https://www.facebook.com/thisAble.me/posts/1719316795073401
ThisAble.me
March 14 at 6:40 AM ·
ใครคือจุดอ่อนกันน้า
...
จุดแข็ง : คนพิการเรียนฟรี
จุดอ่อน : เอาวีลแชร์ขึ้นอาคารเรียนไม่ได้
จุดแข็ง : มีลิฟต์ คนพิการใช้ได้
จุดอ่อน : เสีย
จุดแข็ง : มีที่จอดรถคนพิการ
จุดอ่อน : คนไม่พิการแย่งจอด
จุดแข็ง : มีที่จอดรถคนพิการ
จุดอ่อน : คนไม่พิการแย่งจอด
จุดแข็ง : มีทางลาด
จุดอ่อน : สูงเมตรกว่า (ชันเกิ๊น)
จุดแข็ง : ตึกนี้มีลิฟต์
จุดอ่อน : ต้องยกข้ามบันไดไปก่อน แง้
จุดแข็ง : มีทางลาด
จุดอ่อน : มีเสาไฟปักตรงกลาง
จุดแข็ง : ทางมีเบรลล์บล็อก
จุดอ่อน : เดินตามแล้วหัวชนป้าย
จุดแข็ง : มีฟุตบาธ
จุดอ่อน : เข็นวีลแชร์บนถนน
จุดแข็ง : ลิฟต์มีอักษรเบรลล์
จุดอ่อน : ไม่ใช่อักษรเบรลล์ภาษาไทย
จุดแข็ง : เรามีห้องน้ำคนพิการ
จุดอ่อน : แม่บ้านเอาไว้เก็บของ
จุดแข็ง : ทีวีเรามีล่ามภาษามือ
จุดอ่อน : มีวันละชั่วโมง แถมมีแต่ข่าว
จุดแข็ง : ตึกนี้มีลิฟต์
จุดอ่อน : แต่เป็นลิฟต์ขนขยะ (TYT)
จุดแข็ง : ทำประเด็นคนพิการ
จุดอ่อน : ไม่แมสสักที แง้
ThisAble.me
March 18 at 7:26 AM ·
เธอได้เบี้ยคนพิการเท่าไหร่น่ะ?
- ฉันได้เดือนละ 800 บาท
.
ปัจจุบันเบี้ยความพิการถูกจ่ายใน 2 อัตรา กลุ่มหนึ่งได้ 1,000 บาท และอีกกลุ่มได้ 800 บาทต่อเดือน หลักเกณฑ์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 63 โดยให้ 1,000 บาทกับคนพิการที่มีบัตรคนพิการที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หากไม่เข้าข้อกำหนด 2 ข้อข้างต้น ก็ยังคงได้ 800 บาท ความต่างนี้ทำให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสมของนโยบายดังกล่าว
.
ครั้งหนึ่ง น้ำพุ คนพิการรุนแรงหนึ่งในผู้ปราศรัยใน "ม็อบคนพิการ 10 ธันวา 2020" พูดถึงประเด็นเรื่องเบี้ยความพิการว่า เงิน 800 บาทนั้นไม่เพียงพอ และไม่สามารถเป็นหลักประกันให้แก่คนพิการในการดำรงชีวิตได้ แม้หลายองค์กรพยายามเสนอปรับเบี้ยให้มีความถ้วนหน้าอยู่หลายครั้ง แต่ก็เงียบหายไป
.
เบี้ยความพิการที่รัฐจ่ายจึงถูกตั้งคำถามถึงความเพียงพอฐานะเบี้ยยังชีพเพื่อใช้ชีวิต ชูเวช เดชดิษฐรักษ์ เจ้าหน้าที่เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม อธิบายว่า เบี้ยควรคิดบนจำนวนเงินที่พวกเขาอยู่ได้จริงๆ เช่น เพื่อจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่ามือถือ ค่าอาหาร การให้เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาทหรือเบี้ยคนพิการ 800 บาท ก็เสมือนเป็นตัวชี้วัดว่า รัฐคาดหวังจะเห็นคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างไร
.
"หากคิดบนเส้นยากจนของคนไทยจะอยู่ที่ประมาณ 2,900 บาทต่อเดือน เป็นเงินที่คำนวณแล้วว่า สามารถอยู่แบบพอซื้ออาหารราคาถูกได้ทุกมื้อ แต่เบี้ยความพิการก็ยังน้อยกว่า 3,000 บาท หรือยังไม่ถึง 1 ใน 3 เสียด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า จินตนาการต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในประเทศนี้ยังมีน้อยมาก
.
"คนอาจมองว่า สังคมเปี่ยมไปด้วยน้ำใจในการบริจาคและสงเคราะห์ จนประเทศไทยติดอันดับเรื่องเกี่ยวกับการทำบุญสงเคราะห์ แต่ก็ยังเป็นประเทศที่ยากจนและเหลื่อมล้ำที่สุดในด้านทรัพย์สิน สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การสงเคราะห์ แบบคนดีในไทยไม่ได้แก้ปัญหาสังคม ความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่ ฉะนั้นเบี้ยคนพิการที่เพียงพอคือ เบี้ยที่คนพิการจินตนาการต่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้เพียงพอ" - ชูเวชกล่าว
อ่านต่อที่
https://thisable.me/content/2020/12/675
https://thisable.me/content/2021/01/679
ThisAble.me
March 14 at 6:40 AM ·
ใครคือจุดอ่อนกันน้า
...
