ย้อนรอย Kangkaroo Court : ก่อนวันพิพากษา 18 สิงหา คดีแฮกเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกเรียกค่าเสียหาย 10 ล้าน
17/08/2565
ศูนย์ทน่ยความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วชิระ (สงวนามสกุล) อายุ 33 ปี พื้นเพเป็นคน อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและชอบงานวาดการ์ตูน และแอนิเมชั่น หลังเรียนจบมาจึงทำงานเป็นฟรีแลนซ์ รับงานทำแอนิเมชั่นในส่วนเรื่องการวาดภาพ “แต่งานพวกนี้ไม่ค่อยมีในไทย ทำให้นานๆ จะมีงานสักชิ้นนึง” วชิระกล่าว
วชิระเป็นเพียงชายหนุ่มธรรมดาที่ใช้ชีวิตเฉกเช่นปุถุชนทั่วไป เขาไม่ได้มีความสนใจในด้านการเมืองแบบเข้มข้น การติดตามข่าวสารก็ดูอยู่ห่างๆ และไม่ได้แสดงความคิดเห็นตามโลกโซเชียลมากเท่าไหร่นัก
แต่แล้วในวันที่ 10 พ.ย. 2564 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำวินิจฉัย กรณีการชุมนุมปราศรัย 10 ข้อเสนอต่อการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ของ อานนท์ นำภา, ไมค์ ภานุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มธรรมศาสตร์จะไม่ทน โดยมีใจความสำคัญเห็นว่า เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ย้อนอ่าน 10 ข้อเสนอในการชุมนุม 10 ส.ค.63 >>> “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อแก้ปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ นัดชุมนุมอีกครั้ง 12 ส.ค. – BBC News ไทย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นทำให้วชิระตัดสินใจออกมาทำอะไรบางอย่างในวันที่ 11 พ.ย. 2564 บนหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเว็บเป็น ‘Kangaroo Court’ ซึ่งมีความหมายว่า “ศาลเตี้ย” และได้ฝังคลิปวิดีโอเพลงจากยูทูป ชื่อว่า ‘Guillotine (It goes Yah)’ โดยศิลปิน Death Grips จนกลายเป็นกระแสติดเทรนด์ยอดนิยมบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ และเกิดการตั้งคำถามจากสังคม ตลอดจนการตามหาตัวแฮกเกอร์คนนี้มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างไรก็ตาม วชิระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของคำว่า Kangaroo Court ดังกล่าวมีความหมายกว้างกว่านั้นสำหรับเขา
ในความคิดเห็นผม ความหมายแฝงอีกอย่างคือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกกำหนดผลมาตั้งแต่ต้น”วชิระ — แฮกเกอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ
.
การบุกจับกุมวชิระ ถึงบ้านพัก พร้อมหมายจับจากตำรวจหลายหน่วย ก่อนนำตัวส่งเข้ากรุงเทพฯ
เพียงสองวันหลังเกิดเหตุ วันที่ 13 พ.ย. 2564 ตำรวจจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) ได้บุกเข้าค้นบ้านของวชิระ ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับ 1 ว่ากระทำการเข้าไปเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ และได้นำตัวไปสอบปากคำ โดยเขาได้รับสารภาพว่าได้เข้าไปแฮกเว็บไซต์จริง
ต่อมาในเช้าวันที่ 14 พ.ย. 2564 ตำรวจหลายหน่วยงานได้นำหมายจับจากศาลอาญา เข้าจับกุมวชิระอีกครั้ง ในข้อกล่าวหาตาม ‘พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ’ ก่อนจะนำตัวเขาไปที่ สภ.วารินชำราบ โดยมีครอบครัวติดตามไปด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมขังวชิระไว้ที่สถานีดังกล่าว และแจ้งว่าจะต้องนำตัวเขาไปดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ ก่อนจะเรียกเงินประกันจากครอบครัวเป็นจำนวน 100,000 บาท โดยแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องมีทนายอยู่ด้วย
ต่อมาในวันเดียวกัน ครอบครัวของวชิระได้ติดต่อ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อขอความช่วยเหลือให้ติดตามตัวลูกชายไปเข้าร่วมการสอบปากคำของตำรวจ ซึ่งได้นำตัวเขามาดำเนินคดีที่ บก.สอท. 1 กรุงเทพมหานคร
ในวันดังกล่าว การสอบสวนเริ่มขึ้นในช่วงกลางดึก หลังจากวชิระได้พบกับทนายความและปรึกษากฎหมายร่วมกันแล้ว เขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทนายความให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรกที่ไปถึง บก.สอท. ได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่า จะให้ประกันวชิระในชั้นสอบสวนหรือไม่ ตำรวจตอบเพียงว่า เตรียมที่นอนให้วชิระนอนในห้องแอร์แล้ว
