วันพุธ, กุมภาพันธ์ 16, 2565

เรื่องสงคราม #ยูเครน บทวิเคราะห์ที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง ผู้เขียนเชื่อว่า #รัสเซีย จะไม่บุกถล่ม #ยูเครน อย่างที่คาดการณ์กัน


Pipob Udomittipong
Yesterday at 2:21 AM ·

เรื่องสงคราม #ยูเครน ผมว่าบทความนี้วิเคราะห์ดีที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่า #รัสเซีย จะไม่บุกถล่ม #ยูเครน อย่างที่คาดการณ์กัน เพราะประเมินจากการแทรกแซงทางทหารที่ผ่านมา รัสเซียเน้นการทำสงครามต้นทุนต่ำ “cost-effective wars” ทั้งกรณีการบุกจอร์เจีย ซีเรีย ลิเบีย และไครเมียเมื่อปี 2014 เป็นการแทรกแซงทางทหารในระดับที่ได้ผลพอใจ เกิดความเสียหายน้อยสุดแล้วก็หยุด ไม่เคยทำสงครามแบบ full-scale ที่มีต้นทุนสูง
Harun Yilmaz นักวิชาการที่เชี่ยวชาญเอเชียกลางบอกว่า กรณีการบุกจอร์เจียในปี 2008 รัสเซียบุกเข้าไปเพียงเพื่อกดดันให้กองทัพจอร์เจียต้องถอยร่น ไม่ได้รุกคืบถึงขั้นยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจของปท. รวมทั้งแหล่งท่อก๊าซและน้ำมัน แม้จะสามารถทำได้ เพราะต้นทุนสูงเกินไป
กรณีแทรกแซง ซีเรีย ในปี 2015 เป้าหมายของรัสเซียคือการช่วยกอบกู้สถานภาพของรบ.บาชาร์ อัล อัสซาดที่กำลังเพลี่ยงพล้ำให้ฝ่ายต่อต้านที่ได้รับการหนุนหลังจากพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ ในกรณีนี้ รัสเซียเลือกที่จะไม่ส่งทหารเข้าไปจำนวนมากเหมือนชาติพันธมิตร มีแต่การสนับสนุนเครื่องบินรบ ทหารหน่วยพิเศษ ทหารรับจ้าง ที่ปรึกษาด้านทหาร และส่งเรือรบไปขู่ พร้อมกับส่งทูตไปเจรจาไม่ให้ชาติต่าง ๆ สนับสนุนปตอ.ให้กับฝ่ายต่อต้าน จากการยิงปูพรมของเครื่องบินรัสเซีย และความช่วยเหลือของทหารอิหร่าน ภายในเวลาไม่กี่เดือน รบ.บาชาร์ อัล อัสซาดก็สามารถยึดพื้นที่คืนได้เป็นจำนวนมาก จากนั้นรัสเซียก็หยุดปฏิบัติการ
ในลิเบียก็แบบเดียวกัน เป็นการแทรกแซงทางทหารเพียงชั่วคราว เพื่อกดดันกองทัพของกลุ่มอำนาจเก่าของนายพล Khalifa Haftar เพื่อให้เกิดการเจรจากับรบ,ลิเบียที่รัสเซียสนับสนุน ส่วนในไครเมีย รัสเซียส่งกำลังทหารรับจ้าง และทหารที่ไม่ระบุสังกัดเข้าไปปฏิบัติการ ไม่ได้มุ่งยึดครองพื้นที่ มีแต่การติดอาวุธและฝึกกองกำลังให้ฝ่ายต่อต้านในพื้นที่เพื่อสู้รบกับรบ.ที่กรุงเคียฟ จัดทำประชามติเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการแบ่งแยกพื้นที่ เพราะคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เชื้อสายรัสเซียอยู่แล้ว เป็นการแทรกแซงที่มีต้นทุนน้อย
Harun Yilmaz จึงเชื่อว่าการเสริมกำลังอย่างมากบริเวณพรมแดน เป็นแท็กติกของรัสเซีย เพื่อกดดันให้ชาติตะวันตกหันมาเจรจาอย่างจริงจัง ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อกรีฑาทัพไปยึดกรุงเคียฟอย่างที่กลัวกัน นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1991 ที่รัสเซียสามารถกดดันให้เกิดการเจรจาเรื่องความมั่นคงในยุโรปได้ และรัสเซียไม่ได้กลัวว่ายูเครนจะเข้าไปสมาชิกของ NATO แต่อย่างใด สิ่งที่รัสเซียกังวลคือการเข้ามาติดตั้งระบบขีปนาวุธ และระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ ในยูเครน และจะกดดันเช่นนี้ต่อไป จนกว่าจะได้คำมั่นจากชาติตะวันตกในเรื่องนี้
https://www.aljazeera.com/.../no-russia-will-not-invade...