อ.นันทนา - พิชญ์ ชี้ตั้ง 35 คณะกรรมการแก้รธน.ไปทำไม ไม่เกิดประโยชน์-เสียเวลา | THE STANDARD NOW (HL)
The STANDARD
Oct 3, 2023
อ.นันทนา - พิชญ์ ชี้ตั้ง 35 คณะกรรมการแก้รธน. ไปทำไม ไม่เกิดประโยชน์-เสียเวลา
.....
Yingcheep Atchanont
Yesterday·
จังหวะการเคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การ #เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ยังคาดเดาไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพราะไม่รู้กรรมการชุดใหม่จะทำงานนานไหม และสรุปอะไรได้ออกมาบ้าง เรารู้แค่ว่าถ้าเริ่มนับหนึ่งได้วันนี้ คงใช้เวลาอีกประมาณสองปีกว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ และวันนี้ยังไม่ได้เริ่มอะไรเลย
ระหว่างนี้เจอใครก็จะมีแต่คนถามว่า เอาไงต่อๆๆ
ผมก็ตอบไม่เต็มปากเต็มคำ ทั้งที่ในหัวพอมีแบบลางๆ อยู่แล้ว รู้แต่ว่างานหนักแน่นอน ถ้าเจอคนถามตอนเดินสวนกันเร็วๆ ก็จะตอบว่าเตรียมตัวงานหนักครับ แต่ถ้ามีเวลาแบบนั่งคุยสัก 20 นาทีก็ถึงจะเล่าได้ เลยลองเขียนแบบเร็วๆ คร่าวๆ มา ณ ที่นี้ครับ เผื่อวันหลังจะต้องพูดน้อยลง
.
1. วันนี้ยังไม่รู้ว่าจะได้ทำประชามติไหม
สิ่งที่ทำได้ จึงต้องช่วยกันทวงถามรัฐบาลใหม่ไปเรื่อยๆ ว่าอย่าช้า อย่าทวงเวลา เริ่มให้เร็วตามที่แถลงการณ์เอาไว้ตอนจะฉีก MOU จัดตั้งรัฐบาล
1.1 ถ้ารีบเคาะเร็ววัน ทำประชามติเร็ววัน
ตั้งคำถามได้โอเค เปิดกว้างๆ เห็นด้วยหรือไม่ที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรให้ปวดหัว ต้องช่วยกันรณรงค์ในการทำประชามติให้คนไปโหวต YES ให้มากที่สุดครับ 51% ไม่พอ เอาให้ถล่มทลายไปก่อน
1.2 ถ้าเคาะออกมาว่าจะทำประชามติ ....แต่ช้า.. เช่น เคาะตอนสิ้นปี วางแผนทำประชามติตอนมีนาคมหรือเมษายน ไม่มีประโยชน์แล้วเพราะส.ว.ก็จะหมดอายุแล้ว หรือเคาะคำถามประชามติที่มีเงื่อนไข สสร.ให้แต่งตั้ง ห้ามแก้นั่นแก้นี่ ยกแรกรณรงค์ตรงๆ เลยว่า ถ้าแบบนี้ก็ไม่ต้องทำประชามติแล้ว รอสว.หมดอายุแล้วเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญใหม่เองเลยก็ได้
.
2. ถ้าประชามติดี แต่ไม่ผ่าน ถือว่าแพ้ครับ จบ
ถ้าประชามติคำถามไม่ดี มีเงื่อนไข แล้วรณรงค์ยก 1.2 ไม่สำเร็จ ก็ต้องไปทำประชามติกันจริงๆ แบบมีข้อกังขาเต็มไปหมด
ในการทำประชามติเราจะโหวตอะไร อันนี้ยังคิดไม่ออก แต่ถ้าโหวตอะไรไปก็ต้องสร้างพื้นที่คำอธิบายเรื่องนั้นแบบใหม่ให้มันชัดเจนและเสียงดังไม่แพ้ผลคะแนนที่ออกมา เช่น ถ้าคำถามบอกว่า เขียนรัฐธรรมนูญใหม่แต่ไม่ให้แตะหมวด 1-2 อาจจะโหวต YES ให้ผ่านไปก่อนแล้วอธิบายว่ามีเสียงอีกมากที่ยังต้องการแก้หมวด 1-2 ด้วย หรืออาจจะโหวต No แล้วสร้างคำอธิบายว่ามีเสียงอีกมากที่ต้องการ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ต้องได้ทั้งฉบับไม่งั้นไม่เอาเลย
.
