เพราะเราเปลี่ยนโลกได้: “ธงชัย วินิจจะกูล”กับคนรุ่นใหม่ในร้านหนังสือแห่งเมืองอุบลฯ
ระหว่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อปี 2563-2564 “ธงชัย วินิจจะกูล” กลายเป็นไอดอลของคนรุ่นใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้ หนังสือหลายเล่มของเขาถูกถกเถียงบนโลกโซเชียลมีเดีย การพบปะมวลมิตรบนหนทางประชาธิปไตยที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อไม่นานมานี้ ผู้ร่วมฟังบทปลุกใจจึงไม่ผิดหวัง
อัยการ ศรีดาวงศ์ เรื่องและภาพ
เครดิตภาพ วิทยากร โสวัตร
พลบค่ำเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ก่อนที่สายลมและพายุฝนแห่งฟ้าคะนองจะย่างกรายเข้าสู่เมืองขัณฑสีมา อุบลราชธานีศรีวนาลัย (ประเทศราช) * แห่งนี้
ชายธรรมดาที่ชื่อ ‘ธงชัย วินิจจะกุล’ ในชุดไปรเวท กางเกงขาสั้นเสื้อยืดกีฬาถูกรอบล้อมไปด้วยเหล่าคนหนุ่มสาวนักแสวงหา ผู้คนมากหน้าหลายตาจากวงการกรรมกรสอนหนังสือในทั้งในและนอกระบบการศึกษา คนเหล่านี้ต่างเดินทางรอนแรมมาเพื่อพบและสัมผัสกับชายธรรมดาที่ไม่ธรรมดาคนหนึ่ง
ราวกับเป็นคณะนักเดินทางผู้จาริกแสวงบุญในชมพูทวีปหรือไม่ก็เป็นคณะอัศวินโต๊ะกลมที่กำลังตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ หากแต่นิวาสถานแห่งการแสวงบุญที่ว่านี้กลับมิใช่นิวาสถานที่ใหญ่โตโอ่อ่าไปกว่าร้านหนังสืออิสระร้านหนึ่งที่มีชื่อว่า ร้านหนังสือในสวนดอกไม้ ‘ฟิลาเดลเฟีย’
ทั้งรถยนต์ ทั้งม้าป่งเขาจอดเรียงรายตามแนวเสาที่ออกดอก พาหนะต่างๆ ถูกจอดเรียงรายตั้งแต่ปากซอยไล่ไปจนถึงหน้าร้าน ราวกับว่าเป็นเทศกาลงานบุญอะไรสักอย่าง ไม่ต่างจากวันรวมญาติ แต่วันรวมมิตรทางปัญญา
ใต้แสงจากหลอดไฟสีส้มนวลตาสลัวๆ บนลานแห่งเรื่องเล่า บริเวณหน้าร้านหนังสือในสวนดอกไม้ โต๊ะพับถูกจัดวางไว้ตรงกลางลานกว้าง มีม้านั่ง ซึ่งถูกประกอบสร้างจากปูนครึ่งวงกลมขนาบอยู่ด้านข้าง แม้จะต่อเสริมเก้าอี้พลาสติกเข้าไปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนที่มาร่วมงาน ไม่เว้นแม้กระทั่งแมวน้อยและบรรดานกน้อยต่างก็จับจองหาพื้นที่ในการร่วมฟัง
บนโต๊ะพับมีอาหารง่ายๆ อย่าง ข้าวเหนียวในกระติบข้าวธรรมดา พร้อมด้วยน้ำพริกที่บรรจงตำขึ้นจากครกกระเดื่องในสมัยท้าวฮุ่ง ขุนเจือง และไก่ย่างทาซอสสีส้มอมแดงคล้ายกับสีจากเชี่ยนหมากของหญิงชราที่ถ่มลงบนกระโถน
ผลไม้สำหรับดับคาว อย่าง องุ่นไร้เมล็ดถูกจัดวางไว้อย่างเงียบสงบราวกับว่าไม่มีใครใคร่จะสนใจนัก เสมือนว่าไม่เคยมีโต๊ะพับหรือสิ่งของเหล่านี้อยู่ เนื่องจากทุกสายตาต้องมนต์สะกดและจับจ้องไปยังชายที่นั่งถัดจากพิธีกร ถัดมา คือ เจ้าของร้านหนังสือ ที่ออกลีลาท่าทางในการพูดจากขุมพลังทางปัญญาที่เปล่งประกาออกมา เป็นไปตามวลีอมตะยิ่งกว่า “อาวใหญ่ หน้ายาน” เปล่งออกมาในการแสดงสดบันทึกเทปวงเพชรพิณทองชุด โมราห์พาซิ่ง ที่ว่า ‘ศิลป์แสดงเขาออกแล้ว!!..’
