prachatai
@prachatai
·8h
เลขาฯคณะก้าวหน้า ชี้กรณีร่าง พ.ร.บ.เครื่องราชฯ ที่เสนอโดย ครม. ถูกตีตกแม้เคยผ่านสภา เหตุกษัตริย์วีโต้นั้นเรื่องใหญ่ ครม.ต้องรับผิดชอบ ออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งย้ำจำเป็นต้องยกเลิกพระราชอำนาจในส่วนวีโต้นี้ และกำหนดให้นายกฯเป็นผู้รับผิดชอบ อ่านเพิ่มที่ https://prachatai.com/journal/2022/09/100413
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
12h
[สิ่งที่ขาดหายไปในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เครื่องราชฯ]
.
เมื่อวานนี้ วันที่ 6 กันยายน รัฐสภาได้ลงมติไม่ยืนยันร่างพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
.
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรสามวาระรวดในวันเดียว (22 ธ.ค.2564) และผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาสามวาระรวดเช่นกันในวันเดียว (17 ม.ค.2565)
.
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 31 มกราคม 2565 แต่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน ทำให้ร่างดังกล่าวต้องกลับมาให้รัฐสภาพิจารณาลงมติว่าจะยืนยันกลับไปหรือไม่
.
ผลปรากฏว่า สมาชิกรัฐสภามีมติ
.
.
ไม่ยืนยัน 431
ยืนยัน 1 (เป็น ส.ว.ต่อมาออกมาชี้แจงว่ากดปุ่มลงมติผิด)
งดออกเสียง 28
ไม่ลงคะแนน 1
.
.
เท่ากับว่ามติไม่ยืนยัน ทำให้ร่าง พ.ร.บ.เป็นอันตกไป
.
ในที่ประชุมรัฐสภา มีสมาชิกอภิปราย 2 คน ได้แก่ รังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล และสมชาย แสวงการ ส.ว. โดยตัวแทน ครม ที่ทำหน้าที่ชี้แจง คือ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
.
เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่มีสมาชิกคนใดอภิปรายเรื่องสำคัญในสองประเด็น
.
.
ประเด็นแรก ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี
.
ในฐานะที่ร่าง พ.ร.บ.นี้ เสนอโดยคณะรัฐมนตรี และผ่านความเห็นชอบจากสภาสามวาระรวดในวันเดียว เมื่อกษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย และรัฐสภามีมติไม่ยืนยันกลับไป เช่นนี้คณะรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบ ด้วยการออกจากตำแหน่ง
.
.
ประเด็นที่สอง การที่รัฐธรรมนูญหลายฉบับจนถึงปัจจุบัน กำหนดพระราชอำนาจวีโต้กฎหมายนี้ส่งผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์อย่างไร
.
เพื่อปกป้องพระมหากษัตริย์มิให้ตกอยู่ในแดนทางการเมือง เพื่อรักษาสถานะความเป็นกลางของพระมหากษัตริย์ (จะได้อยู่ในสถานะเคารพสักการะตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้อย่างแท้จริง) จำเป็นต้องยกเลิกพระราชอำนาจในส่วนนี้ และกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบไป
…
ผมเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายเอาไว้กับสำนักข่าวประชาไทเมื่อเดือนกันยายน 2563
.
ตั้งใจจะเขียนเรื่องเหล่านี้ลงในหนังสือ “เปิดประตูปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ซึ่งกำหนดเผยแพร่ปลายปีนี้
.
ระหว่างนี้ ทุกท่านสามารถอ่านบทสัมภาษณ์นี้ไปพลางก่อน นอกจากเรื่องพระราชอำนาจยับยั้งการประกาศใช้กฎหมายหรือ Veto แล้ว ยังมีประเด็นเรื่องทรัพย์สินส่วนกษัตริย์และราชการส่วนพระองค์ด้วย
.
(ลิงค์บทสัมภาษณ์อยู่ในช่องความเห็น)
https://prachatai.com/journal/2020/10/90148