แต่หลังจากวชิระให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนที่ บก.สอท. ได้ส่งตัวผู้ต้องหาไปขังอยู่ที่ สน.ทุ่งสองห้อง เพื่อรอส่งฝากขังที่ศาลอาญาในวันรุ่งขึ้น
15 พ.ย.2564 ตำรวจจาก สน.ทุ่งสองห้อง ได้นำตัววชิระฝากขังต่อศาลอาญาโดยการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในขณะเดียวกัน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว ต่อมาศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์ 25,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
ตลอดการถูกควบคุมตัวไปดำเนินคดีช่วง 3 วัน วชิระเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายปฏิบัติต่อเขาและครอบครัวเป็นอย่างดีจนน่าแปลกใจ ระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ถูกใส่กุญแจมือ ทำให้เขาไม่ค่อยวิตกกังวลเท่าไหร่นัก จะมีบ้างก็ตอนถูกขังอยู่ที่ สน.ทุ่งสองห้อง ซึ่งคืนนั้นเขาเครียดจนนอนไม่หลับทั้งคืน
เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน วชิระได้บอกว่า “สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกไม่ดีอย่างหนึ่ง ก็คือการที่ผมทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลเยอะ ผมเองไม่ได้เป็นห่วง ไม่ได้อะไรกับตัวเองมาก แต่ทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนๆ เป็นห่วงเรา กังวลมากกว่าผมเยอะเลย”
อ่านรายละเอียดการจับกุมวชิระ เพิ่มเติม >>> หนุ่มอุบลฯ ให้การปฏิเสธชั้นสอบสวน – ได้ประกันตัว หลังถูกจับจากเหตุเข้าเปลี่ยนชื่อเว็บศาลรัฐธรรมนูญเป็น “Kangaroo Court”
.
อัยการสั่งฟ้องคดี ระบุว่าผู้ต้องหากระทำการให้ระบบคอมพิวเตอร์เสียหาย ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ก่อนวชิระรับสารภาพในส่วนอาญา
วันที่ 29 ธ.ค. 2564 ศิวาพร เสนรุย พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 ระบุมีคำสั่งฟ้องคดีของวชิระต่อศาลอาญา ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 5, 7, 9 และ 10
โดยสรุปกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 วชิระได้เข้าถึงซึ่งระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ www.constitutionalcourt.or.th ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกําหนดชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) อันเป็นมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน
ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ของจําเลยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้บริหารจัดการข้อมูลในเว็บไซต์ของผู้เสียหาย เข้าถึงระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ดังกล่าว แล้วทําให้เสียหาย ทําลาย ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ รหัสผ่าน, ชุดคําสั่งและข้อมูลในไฟล์ index.php ลิงค์ให้แสดงผลไฟล์จากยูทูบในหน้าเว็บไซต์ (Web Page) และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลชื่อเว็บไซต์ (Title) จากเดิมที่ปรากฏข้อความว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นข้อความว่า “Kangaroo Court” และแนบลิงค์ยูทูบเพลง Guillotine (It goes Yah) ของ Death Grips
ต่อมาภายหลังจากที่ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการแก้ไข ให้หน้าเว็บไซต์กลับไปปกติแล้ว วชิระได้เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์อีกครั้งและแก้ไขไฟล์ index.php ให้มีลักษณะเป็นไฟล์ที่อ่านอย่างเดียว โดยไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ (Read Only) และได้ลบไฟล์ Log access (สําหรับจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์)
อัยการระบุว่า วชิระกระทําการดังกล่าวโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย ถูกขัดขวางและรบกวน จนระบบคอมพิวเตอร์สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ของผู้เสียหายเกิดความขัดข้องในการสั่งแก้ไข และเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชน ไม่สามารถทํางานตามปกติได้
ถึงแม้ว่า อัยการจะมีคำสั่งฟ้อง วชิระยืนยันที่จะให้การปฏิเสธและตัดสินใจสู้คดีต่อไป
กระทั่งในวันที่ 7 มี.ค. 2565 ศาลอาญานัดตรวจพยานหลักฐานในคดีนี้ วชิระได้ตัดสินใจยอมรับสารภาพตามฟ้อง
.
นัดฟังคำพิพากษาถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากสำนักงานศาล รธน. และจำเลยต้องการศึกษาเพื่อสู้คดีในส่วนแพ่ง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายนับ 10 ล้านบาท
ในวันที่ 20 เม.ย. 2565 เดิมศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในคดีนี้ แต่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 4 เม.ย. 2565 ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมในกรณีที่ทำให้ระบบเว็บไซต์เกิดความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้ เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท ซึ่งศาลได้ให้สิทธิจำเลยสามารถสู้ในส่วนแพ่งจากกรณีดังกล่าวได้
วชิระซึ่งเพิ่งทราบคำร้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายมูลค่านับล้านบาทนี้เป็นครั้งแรก จึงแถลงความประสงค์ขอสู้คดีในส่วนแพ่งดังกล่าว จึงให้จำเลยยื่นคำให้การแก้คดีในส่วนแพ่ง ภายใน 15 วัน รวมถึงนัดสืบพยานผู้เสียหาย ตลอดจนให้รอพิจารณาคดีในส่วนอาญาและแพ่งพร้อมกัน
ต่อมาในวันที่ 10 พ.ค. 2565 ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง แต่ก็ต้องถูกเลื่อนออกไปอีกเนื่องจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่าต้องการศึกษาคำให้การในส่วนแพ่งของจำเลยก่อน ซึ่งศาลเห็นสมควรและให้มีการนัดวันสืบพยานผู้ร้องในส่วนแพ่งต่อ โดยกำชับให้ผู้ร้องนำตัวพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้มาเบิกความแจกแจงค่าเสียหาย
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีคำพิพากษา แต่ก็ไม่ได้ทำให้วชิระรู้สึกโล่งใจแต่อย่างใด เมื่อได้ทราบว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเรียกค่าเสียหายมูลค่ามหาศาลต่อคนธรรมดาอย่างเขา อีกทั้งในการเดินทางจากอุบลราชธานี มากรุงเทพฯ หลายครั้งก็เป็นภาระทางค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
เมื่อถามถึงความรู้สึก เขาฝากบอกกับสังคมว่าตนเองเคยเป็นหนึ่งในคนที่ไม่คิดสนใจปัญหาการเมือง เนื่องจากรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวมาเสมอ จนกระทั่งเมื่อได้อ่านเรื่องราวและติดตามข่าวของนักกิจกรรมที่ถูกละเมิดสิทธิและได้รับการดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรม เขาจึงอยากที่จะออกมาแสดงความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้
วชิระได้ทิ้งท้ายไว้ว่า
“ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาเพื่อให้เสียงของตัวเองได้ยิน หรือลุกขึ้นมาปกป้องเสียงของคนอื่น สักวันอาจจะไม่เหลือใครที่จะลุกขึ้นมาเพื่อคุณเลย”วชิระ — แฮกเกอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ
ในวันที่ 24 มิ.ย. 2565 ผู้ร้องได้นำตัวนายปภู ธรรมวงศา ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นพยานขึ้นเบิกความเพื่อแจกแจงเรื่องค่าเสียหายตามคำร้องของฝ่ายผู้เสียหาย
ในคดีนี้ ทนายความได้ขึ้นถามกับพยานผู้ร้องว่า จำเลยเพียงเข้าไปแก้ไขและเปลี่ยนแปลงชื่อของเว็บไซต์เท่านั้น และไม่ได้ทำให้ส่วนระบบหรือฐานข้อมูลภายในได้รับความเสียหายใดๆ ใช่หรือไม่ และพยานรับว่าใช่
อย่างไรก็ตาม ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็เคยออกมายอมรับว่า เว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้มีความเสียหายด้านข้อมูลเพราะไม่ได้ถูกเจาะในระบบฐานข้อมูล เป็นเพียงแฮกเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เท่านั้น
