พล.อ. ประยุทธ์ ก็ได้สวมหมวก 2 ใบ เพื่อถ่ายภาพประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล
ทูตนอกแถว The Alternative Ambassador Returns
8h
เรื่องที่มีพระออกมาประท้วงคุณชัชชาติแต่งกายเป็นชาวอาหรับนั้น ใดๆคือผมถือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าเถระสมาคมหรือสำนักพุทธฯ ควรไปสอบสวนพระดังกล่าวและลงโทษด้วย ถ้าไม่ทำคือละเว้นหน้าที่เพราะคนเหล่านี้คือคนที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเสียตัวจริง
นายรัศม์ ชาลีจันทร์ เจ้าของเพจ... - บีบีซีไทย - BBC Thai | Facebook https://m.facebook.com/1526071940947174/posts/3296835550537462/
ไม่ใช่ประเด็นทางศาสนา แต่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ภาพถ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ส.ค. ขณะที่ผู้ว่าฯ กทม. เข้าร่วมงานนิทรรศการ "สะพานเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย" (Efforts of the Kingdom of Saudi Arabia in Serving Muslim Brothers) โดยสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย เป็นผู้จัดงานนิทรรศการขึ้น ณ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เขตสวนหลวง
ภาพถ่ายที่ทำให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ส.ค. ขณะที่เขาเข้าร่วมงานนิทรรศการ "สะพานเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย"
ล่าสุด วันนี้ (6 ก.ย.) นายชัชชาติให้สัมภาษณ์สื่อต่อประเด็นดังกล่าวยืนยันว่า การร่วมงานและการแต่งกายเช่นนั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา และไปในนามของแขกรับเชิญของสถานเอกอัครราชทูตของประเทศซาอุดีอาระเบีย
"เราถามแล้วว่า เป็นเครื่องแต่งกายที่ใคร ๆ ใส่ก็ได้ ผมก็เป็นชาวพุทธเต็มที่ ก็แล้วแต่คนจะคิด แต่ผมมองว่าไม่ใช่ประเด็น...หากเข้าใจผิด ก็ขอโทษด้วย เราไม่ได้ตั้งใจให้เป็นประเด็นทางศาสนา เพราะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
อดีตทูตไทย ชี้เป็นเรื่องปกติ
นายรัศม์ ชาลีจันทร์ เจ้าของเพจ "ทูตนอกแถว" และอดีตทูตในหลายประเทศบอกกับบีบีซีไทยว่า จากกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้นำทางการเมืองหรือองค์กรของรัฐสามารถทำได้
นายรัศม์ ชาลีจันทร์ (ซ้าย) ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งแก่นายคาสซิม โจมาร์ท โตกาเยฟ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ณ ทําเนียบประธานาธิบดี เพื่อดํารงตําแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจําสาธารณรัฐคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562
"ต้องเข้าใจก่อนว่า ประเทศไทยมีเสรีภาพในการเคารพ นับถือศาสนาใดก็ได้ ต่อให้คุณชัชชาติลุกขึ้นมาเปลี่ยนศาสนาก็เป็นสิทธิของเขา สังคมก็ให้สิทธิของเขาด้วย ตามกฎหมายเขามีสิทธิทุกประการ" นายรัศม์ กล่าว
ในโลกความเป็นจริงแล้ว บุคคลที่เป็นชาวอาหรับ หรือคนที่สวมผ้าโพกหัวในลักษณะดังกล่าว อาจจะนับถือศาสนาอื่น ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ หรือ นิกายย่อย ๆ
"การไปงานเช่นนี้ แล้วแต่งชุดเช่นนี้เป็นเรื่องปกติมาก เป็นการให้ความเคารพและให้เกียรติเจ้าภาพ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ไมตรีกัน ไม่ได้มีอะไรผิด" เขากล่าวย้ำ
ปมดรามานายชัชชาติไม่ใช่กรณีแรก
เขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ไม่ใช่นายชัชชาติเพียงผู้เดียวที่เข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว ในอดีตยังมีผู้นำไทยหลายคนที่เคยสวมใส่เครื่องประดับสัญลักษณะศาสนาอื่น ๆ ด้วย
บีบีซีไทยตรวจสอบและพบว่าที่เพจของผู้จัดงานประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล หรือ "Thailand Halal Assembly" เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2558 คณะทำงานการประชุมดังกล่าวได้เดินทางมายังบริเวณหน้าตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้ามอบหมวก"ตะกียะห์" แก่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์งาน Thailand Halal Assembly 2015 ซึ่งในครั้งนั้น พล.อ. ประยุทธ์ ก็ได้สวมหมวก 2 ใบ เพื่อถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ด้วย
ในขณะนั้นก็ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เจ้าของเพจ "ทูตนอกแถว" ยังกล่าวทิ้งท้ายพร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นมหาเถรสมาคมและสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรเพ่งเล็งและตรวจสอบกลุ่มผู้ที่เข้ามาเคลื่อนไหว เพราะว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำให้เกิดผลเสียตกอยู่ที่พระศาสนา จากพระสงฆ์ที่อาจจะขาดความรู้ทางโลก ทางธรรม และกฎหมาย
ภาคีเครือข่ายองค์กรพลังชาวพุทธ มีผู้นำในการเคลื่อนไหวคือ พระครูปลัดธีรธนัชณฤทธา เมตฺตธมฺโม เป็นผู้ยื่นจดหมายถึงนายชัชชาติ
ทั้งนี้ ภาคีเครือข่ายองค์กรพลังชาวพุทธ มีผู้นำในการเคลื่อนไหวคือ พระครูปลัดธีรธนัชณฤทธา เมตฺตธมฺโม ซึ่งเคยตกเป็นข่าวดังเมื่อเดือน พ.ย. 2563 เมื่อพระครูปลัดธีรธนัชณฤทธาฯ ซึ่งเป็นประธานสงฆ์สำนักปฏิบัติธรรมพุทธชยันตี ได้ถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยสวมอุปกรณ์ป้องกัน แล้วปีนขึ้นไปอยู่บนเสาส่งสัญญาณสูงหลายสิบเมตรเพื่อต้องการปฏิบัติธรรมและหลบหนีจากความวุ่นวาย ภายในสำนักปฏิบัติธรรมพุทธชยันตี ถนนพุทธมณฑลสาย 3
ขณะที่สื่อหลายสำนักรายงานว่า เมื่อปี 2561 พระครูปลัดธีรธนัชณฤทธา ก็เคยปีนเสาส่งสัญญานนี้มาแล้ว เพื่อเรียกร้องไม่ให้สำนักสงฆ์ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ และต้องใช้เวลาเกลี้ยกล่อมอยู่นานจึงจะยอมลงมา
ที่มา บีบีซีไทย
ปมดราม่า "ชัชชาติ" สวมชุดอาหรับ กับกระแสตีกลับต่อพระสงฆ์