ลงจากหอคอยงาช้าง
ผมโชคดีอย่างหนึ่งที่ว่า ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ผมเป็นคนที่อ่านหนังสือ แค่นั้นเอง.. แค่นั้นจริงๆ บวกกับการที่ผมได้รับโอกาส คือ คุณต้องเข้าใจนะว่า คนแบบผมหรือแบบพวกคุณเนี่ย ถ้าได้รับโอกาส ได้ Space ได้ช่วงเวลาที่เอื้อต่อการเติบโต เราทุกคนต่างก็เติบโตได้ หากแต่สิ่งที่เรากำลังประสบอยู่ในบริบทความเป็นรัฐไทย มันไม่เอื้อต่อการเติบโตของคนแบบผมและพวกคุณเท่านั้นเอง
สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ผมได้รับโอกาสไปเติบโตในที่ที่ผมเติบโตได้ ก็เท่านั้นเอง.. นั่นทำให้ผมได้รับโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ในวันนี้ เป็นที่ผมกลับมา Down to Earth หรือกลับมาติดดินอีกครั้ง หลังจากอยู่กับงานบน ‘หอคอยงาช้าง’ มานาน..
เป็นสิ่งที่ ธงชัย วินิจจะกุล ให้ความหมายของ “หอคอยงาช้าง” และเปิดสุนทรพจน์กระตุ้นจิตวิญญาณของผู้ฟัง
งานทางวิชาการที่มีสัดส่วนถึง 90% ที่ถูกมองว่า มันไร้ประโยชน์ความน่าดึงดูดจากนักอ่าน ไม่เหมาะแก่การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานเชิงวิจัย งานเชิงปรัชญา งานเชิงลึกในการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลอะไรก็ตามที่มักถูกมองข้ามว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลืองและยังไม่จำเป็น หากแต่สิ่งที่เรียกว่างานวิจัยจากหอคอยงาช้างนี้เองที่ขับเคลื่อนพลวัตของมนุษย์ให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งประเทศโลกที่หนึ่งเขามี Space ให้กับสิ่งเหล่านี้ มีพื้นที่ มีทุน ให้กับงานเหล่านี้ แตกต่างจากบ้านเรา ที่งานเหล่านี้มักจะขาดการสนับสนุน นั่นทำให้บ้านเมืองเรายังขาดงานที่เป็นงานบนหอคอยงาช้างอยู่มากพอสมควร คือ ยังขาดคนที่จะมาทำงานบนหอคอยงาช้าง
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง กรณี วัคซีนป้องกันโคโรน่า-19 คุณเชื่อจริงๆ เหรอว่า ถ้าไม่มีงานวิจัย หรือฐานข้อมูลที่มาจากหอคอยงาช้าง คุณจะได้รับวัคซีนได้ทันท่วงทีอย่างที่ทุกๆ คนได้รับ มันอาจจะล่าช้าไปเป็นปีๆ หรือสิบปีเลยก็ได้ หากขาดซึ่งฐานข้อมูลที่มาจากงานบนหอคอยงาช้าง ทีนี้เริ่มเห็นความจำเป็นของงานเหล่านี้หรือยัง..
หรือยกตัวอย่างให้ง่ายกว่านั้นอีก อย่างเช่น งานเขียนบนหอคอยงาช้างอย่าง กำเนิดสยามจากแผนที่ (Siam Mapped) ซึ่งเป็นงานที่เขียนไว้นานเสียจนแทบจะถูกลืม ซึ่งต้องขอขอบคุณคนรุ่นใหม่ ขอบคุณคณะราษฎร’63 ขอบคุณคนอย่างรุ้ง ปนัสยา คนอย่าง เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ ที่ทำให้งานเขียนบนหอคอยงาช้างของผม ถูกนำกลับมาสู่สังคมไทยอย่างที่มันควรจะเป็นมานานแล้ว กลับมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและถอดรหัสต่อสังคมไทย ถ้าผมรู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์คณะราษฎร’63 ขึ้นมานะ ตอนนั้นผมคงไม่เขียนออกมาหรอก ผมคงจะรอให้คนเหล่านี้เกิดและเติบโต รอให้ม็อบเกิดแล้ว ค่อยเขียนมันออกมาซะยังดีกว่า (หัวเราะ)
มุมมองต่อกระบวนการยุติธรรม
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ปี 2475 โดยคณะราษฎรนั้นจะมีอยู่องค์กรหนึ่งที่ไม่ได้รับการแตะต้องหรือปฏิรูปเลยนั่นก็คือ ‘ระบบศาล’