ในวันนัดสืบพยานในส่วนแพ่งของคดีนี้ ทนายความยังได้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องการปิดเว็บไซต์ชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจากพยานผู้ร้องว่า เนื่องจาก สกมช. ได้ทำหนังสือข้อแนะนำส่งถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าให้ทำการปิดเว็บชั่วคราวไป เพื่อประเมินความปลอดภัยของระบบข้อมูลก่อน
ทนายความได้แถลงสรุปต่อศาลว่าในการปิดระบบเว็บไซต์ชั่วคราวนั้น ไม่ได้เป็นเหตุความเสียหายที่เกิดจากจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเองมีความสามารถในการแก้ไขเว็บไซต์ ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ในการเบิกความของพยานปากนี้ ไม่ได้ทำให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายมูลค่านับล้านบาทแต่อย่างใด จึงทำให้ศาลต้องเลื่อนการนัดสืบพยานออกไปอีก และกำชับให้ผู้ร้องนำตัวพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับค่าเสียหายในคดีนี้มาให้ได้ ถ้าหากศาลไม่ได้รับข้อเท็จจริง ศาลจะมีคำพิพากษาในวันนัดถัดไปเลยทันที
อ่านบันทึกสืบพยานคดีส่วนแพ่ง >>> เลื่อนนัดสืบพยานในส่วนแพ่งคดี ‘แฮกเกอร์ศาลรัฐธรรมนูญ’ หลังผู้ร้องไม่มีพยานบุคคลมาอธิบายในส่วนค่าความเสียหายของเว็บไซต์นับล้านบาทได้
.
สืบพยานผู้ร้องปากที่ 2 ระบุว่าค่าเสียหาย 10 ล้านบาท เหมาะสมแล้ว จำนวนเงินสอดคล้องกับสภาพสังคมตอนนี้ ก่อนศาลนัดฟังคำพิพากษา 18 สิงหา
ในวันที่ 8 ก.ค. 2565 นัดสืบพยานผู้ร้องในส่วนแพ่งวันสุดท้าย โดยมีนายบุญเสริม นาคสาร รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นเบิกความเพื่อชี้แจงค่าเสียหาย ซึ่งมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคดีนี้ ทนายถามต่อพยานว่ามีเอกสารที่ไม่ได้ระบุว่า ช่องโหว่ที่ว่าจำเลยเป็นคนสร้างขึ้น แต่พยานแย้งว่า เป็นการกระทำของจำเลย ทนายจึงถามย้ำว่า ในเอกสารของพยานระบุว่า สรุปมีช่องโหว่ของเว็บไซต์ 76 จุดนั้น แต่ไม่ได้ระบุว่าเกิดจากจำเลย บุญเสริมก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน และได้อ้างว่าเนื้อหาทุกประการนั้นได้ถูกตรวจสอบเรียบร้อยแล้วโดย สกมช.
นอกจากนี้ ทนายได้ถามถึงเอกสารคำพิพากษาในชั้นฎีกาที่ผู้ร้องยื่นเข้ามาด้วย ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อกล่าวหาฐานหมิ่นประมาท ไม่ใช่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตามที่จำเลยถูกฟ้อง พยานระบุถึงความต้องการเปรียบเทียบความเสียหาย ในคดีนั้น ผู้เสียหายเป็นนักการเมือง ฎีกาให้ชำระค่าสินไหมทดแทน 5,000,000 บาท เพราะถูกละเมิด กระทบชื่อเสียง เปรียบกับศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัย พิพากษาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ต้องเป็นกลาง มีความอิสระ ทำการตามในพระปรมาภิไธย มีสถานะสำคัญ ที่เรียกค่าเสียหาย 10,000,000 บาท ก็เพื่อไม่ให้ด้อยกว่าคดีของบุคคล จำนวนเงินสอดคล้องกับสภาพสังคมตอนนี้
หลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลได้แถลงว่าจะนำคำเบิกความทั้งหมดไปพิจารณาเรื่องความเสียหาย และได้ทำการกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ส.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
.
