Yingcheep Atchanont
7h
ใครกำลังคิดอะไร กลัวอะไร เตรียมการอะไรไม่รู้
แต่มีคำสั่งที่ลงนามโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกมาว่าให้ตำรวจมาขอกำลังจากทหารไปควบคุมการชุมนุม อันนี้มีจริงๆ แล้วก็อ้างอำนาจ #พรกฉุกเฉิน อีกแล้ว ถึงไม่ยอมยกเลิกเสียที แล้วที่จะให้ทหารมาคุมม็อบนั้นเหตุผลเท่าที่พอจะไถไปก็คือคุมโควิด ...
ดูคำสั่งที่ว่า ได้ทาง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2565/E/177/T_0014.PDF
ถ้ายังไม่เข้าใจความซับซ้อนของเรื่องที่กว่าจะเป็นวันนี้
ฝากค่อยๆ อ่านมันทางนี้ครับ https://ilaw.or.th/node/6224
ประกาศห้ามชุมนุมฉบับใหม่ ลักไก่เพิ่มโทษผู้ชุมนุม เปิดทางใช้กำลังทหาร
เมื่อ 18 ส.ค. 2565
โดย iLaw
หลังการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นานเกินสองปี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกข้อกำหมายตามอำนาจของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 47 มาบังคับใช้ โดยอ้างเหตุผลว่าการระบาดของโรคโควิด19 ในหลายประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนในประเทศยังคงปรากฎการระบาดลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่เสี่ยงโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยกำลังรักษา และผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น
ข้อกำหนดฉบับที่ 47 ออกมาสอดคล้องกับคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ฉบับที่ 12/2565 ซึ่งกำหนดให้ "ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง"
ให้ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่ให้สลายการชุมนุมไม่ต้องผ่านขั้นตอนขอหมายศาล
สำหรับประเด็นเรื่องข้อห้ามในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน ตามข้อกำหนดฉบับที่ 47 ข้อ 3 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคล ที่อาจเกิดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสและสามารถแพร่โรคได้ ยังคงจำเป็นต้องห้ามดำเนินการและห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เว้นแต่การจัดกิจกรรมนั้นได้รับอนุญาติจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
อย่างไรก็ดี เป็นครั้งที่สองที่ข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับรองเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อแสดงออกเอาไว้ ครั้งแรกปรากฏในข้อกำหนดฉบับที่ 13 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ระบุว่า “การจัดให้มีกิจกรรมรวมกลุ่มหรือการใช้สิทธิของประชาชนเพื่อการชุมนุมใดๆ ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตของการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ” ขณะที่ข้อกำหนดฉบับที่ 47 กำหนดไว้ว่า การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทําได้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม
หมายความว่า การชุมนุมสาธารณะซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูก "ห้าม" หรือ "จำกัด" ด้วยมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนดที่ออกมาหลายฉบับ จะถูกนับว่าเป็น "เสรีภาพ" ตามข้อกำหนดฉบับนี้และไม่ได้ต้องห้ามเช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิดอีกต่อไป แต่การชุมนุมสาธารณะยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ดูแลการชุมนุมเมื่อไม่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างละเอียด แต่มีโทษของการฝ่าฝืนน้อยกว่าการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตัวอย่างเช่น
หลังการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นานเกินสองปี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกข้อกำหมายตามอำนาจของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 47 มาบังคับใช้ โดยอ้างเหตุผลว่าการระบาดของโรคโควิด19 ในหลายประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนในประเทศยังคงปรากฎการระบาดลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่เสี่ยงโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยกำลังรักษา และผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น
ข้อกำหนดฉบับที่ 47 ออกมาสอดคล้องกับคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ฉบับที่ 12/2565 ซึ่งกำหนดให้ "ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง"
ให้ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่ให้สลายการชุมนุมไม่ต้องผ่านขั้นตอนขอหมายศาล
สำหรับประเด็นเรื่องข้อห้ามในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน ตามข้อกำหนดฉบับที่ 47 ข้อ 3 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคล ที่อาจเกิดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสและสามารถแพร่โรคได้ ยังคงจำเป็นต้องห้ามดำเนินการและห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เว้นแต่การจัดกิจกรรมนั้นได้รับอนุญาติจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
อย่างไรก็ดี เป็นครั้งที่สองที่ข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับรองเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อแสดงออกเอาไว้ ครั้งแรกปรากฏในข้อกำหนดฉบับที่ 13 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ระบุว่า “การจัดให้มีกิจกรรมรวมกลุ่มหรือการใช้สิทธิของประชาชนเพื่อการชุมนุมใดๆ ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตของการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ” ขณะที่ข้อกำหนดฉบับที่ 47 กำหนดไว้ว่า การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทําได้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม
หมายความว่า การชุมนุมสาธารณะซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูก "ห้าม" หรือ "จำกัด" ด้วยมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนดที่ออกมาหลายฉบับ จะถูกนับว่าเป็น "เสรีภาพ" ตามข้อกำหนดฉบับนี้และไม่ได้ต้องห้ามเช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิดอีกต่อไป แต่การชุมนุมสาธารณะยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ดูแลการชุมนุมเมื่อไม่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างละเอียด แต่มีโทษของการฝ่าฝืนน้อยกว่าการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตัวอย่างเช่น