กระบวนการยุติธรรมไทยนั้น เสมือนหนึ่งว่า รับมรดกจากระบอบเดิมและความคิดแบบเจ้าอาณานิคมมาแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ได้มาซึ่งเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม หลักกฎหมายบางข้อที่ยอมให้มีการลิดรอนเสรีภาพ ภายใต้การกล่าวอ้างถึงข้อยกเว้นเรื่องความมั่นคง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตามความเข้าใจ คือ เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดแบบหลังอาณานิคม (Post Colonialism) ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างความรู้ หลักคิดและจารีตดั้งเดิมกับวิทยาการความรู้สมัยใหม่แบบตะวันตก ซึ่งในที่นี้ก็คือ ‘ระบบกฎหมาย’
การตั้งคำถามต่อความไม่ยุติธรรมและความไม่ชอบมาพากล จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจในส่วนของข้อกฎหมายบางมาตราที่หลงเหลือมาจากหลักการคิดแบบเจ้าอาณานิคมและจะเห็นได้ว่า การลิดรอนเสรีภาพมักถูกทำให้เป็นข้อยกเว้นในสถานการณ์ทุกสถานการณ์ที่รัฐบอกว่า เป็นเรื่องของ ‘ความมั่นคงแห่งรัฐ’
ถึงตรงนี้เราจะแก้ปัญหาอย่างไร ต้องเข้าใจแบบนี้ก่อนว่า การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน หากแต่เป็นการค่อยๆ เปลี่ยนไปในระยะยาว ถ้าสมมติว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน เกิดการจับปืนเข้าสู่รบกันเป็นสงครามกลางเมือง แล้วฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายก้าวหน้าได้รับชัยชนะ ผมจะเป็นคนแรกที่เดินทางออกนอกประเทศทันที
เพราะอะไร ถ้าคุณได้อำนาจมาด้วยวิธีการแบบนั้น คุณเองก็ต้องเหี้ยมพอที่จะจัดการทุกคนที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของคุณ ในการปกป้องการปฏิวัติ ซึ่งผมมองว่า นั่นไม่ต่างอะไรจากเผด็จการฟาสซิสต์เลย
กลับกันถ้าคุณไม่เหี้ยมพอก็จะเป็นคุณเสียเองที่สูญเสียอำนาจไป ตัวอย่างมีให้เห็น เช่น ในปฏิวัติฝรั่งเศสที่หลังการปฏิวัติก็เกิดการเข่นฆ่ากันเองในขบวนกินเวลายาวนานไปอีกหลายต่อหลายปี
ฝากถึง “คนรุ่นใหม่”
สิ่งที่ผมต้องการจะบอกกับพวกคุณ ‘คนรุ่นใหม่’ ในฐานะคนรุ่นพ่อของใครหลายๆ คนก็คือ คนรุ่นใหม่ อย่าพึ่งใจร้อน การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มันต้องจุดเริ่มต้น แล้วมุ่งตรงไปข้างหน้า ซึ่งเราก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว เพียงแต่ว่า เราต้องก้าวอย่างมั่นคงต่อไป ในขณะเดียวกันทุกคนก็จำเป็นต้องรีเช็คกันอยู่เสมอๆ เพราะเราต้องไม่ลืมว่า โลกของเราไม่มี ซุปเปอร์แมน ไม่มีคนที่สมบูรณ์แบบที่สุด แม้กระทั่งคนอย่างธนาธร (จึงรุ่งเรืองกิจ) คนอย่าง พิธา (ลิ้มเจริญรัตน์) คนอย่างรุ้ง คนอย่าง เพนกวิน คนอย่างใครก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นดังกรรมการของสังคม หรือแม้กระทั่งคนอย่างธงชัยเอง ล้วนแต่มีด้านที่ขาวและดำ ปะปนกันไป ไม่มีขาวสนิทหรือดำสนิท นี่แหละคือมนุษย์ นี่แหละ คือ ความเป็น Normal man (ความเป็นคนธรรมดา)
ทีนี้หลายคนคงจะถามว่า เห็นกระบวนการยุติธรรมแบบนี้แล้วจะแก้ไขยังไงหรือช่วยได้ยังไง ในขณะที่ยังมีนักโทษการเมืองถูกกักขังโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ผมขอเสนอแนะไว้เป็นแนวทางแบบนี้ ซึ่งอาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจใครๆ ก็ตาม ผมอยากให้จำหลักการง่ายๆ ที่พึงมีในกระบวนการยุติธรรม นั่นคือ ข้อเรียกร้องที่ว่า “ขอให้ศาลเคารพกฎหมาย” และ “ขอให้ศาลปฏิบัติตามกฎหมาย”
เพราะการประกันตัวนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเลยพึงได้รับ การไม่ให้สิทธิประกันตัวนั้นถือว่า เป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งในทางนี้เองประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องต่อศาลได้ แม้เราจะรู้อยู่แล้วว่า ไม่กี่วันศาลก็ Reject กลับมา
แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ ฟ้องมันซ้ำๆ ฟ้องมันลงไป ในทุกๆ ครั้งที่ถูก Reject กลับมา ภายใต้เหตุผลและข้อเรียกร้องนี้ ในกรณีนี้ผมค่อนข้างเห็นต่างจากอาจารย์ปิยบุตร ( แสงกนกุล) ที่ไม่แนะนำให้ฟ้อง เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำให้คดี ‘รกศาล’
ส่วนตัวผมมองว่า ในเมื่อที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมรวมไปถึงศาล ก็ได้ทำให้คดีมารกกับจำเลยมากพอแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องตอบโต้กลับในฐานะของประชาชนธรรมดาๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมได้รับการปรับแก้ให้อยู่กับร่องกับรอยที่ควรจะเป็นเสียที
อย่างน้อยๆ ด้วยกระบวนการนี้เองที่จะทำให้ศาลและคนในกระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงสถานศึกษาที่ผลิตคนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เริ่มฉุหคิด ว่าการกระทำใดๆ ที่ได้รับการต่อต้านก็จะต้องชั่งน้ำหนักและคิดให้มากขึ้น เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เพราะในทุกวันเวลาที่ผ่านไป คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมย่อมต้องเกษียณไปสักวัน เมื่อมีการเกษียณก็ย่อมมีการเข้ามาแทนในตำแหน่งที่ว่าง ตรงนี้เองคนที่จะเข้าไปแทนในตำแหน่งนั้นจำต้องคิดให้มากกว่าคนที่ผ่านมา
………………….
ระหว่างนี้แววตาของผู้ชายธรรมดาเปล่งประกายราวกับกำลังลุกไหม้
เขาพูดพร้อมเอากำปั้นชนวางบนฝ่ามือ สะท้อนถึงความหนักแน่นและเชื่อมั่นในสิ่งที่สื่อออกมา ซึ่งทำให้เกิดมนต์สะกดต่อดวงตาหลายสิบคู่ให้จดจ้องไปที่ชายธรรมดาคนนี้ หลังจากไฮปาร์คแบบย่อมๆ มาพักใหญ่ เขาจึงหยุดให้เพื่อเรียกสมาธิแล้วจึงเอ่ยออกมาว่า
“เพราะผมเชื่อว่า เราเปลี่ยนโลกได้”
ด้วยความเชื่อที่ว่าเราเปลี่ยนโลกได้ ผมเชื่อเช่นนั้น เราทุกคนต่างเป็นคนธรรมดาๆ ที่สามารถเปลี่ยนโลกได้จากการทำอะไรเล็กๆ ไม่จำเป็นต้องมีซุปเปอร์แมน เพียงแค่มีคนธรรมดาๆ หลายต่อหลายคนต่างทำในสิ่งที่เป็นสิ่งเล็กๆ โดยไม่คาดหวังจนเกินไปว่า มันจะสำเร็จในชั่วข้ามคืน หากแต่บางครั้งเราต้องอยู่กับมันให้ได้ หลายคนอาจจะไม่ถูกใจสิ่งนี้ ก็ไม่เป็นไร ใครมีแรงก็ทำตามแรง ใครผ่อนลงด้วยปัจจัยภายนอกรอบข้างก็ต้องเคารพการกระทำนั้น แต่ตราบใดที่เรายังทำอยู่ จะมากจะน้อย ผมเชื่อว่า มันจะถึงจุดที่โลกเปลี่ยนแปลงเพราะพวกเรา ในสักวัน ฉะนั้นจงทำต่อไปและในบางโอกาสก็จงทำต่อไปด้วยความอหังกา
“จงอหังกาบ้างสิ..” ชายธรรมดาผู้ชื่อว่า ‘ธงชัย วินิจจะกุล’ กล่าวออกมาอย่างเรียบง่าย ในแววตาอันลุกวาว..
คุณไม่ต้องมาเชื่อผมก็ได้ คุณจะอหังกาทำมันอย่างบ้าคลั่งก็ได้ตามแต่คุณปรารถนา หากนั่นเป็นเสรีภาพของคุณโดยที่ไม่ได้ไปละเมิดผู้อื่น พึงกระทำไปเถิด อย่างน้อยๆ ขอให้ลองทำไปดู จะสำเร็จหรือล้มเหลว อย่างน้อยขอให้เราได้ลงมือทำ ด้วยความเชื่อที่ว่าอย่างน้อยๆ โลกที่เราอยู่นี้ มันคงจะน่าอยู่ขึ้นในสักวัน..