วชิระ (สงวนามสกุล) อายุ 33 ปี พื้นเพเป็นคน อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและชอบงานวาดการ์ตูน และแอนิเมชั่น หลังเรียนจบมาจึงทำงานเป็นฟรีแลนซ์ รับงานทำแอนิเมชั่นในส่วนเรื่องการวาดภาพ “แต่งานพวกนี้ไม่ค่อยมีในไทย ทำให้นานๆ จะมีงานสักชิ้นนึง” วชิระกล่าว
วชิระเป็นเพียงชายหนุ่มธรรมดาที่ใช้ชีวิตเฉกเช่นปุถุชนทั่วไป เขาไม่ได้มีความสนใจในด้านการเมืองแบบเข้มข้น การติดตามข่าวสารก็ดูอยู่ห่างๆ และไม่ได้แสดงความคิดเห็นตามโลกโซเชียลมากเท่าไหร่นัก
แต่แล้วในวันที่ 10 พ.ย. 2564 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำวินิจฉัย กรณีการชุมนุมปราศรัย 10 ข้อเสนอต่อการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ของ อานนท์ นำภา, ไมค์ ภานุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มธรรมศาสตร์จะไม่ทน โดยมีใจความสำคัญเห็นว่า เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ย้อนอ่าน 10 ข้อเสนอในการชุมนุม 10 ส.ค.63 >>> “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อแก้ปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ นัดชุมนุมอีกครั้ง 12 ส.ค. – BBC News ไทย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นทำให้วชิระตัดสินใจออกมาทำอะไรบางอย่างในวันที่ 11 พ.ย. 2564 บนหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเว็บเป็น ‘Kangaroo Court’ ซึ่งมีความหมายว่า “ศาลเตี้ย” และได้ฝังคลิปวิดีโอเพลงจากยูทูป ชื่อว่า ‘Guillotine (It goes Yah)’ โดยศิลปิน Death Grips จนกลายเป็นกระแสติดเทรนด์ยอดนิยมบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ และเกิดการตั้งคำถามจากสังคม ตลอดจนการตามหาตัวแฮกเกอร์คนนี้มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างไรก็ตาม วชิระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของคำว่า Kangaroo Court ดังกล่าวมีความหมายกว้างกว่านั้นสำหรับเขา
ในความคิดเห็นผม ความหมายแฝงอีกอย่างคือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกกำหนดผลมาตั้งแต่ต้น”วชิระ — แฮกเกอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ
.
การบุกจับกุมวชิระ ถึงบ้านพัก พร้อมหมายจับจากตำรวจหลายหน่วย ก่อนนำตัวส่งเข้ากรุงเทพฯ
เพียงสองวันหลังเกิดเหตุ วันที่ 13 พ.ย. 2564 ตำรวจจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) ได้บุกเข้าค้นบ้านของวชิระ ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับ 1 ว่ากระทำการเข้าไปเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ และได้นำตัวไปสอบปากคำ โดยเขาได้รับสารภาพว่าได้เข้าไปแฮกเว็บไซต์จริง
ต่อมาในเช้าวันที่ 14 พ.ย. 2564 ตำรวจหลายหน่วยงานได้นำหมายจับจากศาลอาญา เข้าจับกุมวชิระอีกครั้ง ในข้อกล่าวหาตาม ‘พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ’ ก่อนจะนำตัวเขาไปที่ สภ.วารินชำราบ โดยมีครอบครัวติดตามไปด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมขังวชิระไว้ที่สถานีดังกล่าว และแจ้งว่าจะต้องนำตัวเขาไปดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ ก่อนจะเรียกเงินประกันจากครอบครัวเป็นจำนวน 100,000 บาท โดยแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องมีทนายอยู่ด้วย
ต่อมาในวันเดียวกัน ครอบครัวของวชิระได้ติดต่อ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อขอความช่วยเหลือให้ติดตามตัวลูกชายไปเข้าร่วมการสอบปากคำของตำรวจ ซึ่งได้นำตัวเขามาดำเนินคดีที่ บก.สอท. 1 กรุงเทพมหานคร
ในวันดังกล่าว การสอบสวนเริ่มขึ้นในช่วงกลางดึก หลังจากวชิระได้พบกับทนายความและปรึกษากฎหมายร่วมกันแล้ว เขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทนายความให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรกที่ไปถึง บก.สอท. ได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่า จะให้ประกันวชิระในชั้นสอบสวนหรือไม่ ตำรวจตอบเพียงว่า เตรียมที่นอนให้วชิระนอนในห้องแอร์แล้ว