3. สมมติประชามติผ่าน หรือถ้าไม่ผ่าน หรือไม่มีประชามติ
เดือนพฤษภาคมปี2567 สว. ชุดนี้จะหมดอายุ และต้องมีการเลือกชุดใหม่
สว. ใหม่จะมาจากการสมัครเข้าไปแล้วแบ่งกลุ่มผู้สมัครตามอาชีพ โหวตเลือกกันเองในบรรดาผู้สมัครเข้ามากลุ่มนั้นๆ และโหวตไขว้ให้ผู้สมัครไปโหวตกลุ่มอาชีพอื่นได้ ดังนั้น ถ้าประชาชนคนธรรมดาไม่สมัครไม่มีสิทธิเข้าร่วมและไม่มีสิทธิโหวต เฉพาะผู้สมัครเท่านั้นจึงโหวตได้
ขั้นตอนนี้ต้องรณรงค์ร้องขอ พี่ๆ ที่อายุถึง 40 ปีขึ้นไป เดินหน้าไปสมัครสว. กันให้เยอะที่สุด ไม่ใช่จะสมัครเพื่อต้องการเป็นสว. แต่สมัครเพื่อจะได้มีสิทธิโหวต ส่วนจะโหวตใครก็แล้วแต่ที่เห็นว่าดี โหวตตัวเองก็ได้โหวตคนอื่นก็ได้ ถ้าประชาชนคนธรรมดาไปสมัครกันเยอะๆๆๆ แต่ละอำเภอหลายร้อยหรือเป็นพันคน พวกเจ้าพ่อที่จะเกณฑ์คนมาก็จะล็อกผลไม่ได้
.
4. เมื่อได้ สว. ชุดใหม่แล้ว ก็หวังว่าจะไม่แย่จนเกินไป คงมีคนหลายแบบปะปนกันตามแต่ที่คนสมัครเข้าไปโหวตจะเลือกมา คราวนี้ก็ต้องเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ผ่าน เพื่อตั้งสสร. ให้ได้ ก็ต้องมาทำสามทาง
4.1 กดดันให้ซีกฝั่งรัฐบาลปัจจุบัน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะเร่งทำเรื่องนี้
4.2 สนับสนุนให้พรรคฝ่ายค้าน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเนื้อหาดีก็ผลักดันร่างนั้น
4.3 ประชาชนเข้าชื่อกันอีกครั้งหนึ่ง ให้ได้ 50,000 ชื่อเสนอร่างฉบับประชาชนอีกครั้ง หน้าตาคงจะคล้ายๆปี 2563 ไม่ต้องคิดใหม่เยอะ แค่ทำซ้ำมันอีกทีนึง
แล้วกระบวนการ "นับหนึ่ง" ก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นในวันนี้ จากนั้นเมื่อเสนอไปแล้วก็ติดตาม ส่งเสียง กดดันให้มันผ่านออกมาให้จงได้
.