จากผู้เขียน : การเรียกชื่อเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยว่า “ประเทศราช” เป็นการอ้างอิงจากข้อมูลของ วิทยากร โสวัตร เจ้าหน้าที่ร้านหนังสือฟิลาเดลเฟีย เพื่อเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์อีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งการตั้งชื่อเมืองอุบลราชธานีก็เพราะเป็นเมืองที่เคยมีเจ้าฟ้า เชื้อพระวงศ์เสด็จมาประทับ แต่ขัดกับคำพ่วงท้าย “ศรีวนาลัย” ที่มีความหมายว่า ป่าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นราชธานี หากแต่เป็นมุมมองที่มองว่า เป็นประเทศราชที่เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนมาก่อน…
พลบค่ำเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ก่อนที่สายลมและพายุฝนแห่งฟ้าคะนองจะย่างกรายเข้าสู่เมืองขัณฑสีมา อุบลราชธานีศรีวนาลัย (ประเทศราช) * แห่งนี้
ชายธรรมดาที่ชื่อ ‘ธงชัย วินิจจะกุล’ ในชุดไปรเวท กางเกงขาสั้นเสื้อยืดกีฬาถูกรอบล้อมไปด้วยเหล่าคนหนุ่มสาวนักแสวงหา ผู้คนมากหน้าหลายตาจากวงการกรรมกรสอนหนังสือในทั้งในและนอกระบบการศึกษา คนเหล่านี้ต่างเดินทางรอนแรมมาเพื่อพบและสัมผัสกับชายธรรมดาที่ไม่ธรรมดาคนหนึ่ง
ราวกับเป็นคณะนักเดินทางผู้จาริกแสวงบุญในชมพูทวีปหรือไม่ก็เป็นคณะอัศวินโต๊ะกลมที่กำลังตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ หากแต่นิวาสถานแห่งการแสวงบุญที่ว่านี้กลับมิใช่นิวาสถานที่ใหญ่โตโอ่อ่าไปกว่าร้านหนังสืออิสระร้านหนึ่งที่มีชื่อว่า ร้านหนังสือในสวนดอกไม้ ‘ฟิลาเดลเฟีย’
ทั้งรถยนต์ ทั้งม้าป่งเขาจอดเรียงรายตามแนวเสาที่ออกดอก พาหนะต่างๆ ถูกจอดเรียงรายตั้งแต่ปากซอยไล่ไปจนถึงหน้าร้าน ราวกับว่าเป็นเทศกาลงานบุญอะไรสักอย่าง ไม่ต่างจากวันรวมญาติ แต่วันรวมมิตรทางปัญญา
ใต้แสงจากหลอดไฟสีส้มนวลตาสลัวๆ บนลานแห่งเรื่องเล่า บริเวณหน้าร้านหนังสือในสวนดอกไม้ โต๊ะพับถูกจัดวางไว้ตรงกลางลานกว้าง มีม้านั่ง ซึ่งถูกประกอบสร้างจากปูนครึ่งวงกลมขนาบอยู่ด้านข้าง แม้จะต่อเสริมเก้าอี้พลาสติกเข้าไปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนที่มาร่วมงาน ไม่เว้นแม้กระทั่งแมวน้อยและบรรดานกน้อยต่างก็จับจองหาพื้นที่ในการร่วมฟัง
บนโต๊ะพับมีอาหารง่ายๆ อย่าง ข้าวเหนียวในกระติบข้าวธรรมดา พร้อมด้วยน้ำพริกที่บรรจงตำขึ้นจากครกกระเดื่องในสมัยท้าวฮุ่ง ขุนเจือง และไก่ย่างทาซอสสีส้มอมแดงคล้ายกับสีจากเชี่ยนหมากของหญิงชราที่ถ่มลงบนกระโถน
ผลไม้สำหรับดับคาว อย่าง องุ่นไร้เมล็ดถูกจัดวางไว้อย่างเงียบสงบราวกับว่าไม่มีใครใคร่จะสนใจนัก เสมือนว่าไม่เคยมีโต๊ะพับหรือสิ่งของเหล่านี้อยู่ เนื่องจากทุกสายตาต้องมนต์สะกดและจับจ้องไปยังชายที่นั่งถัดจากพิธีกร ถัดมา คือ เจ้าของร้านหนังสือ ที่ออกลีลาท่าทางในการพูดจากขุมพลังทางปัญญาที่เปล่งประกาออกมา เป็นไปตามวลีอมตะยิ่งกว่า “อาวใหญ่ หน้ายาน” เปล่งออกมาในการแสดงสดบันทึกเทปวงเพชรพิณทองชุด โมราห์พาซิ่ง ที่ว่า ‘ศิลป์แสดงเขาออกแล้ว!!..’
