วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 19, 2565

ค่าโง่ม. 44 #เหมืองทองอัครา รัฐบาลประยุทธ์ใช้งบจ่ายค่าทนายไปแล้ว389 ล้านบาท ประยุทธ์ต้องรับผิดชอบตามโม้ และในอนาคต ต้องเอาประยุทธ์และพวกติดคุกในกรณีนี้ให้ได้


ขมวดปมข่าว! สู้คดีฯ เหมืองทองอัครา 3 ปี ใช้งบฯแล้ว 389 ล้าน | NEW18

Aug 28, 2020


'จิราพร' อัด 'ประยุทธ์' ปมเหมืองทองอัครา หอบสมบัติชาติต่อรองให้คิงส์เกตถอนฟ้องคดี | workpointTODAY

Feb 18, 2022

workpointTODAY

น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ขึ้นอภิปรายเป็นคนแรกของวัน ในประเด็นเหมืองทองอัครา ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจและเคลือบแคลงสงสัยของคนไทยทั้งประเทศ ที่ผ่านมาแม้มีการอภิปรายมาแล้ว 3 ครั้ง และตั้งคำถามต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคสช. 

ทุกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ตอบไม่ตรงคำถาม และยังปกปิดเป็นความลับ มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศ จึงต้องมาอภิปรายเป็นครั้งที่ 4 และขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้รับผิดชอบละเกี่ยวข้องโดยตรงที่ลั่นวาจาว่าพร้อมตอบทุกคำถาม ได้มาตอบด้วยตัวเอง
...

