Pongprom Yamarat
September 1
อาทิตย์ก่อนมีพูดคุยกับผู้บริหาร HR recruitment ระดับประเทศท่านนึง
บอกก่อนว่าหลายอย่างที่จะเขียน อาจกระทบจิตใจหลายๆท่าน
แต่เมื่อเป็นเรื่องจริงที่มาจากข้อมูล สถิติ การวัดได้ และวิทยาศาสตร์ ผมว่าผมก็กล้าจะเอามาแชร์นะครับ
ทำไมเมื่อ 20-30 ปีก่อน การ recruit คนทำงานไม่ยากเท่าวันนี้?
HR คนนี้มองว่า
ช่องว่างคุณภาพการศึกษาไทย และโลกในวันนั้นมันไม่ได้ห่างขนาดวันนี้
เช่น เด็กจบ Ivy League มา ก็เก่งแหละ แต่ถ้าเอาเด็กไทยจบบัญชีธรรมศาสตร์มาปั้น มันก็ไปได้
ไม่นับวิศวะจุฬาฯ ลาดกระบัง หมอ มอ. นะ นั่นเก่งเทพมานานแล้ว
ส่วนวันนั้น เด็กเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซียนี่ปลายแถวมาก
ไทยจึงโดดเด่นได้ในช่วงนึง
แต่พอมาวันนี้
Globalization ทำให้ “เด็กไทย” ต้องแข่งกับ “เด็กใน ASEAN” และใน Asia ที่การศึกษาเค้าพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
ในขณะที่การศึกษามาเลเซียแซงหน้าไทยไปนานแล้ว (เค้ายกตัวเองไปสู้สิงคโปร์)
อินเดีย จีน เค้าสร้างการศึกษาระดับโลกสำเร็จ
ส่วนอันดับการศึกษาประเทศไทย และขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย กลับตกชั้น
ในขณะที่ชาวบ้านเร่งสปีด ไทยกลับเข้าเกียร์ถอยหลัง
มันเกิดเหตุการณ์นี้ต่อเนื่องมา 10 ปีเศษๆ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประยุทธ์ จันทรโอชา
มันเป็นเส้น “down trend” มายาวๆ
สิ่งที่พบคือ
ช่องว่างเด็กจบ Ivy League อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น + มหาวิทยาลัยดีๆในมาเลเซีย สิงคโปร์ + มหาวิทยาลัยดีๆในจีน
“มันทิ้งห่างค่าเฉลี่ยเด็กไทยมากกว่าเดิม”
ทั้งคุณภาพการศึกษา การปลูกฝังความคิด ค่านิยมในการสู้ การมีความคิดริเริ่ม การคิดแบบนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ
แม้ว่ายังมีหลายมหาวิทยาลัยในไทยยังเอาตัวรอดได้ เช่น
จุฬา ลาดกระบัง บางมด มหิดล มอ.หาดใหญ่ มข. มช.
แต่ค่าเฉลี่ยของมหาวิทยาลัยที่เหลือ กลับห่างจากค่าเฉลี่ยใน Asia สูงมาก
ขนาด “ธรรมศาสตร์” วันนี้ อันดับก็ตกหายไปอยู่ไหนไม่รู้แล้ว จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่เด่นเรื่องคุณภาพการศึกษาอีกต่อไป
มาดู PISA score
ที่ผมชอบ PISA เพราะเป็นการสอบที่ไม่วัดความจำ แต่วัดทักษะความคิด ความเชื่อมโยง การแก้ไขปัญหา
และ PISA score สัมพันธ์โดยตรงกับ “การพัฒนา” ในประเทศนั้นๆ
คะแนน PISA เด็กไทย “ร่วงลง” ทุกปี
สิ่งนี้ทำให้การ “จ้างงาน” ในไทยยากขึ้นมาก
เป็นที่มาของ
บริษัทอยากหาคนมาทำงาน
พร้อมจ่ายแพงๆ 50,000 ได้ 1.5 แสนได้
แต่หาคนที่ qualify ไม่ได้
กลายเป็นมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ หาง่ายกว่า
จึงเกิดเหตุการณ์
บริษัทขาดคนทำงาน แต่เด็กตกงาน
แล้วก็เลยเกิดปัญหาต่อเนื่อง คือการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากต่างชาติมาไทย เพิ่มขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
แต่ยังชนะฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชาอยู่
คนไทยเลยตื่นเต้นเป็นชิ้นๆเช่น BYD มาตั้งโรงงานในไทย
แต่ไม่ได้ไปรู้หรอกว่าบริษัทจีน อังกฤษ เยอรมัน เกาหลี ญี่ปุ่น ไปลงทุนในเพื่อนบ้านเรา มากกว่าเราหลายเท่าตัว
ผมมักเน้นเสมอว่า “เด็กไม่ผิด” แต่ “แม่พิมพ์เราพัง”
เราจึงเห็นปัญหาปลายเหตุ เช่นเด็กตกงาน เด็กเปราะบาง เด็กงอแง เด็กไม่สู้ เด็กขี้ดราม่า เด็กยอมแพ้เก่ง
แต่ไม่พูดกันว่า
สังคม และสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่สร้างเด็กแบบนี้มา
เอานักการเมืองที่ไม่รู้เรื่องมาบริหาร
เอาคนแก่ มากำหนดนโยบายให้เด็ก (ข้อนี้ผมเจอประจำ 55555)
แล้วเราจะแก้มันอย่างไร?
นักการเมือง ข้าราชการประจำ รวมถึงผู้บริหารพรรคต่างๆ
ต้องหยุดเอาแต่คนรุ่นเก่าที่ไม่เข้าใจโลกใบใหม่ มายึดหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายต่างๆ
เป็นจุดเริ่มต้นอันนึงครับ