ลงจากหอคอยงาช้าง
ผมโชคดีอย่างหนึ่งที่ว่า ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ผมเป็นคนที่อ่านหนังสือ แค่นั้นเอง.. แค่นั้นจริงๆ บวกกับการที่ผมได้รับโอกาส คือ คุณต้องเข้าใจนะว่า คนแบบผมหรือแบบพวกคุณเนี่ย ถ้าได้รับโอกาส ได้ Space ได้ช่วงเวลาที่เอื้อต่อการเติบโต เราทุกคนต่างก็เติบโตได้ หากแต่สิ่งที่เรากำลังประสบอยู่ในบริบทความเป็นรัฐไทย มันไม่เอื้อต่อการเติบโตของคนแบบผมและพวกคุณเท่านั้นเอง
สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ผมได้รับโอกาสไปเติบโตในที่ที่ผมเติบโตได้ ก็เท่านั้นเอง.. นั่นทำให้ผมได้รับโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ในวันนี้ เป็นที่ผมกลับมา Down to Earth หรือกลับมาติดดินอีกครั้ง หลังจากอยู่กับงานบน ‘หอคอยงาช้าง’ มานาน..
เป็นสิ่งที่ ธงชัย วินิจจะกุล ให้ความหมายของ “หอคอยงาช้าง” และเปิดสุนทรพจน์กระตุ้นจิตวิญญาณของผู้ฟัง
งานทางวิชาการที่มีสัดส่วนถึง 90% ที่ถูกมองว่า มันไร้ประโยชน์ความน่าดึงดูดจากนักอ่าน ไม่เหมาะแก่การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานเชิงวิจัย งานเชิงปรัชญา งานเชิงลึกในการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลอะไรก็ตามที่มักถูกมองข้ามว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลืองและยังไม่จำเป็น หากแต่สิ่งที่เรียกว่างานวิจัยจากหอคอยงาช้างนี้เองที่ขับเคลื่อนพลวัตของมนุษย์ให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งประเทศโลกที่หนึ่งเขามี Space ให้กับสิ่งเหล่านี้ มีพื้นที่ มีทุน ให้กับงานเหล่านี้ แตกต่างจากบ้านเรา ที่งานเหล่านี้มักจะขาดการสนับสนุน นั่นทำให้บ้านเมืองเรายังขาดงานที่เป็นงานบนหอคอยงาช้างอยู่มากพอสมควร คือ ยังขาดคนที่จะมาทำงานบนหอคอยงาช้าง
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง กรณี วัคซีนป้องกันโคโรน่า-19 คุณเชื่อจริงๆ เหรอว่า ถ้าไม่มีงานวิจัย หรือฐานข้อมูลที่มาจากหอคอยงาช้าง คุณจะได้รับวัคซีนได้ทันท่วงทีอย่างที่ทุกๆ คนได้รับ มันอาจจะล่าช้าไปเป็นปีๆ หรือสิบปีเลยก็ได้ หากขาดซึ่งฐานข้อมูลที่มาจากงานบนหอคอยงาช้าง ทีนี้เริ่มเห็นความจำเป็นของงานเหล่านี้หรือยัง..
หรือยกตัวอย่างให้ง่ายกว่านั้นอีก อย่างเช่น งานเขียนบนหอคอยงาช้างอย่าง กำเนิดสยามจากแผนที่ (Siam Mapped) ซึ่งเป็นงานที่เขียนไว้นานเสียจนแทบจะถูกลืม ซึ่งต้องขอขอบคุณคนรุ่นใหม่ ขอบคุณคณะราษฎร’63 ขอบคุณคนอย่างรุ้ง ปนัสยา คนอย่าง เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ ที่ทำให้งานเขียนบนหอคอยงาช้างของผม ถูกนำกลับมาสู่สังคมไทยอย่างที่มันควรจะเป็นมานานแล้ว กลับมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและถอดรหัสต่อสังคมไทย ถ้าผมรู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์คณะราษฎร’63 ขึ้นมานะ ตอนนั้นผมคงไม่เขียนออกมาหรอก ผมคงจะรอให้คนเหล่านี้เกิดและเติบโต รอให้ม็อบเกิดแล้ว ค่อยเขียนมันออกมาซะยังดีกว่า (หัวเราะ)
มุมมองต่อกระบวนการยุติธรรม
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ปี 2475 โดยคณะราษฎรนั้นจะมีอยู่องค์กรหนึ่งที่ไม่ได้รับการแตะต้องหรือปฏิรูปเลยนั่นก็คือ ‘ระบบศาล’
กระบวนการยุติธรรมไทยนั้น เสมือนหนึ่งว่า รับมรดกจากระบอบเดิมและความคิดแบบเจ้าอาณานิคมมาแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ได้มาซึ่งเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม หลักกฎหมายบางข้อที่ยอมให้มีการลิดรอนเสรีภาพ ภายใต้การกล่าวอ้างถึงข้อยกเว้นเรื่องความมั่นคง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตามความเข้าใจ คือ เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดแบบหลังอาณานิคม (Post Colonialism) ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างความรู้ หลักคิดและจารีตดั้งเดิมกับวิทยาการความรู้สมัยใหม่แบบตะวันตก ซึ่งในที่นี้ก็คือ ‘ระบบกฎหมาย’
การตั้งคำถามต่อความไม่ยุติธรรมและความไม่ชอบมาพากล จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจในส่วนของข้อกฎหมายบางมาตราที่หลงเหลือมาจากหลักการคิดแบบเจ้าอาณานิคมและจะเห็นได้ว่า การลิดรอนเสรีภาพมักถูกทำให้เป็นข้อยกเว้นในสถานการณ์ทุกสถานการณ์ที่รัฐบอกว่า เป็นเรื่องของ ‘ความมั่นคงแห่งรัฐ’