Noppakow Kongsuwan 
17h ·

"30 นาที" ของ "น้ำ จิราพร" ส.ส.สมัยแรก จากค่าย "สีแดง" กับการโฟกัสประเด็นที่เปิดโปง "เหมืองทองอัครา" ด้วยการอภิปราย เรื่องนี้ เป็นรอบที่ 4
.
.
หากคนเป็น "คอการเมือง" ก็จะพอทราบว่า "เพื่อไทย" ค่อนข้างเกาะติดเรื่องนี้หนัก ทุกครั้งที่มีการ "อภิปรายทั่วไป-อภิปรายไม่ไว้วางใจ" เรื่องนี้จะถูก "หยิบยก" มาเป็นเรื่องหลักในการซักฟอกรัฐบาล และต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ "รัฐบาล" ค่อนข้างโต้ยาก "ตอบซ้าย-แจงขวา" ก็เจอฝ่ายค้านงัดข้อมูลเรื่องนี้มา "โต้กลับ" ในรอบหน้าอยู่ดี
.
ประเด็นในรอบนี้ ที่ "จิราพร" ยกมา นับว่าน่าสนใจ กล่าวคือ หากไทยแพ้คดี (ซึ่งก็มีเปอร์เซ็นต์สูงมาก) ที่ไปสั่ง "ปิดเหมือง" ด้วยการใช้ ม.44 สิ่งที่ไทยจะต้องจ่าย "ค่าโง่" ค่อนข้างมหาศาล ซึ่งอาจจะจ่ายค่าโง่ในรูปใดๆก็แล้วแต่ (อาจจะในรูปแบบเงิน ทองคำ หรือทรัพยากรประเทศ) ซึ่งแน่นอน เหล่านี้คือ "ภาษี" ประชาชนทุกคน และขณะนี้ก็กำลังเกิดกระบวนการ "เจรจาประนีประนอมยอมความ" ซึ่งแน่นอน คงไม่จบดื้อๆ และมันจะจบด้วยการที่ต้องมีสักฝ่าย เอาอะไรไป "แลก" มาหรือไม่ ซึ่งตรงนี้สิน่าสนใจ
.
ยังมีสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูลใหม่" ที่เขาหยิบยกมาอภิปราย คือ มีการเปิดทางให้ "คิงส์เกต" นำผงเงิน ผงทองคำ ที่ถูกอายัดไว้ไปขาย การให้สิทธิสำรวจแร่เกือบ 4 แสนไร่ การให้สิทธิประทานบัตร 4 แปลง และขณะนี้ คดียังไม่ถึงที่สุด รัฐบาลก็ให้สิทธิเปิดเหมืองทำต่อ และคาดว่าที่รออนุญาตเกือบ 6 แสนไร่ จะได้รับการอนุมัติอย่างแน่นอน เป็นไปได้อย่างไรที่ "คดีพิพาทในเหมืองเดิม" พื้นที่ 3 พันกว่าไร่ ยังไม่ได้จบ แต่ตอนนี้นอกจากจะได้พื้นที่เดิมคืนยังได้สิทธิใหม่เพิ่มเติม นั่นเท่ากับว่า "ต้องใช้สมบัติชาติเฉียด 1 ล้านไร่" ซึ่งอาจจะเป็น "ค่าโง่" จากการใช้ ม.44 ในการสั่งปิด "เหมืองทองอัครา" นั่นเอง
.
“รายการเหล่านั้นเป็นข้อแลกเปลี่ยน ในการ "เจรจาประนีประนอมยอมความ" กันหรือไม่ คำตอบอยู่ในแถลงการณ์ของคิงส์เกต ต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 ก.ย.64 ระบุว่า คิงส์เกตและ รัฐบาลไทย ได้ร่วมกันร้องขอคณะอนุญาโตตุลาการ ชะลอคำชี้ขาดไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค.64 เพื่อขยายเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทร่วมกัน และคิงส์เกตได้เจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อพิจารณาข้อตกลง ซึ่งจะต้องทำตามขั้นตอนมีทั้งหมด 11 รายการ ตรงนี้ชัดเจนว่ามีการเจรจาประนีประนอมยอมความกัน” จิราพร กล่าวอภิปราย
.
และสำหรับ 11 รายการ ที่จิราพร ยกตัวอย่าง อาทิ
- การให้ใบอนุญาต และ คำขอใบอนุญาตที่จำเป็นในเหมืองทองชาตรี
- การต่ออายุการอนุมัติคำขอใบอนุญาตการสำรวจที่สำคัญ
- การให้สิทธิและการลดหย่อนภาษีฯ
- การเข้าถึงเงินทุน เพื่อการพัฒนาสำหรับการปรับปรุงการขยายเหมือง
- การพัฒนาโรงงานผลิตทองคำในท้องถิ่นของไทยที่ได้รับการรับรองระดับสากล
- การสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการนำบริษัท อัคราฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในท้องถิ่นทั้งหมด
.
ทั้งหมดคือสิ่งที่ "คิงส์เกต" ระบุว่า กำลังเจรจาต่อรองกับไทย ชัดเจนว่าที่ผ่านมา การที่ไทย ให้ผลประโยชน์ และคืนสิทธิต่างๆให้คิงส์เกต เป็นข้อต่อรองในการ "เจรจาประนีประนอมยอมความ" ที่ฟ้อง "ราชอาณาจักรไทย"
.
"...ประยุทธ์ คืนเหมืองให้ต่างชาติ แต่ไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน หลงมัวเมาในอำนาจจนบ้านเมืองจะพัง ปิดเหมืองไปแล้ว ประเทศเสียหายไปแล้ว ก็ต้องคืนสิทธิให้เขาอยู่ดี ไทยต้องเสียให้กับคิงส์เกตจากการเจรจาครั้งนี้ ซึ่งแน่นอน อาจมหาศาลมากกว่า เม็ดเงิน และ ทองคำ ที่ต้องชดใช้ในกรณีที่ 'หากแพ้คดี' เสียอีก..." จิราพร กล่าวช่วงท้าย ของการอภิปราย
.
.
ป.ล. รูปประกอบ น่าจะเกี่ยวกับการอภิปรายโดยตรง (ฮ่า)

workpointTODAY