แต่หลังจากวชิระให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนที่ บก.สอท. ได้ส่งตัวผู้ต้องหาไปขังอยู่ที่ สน.ทุ่งสองห้อง เพื่อรอส่งฝากขังที่ศาลอาญาในวันรุ่งขึ้น
15 พ.ย.2564 ตำรวจจาก สน.ทุ่งสองห้อง ได้นำตัววชิระฝากขังต่อศาลอาญาโดยการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในขณะเดียวกัน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว ต่อมาศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์ 25,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
ตลอดการถูกควบคุมตัวไปดำเนินคดีช่วง 3 วัน วชิระเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายปฏิบัติต่อเขาและครอบครัวเป็นอย่างดีจนน่าแปลกใจ ระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ถูกใส่กุญแจมือ ทำให้เขาไม่ค่อยวิตกกังวลเท่าไหร่นัก จะมีบ้างก็ตอนถูกขังอยู่ที่ สน.ทุ่งสองห้อง ซึ่งคืนนั้นเขาเครียดจนนอนไม่หลับทั้งคืน
เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน วชิระได้บอกว่า “สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกไม่ดีอย่างหนึ่ง ก็คือการที่ผมทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลเยอะ ผมเองไม่ได้เป็นห่วง ไม่ได้อะไรกับตัวเองมาก แต่ทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนๆ เป็นห่วงเรา กังวลมากกว่าผมเยอะเลย”
อ่านรายละเอียดการจับกุมวชิระ เพิ่มเติม >>> หนุ่มอุบลฯ ให้การปฏิเสธชั้นสอบสวน – ได้ประกันตัว หลังถูกจับจากเหตุเข้าเปลี่ยนชื่อเว็บศาลรัฐธรรมนูญเป็น “Kangaroo Court”
.
อัยการสั่งฟ้องคดี ระบุว่าผู้ต้องหากระทำการให้ระบบคอมพิวเตอร์เสียหาย ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ก่อนวชิระรับสารภาพในส่วนอาญา
วันที่ 29 ธ.ค. 2564 ศิวาพร เสนรุย พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 ระบุมีคำสั่งฟ้องคดีของวชิระต่อศาลอาญา ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 5, 7, 9 และ 10
โดยสรุปกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 วชิระได้เข้าถึงซึ่งระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ www.constitutionalcourt.or.th ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกําหนดชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) อันเป็นมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน
ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ของจําเลยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้บริหารจัดการข้อมูลในเว็บไซต์ของผู้เสียหาย เข้าถึงระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ดังกล่าว แล้วทําให้เสียหาย ทําลาย ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ รหัสผ่าน, ชุดคําสั่งและข้อมูลในไฟล์ index.php ลิงค์ให้แสดงผลไฟล์จากยูทูบในหน้าเว็บไซต์ (Web Page) และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลชื่อเว็บไซต์ (Title) จากเดิมที่ปรากฏข้อความว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นข้อความว่า “Kangaroo Court” และแนบลิงค์ยูทูบเพลง Guillotine (It goes Yah) ของ Death Grips
ต่อมาภายหลังจากที่ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการแก้ไข ให้หน้าเว็บไซต์กลับไปปกติแล้ว วชิระได้เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์อีกครั้งและแก้ไขไฟล์ index.php ให้มีลักษณะเป็นไฟล์ที่อ่านอย่างเดียว โดยไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ (Read Only) และได้ลบไฟล์ Log access (สําหรับจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์)
อัยการระบุว่า วชิระกระทําการดังกล่าวโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย ถูกขัดขวางและรบกวน จนระบบคอมพิวเตอร์สําหรับเผยแพร่เว็บไซต์ของผู้เสียหายเกิดความขัดข้องในการสั่งแก้ไข และเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชน ไม่สามารถทํางานตามปกติได้
ถึงแม้ว่า อัยการจะมีคำสั่งฟ้อง วชิระยืนยันที่จะให้การปฏิเสธและตัดสินใจสู้คดีต่อไป
กระทั่งในวันที่ 7 มี.ค. 2565 ศาลอาญานัดตรวจพยานหลักฐานในคดีนี้ วชิระได้ตัดสินใจยอมรับสารภาพตามฟ้อง
.
นัดฟังคำพิพากษาถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากสำนักงานศาล รธน. และจำเลยต้องการศึกษาเพื่อสู้คดีในส่วนแพ่ง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายนับ 10 ล้านบาท
ในวันที่ 20 เม.ย. 2565 เดิมศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในคดีนี้ แต่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 4 เม.ย. 2565 ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมในกรณีที่ทำให้ระบบเว็บไซต์เกิดความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้ เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท ซึ่งศาลได้ให้สิทธิจำเลยสามารถสู้ในส่วนแพ่งจากกรณีดังกล่าวได้
วชิระซึ่งเพิ่งทราบคำร้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายมูลค่านับล้านบาทนี้เป็นครั้งแรก จึงแถลงความประสงค์ขอสู้คดีในส่วนแพ่งดังกล่าว จึงให้จำเลยยื่นคำให้การแก้คดีในส่วนแพ่ง ภายใน 15 วัน รวมถึงนัดสืบพยานผู้เสียหาย ตลอดจนให้รอพิจารณาคดีในส่วนอาญาและแพ่งพร้อมกัน
ต่อมาในวันที่ 10 พ.ค. 2565 ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง แต่ก็ต้องถูกเลื่อนออกไปอีกเนื่องจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่าต้องการศึกษาคำให้การในส่วนแพ่งของจำเลยก่อน ซึ่งศาลเห็นสมควรและให้มีการนัดวันสืบพยานผู้ร้องในส่วนแพ่งต่อ โดยกำชับให้ผู้ร้องนำตัวพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้มาเบิกความแจกแจงค่าเสียหาย
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีคำพิพากษา แต่ก็ไม่ได้ทำให้วชิระรู้สึกโล่งใจแต่อย่างใด เมื่อได้ทราบว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเรียกค่าเสียหายมูลค่ามหาศาลต่อคนธรรมดาอย่างเขา อีกทั้งในการเดินทางจากอุบลราชธานี มากรุงเทพฯ หลายครั้งก็เป็นภาระทางค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
เมื่อถามถึงความรู้สึก เขาฝากบอกกับสังคมว่าตนเองเคยเป็นหนึ่งในคนที่ไม่คิดสนใจปัญหาการเมือง เนื่องจากรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวมาเสมอ จนกระทั่งเมื่อได้อ่านเรื่องราวและติดตามข่าวของนักกิจกรรมที่ถูกละเมิดสิทธิและได้รับการดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรม เขาจึงอยากที่จะออกมาแสดงความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้
วชิระได้ทิ้งท้ายไว้ว่า
“ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาเพื่อให้เสียงของตัวเองได้ยิน หรือลุกขึ้นมาปกป้องเสียงของคนอื่น สักวันอาจจะไม่เหลือใครที่จะลุกขึ้นมาเพื่อคุณเลย”วชิระ — แฮกเกอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ
ในวันที่ 24 มิ.ย. 2565 ผู้ร้องได้นำตัวนายปภู ธรรมวงศา ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นพยานขึ้นเบิกความเพื่อแจกแจงเรื่องค่าเสียหายตามคำร้องของฝ่ายผู้เสียหาย
ในคดีนี้ ทนายความได้ขึ้นถามกับพยานผู้ร้องว่า จำเลยเพียงเข้าไปแก้ไขและเปลี่ยนแปลงชื่อของเว็บไซต์เท่านั้น และไม่ได้ทำให้ส่วนระบบหรือฐานข้อมูลภายในได้รับความเสียหายใดๆ ใช่หรือไม่ และพยานรับว่าใช่
อย่างไรก็ตาม ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็เคยออกมายอมรับว่า เว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้มีความเสียหายด้านข้อมูลเพราะไม่ได้ถูกเจาะในระบบฐานข้อมูล เป็นเพียงแฮกเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เท่านั้น