ถึงตรงนี้เราจะแก้ปัญหาอย่างไร ต้องเข้าใจแบบนี้ก่อนว่า การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน หากแต่เป็นการค่อยๆ เปลี่ยนไปในระยะยาว ถ้าสมมติว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน เกิดการจับปืนเข้าสู่รบกันเป็นสงครามกลางเมือง แล้วฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายก้าวหน้าได้รับชัยชนะ ผมจะเป็นคนแรกที่เดินทางออกนอกประเทศทันที
เพราะอะไร ถ้าคุณได้อำนาจมาด้วยวิธีการแบบนั้น คุณเองก็ต้องเหี้ยมพอที่จะจัดการทุกคนที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของคุณ ในการปกป้องการปฏิวัติ ซึ่งผมมองว่า นั่นไม่ต่างอะไรจากเผด็จการฟาสซิสต์เลย
กลับกันถ้าคุณไม่เหี้ยมพอก็จะเป็นคุณเสียเองที่สูญเสียอำนาจไป ตัวอย่างมีให้เห็น เช่น ในปฏิวัติฝรั่งเศสที่หลังการปฏิวัติก็เกิดการเข่นฆ่ากันเองในขบวนกินเวลายาวนานไปอีกหลายต่อหลายปี
ฝากถึง “คนรุ่นใหม่”
สิ่งที่ผมต้องการจะบอกกับพวกคุณ ‘คนรุ่นใหม่’ ในฐานะคนรุ่นพ่อของใครหลายๆ คนก็คือ คนรุ่นใหม่ อย่าพึ่งใจร้อน การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มันต้องจุดเริ่มต้น แล้วมุ่งตรงไปข้างหน้า ซึ่งเราก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว เพียงแต่ว่า เราต้องก้าวอย่างมั่นคงต่อไป ในขณะเดียวกันทุกคนก็จำเป็นต้องรีเช็คกันอยู่เสมอๆ เพราะเราต้องไม่ลืมว่า โลกของเราไม่มี ซุปเปอร์แมน ไม่มีคนที่สมบูรณ์แบบที่สุด แม้กระทั่งคนอย่างธนาธร (จึงรุ่งเรืองกิจ) คนอย่าง พิธา (ลิ้มเจริญรัตน์) คนอย่างรุ้ง คนอย่าง เพนกวิน คนอย่างใครก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นดังกรรมการของสังคม หรือแม้กระทั่งคนอย่างธงชัยเอง ล้วนแต่มีด้านที่ขาวและดำ ปะปนกันไป ไม่มีขาวสนิทหรือดำสนิท นี่แหละคือมนุษย์ นี่แหละ คือ ความเป็น Normal man (ความเป็นคนธรรมดา)
ทีนี้หลายคนคงจะถามว่า เห็นกระบวนการยุติธรรมแบบนี้แล้วจะแก้ไขยังไงหรือช่วยได้ยังไง ในขณะที่ยังมีนักโทษการเมืองถูกกักขังโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ผมขอเสนอแนะไว้เป็นแนวทางแบบนี้ ซึ่งอาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจใครๆ ก็ตาม ผมอยากให้จำหลักการง่ายๆ ที่พึงมีในกระบวนการยุติธรรม นั่นคือ ข้อเรียกร้องที่ว่า “ขอให้ศาลเคารพกฎหมาย” และ “ขอให้ศาลปฏิบัติตามกฎหมาย”
เพราะการประกันตัวนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเลยพึงได้รับ การไม่ให้สิทธิประกันตัวนั้นถือว่า เป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งในทางนี้เองประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องต่อศาลได้ แม้เราจะรู้อยู่แล้วว่า ไม่กี่วันศาลก็ Reject กลับมา
แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ ฟ้องมันซ้ำๆ ฟ้องมันลงไป ในทุกๆ ครั้งที่ถูก Reject กลับมา ภายใต้เหตุผลและข้อเรียกร้องนี้ ในกรณีนี้ผมค่อนข้างเห็นต่างจากอาจารย์ปิยบุตร ( แสงกนกุล) ที่ไม่แนะนำให้ฟ้อง เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำให้คดี ‘รกศาล’
ส่วนตัวผมมองว่า ในเมื่อที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมรวมไปถึงศาล ก็ได้ทำให้คดีมารกกับจำเลยมากพอแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องตอบโต้กลับในฐานะของประชาชนธรรมดาๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมได้รับการปรับแก้ให้อยู่กับร่องกับรอยที่ควรจะเป็นเสียที
อย่างน้อยๆ ด้วยกระบวนการนี้เองที่จะทำให้ศาลและคนในกระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงสถานศึกษาที่ผลิตคนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เริ่มฉุหคิด ว่าการกระทำใดๆ ที่ได้รับการต่อต้านก็จะต้องชั่งน้ำหนักและคิดให้มากขึ้น เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เพราะในทุกวันเวลาที่ผ่านไป คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมย่อมต้องเกษียณไปสักวัน เมื่อมีการเกษียณก็ย่อมมีการเข้ามาแทนในตำแหน่งที่ว่าง ตรงนี้เองคนที่จะเข้าไปแทนในตำแหน่งนั้นจำต้องคิดให้มากกว่าคนที่ผ่านมา
………………….