จุดแข็ง : คนพิการเรียนฟรี
จุดอ่อน : เอาวีลแชร์ขึ้นอาคารเรียนไม่ได้
จุดแข็ง : มีลิฟต์ คนพิการใช้ได้
จุดอ่อน : เสีย
จุดแข็ง : มีที่จอดรถคนพิการ
จุดอ่อน : คนไม่พิการแย่งจอด
จุดแข็ง : มีที่จอดรถคนพิการ
จุดอ่อน : คนไม่พิการแย่งจอด
จุดแข็ง : มีทางลาด
จุดอ่อน : สูงเมตรกว่า (ชันเกิ๊น)
จุดแข็ง : ตึกนี้มีลิฟต์
จุดอ่อน : ต้องยกข้ามบันไดไปก่อน แง้
จุดแข็ง : มีทางลาด
จุดอ่อน : มีเสาไฟปักตรงกลาง
จุดแข็ง : ทางมีเบรลล์บล็อก
จุดอ่อน : เดินตามแล้วหัวชนป้าย
จุดแข็ง : มีฟุตบาธ
จุดอ่อน : เข็นวีลแชร์บนถนน
จุดแข็ง : ลิฟต์มีอักษรเบรลล์
จุดอ่อน : ไม่ใช่อักษรเบรลล์ภาษาไทย
จุดแข็ง : เรามีห้องน้ำคนพิการ
จุดอ่อน : แม่บ้านเอาไว้เก็บของ
จุดแข็ง : ทีวีเรามีล่ามภาษามือ
จุดอ่อน : มีวันละชั่วโมง แถมมีแต่ข่าว
จุดแข็ง : ตึกนี้มีลิฟต์
จุดอ่อน : แต่เป็นลิฟต์ขนขยะ (TYT)
จุดแข็ง : ทำประเด็นคนพิการ
จุดอ่อน : ไม่แมสสักที แง้
ThisAble.me
March 18 at 7:26 AM ·
เธอได้เบี้ยคนพิการเท่าไหร่น่ะ?
- ฉันได้เดือนละ 800 บาท
.
ปัจจุบันเบี้ยความพิการถูกจ่ายใน 2 อัตรา กลุ่มหนึ่งได้ 1,000 บาท และอีกกลุ่มได้ 800 บาทต่อเดือน หลักเกณฑ์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 63 โดยให้ 1,000 บาทกับคนพิการที่มีบัตรคนพิการที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หากไม่เข้าข้อกำหนด 2 ข้อข้างต้น ก็ยังคงได้ 800 บาท ความต่างนี้ทำให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสมของนโยบายดังกล่าว
.
ครั้งหนึ่ง น้ำพุ คนพิการรุนแรงหนึ่งในผู้ปราศรัยใน "ม็อบคนพิการ 10 ธันวา 2020" พูดถึงประเด็นเรื่องเบี้ยความพิการว่า เงิน 800 บาทนั้นไม่เพียงพอ และไม่สามารถเป็นหลักประกันให้แก่คนพิการในการดำรงชีวิตได้ แม้หลายองค์กรพยายามเสนอปรับเบี้ยให้มีความถ้วนหน้าอยู่หลายครั้ง แต่ก็เงียบหายไป
.
เบี้ยความพิการที่รัฐจ่ายจึงถูกตั้งคำถามถึงความเพียงพอฐานะเบี้ยยังชีพเพื่อใช้ชีวิต ชูเวช เดชดิษฐรักษ์ เจ้าหน้าที่เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม อธิบายว่า เบี้ยควรคิดบนจำนวนเงินที่พวกเขาอยู่ได้จริงๆ เช่น เพื่อจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่ามือถือ ค่าอาหาร การให้เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาทหรือเบี้ยคนพิการ 800 บาท ก็เสมือนเป็นตัวชี้วัดว่า รัฐคาดหวังจะเห็นคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างไร
.
"หากคิดบนเส้นยากจนของคนไทยจะอยู่ที่ประมาณ 2,900 บาทต่อเดือน เป็นเงินที่คำนวณแล้วว่า สามารถอยู่แบบพอซื้ออาหารราคาถูกได้ทุกมื้อ แต่เบี้ยความพิการก็ยังน้อยกว่า 3,000 บาท หรือยังไม่ถึง 1 ใน 3 เสียด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า จินตนาการต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในประเทศนี้ยังมีน้อยมาก
.
"คนอาจมองว่า สังคมเปี่ยมไปด้วยน้ำใจในการบริจาคและสงเคราะห์ จนประเทศไทยติดอันดับเรื่องเกี่ยวกับการทำบุญสงเคราะห์ แต่ก็ยังเป็นประเทศที่ยากจนและเหลื่อมล้ำที่สุดในด้านทรัพย์สิน สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การสงเคราะห์ แบบคนดีในไทยไม่ได้แก้ปัญหาสังคม ความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่ ฉะนั้นเบี้ยคนพิการที่เพียงพอคือ เบี้ยที่คนพิการจินตนาการต่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้เพียงพอ" - ชูเวชกล่าว
อ่านต่อที่
https://thisable.me/content/2020/12/675
https://thisable.me/content/2021/01/679