5. ถ้าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการจัดตั้งสสร. ผ่านสามวาระในสภาได้แล้ว ยังไงก็ต้องมีการทำประชามติแน่ๆ ตามที่ม.256 เขียนเอาไว้
ถ้าหากว่า รายละเอียดเนื้อหาดี เราก็ต้องช่วยกันสื่อสารรณรงค์ให้คนไปโหวต YES ให้มันผ่านให้ได้ครับ
ถ้าหากว่า รายละเอียดเนื้อหาแย่ เช่น ให้มีสสร. จากการแต่งตั้งทั้งหมด เราก็ต้องสื่อสารรณรงค์ให้คนไปโหวต NO ให้มันตกไปก่อนครับ แล้วก็กลับมาเริ่มกันใหม่ที่ข้อ 4. เสนอร่างใหม่ให้มันดีกว่าเดิมจะได้โหวตให้มันผ่านให้ได้
.
6. ถ้าหากว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่าน ทำประชามติผ่าน และจะมีการจัดตั้งสสร. จากการเลือกตั้งจริง ไม่รู้จะได้เลือกตั้งทั้งหมดหรือบางส่วน คราวนี้สนามการเลือกตั้งสสร. ก็คงจะสำคัญมากๆๆๆๆ
ก็ต้องมีตัวแทนคนที่พอใช้ได้ ศึกษาหาความรู้ ฟอร์มทีมกันให้ดี แล้วลงสนามสมัครรับเลือกตั้งพร้อมช่วยกันโฆษณาสื่อสารว่าต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไปในทิศทางไหน รณรงค์ให้คนไปลงคะแนนเลือกให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ง่ายว่าจะได้ใครบ้าง และจะได้ตัวแทนออกมาอย่างไร ในระหว่างนี้ก็ยังต้องช่วยกันจับตาการเลือกตั้งอีกว่า กกต. จะทำหน้าที่ออกมาอย่างไร แต่ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็เคารพผลการตัดสินของประชาชน แล้วจัดตั้งสสร. กันไปตามผลที่ออกมา
.
7. เมื่อมีสสร. แล้วที่มีที่มาโอเคพอสมควร พวกเขาก็จะมาทำหน้าที่ในการยกร่างฉบับใหม่ ระหว่างนี้จะต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และมีกระบวนกาช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้พอสมควร เราก็ต้องส่งเสียง ส่งความเห็น ส่งข้อเรียกร้องอย่างเป็นรูปธรรมเข้าไปตลอดกระบวนการ
ซึ่งก็จะมีแหละคนที่เห็นไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นไร ใครจะเห็นอย่างไรก็เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการได้ทั้งหมด เพื่อให้สุดท้ายแล้วผลมันออกมาในทางที่พอรับได้กันประมาณหนึ่ง และทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน หวงแหนร่วมกัน ว่านี่คือรัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการที่ประชาชนร่วมกันทำมา
.
8. เมื่อยกร่างฉบับใหม่เสร็จแล้ว เราก็ต้องเอามาอ่านดู
แล้วก็ช่วยกันคิด วิเคราะห์ ศึกษาว่า ฉบับใหม่มันพอใช้ได้หรือเปล่า
ถ้ามันพอใช้ได้ถึงดีมาก ก็ช่วยกันสื่อสารรณรงค์ ในการทำประชามติให้คนไปโหวต YES กันให้มากที่สุด ให้มันผ่าน แล้วให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียที
ถ้ามันไม่ไหวเลย แย่มาก ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ ก็ต้องช่วยกันสื่อสารรณรงค์ในการทำประชามติให้คนไปโหวต NO กันให้มากที่สุด ให้มันตกไปก่อนครับ แล้วไปเริ่มต้นกันใหม่ที่ 4. หรือ 6. เราจะไม่เอาแล้วแบบรับๆ ไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง หรือหยวนๆ ไปก่อนดีกว่าอยู่กับของเดิม ถ้าไม่ดีคือไม่ดี ต้องไม่เอา ไม่ประนีประนอม เจอบทเรียนมาแล้วต้องเรียนรู้ครับ
.
ฟังดูรวมๆ แล้วก็ยาวนาน ซับซ้อน
และที่สำคัญ มีอะไรต้องทำเยอะเลย
หล้งจากนี้ถ้ามีใครมาถามว่า เอาไงต่อๆๆๆ ขอให้ถามให้ชัดว่าอยากได้คำตอบแบบสั้นหรือแบบยาว หรือก่อนถามอ่านอันนี้ก่อนก็ดีครับ พูดใหม่หลายรอบแล้วกลัวคนงงครับ
.....
