมจะมีการฟ้อง และการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้อยู่ ดังเห็นได้ในคำพิพากษาคดี 112 ที่มีการโยง รธน.มาตรา 6 กับ 112 ซ้ำๆ บ่อยครั้งมาก
ขณะที่คนที่โดน 112 คือคนที่ยืนยัน "คุณค่าสมัยใหม่" คือสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นคนเท่ากัน ฯลฯ แต่ใน "เวทีศาล" คือการต่อสู้หักล้างกันด้วยการอ้างเรื่องตัวบทกฎหมาย พยาน หลักฐานที่สามารถตีความให้เข้าหรือไม่เข้า "ข่าย" ความผิดตามกฎหมายบัญญัติไว้ ทว่ามันมีคุณค่าหรือการบังคับศรัทธาความเชื่อแบบก่อนสมัยใหม่อยู่ในตัวบทกฎหมายที่ไม่ถูกตั้งคำถามว่าขัดกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และมันมีคุณค่าสมัยใหม่อยู่เบื้องหลังของคำพูด ข้อความที่จำเลยปราศรัยหรือแสดงออก แต่คุณค่านั้นกลับ "เบาหวิว" ไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังได้เลย
#อานนท์ฝากมา อยากให้สื่อ นักวิชาการพูดถึงปัญหา 112 และการนิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 ต่อไป แม้จะยังไม่ชนะ แต่ไม่ควรปล่อยให้สังคมลืมปัญหานี้ไป
(ดูข่าวประกอบ https://prachatai.com/journal/2023/10/106423)
หลังจากฟังศาลอ่านคำตัดสินคดี 112 จำคุกโฟล์ค 2 ปี ไม่รอลงอาญา (อยู่ระหว่างขอประกันตัว) ผมกอดอำลาโฟลค์ เขาพูดเบาๆ ว่า "อาจารย์อย่าลืมมาเยี่ยมผมนะ" ผมยืนมองเขาถูกเจ้าหน้าที่ศาลคุมตัวเดินจากไปจนลับตา แล้วเข้าไปเยี่ยมอานนท์ในห้องพิจารณาคดี 112 อีกคดี
เท่าที่ฟังจากเหตุผลของศาลที่ตัดสินจำคุกโฟล์ค และจากคำให้การของพยานโจทก์คดีอานนท์ ผมรู้สึกว่า "ศาลคือเวทีปะทะขัดแย้งทางความคิดเก่ากับใหม่" อย่างชัดเจน
ความคิดเก่าคือ ศรัทธา/ความเชื่อแบบก่อนยุคสมัยใหม่ที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้" อันเป็นความเชื่อหรือศรัทธาแบบพราหมณ์-พุทธที่ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ผลคือ ทำให้ความคิดแบบสมัยใหม่ เช่น สิทธิ เสรีภาพ และอื่นๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถูกกดทับให้อยู่ภายใต้ความคิดความเชื่อหรือศรัทธาแบบเก่านั้น
ดังนั้น ความคิดเก่าหรือศรัทธาความเชื่อแบบเก่าที่บัญญัติใน รธน. จึงเป็น #ศรัทธาความเชื่อที่ถูกบังคับโดยอำนาจรัฐ เพราะเป็นความเชื่อหรือศรัทธาที่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย
ดังเช่น พยายานโจทย์พูดตอนหนึ่งว่า "ในเมื่อมันมีกฎหมายแบบนี้อยู่ (หมายถึงมี รธน.บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละมิดมิได้" และมี 112 อยู่) จำเลยไปพูดแบบนั้นมันก็ต้องผิดกฎหมายสิ ถ้าอยากพูดแบบนั้นได้ก็ต้องแก้กฎหมายให้ได้ก่อน"
แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับพยานโจทก์หลายๆ เรื่อง แต่นี่คือข้อเท็จจริงว่า "เมื่อมีกฎหมายบังคับศรัทธาอยู่" และมีกฎหมาย เช่น 112 เป็นต้นเอาผิด "การล่วงละเมิด" หรือ "การแสดงออกที่ไม่เคารพสักการะ" ซึ่งตีความได้กว้างครอบจักรวาลมาก ก็ย่อมจะมีการฟ้อง และการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้อยู่ ดังเห็นได้ในคำพิพากษาคดี 112 ที่มีการโยง รธน.มาตรา 6 กับ 112 ซ้ำๆ บ่อยครั้งมาก
ขณะที่คนที่โดน 112 คือคนที่ยืนยัน "คุณค่าสมัยใหม่" คือสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นคนเท่ากัน ฯลฯ แต่ใน "เวทีศาล" คือการต่อสู้หักล้างกันด้วยการอ้างเรื่องตัวบทกฎหมาย พยาน หลักฐานที่สามารถตีความให้เข้าหรือไม่เข้า "ข่าย" ความผิดตามกฎหมายบัญญัติไว้ ทว่ามันมีคุณค่าหรือการบังคับศรัทธาความเชื่อแบบก่อนสมัยใหม่อยู่ในตัวบทกฎหมายที่ไม่ถูกตั้งคำถามว่าขัดกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และมันมีคุณค่าสมัยใหม่อยู่เบื้องหลังของคำพูด ข้อความที่จำเลยปราศรัยหรือแสดงออก แต่คุณค่านั้นกลับ "เบาหวิว" ไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังได้เลย
#อานนท์ฝากมา อยากให้สื่อ นักวิชาการพูดถึงปัญหา 112 และการนิรโทษกรรมคดีการเมือง 112 ต่อไป แม้จะยังไม่ชนะ แต่ไม่ควรปล่อยให้สังคมลืมปัญหานี้ไป
(ดูข่าวประกอบ https://prachatai.com/journal/2023/10/106423)