นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม
โฆษกศาลยุติธรรม ชี้ ศาลพิจารณาคดีเปิดเผย ไม่มีปกปิดชื่อผู้พิพากษา แต่ศาลต้องตักเตือน หากพบการกระทำข่มขู่คุกคามผู้พิพากษา
ความคืบหน้สากรณีที่ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ออกมาแสดงความเห็นเรียกร้องให้สามารถตรวจสอบชื่อผู้พิพากษาที่มีคำสั่งคำร้องต่างๆ โดยเฉพาะคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยคดี 112 โดยอ้างว่า เพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลได้นั้น
วันนี้ (21 เม.ย.) นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ศาลยุติธรรมพิจารณาโดยเปิดเผย ตามปกติคู่ความที่เกี่ยวข้องในคดีย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าผู้พิพากษาท่านใดเป็นผู้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาในสำนวนของตัวเอง อีกทั้งเมื่อผู้พิพากษาจะมีคำสั่งในคำร้องใด หรือคำพิพากษาใดๆ ผู้พิพากษาก็จะต้องลงลายมือชื่อในคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นๆ อยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่ผู้พิพากษาศาลอาญา ได้กล่าวในการไต่สวนปล่อยชั่วคราวคดีหนึ่ง ไม่ได้มีการห้ามการเปิดเผยชื่อผู้พิพากษา แต่เป็นการตักเตือนการกระทำที่นำชื่อผู้พิพากษา ตลอดจนบุคคลในครอบครัวไปกระทำการในลักษณะที่เป็นการคุกคาม และยุยงให้มีการแสดงการปองร้าย อันเป็นการแสดงความเห็นซึ่งไม่ใช่ทางวิชาการ ผู้พิพากษาที่ไต่สวนจึงได้ตักเตือนการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการข่มขู่คุกคามผู้พิพากษาเท่านั้น
ด้านแหล่งข่าวผู้พิพากษา บอกว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้พิพากษาทำถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง ให้ไปดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 187 ระบุว่า คําสั่งระหว่างพิจารณาอย่างน้อยต้องมี 1. วันเดือนปี 2. เหตุผลตามกฎหมายในการสั่ง และ 3. คําสั่ง เท่านั้น ไม่ได้ระบุให้ต้องลงชื่อผู้พิพากษาที่มีคำสั่ง นอกจากนี้ ยังมีระเบียบประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ ว่า ให้ผู้พิพากษาที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ในคำสั่งขออนุญาตฎีกา แค่เพียงลงลายมือชื่อเป็นลายเซ็นต์ไว้เท่านั้นก็ได้ ไม่ต้องลงชื่อนามสกุลเป็นตัวบรรจง เลยมีการปรับมาใช้กับการสั่งคำร้องระหว่างการพิจารณาคดีต่างๆ ด้วย ซึ่งเป็นมาตรการบริหาร โดยมีกฎหมายให้อำนาจ เพื่อความปลอดภัยของผู้พิพากษาไม่ถูกคุกคาม
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 เม.ย. 2565
อานนท์ นำภา
13h
ไม่เปิดเผยชื่อศาลที่สั่งไม่ให้ประกันนี่แปลกจริง น่าจะมีแค่ประเทศไทยที่ผู้พิพากษาไม่กล้าเปิดเผยชื่อ-นามสกุล
อานนท์ นำภา
17h
สาดสีใส่ทรัพย์สินของพรรคประชาธิปัตย์จะถือเป็นความรุนแรงได้อย่าง เป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยแท้ ยอมความได้ด้วย หรือจะบอกว่าเผาหุ่นฟางก็เป็นหุ่นฟางที่นำมาเอง
การให้เหตุผลของศาลอาญากรณีไม่ให้ประกันตัว #ทะลุฟ้า จึงเป็นที่ควรถกเถียง และเอาไปเปรียบเทียบกับคดีปล้นฆ่า หรือก่อการร้าย หรือคดีอื่นๆ ที่ก่อนหน้านี้ศาลอาญาให้ประกันไป
อานนท์ นำภา
12h
การไม่เปิดชื่อ-นามสกุล ของผู้พิพากษา เป็นการริดรอนสิทธิจำเลยที่จะตั้งข้อรังเกียจผู้พิพากษาตามมาตรา 27 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งเป็นการไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติและความรับผิดชอบของคนต่อคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เหตุผลที่ว่าเกรงว่าจะมีคนเอาไปด่าหรือประนามนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะผู้พิพากษาคนนั้นก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้อยู่แล้ว และแม้ในวันนี้จะมีคนด่าคนประนาม แต่ถ้าหากคำสั่งหรือคำพิพากษาของท่านบริสุทธิ์ยุติธรรมจริง ในวันหน้าอนุชนคนรุ่นหลังย่อมต้องยกย่องสรรเสริญอย่างแน่แท้