Yingcheep Atchanont
Yesterday·
จังหวะการเคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การ #เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ยังคาดเดาไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพราะไม่รู้กรรมการชุดใหม่จะทำงานนานไหม และสรุปอะไรได้ออกมาบ้าง เรารู้แค่ว่าถ้าเริ่มนับหนึ่งได้วันนี้ คงใช้เวลาอีกประมาณสองปีกว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ และวันนี้ยังไม่ได้เริ่มอะไรเลย
ระหว่างนี้เจอใครก็จะมีแต่คนถามว่า เอาไงต่อๆๆ
ผมก็ตอบไม่เต็มปากเต็มคำ ทั้งที่ในหัวพอมีแบบลางๆ อยู่แล้ว รู้แต่ว่างานหนักแน่นอน ถ้าเจอคนถามตอนเดินสวนกันเร็วๆ ก็จะตอบว่าเตรียมตัวงานหนักครับ แต่ถ้ามีเวลาแบบนั่งคุยสัก 20 นาทีก็ถึงจะเล่าได้ เลยลองเขียนแบบเร็วๆ คร่าวๆ มา ณ ที่นี้ครับ เผื่อวันหลังจะต้องพูดน้อยลง
.
1. วันนี้ยังไม่รู้ว่าจะได้ทำประชามติไหม
สิ่งที่ทำได้ จึงต้องช่วยกันทวงถามรัฐบาลใหม่ไปเรื่อยๆ ว่าอย่าช้า อย่าทวงเวลา เริ่มให้เร็วตามที่แถลงการณ์เอาไว้ตอนจะฉีก MOU จัดตั้งรัฐบาล
1.1 ถ้ารีบเคาะเร็ววัน ทำประชามติเร็ววัน
ตั้งคำถามได้โอเค เปิดกว้างๆ เห็นด้วยหรือไม่ที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรให้ปวดหัว ต้องช่วยกันรณรงค์ในการทำประชามติให้คนไปโหวต YES ให้มากที่สุดครับ 51% ไม่พอ เอาให้ถล่มทลายไปก่อน
1.2 ถ้าเคาะออกมาว่าจะทำประชามติ ....แต่ช้า.. เช่น เคาะตอนสิ้นปี วางแผนทำประชามติตอนมีนาคมหรือเมษายน ไม่มีประโยชน์แล้วเพราะส.ว.ก็จะหมดอายุแล้ว หรือเคาะคำถามประชามติที่มีเงื่อนไข สสร.ให้แต่งตั้ง ห้ามแก้นั่นแก้นี่ ยกแรกรณรงค์ตรงๆ เลยว่า ถ้าแบบนี้ก็ไม่ต้องทำประชามติแล้ว รอสว.หมดอายุแล้วเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญใหม่เองเลยก็ได้
.
2. ถ้าประชามติดี แต่ไม่ผ่าน ถือว่าแพ้ครับ จบ
ถ้าประชามติคำถามไม่ดี มีเงื่อนไข แล้วรณรงค์ยก 1.2 ไม่สำเร็จ ก็ต้องไปทำประชามติกันจริงๆ แบบมีข้อกังขาเต็มไปหมด
ในการทำประชามติเราจะโหวตอะไร อันนี้ยังคิดไม่ออก แต่ถ้าโหวตอะไรไปก็ต้องสร้างพื้นที่คำอธิบายเรื่องนั้นแบบใหม่ให้มันชัดเจนและเสียงดังไม่แพ้ผลคะแนนที่ออกมา เช่น ถ้าคำถามบอกว่า เขียนรัฐธรรมนูญใหม่แต่ไม่ให้แตะหมวด 1-2 อาจจะโหวต YES ให้ผ่านไปก่อนแล้วอธิบายว่ามีเสียงอีกมากที่ยังต้องการแก้หมวด 1-2 ด้วย หรืออาจจะโหวต No แล้วสร้างคำอธิบายว่ามีเสียงอีกมากที่ต้องการ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ต้องได้ทั้งฉบับไม่งั้นไม่เอาเลย
.