ระหว่างนี้แววตาของผู้ชายธรรมดาเปล่งประกายราวกับกำลังลุกไหม้
เขาพูดพร้อมเอากำปั้นชนวางบนฝ่ามือ สะท้อนถึงความหนักแน่นและเชื่อมั่นในสิ่งที่สื่อออกมา ซึ่งทำให้เกิดมนต์สะกดต่อดวงตาหลายสิบคู่ให้จดจ้องไปที่ชายธรรมดาคนนี้ หลังจากไฮปาร์คแบบย่อมๆ มาพักใหญ่ เขาจึงหยุดให้เพื่อเรียกสมาธิแล้วจึงเอ่ยออกมาว่า
“เพราะผมเชื่อว่า เราเปลี่ยนโลกได้”
ด้วยความเชื่อที่ว่าเราเปลี่ยนโลกได้ ผมเชื่อเช่นนั้น เราทุกคนต่างเป็นคนธรรมดาๆ ที่สามารถเปลี่ยนโลกได้จากการทำอะไรเล็กๆ ไม่จำเป็นต้องมีซุปเปอร์แมน เพียงแค่มีคนธรรมดาๆ หลายต่อหลายคนต่างทำในสิ่งที่เป็นสิ่งเล็กๆ โดยไม่คาดหวังจนเกินไปว่า มันจะสำเร็จในชั่วข้ามคืน หากแต่บางครั้งเราต้องอยู่กับมันให้ได้ หลายคนอาจจะไม่ถูกใจสิ่งนี้ ก็ไม่เป็นไร ใครมีแรงก็ทำตามแรง ใครผ่อนลงด้วยปัจจัยภายนอกรอบข้างก็ต้องเคารพการกระทำนั้น แต่ตราบใดที่เรายังทำอยู่ จะมากจะน้อย ผมเชื่อว่า มันจะถึงจุดที่โลกเปลี่ยนแปลงเพราะพวกเรา ในสักวัน ฉะนั้นจงทำต่อไปและในบางโอกาสก็จงทำต่อไปด้วยความอหังกา
“จงอหังกาบ้างสิ..” ชายธรรมดาผู้ชื่อว่า ‘ธงชัย วินิจจะกุล’ กล่าวออกมาอย่างเรียบง่าย ในแววตาอันลุกวาว..
คุณไม่ต้องมาเชื่อผมก็ได้ คุณจะอหังกาทำมันอย่างบ้าคลั่งก็ได้ตามแต่คุณปรารถนา หากนั่นเป็นเสรีภาพของคุณโดยที่ไม่ได้ไปละเมิดผู้อื่น พึงกระทำไปเถิด อย่างน้อยๆ ขอให้ลองทำไปดู จะสำเร็จหรือล้มเหลว อย่างน้อยขอให้เราได้ลงมือทำ ด้วยความเชื่อที่ว่าอย่างน้อยๆ โลกที่เราอยู่นี้ มันคงจะน่าอยู่ขึ้นในสักวัน..
จากผู้เขียน : การเรียกชื่อเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยว่า “ประเทศราช” เป็นการอ้างอิงจากข้อมูลของ วิทยากร โสวัตร เจ้าหน้าที่ร้านหนังสือฟิลาเดลเฟีย เพื่อเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์อีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งการตั้งชื่อเมืองอุบลราชธานีก็เพราะเป็นเมืองที่เคยมีเจ้าฟ้า เชื้อพระวงศ์เสด็จมาประทับ แต่ขัดกับคำพ่วงท้าย “ศรีวนาลัย” ที่มีความหมายว่า ป่าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นราชธานี หากแต่เป็นมุมมองที่มองว่า เป็นประเทศราชที่เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนมาก่อน…
ที่มา Isaan Record