สุรพศ ทวีศักดิ์
13h
คนมีสิทธิไม่เท่ากันอยู่แล้ว เสรีนิยมเกิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงให้คนมีสิทธิเท่าเทียมกัน (แม้เป็นเพียงในเชิงอุดมคติ แต่เป็นหลักอ้างอิงในการจัดการเรื่องสิทธิให้เป็นธรรมขึ้นได้กว่าระบบเก่า) เช่น 1 ในหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎรที่ว่า
" จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน #ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่"
ทำนองเดียวกัน เวลาใครยืนยันว่านักบวชควรมีสิทธิทำนั่นนี่แบบโลกย์ๆ แต่พูดไปงั้น ไม่ยืนยันหรือเรียกร้อง "การแยกศาสนาจากรัฐ" ก็เท่ากับคุณกำลัง "เพิ่มอภิสิทธิ์" ให้นักบวชที่มีอภิสิทธิ์อยู่แล้วหรือไม่ คือ พวกนักบวชมีอภิสิทธิ์บนโครงสร้างศาสนจักรของรัฐ ได้ยศศักดิ์ อำนาจทางกฎหมาย ภาษีประชาชน และได้กินฟรีอยู่ฟรี มีรายได้จากเงินทำบุญจากศรัทธาของประชาชน และคุณกำลังแถมอภิสิทธิ์กินหรูอยู่สบายแบบโลกย์ๆ ให้นักบวชทุกอย่างในนามของ "เสรีภาพ" ?
แต่เสรีภาพคืออะไร เขายืนยันเสรีภาพบนฐาน "สิทธิเท่าเทียมของทุกคน" หรือบนฐาน "อภิสิทธิ์ของคนบางกลุ่ม" ถ้ายืนยันแบบหลังน่าจะขัดกับหลักการพื้นฐานของเสรีนิยมและ 1 ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎรหรือไม่? เพราะไปเพิ่มอภิสิทธิ์ให้กับกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์อยู่แล้ว
ไปถามนักบวชเหล่านั้นสิครับว่าพวกเขาอยากแยกศาสนาจากรัฐไหม อยากยกเลิกระบบยศศักดิ์ ยกเลิกเงินอุปถัมภ์จากภาษีประชาชน ยกเลิกอำนาจทางกฎหมายของนักบวชไหม ถ้าพวกเขาอยากยกเลิก ค่อยไปสนับสนุนเสรีภาพแบบโลกย์ๆ ของพวกเขาในฐานะที่พวกเขาเป็น "คนเท่ากัน" กับเรา
.....
พระออกกำลังกายได้ไหม
"ทุกเช้าน่ะเราไปออกบิณฑบาตเป็นกิโล ๆ กลับมารู้สึกหิวละ รู้สึกเบิร์นละ แขม่วท้องเดินก็ได้ เราเบิร์นไปในตัว ก็เหมือนทำคาร์ดิโอไปด้วยในตัว" กิดาการเล่าถึงการออกกำลังกายของพระ เขาบอกด้วยว่าพระสามารถออกกำลังกายได้บางอย่างได้ เช่นการซิตอัพ แต่ต้องอยู่ในกุฏิ ไม่เปิดเผยให้คนภายนอกเห็น
พระสงฆ์ที่วัดบวรฯ เดินบิณฑบาตเป็นระยะทางราววันละ 1.5 กม.