ได้โปรดเปิดเผยชื่อ-นามสกุล พวกท่านเถิดครับ อย่างน้อยก็ให้ Google บันทึกไว้ในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อที่วันหน้านักเรียนกฎหมายจะได้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงต่อไป
12h
การไม่เปิดชื่อ-นามสกุล ของผู้พิพากษา เป็นการริดรอนสิทธิจำเลยที่จะตั้งข้อรังเกียจผู้พิพากษาตามมาตรา 27 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งเป็นการไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติและความรับผิดชอบของคนต่อคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เหตุผลที่ว่าเกรงว่าจะมีคนเอาไปด่าหรือประนามนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะผู้พิพากษาคนนั้นก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้อยู่แล้ว และแม้ในวันนี้จะมีคนด่าคนประนาม แต่ถ้าหากคำสั่งหรือคำพิพากษาของท่านบริสุทธิ์ยุติธรรมจริง ในวันหน้าอนุชนคนรุ่นหลังย่อมต้องยกย่องสรรเสริญอย่างแน่แท้
ได้โปรดเปิดเผยชื่อ-นามสกุล พวกท่านเถิดครับ อย่างน้อยก็ให้ Google บันทึกไว้ในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อที่วันหน้านักเรียนกฎหมายจะได้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงต่อไป
.....
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วันที่ 7 ก.ย. 2565 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นัดฟังคำสั่งประกันตัวในคดีของนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุฟ้า ทั้ง 7 คน ประกอบไปด้วย “ป่าน” กตัญญู หมื่นคำเรือง, “คิม” ทศมา สมจิตร์, “เจมส์” ศักดิ์สิทธิ์ เผือกผ่องศรี, “คาริม” จิตริน พลาก้านตง, “ทู” กฤษณะ มาตย์วิเศษ, “อาทิตย์” ทวี เที่ยงวิเศษ และชาติชาย ไพรลิน หลังถูกฟ้องจากกรณีทำกิจกรรมสาดสีหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 และยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวทั้งหมดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
.
ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 1 ก.ย. 2565 ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้ง 7 และศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวในวันที่ 6 ก.ย. 2565 โดยมีคำสั่งระบุว่าให้เตรียมพยาน รวมทั้งให้เบิกตัวจำเลยทั้งหมดและบุคคลที่ศาลอาจตั้งให้เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยมาด้วย
.
ในนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัว ทนายความได้เสนอหลักทรัพย์ในการขอปล่อยตัวชั่วคราว เป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท พร้อมทั้งระบุว่า หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขประกอบการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือเห็นสมควรให้ตั้งผู้กำกับดูแล จำเลยทั้งเจ็ดยินยอมให้ศาลกำหนดเงื่อนไข ห้ามเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ที่มีลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา, ห้ามออกนอกเคหสถานในยามวิกาล, ห้ามออกนอกราชอาณาจักร และให้มารายงานตัวต่อศาลตามเวลาที่กำหนด, ติดอุปกรณ์ติดตามตัว (EM) รวมทั้งยินยอมให้ศาลแต่งตั้งผู้กำกับดูแล
.
อ่านบันทึกการไต่สวนคำร้องขอประกัน 7 ทะลุฟ้า >>> https://tlhr2014.com/archives/48009
.
ต่อมาในเวลา 11.53 น. ศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีศาลเคยไม่อนุญาต จำเลยที่ 3 – 9 เพราะถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกฎ ทั้งใช้ความรุนแรง และทำให้เกิดภยันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุสมควร โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 – 6 เคยถูกดำเนินคดีที่ศาลนี้มาก่อนแล้ว
.
จึงเชื่อว่าหากปล่อยจำเลยที่ 3 – 9 ไป อาจจะไปก่อภยันตรายอื่นได้อีก ในชั้นนี้ แม้จำเลยทั้งหมดดังกล่าว จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ยินยอมให้ศาลกำหนดเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM
.