3. สมมติประชามติผ่าน หรือถ้าไม่ผ่าน หรือไม่มีประชามติ
เดือนพฤษภาคมปี2567 สว. ชุดนี้จะหมดอายุ และต้องมีการเลือกชุดใหม่
สว. ใหม่จะมาจากการสมัครเข้าไปแล้วแบ่งกลุ่มผู้สมัครตามอาชีพ โหวตเลือกกันเองในบรรดาผู้สมัครเข้ามากลุ่มนั้นๆ และโหวตไขว้ให้ผู้สมัครไปโหวตกลุ่มอาชีพอื่นได้ ดังนั้น ถ้าประชาชนคนธรรมดาไม่สมัครไม่มีสิทธิเข้าร่วมและไม่มีสิทธิโหวต เฉพาะผู้สมัครเท่านั้นจึงโหวตได้
ขั้นตอนนี้ต้องรณรงค์ร้องขอ พี่ๆ ที่อายุถึง 40 ปีขึ้นไป เดินหน้าไปสมัครสว. กันให้เยอะที่สุด ไม่ใช่จะสมัครเพื่อต้องการเป็นสว. แต่สมัครเพื่อจะได้มีสิทธิโหวต ส่วนจะโหวตใครก็แล้วแต่ที่เห็นว่าดี โหวตตัวเองก็ได้โหวตคนอื่นก็ได้ ถ้าประชาชนคนธรรมดาไปสมัครกันเยอะๆๆๆ แต่ละอำเภอหลายร้อยหรือเป็นพันคน พวกเจ้าพ่อที่จะเกณฑ์คนมาก็จะล็อกผลไม่ได้
.
4. เมื่อได้ สว. ชุดใหม่แล้ว ก็หวังว่าจะไม่แย่จนเกินไป คงมีคนหลายแบบปะปนกันตามแต่ที่คนสมัครเข้าไปโหวตจะเลือกมา คราวนี้ก็ต้องเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ผ่าน เพื่อตั้งสสร. ให้ได้ ก็ต้องมาทำสามทาง
4.1 กดดันให้ซีกฝั่งรัฐบาลปัจจุบัน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะเร่งทำเรื่องนี้
4.2 สนับสนุนให้พรรคฝ่ายค้าน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเนื้อหาดีก็ผลักดันร่างนั้น
4.3 ประชาชนเข้าชื่อกันอีกครั้งหนึ่ง ให้ได้ 50,000 ชื่อเสนอร่างฉบับประชาชนอีกครั้ง หน้าตาคงจะคล้ายๆปี 2563 ไม่ต้องคิดใหม่เยอะ แค่ทำซ้ำมันอีกทีนึง
แล้วกระบวนการ "นับหนึ่ง" ก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นในวันนี้ จากนั้นเมื่อเสนอไปแล้วก็ติดตาม ส่งเสียง กดดันให้มันผ่านออกมาให้จงได้
.
5. ถ้าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการจัดตั้งสสร. ผ่านสามวาระในสภาได้แล้ว ยังไงก็ต้องมีการทำประชามติแน่ๆ ตามที่ม.256 เขียนเอาไว้
ถ้าหากว่า รายละเอียดเนื้อหาดี เราก็ต้องช่วยกันสื่อสารรณรงค์ให้คนไปโหวต YES ให้มันผ่านให้ได้ครับ
ถ้าหากว่า รายละเอียดเนื้อหาแย่ เช่น ให้มีสสร. จากการแต่งตั้งทั้งหมด เราก็ต้องสื่อสารรณรงค์ให้คนไปโหวต NO ให้มันตกไปก่อนครับ แล้วก็กลับมาเริ่มกันใหม่ที่ข้อ 4. เสนอร่างใหม่ให้มันดีกว่าเดิมจะได้โหวตให้มันผ่านให้ได้
.