ในวันนัดสืบพยานในส่วนแพ่งของคดีนี้ ทนายความยังได้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องการปิดเว็บไซต์ชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจากพยานผู้ร้องว่า เนื่องจาก สกมช. ได้ทำหนังสือข้อแนะนำส่งถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าให้ทำการปิดเว็บชั่วคราวไป เพื่อประเมินความปลอดภัยของระบบข้อมูลก่อน
ทนายความได้แถลงสรุปต่อศาลว่าในการปิดระบบเว็บไซต์ชั่วคราวนั้น ไม่ได้เป็นเหตุความเสียหายที่เกิดจากจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเองมีความสามารถในการแก้ไขเว็บไซต์ ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ในการเบิกความของพยานปากนี้ ไม่ได้ทำให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายมูลค่านับล้านบาทแต่อย่างใด จึงทำให้ศาลต้องเลื่อนการนัดสืบพยานออกไปอีก และกำชับให้ผู้ร้องนำตัวพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับค่าเสียหายในคดีนี้มาให้ได้ ถ้าหากศาลไม่ได้รับข้อเท็จจริง ศาลจะมีคำพิพากษาในวันนัดถัดไปเลยทันที
อ่านบันทึกสืบพยานคดีส่วนแพ่ง >>> เลื่อนนัดสืบพยานในส่วนแพ่งคดี ‘แฮกเกอร์ศาลรัฐธรรมนูญ’ หลังผู้ร้องไม่มีพยานบุคคลมาอธิบายในส่วนค่าความเสียหายของเว็บไซต์นับล้านบาทได้
.
สืบพยานผู้ร้องปากที่ 2 ระบุว่าค่าเสียหาย 10 ล้านบาท เหมาะสมแล้ว จำนวนเงินสอดคล้องกับสภาพสังคมตอนนี้ ก่อนศาลนัดฟังคำพิพากษา 18 สิงหา
ในวันที่ 8 ก.ค. 2565 นัดสืบพยานผู้ร้องในส่วนแพ่งวันสุดท้าย โดยมีนายบุญเสริม นาคสาร รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นเบิกความเพื่อชี้แจงค่าเสียหาย ซึ่งมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคดีนี้ ทนายถามต่อพยานว่ามีเอกสารที่ไม่ได้ระบุว่า ช่องโหว่ที่ว่าจำเลยเป็นคนสร้างขึ้น แต่พยานแย้งว่า เป็นการกระทำของจำเลย ทนายจึงถามย้ำว่า ในเอกสารของพยานระบุว่า สรุปมีช่องโหว่ของเว็บไซต์ 76 จุดนั้น แต่ไม่ได้ระบุว่าเกิดจากจำเลย บุญเสริมก็ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน และได้อ้างว่าเนื้อหาทุกประการนั้นได้ถูกตรวจสอบเรียบร้อยแล้วโดย สกมช.
นอกจากนี้ ทนายได้ถามถึงเอกสารคำพิพากษาในชั้นฎีกาที่ผู้ร้องยื่นเข้ามาด้วย ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อกล่าวหาฐานหมิ่นประมาท ไม่ใช่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตามที่จำเลยถูกฟ้อง พยานระบุถึงความต้องการเปรียบเทียบความเสียหาย ในคดีนั้น ผู้เสียหายเป็นนักการเมือง ฎีกาให้ชำระค่าสินไหมทดแทน 5,000,000 บาท เพราะถูกละเมิด กระทบชื่อเสียง เปรียบกับศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัย พิพากษาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ต้องเป็นกลาง มีความอิสระ ทำการตามในพระปรมาภิไธย มีสถานะสำคัญ ที่เรียกค่าเสียหาย 10,000,000 บาท ก็เพื่อไม่ให้ด้อยกว่าคดีของบุคคล จำนวนเงินสอดคล้องกับสภาพสังคมตอนนี้
หลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลได้แถลงว่าจะนำคำเบิกความทั้งหมดไปพิจารณาเรื่องความเสียหาย และได้ทำการกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ส.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
.