ด้านดร. ขนิษฐาก็ให้คำตอบแบบเดียวกัน "ทำได้นะคะแต่ไม่ใช่ทำแบบยกเวทอะไรแบบนี้ แต่เป็นการออกกำลังกายยืดเหยียด หรือใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ลู่วิ่ง หรือว่าจักรยาน ลู่วิ่งก็ไม่ใช่พระจะไปวิ่ง พระก็ต้องใช้วิธีการเดิน ซึ่งทั้งหมดเนี่ยอุปกรณ์ช่วยต้องทำอยู่ในห้องที่มิดชิด"
เธอบอกว่าแม้การเดินบิณฑบาตจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับพระสงฆ์ แต่บางพื้นที่ก็ไม่เหมาะสมสำหรับการเดิน เครื่องออกกำลังกายจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดี
ด้านดร. ขนิษฐาก็ให้คำตอบแบบเดียวกัน "ทำได้นะคะแต่ไม่ใช่ทำแบบยกเวทอะไรแบบนี้ แต่เป็นการออกกำลังกายยืดเหยียด หรือใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ลู่วิ่ง หรือว่าจักรยาน ลู่วิ่งก็ไม่ใช่พระจะไปวิ่ง พระก็ต้องใช้วิธีการเดิน ซึ่งทั้งหมดเนี่ยอุปกรณ์ช่วยต้องทำอยู่ในห้องที่มิดชิด"
เธอบอกว่าแม้การเดินบิณฑบาตจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับพระสงฆ์ แต่บางพื้นที่ก็ไม่เหมาะสมสำหรับการเดิน เครื่องออกกำลังกายจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดี
พระเทพวิสุทธิกวีให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า ปกติกิริยาใดที่ดูไม่เรียบร้อย พระไม่ควรทำ แต่การออกกำลังกายตามหลักการแพทย์เพื่อรักษาร่างกายให้บำเพ็ญสมณธรรมต่อไปได้ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ "บางทีหมอก็ให้เราทำบางสิ่งบางอย่าง เช่นแกว่งแขนวันละ 3 พันครั้งหรือฤาษีดัดตนอะไรแบบนี้ ถ้ามันจำเป็นเพื่อจะต้องให้รักษาร่างกายแม้อาจจะดูไม่ค่อยเรียบร้อยนักก็อาจต้องทำ"
ทิศทางสุขภาพสงฆ์ไทย
"พระสงฆ์เหมือนคนเราทั่วไปนี่แหละค่ะ เหมือนคนคนหนึ่งเพียงแต่ว่าพระสงฆ์ถูกลืม เพราะเป็น vulnerable group ก็คือเป็นกลุ่มชายขอบที่มักจะถูกลืม ลืมละเลยด้านของสุขภาพ"
คนส่วนมากมองว่าพระสงฆ์เป็นสื่อกลางรับอาหารใส่บาตรเพื่อทำบุญให้ผู้เสียชีวิต
ดร. ขนิษฐา บอกว่าหากชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใน 5-10 ปีข้างหน้าอาจเห็นผลที่ชัดเจนมากขึ้น เธอบอกด้วยว่าปัจจุบันมีความสนใจเรื่องสุขภาพพระสงฆ์มากขึ้น เห็นได้จากงานวิจัยที่มีมากขึ้น เทียบกับประมาณ 5 ปีที่แล้วที่งานสถิติเกี่ยวกับพระสงฆ์หายาก
ด้าน ศ.ดร.ภญ. จงจิตร บอกว่าส่วนหนึ่งของโครงการสงฆ์ไทยไกลโรคคือการผลิตสื่อความรู้โภชนาการและการดูแลสุขภาพสำหรับแจกจ่ายพระสงฆ์และประชาชน และทำคลิปวิดีโอสั้น ๆ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ลำพังตัวเลขสถิติต่าง ๆ ไม่สามารถทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้
"คำตอบของเราเนี่ยจะไม่สามารถที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของการถวายอาหารได้เลย เราก็เลยทำงานวิจัยในเรื่องของวิธีการสื่อสารกับฆราวาสญาติโยม ว่าเราจะสื่อสารยังไงเขาถึงจะรู้สึกทัชเข้าถึงว่ามันอยากเปลี่ยนนะ" ศ.ดร.ภญ. จงจิตรกล่าวทิ้งท้าย
ที่มา
วันวิสาขบูชา : ทำบุญอย่างไร ช่วยพระห่างไกลโรคอ้วน
บีบีซีไทย
ดร. ขนิษฐา บอกว่าหากชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใน 5-10 ปีข้างหน้าอาจเห็นผลที่ชัดเจนมากขึ้น เธอบอกด้วยว่าปัจจุบันมีความสนใจเรื่องสุขภาพพระสงฆ์มากขึ้น เห็นได้จากงานวิจัยที่มีมากขึ้น เทียบกับประมาณ 5 ปีที่แล้วที่งานสถิติเกี่ยวกับพระสงฆ์หายาก
ด้าน ศ.ดร.ภญ. จงจิตร บอกว่าส่วนหนึ่งของโครงการสงฆ์ไทยไกลโรคคือการผลิตสื่อความรู้โภชนาการและการดูแลสุขภาพสำหรับแจกจ่ายพระสงฆ์และประชาชน และทำคลิปวิดีโอสั้น ๆ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ลำพังตัวเลขสถิติต่าง ๆ ไม่สามารถทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้
"คำตอบของเราเนี่ยจะไม่สามารถที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของการถวายอาหารได้เลย เราก็เลยทำงานวิจัยในเรื่องของวิธีการสื่อสารกับฆราวาสญาติโยม ว่าเราจะสื่อสารยังไงเขาถึงจะรู้สึกทัชเข้าถึงว่ามันอยากเปลี่ยนนะ" ศ.ดร.ภญ. จงจิตรกล่าวทิ้งท้าย
ที่มา
วันวิสาขบูชา : ทำบุญอย่างไร ช่วยพระห่างไกลโรคอ้วน
บีบีซีไทย