- การชุมนุมในพื้นที่ห้ามชุมนุมตามมาตรา 7 (รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล) มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- การไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 10 ล่วงหน้า หรือ การไม่ยื่นผ่อนผันกำหนดเวลาแจ้งการชุมนุมตามมาตรา 12 มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- การไม่ปฏิบัตามตามหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมตามมาตรา 15 (1) (2) หรือ (3) และหน้าที่ของผู้ชุมนุมตามมาตา 16(1) หรือ (2) มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อาทิ ต้องแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ต่อตำรวจในท้องที่ที่มีการชุมนุม เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์การควบคุมการชุมนุมตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ นั้นนอกจากจะกำหนดหน้าที่ให้กับผู้จัดการชุมนุมแล้ว ยังกำหนดหน้าที่ให้กับตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการชุมนุมด้วย โดยหากตำรวจเห็นว่า การชุมนุมใดมีลักษณะผิดกฎหมาย ก็ยังไม่อาจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมได้โดยทันที แต่ต้องมีการแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบก่อนและให้ผู้ชุมนุมแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากผู้ชุมนุมยังไม่ยอมแก้ไขต้องขออำนาจศาลแพ่งให้สั่งอนุญาตให้สลายการชุมนุมได้ เมื่อมีคำสั่งศาลแล้วยังต้องปิดประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบ และให้เวลาพอสมควรที่ผู้ชุมนุมจะเลือกยุติการชุมนุมด้วยตัวเองก่อนใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมด้วย แต่หลักเกณฑ์ที่ใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมนั้นกลับไม่ถูกรับรองไว้ด้วยในข้อกำหนดฉบับที่ 47 เพราะข้อกำหนดนี้กลับให้อำนาจแก่ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมขึ้นใหม่อีกต่างหาก
ประกาศ ผบ.สส. ลักไก่เพิ่มข้อจำกัดการชุมนุม และเพิ่มโทษฝ่าฝืนพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
หลังข้อกำหนดฉบับที่ 47 บังคับใช้ได้ไม่กี่วัน 1 สิงหาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 15 (ประกาศผบ.สส. ฉบับที่ 15) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ห้ามไม่ให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค หรือ ฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือ กลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค
- ห้ามชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูง เว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 37 และ 47
- การชุมนุมหรือการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นท่ีเฝ้าระวังให้ดำเนินการตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 46 และ 47
- ให้นำหลักเกณฑ์เรื่องการแจ้งการชุมนุม การจัดการชุมนุม หน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุม ตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาบังคับใช้
มีข้อสังเกตว่า ในปี 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 13. สั่งให้นำหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มาใช้โดยอนุโลมมาแล้ว หรือการสั่งให้ควบคุมการชุมนุมตามกฎหมายปกติแทนควบคุมภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งหากใครจัดการชุมนุมโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ก็จะถูกดำเนินคดีและมีบทกำหนดโทษตามที่เขียนไว้ในพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
แต่ประกาศผบ.สส. ฉบับที่ 15 กำหนดไปไกลกว่าเดิม โดยแม้จะใช้หลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แต่หากมีผู้ฝ่าฝืนให้นำบทลงโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาใช้ซึ่งมีโทษเหมือนกันหมด คือ จำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งที่โทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีอัตราโทษที่ต่ำกว่าอยู่หลายมาตรา
ดังนั้น การเขียนประกาศผบ.สส. ฉบับที่ 15 เช่นนี้ จึงถือว่าเป็นการ "ลักไก่" ออกคำสั่งเพิ่มทั้ง "ข้อห้าม" และ "หน้าที่" สำหรับผู้ชุมนุม และยังเพิ่มบทลงโทษในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะด้วย
คำสั่ง ศปม. เปิดทางให้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมการชุมนุม
ตลอดกว่าสองปีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีการดำเนินคดีผู้ชุมนุมจากการเข้าร่วมการชุมนุมด้วยข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มากกว่า 600 คดี และมีการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมมากกว่า 60 ครั้ง แม้จะมีผู้ดำรงตำแหน่งในกองทัพเป็นบุคคลสำคัญในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) มาตลอด แต่การปราบปรามการชุมนุมก็ดำเนินการออกหน้าโดยตำรวจทั้งหมด
แต่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง อาศัยอำนาจที่ข้อกำหนดฉบับที่ 47 วางเอาไว้ให้ ออกคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ที่ 7/2565 กำหนดว่า ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลอดจนการนำเครื่องมือควบคุมฝูงชนมาใช้ รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ ในข้อ 4. ยังกำหนดเพิ่มเป็นพิเศษว่า ในกรณีที่เห็นสมควร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสามารถประสานร้องขอการสนับสนุนเพิ่มเติม จากกองบัญชาการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (บก.ศปม.) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพบก (ศปม.ทบ.) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงกองทัพเรือ (ศปม.ทร.) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพอากาศ (ศปม.ทอ.) ได้
หมายความว่า ตำรวจอาจขอ "การสนับสนุน" ให้หน่วยงานทางทหาร ใช้มาตรการ เครื่องมือ และกำลังของทหารเข้าควบคุมการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คุมม็อบด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โทษหนักกว่ากฎหมายปกติ
2 ปีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประเทศไทยอยู่ใต้เคอร์ฟิวไป 234 วัน
กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ: ความจริง-ปัญหา-ความท้าทาย