6. ถ้าหากว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่าน ทำประชามติผ่าน และจะมีการจัดตั้งสสร. จากการเลือกตั้งจริง ไม่รู้จะได้เลือกตั้งทั้งหมดหรือบางส่วน คราวนี้สนามการเลือกตั้งสสร. ก็คงจะสำคัญมากๆๆๆๆ
ก็ต้องมีตัวแทนคนที่พอใช้ได้ ศึกษาหาความรู้ ฟอร์มทีมกันให้ดี แล้วลงสนามสมัครรับเลือกตั้งพร้อมช่วยกันโฆษณาสื่อสารว่าต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไปในทิศทางไหน รณรงค์ให้คนไปลงคะแนนเลือกให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ง่ายว่าจะได้ใครบ้าง และจะได้ตัวแทนออกมาอย่างไร ในระหว่างนี้ก็ยังต้องช่วยกันจับตาการเลือกตั้งอีกว่า กกต. จะทำหน้าที่ออกมาอย่างไร แต่ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็เคารพผลการตัดสินของประชาชน แล้วจัดตั้งสสร. กันไปตามผลที่ออกมา
.
7. เมื่อมีสสร. แล้วที่มีที่มาโอเคพอสมควร พวกเขาก็จะมาทำหน้าที่ในการยกร่างฉบับใหม่ ระหว่างนี้จะต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และมีกระบวนกาช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้พอสมควร เราก็ต้องส่งเสียง ส่งความเห็น ส่งข้อเรียกร้องอย่างเป็นรูปธรรมเข้าไปตลอดกระบวนการ
ซึ่งก็จะมีแหละคนที่เห็นไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นไร ใครจะเห็นอย่างไรก็เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการได้ทั้งหมด เพื่อให้สุดท้ายแล้วผลมันออกมาในทางที่พอรับได้กันประมาณหนึ่ง และทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน หวงแหนร่วมกัน ว่านี่คือรัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการที่ประชาชนร่วมกันทำมา
.
8. เมื่อยกร่างฉบับใหม่เสร็จแล้ว เราก็ต้องเอามาอ่านดู
แล้วก็ช่วยกันคิด วิเคราะห์ ศึกษาว่า ฉบับใหม่มันพอใช้ได้หรือเปล่า
ถ้ามันพอใช้ได้ถึงดีมาก ก็ช่วยกันสื่อสารรณรงค์ ในการทำประชามติให้คนไปโหวต YES กันให้มากที่สุด ให้มันผ่าน แล้วให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียที
ถ้ามันไม่ไหวเลย แย่มาก ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ ก็ต้องช่วยกันสื่อสารรณรงค์ในการทำประชามติให้คนไปโหวต NO กันให้มากที่สุด ให้มันตกไปก่อนครับ แล้วไปเริ่มต้นกันใหม่ที่ 4. หรือ 6. เราจะไม่เอาแล้วแบบรับๆ ไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง หรือหยวนๆ ไปก่อนดีกว่าอยู่กับของเดิม ถ้าไม่ดีคือไม่ดี ต้องไม่เอา ไม่ประนีประนอม เจอบทเรียนมาแล้วต้องเรียนรู้ครับ
.
ฟังดูรวมๆ แล้วก็ยาวนาน ซับซ้อน
และที่สำคัญ มีอะไรต้องทำเยอะเลย
หล้งจากนี้ถ้ามีใครมาถามว่า เอาไงต่อๆๆๆ ขอให้ถามให้ชัดว่าอยากได้คำตอบแบบสั้นหรือแบบยาว หรือก่อนถามอ่านอันนี้ก่อนก็ดีครับ พูดใหม่หลายรอบแล้วกลัวคนงงครับ