TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014
ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาคดี #โฟล์คสหรัฐ ปราศรัยในม็อบ #บ๊ายบายไดโนเสาร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 63 เห็นว่ามีความผิดตาม #ม112 คำปราศรัยจำเลยทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่น่าเคารพ ประชาชนเสื่อมศรัทธา
ลงโทษจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา
อยู่ระหว่างประกันตัวในชั้นอุทธรณ์
ย้อนอ่านบันทึกการต่อสู้คดี https://tlhr2014.com/archives/60657
...
2 ข้อความที่อัยการ รพีพัฒน์ ภักดีวงศ์ เป็นผู้เรียบเรียงฟ้อง
1. ขณะขึ้นปราศรัย จำเลยได้กล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า “เมื่อคุณได้เข้าไปที่วัด คุณมักจะเห็นการเทศน์ของพระสงฆ์ แต่คุณไม่เคยตั้งคําถามหรือถามพระสงฆ์กลับไปว่า สิ่งที่พระสงฆ์สอนนั้นมันถูกจริงหรือไม่ ทำไมการที่พูดถึงพระราชานั้นจะต้องพูดถึงแค่ด้านดีอย่างเดียว ทำไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชาบ้างครับ…”
อัยการบรรยายว่า คําว่าพระราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ และขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ข้อความดังกล่าวจึงทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 เป็นบุคคลผู้ทรงน่ากลัว หรือเป็นบุคคลผู้ทรงอันตรายที่จะนําพามาซึ่งความเดือดร้อนแก่ประเทศ
2. ข้อความตอนหนึ่งว่า “…พล.อ.ประยุทธ์ ได้บอกว่า เนี่ย จะมีการใช้กฎหมายทุกมาตรา แม้กระทั่ง 112 ถ้าคุณพูดแบบนี้ปุ๊บเนี่ย พระมหากษัตริย์จะผิด คําสัญญาหรือคําซื่อสัตย์นะครับ เพราะกษัตริย์ตรัสว่า จะไม่ใช้ 112 กับมวลชน และมันมีที่มาบอกว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคํา ถ้าคุณยังใช้ ม.112 เนี่ย แสดงว่าคุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่…”
อัยการบรรยายว่า ข้อความดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงตรัสว่าไม่ให้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือจะไม่ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 มาดำเนินคดีกับผู้ที่ล่วงละเมิดสถาบัน และภายหลังกลับคําให้มาใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 บังคับแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนเข้าใจรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่น่าเคารพเชื่อถือ ไม่มีสัจจะวาจา ไม่รักษาคําพูดหรือไม่รักษาคํามั่นสัญญา และทำให้เข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง
ที่มา ประชาไท
...
2 ข้อความที่อัยการ รพีพัฒน์ ภักดีวงศ์ เป็นผู้เรียบเรียงฟ้อง
1. ขณะขึ้นปราศรัย จำเลยได้กล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า “เมื่อคุณได้เข้าไปที่วัด คุณมักจะเห็นการเทศน์ของพระสงฆ์ แต่คุณไม่เคยตั้งคําถามหรือถามพระสงฆ์กลับไปว่า สิ่งที่พระสงฆ์สอนนั้นมันถูกจริงหรือไม่ ทำไมการที่พูดถึงพระราชานั้นจะต้องพูดถึงแค่ด้านดีอย่างเดียว ทำไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชาบ้างครับ…”
อัยการบรรยายว่า คําว่าพระราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ และขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ข้อความดังกล่าวจึงทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 เป็นบุคคลผู้ทรงน่ากลัว หรือเป็นบุคคลผู้ทรงอันตรายที่จะนําพามาซึ่งความเดือดร้อนแก่ประเทศ
2. ข้อความตอนหนึ่งว่า “…พล.อ.ประยุทธ์ ได้บอกว่า เนี่ย จะมีการใช้กฎหมายทุกมาตรา แม้กระทั่ง 112 ถ้าคุณพูดแบบนี้ปุ๊บเนี่ย พระมหากษัตริย์จะผิด คําสัญญาหรือคําซื่อสัตย์นะครับ เพราะกษัตริย์ตรัสว่า จะไม่ใช้ 112 กับมวลชน และมันมีที่มาบอกว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคํา ถ้าคุณยังใช้ ม.112 เนี่ย แสดงว่าคุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่…”
อัยการบรรยายว่า ข้อความดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงตรัสว่าไม่ให้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือจะไม่ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 มาดำเนินคดีกับผู้ที่ล่วงละเมิดสถาบัน และภายหลังกลับคําให้มาใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 บังคับแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนเข้าใจรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่น่าเคารพเชื่อถือ ไม่มีสัจจะวาจา ไม่รักษาคําพูดหรือไม่รักษาคํามั่นสัญญา และทำให้เข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง
ที่มา ประชาไท
เครดิต : ประชาไท 🤍🥺 https://t.co/NuQUtIOE2s pic.twitter.com/Ie0UzJbFHX
— 🎲𝐁𝐀𝐈𝐅𝐄𝐑𝐍✨ (@baifern0616_) October 19, 2023