แต่ก็ยังตั้งเงื่อนไขในการที่จะออกจากเคหสถาน เพียงช่วงเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ชั้นต้น ซึ่งยังไม่เพียงพอให้ศาลเชื่อว่า จำเลยทั้งหมดจะไม่ก่ออันตรายอื่นอีก โดยเฉพาะจำเลยที่ 5 (อาทิตย์ ทวี) และ 7 (ป่าน กตัญญู) ได้เสนอบุคคลที่ไม่น่าจะสามารถกำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ดีเพียงพอ ในชั้นนี้จึงยังถือว่าการร้องขอของจำเลยที่ 3 – 9 ยังไม่มีเหตุผลพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง
.
ทั้งนี้ ขณะให้นายประกันอ่านคำสั่งศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่เปิดเผยชื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำสั่งดังกล่าว
.
ผลของคำสั่ง ทำให้ในวันนี้ สมาชิกทะลุฟ้าทั้ง 7 คน จะยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 2565 รวมเป็นระยะเวลา 51 วันแล้ว
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/48014
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วันที่ 7 ก.ย. 2565 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นัดฟังคำสั่งประกันตัวในคดีของนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุฟ้า ทั้ง 7 คน ประกอบไปด้วย “ป่าน” กตัญญู หมื่นคำเรือง, “คิม” ทศมา สมจิตร์, “เจมส์” ศักดิ์สิทธิ์ เผือกผ่องศรี, “คาริม” จิตริน พลาก้านตง, “ทู” กฤษณะ มาตย์วิเศษ, “อาทิตย์” ทวี เที่ยงวิเศษ และชาติชาย ไพรลิน หลังถูกฟ้องจากกรณีทำกิจกรรมสาดสีหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 และยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวทั้งหมดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
.
ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 1 ก.ย. 2565 ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้ง 7 และศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวในวันที่ 6 ก.ย. 2565 โดยมีคำสั่งระบุว่าให้เตรียมพยาน รวมทั้งให้เบิกตัวจำเลยทั้งหมดและบุคคลที่ศาลอาจตั้งให้เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยมาด้วย
.
ในนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัว ทนายความได้เสนอหลักทรัพย์ในการขอปล่อยตัวชั่วคราว เป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท พร้อมทั้งระบุว่า หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขประกอบการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือเห็นสมควรให้ตั้งผู้กำกับดูแล จำเลยทั้งเจ็ดยินยอมให้ศาลกำหนดเงื่อนไข ห้ามเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ที่มีลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา, ห้ามออกนอกเคหสถานในยามวิกาล, ห้ามออกนอกราชอาณาจักร และให้มารายงานตัวต่อศาลตามเวลาที่กำหนด, ติดอุปกรณ์ติดตามตัว (EM) รวมทั้งยินยอมให้ศาลแต่งตั้งผู้กำกับดูแล
.
อ่านบันทึกการไต่สวนคำร้องขอประกัน 7 ทะลุฟ้า >>> https://tlhr2014.com/archives/48009
.
ต่อมาในเวลา 11.53 น. ศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีศาลเคยไม่อนุญาต จำเลยที่ 3 – 9 เพราะถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกฎ ทั้งใช้ความรุนแรง และทำให้เกิดภยันตรายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุสมควร โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 – 6 เคยถูกดำเนินคดีที่ศาลนี้มาก่อนแล้ว
.
จึงเชื่อว่าหากปล่อยจำเลยที่ 3 – 9 ไป อาจจะไปก่อภยันตรายอื่นได้อีก ในชั้นนี้ แม้จำเลยทั้งหมดดังกล่าว จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ยินยอมให้ศาลกำหนดเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM
.
แต่ก็ยังตั้งเงื่อนไขในการที่จะออกจากเคหสถาน เพียงช่วงเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ชั้นต้น ซึ่งยังไม่เพียงพอให้ศาลเชื่อว่า จำเลยทั้งหมดจะไม่ก่ออันตรายอื่นอีก โดยเฉพาะจำเลยที่ 5 (อาทิตย์ ทวี) และ 7 (ป่าน กตัญญู) ได้เสนอบุคคลที่ไม่น่าจะสามารถกำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ดีเพียงพอ ในชั้นนี้จึงยังถือว่าการร้องขอของจำเลยที่ 3 – 9 ยังไม่มีเหตุผลพอที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง
.
ทั้งนี้ ขณะให้นายประกันอ่านคำสั่งศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่เปิดเผยชื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำสั่งดังกล่าว
.
ผลของคำสั่ง ทำให้ในวันนี้ สมาชิกทะลุฟ้าทั้ง 7 คน จะยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 2565 รวมเป็นระยะเวลา 51 วันแล้ว
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/48014