ทางการไทยยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาชี้แจงต่อสาธารณชนว่า สรุปทางการอังกฤษเชิญหรือไม่เชิญ ถ้าเชิญเราเค้าเชิญเราในระดับไหน หรือถ้าเค้าเชิญในระดับราชวงศ์เป็นฝ่ายเราเองที่ปฏิเสธหรือเปล่า เราเลยมาลองตั้งสมมติฐานที่อาจมีสักข้อที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นจริงกัน /2
โดยเริ่มจากความสัมพันธ์ของสองประเทศระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรในระดับราชสำนัก ความสัมพันธ์ทางการทูตมีมานานกว่า 4 ศตวรรษแล้วนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ในที่นี้ขออ้างอิงจากเหตุการณ์ในปัจจุบันระหว่าง ควีนเอลิซาเบธที่ 2 และรัชกาลที่ 9 /3
ในปี 2509 ในหลวง ร.9 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์และพระราชโอรสธิดา เสด็จเยือนสหราชอาณาจักรเป็นการส่วนพระองค์ โดยทางรัฐบาลอังกฤษได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงต้อนรับและอารักขา
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
/5 pic.twitter.com/UByBEDoQGG
ต่อมาในปี 2539 ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง พร้อมด้วยเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ เนื่องในปีกาญจนาภิเษก (Golden Jubilee) ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีของในหลวง ร.9
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
/7 pic.twitter.com/OwppZebI0W
ต่อมาในปี 2554 ในวันอภิเษกสมรสของเจ้าชายวิลเลียม (รัชทายาทอังกฤษลำดับที่ 2 ในขณะนั้น) และเคท มิดเดิลตัน
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
ในหลวง ร.9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระยศในขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์เข้าร่วมพระราชพิธีนี้ด้วย
/9 pic.twitter.com/bRrnrDbWxe
ปีนี้ 2565 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในหลวง ร.10 และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มีพระราชสาส์นและลายพระราชหัตถ์ส่งให้ทางการอังกฤษแยกกัน ฉบับแรกในฐานะรัฐต่อรัฐ ฉบับสองในฐานะพระราชมิตรที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้งสองราชวงศ์เป็นอย่างดี
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
/11 pic.twitter.com/xcuEkVVAXX
ในพระราชพิธีพระศพควีนเอลิซาเบธที่ 2 มีแค่ 2 สมมติฐานที่อาจเป็นเป็นได้ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระดับประเทศและราชวงศ์ จากที่เล่ามาทั้งหมดมีความเชื่ออย่างยิ่งว่า ทางการอังกฤษต้องเชิญไทยไปร่วมงานอยู่แล้วตามธรรมเนียมและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง (ไม่เห็นเหตุผลที่จะไม่เชิญ) /12
สมมติฐาน (1) ทางการอังกฤษเชิญระดับราชวงศ์ไทยไปร่วมงาน แต่ทางราชสำนักไทยปฏิเสธที่จะส่งพระราชวงศ์ไป เนื่องจากติดพระราชกรณียกิจ ไทยจึงส่งระดับเอกอัครราชทูตไปแทน ถ้าไทยตัดสินใจทางนี้จะเป็นผลเสียกับไทย ราชสำนักไทยหักหาญน้ำใจมิตรไมตรีที่พระบรมราชชนกทรงสร้างและรักษามาตลอดรัชสมัย /13
ระดับประมุข ร.10/พระราชินี - ไม่น่าไป แต่คิดว่าไปได้นะ แต่คงไม่ไป ระดับเจ้าฟ้า ชั้นพระญาติ - พระเทพ เพิ่งกลับจากการเยือนสวิสและเยอรมัน ไม่น่าไป - ทูลกระหม่อมและฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ไปไม่ได้ องค์แรกไม่มียศแล้ว องค์หลังป่วยด้วย /14
ระดับเจ้าฟ้า ชั้นโอรสธิดา - ฟ้าหญิงพัชรกิติยาภา ไปไม่ได้ ติดพระราชทานปริญญา ⁃ ฟ้าหญิงสิริวัณณวรีและฟ้าชายทีปังกร ไม่น่าจะได้ออกงานสำคัญอย่างนี้ แต่ส่งได้ ระดับหม่อมเจ้า - คิดว่าน่าจะส่งไปได้สักองค์ เพราะพระยศก็เป็น His/Her Serene Highness Prince/Princess แต่ไม่ส่ง /15
สมมติฐาน (2) ทางการอังกฤษไม่ได้เชิญระดับราชวงศ์ไทยไปร่วมงานเลย เชิญแค่ระดับเอกอัครราชทูต (เหมือนเกาหลีเหนือ คิดว่าเป็นไปได้น้อยสุด) ถ้ามาในทางนี้ ราชสำนักอังกฤษหักหาญน้ำใจไมตรีที่พระบรมราชชนนีทรงสร้างกันมาตลอดรัชสมัย แต่ไทยก็ทำอะไรไม่ได้ เราไม่ได้มีอำนาจไปต่อรองได้ขนาดนั้น /16
สุดท้ายนี้ เธรดนี้แค่อยากจะมาเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของทั้งสองราชวงศ์จากทั้งสองประเทศว่า มีพัฒนาการความเป็นมาทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร จากอดีตสู่ปัจจุบัน มองไปยังอนาคต หากไทยมีงานเดียวกันนี้อีกครา ไทยจะกล้าเชิญหรืออังกฤษจะกล้าส่งใครมาร่วมไหม น่าติดตามต่อไป /17
ตามนี้คือจบ https://t.co/1nKrb2RtJa
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
เพิ่มเติม /งานจบแล้ว แต่เรายังไม่จบ https://t.co/JihmfcKqdZ
— Pika (@pikachuiscat) September 19, 2022
ที่มา https://twitter.com/pikachuiscat/status/1571812196547710977