หน่วยรักษาชายแดนแห่งรัฐยูเครนถูกปืนใหญ่ยิงถล่มได้รับความเสียหาย ในอาณาเขตเมืองเคียฟ ประเทศยูเครน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ภาพจาก benarnews.prg
Puangthong Pawakapan
10h ·
น่าเสียใจที่ในอาเซียน มีแต่สิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ประณามรัสเซีย ส่วนประเทศอื่นกลับสายตาสั้นอย่างยิ่ง
สิงคโปร์ประณามรัสเซียอย่างรุนแรง : “Singapore strongly condemns any unprovoked invasion of a sovereign country under any pretext. We reiterate that the sovereignty, independence and territorial integrity of Ukraine must be respected.” และยังระบุว่าตนหวังว่ารัสเซียจะยุติปฏิบัติการทางทหารในทันที และให้ใช้การตกลงความขัดแย้งอย่างสันติ โดยยึดมั่นตามกฎบัตรของสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ
ขณะที่อินโดนีเซียใช้ถ้อยคำที่เบากว่า “Affirming that international law and the United Nations charter regarding the territorial integrity of a country must be adhered to, and condemning any action that clearly constitutes a violation of the territory and sovereignty of a country.”
การไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งในกรณีนี้ไม่ได้หมายความว่าในระยะยาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมั่นคงจากการคุกคามของมหาอำนาจ
หากปล่อยให้รัสเซียยึดครองยูเครนได้โดยง่าย โลกเสี่ยงที่จะเห็นจีนบุกยึดไต้หวันในอนาคต โลกกำลังส่งสัญญาณไฟเขียวให้กับจีน
จีนกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดว่านานาชาติ โดยเฉพาะอาเซียนมีท่าทีอย่างไรต่อกรณีรัสเซียบุกยูเครน จุดยืนของอาเซียนในกรณีนี้จึงมีเป็นเสมือนสาส์นที่จีนจะนำไปตีความต่อว่าหากจีนบุกยึดไต้หวัน ตนจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
การยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ไม่ได้แปลว่าเรา “กำลังจะรบ” กับรัสเซียแบบที่ผู้นำที่ไร้สติปัญญากล่าวออกมา แต่การยุ่งเกี่ยวของแต่ละประเทศแตกต่างกันได้หลายระดับ เช่น
- แทนที่จะใช้คำว่า we condemn (เราประณาม) แบบสิงคโปร์ อินโดนีเซียใช้คำที่เบากว่า we are concerned (เราวิตกกังวล)
- ข้อเรียกร้องก็มีหลายระดับ เช่น ให้ยุติปฏิบัติการทางทหารในทันที
- ให้เคารพหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เคารพอธิปไตยของประเทศอื่น นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติได้ให้คำมั่นว่าจะยึดถือ
- แทนที่จะแถลงการณ์เป็นรายประเทศ ก็สามารถออกในนามอาเซียนแทน มีพลังกว่าแต่ลดการเผชิญหน้าในระดับทวิภาคี โดยอาเซียนสามารถอ้างอิงหลักการตามสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ได้แก่
(1) การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเสมอภาค และบูรณภาพแห่งดินแดน
(2) การไม่แทรกแซงกิจการภายใน
(3) การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี
(4) การไม่ใช้หรือขู่ ว่าจะใช้กำลัง
(5) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
โดยรัสเซียก็ได้ลงนามในภาคยานุวัติสารเข้าเป็นอัครภาคีของ TAC ด้วย
ดิฉันจึงเชื่อว่าอาเซียนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหารัสเซียบุกยูเครนได้อย่างสง่างาม โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น หรือชักศึกเข้าบ้านแม้แต่น้อย
สิ่งที่อยากบอกคนไทยที่เกลียดสหรัฐฯ-ตะวันตก แต่เชียร์จีนคือ หากจีนบุกไต้หวัน จะไม่ใช่แค่เรื่องของไต้หวัน แต่ทะเลจีนใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะปั่นป่วนทั้งหมด ทั้งในแง่ความมั่นคง-การทหารและเศรษฐกิจ --- ฉะนั้น ท่าทีของอาเซียนต่อกรณีรัสเซียบุกยูเครน ไม่ได้สำคัญต่อยูเครนเท่านั้น แต่สำคัญต่อภูมิภาคนี้ในอนาคตด้วย
...
วิเคราะห์วิกฤต 'รัสเซีย-ยูเครน' ในมุมอาเซียน กับทูตนอกแถว
Streamed live 9 hours ago
prachatai
วิเคราะห์วิกฤตรัสเซียบุกยูเครน กับ 'รัศม์ ชาลีจันทร์' อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำโมซัมบิกและคาซัคสถาน เจ้าของเพจ "ทูตนอกแถว" ที่สะท้อนมุมมองต่อประเด็นนี้ของคนในและคนนอกประเทศอดีตสหภาพโซเวียตจากมุมมองนักการทูต และวิกฤตทางด้านข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นหลังจากประเด็นนี้
วิเคราะห์วิกฤต 'รัสเซีย-ยูเครน' ในมุมอาเซียน กับทูตนอกแถว
Streamed live 9 hours ago
prachatai
วิเคราะห์วิกฤตรัสเซียบุกยูเครน กับ 'รัศม์ ชาลีจันทร์' อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำโมซัมบิกและคาซัคสถาน เจ้าของเพจ "ทูตนอกแถว" ที่สะท้อนมุมมองต่อประเด็นนี้ของคนในและคนนอกประเทศอดีตสหภาพโซเวียตจากมุมมองนักการทูต และวิกฤตทางด้านข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นหลังจากประเด็นนี้
🔴 LIVE วันจันทร์ที่ 28 ก.พ. 2565 เวลา 18.30 - 19.30 น. รับชมได้ที่: Facebook/Youtube ประชาไท Prachatai.com