วันพุธ, กันยายน 01, 2564

บทความทางวิชาการ เรื่อง The legend of King Prajadhipok: Tall tales and stubborn facts on the seventh reign in Siam โดย Federico Ferrara มีคนแปลไทยแบบสรุปคร่าวๆ เค้าว่า ฉายาที่ว่าเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยเป็นเรื่องไม่จริง ใครสนใจ เชิญ...



Nanthida Rakwong
August 24 at 2:03 PM ·

พอดีไปเจอบทความทางวิชาการ เรื่อง The legend of King Prajadhipok: Tall tales and stubborn facts on the seventh reign in Siam โดย Federico Ferrara แล้วน่าสนใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ร.7 ฉายาที่ว่าเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยเป็นเรื่องหลอกลวง จึงขอแปลและสรุปคร่าวๆดังนี้
-————-——————-------
ร.7 ไม่ได้เตรียมพร้อมจะเป็นกษัตริย์ ไม่มีความมั่นใจ และอยากยกตำแหน่งนี้ให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์แทน ร.7 ไม่ได้สนใจธรรมนูญเพราะเชื่อในประชาธิปไตย แม้อาจจะเป็นคนที่มีความคิดเห็นที่เสรีนิยมแต่ข้อเขียนของร.7 แสดงให้เห็นว่าไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมมีความยั่งยืน ร.7 สนใจเรื่องรัฐธรรมนูญเนื่องจากกลัว ว่าจะมีการปฏิวัติล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ในปี2469 ร.7 เขียนจดหมายแลกเปลี่ยนกับนาย Francis Sayre และย้ำว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไม่เหมาะสมกับคนเชื้อชาติชาวสยาม
หลังจากปฎิวัติ 2475 คณะราษฎรเปิดโอกาสให้สถาบันกษัตริย์ทำลายการสร้างฐานอำนาจของคณะปฏิวัติ เช่นไม่มีการยึดทรัพย์ของสมาชิกราชวงศ์ และนอกจากนี้ยังปฏิบัติต่อร.7 เหมือนกับว่าร.7 เห็นด้วยกับการปฏิวัติครั้งนี้ซึ่งเป็นการสร้างชื่อให้กับสถาบันกษัตริย์ในเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตย ขอย้ำว่านี่ไม่ใช่ทางเลือกเดียวของคณะราษฎรในเวลานั้น ความเชื่อในเรื่องการยึดมั่นใน ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่เหมือนเช่นทุกวันนี้
---------------------------------------------
ไม่นานก่อนพอดีจะเสียชีวิต ปรีดีได้กล่าวเอาไว้ว่าความล้มเหลวของคณะราษฎรคือการไม่สามารถ ประคองชัยชนะและหลีกเลี่ยงการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามได้ และข้อผิดพลาดหลักคือการไปเชิญข้าราชการเก่าแก่มาร่วมรัฐบาล และปรีดีก็ยังยอมรับว่าเขาไม่ได้คิดว่าสถาบันกษัตริย์จะให้ความร่วมมือขนาดนี้ และบางคนก็มองว่าอีกเหตุหนึ่งคือคณะราษฎรรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะได้รับความนิยมจากประชาชนมากแค่ไหน และยังรู้สึกกลัวว่าจะมีการแทรกแซงจากต่างชาติ ในเอกสารการพูดอังกฤษรายงานว่าคณะราษฎรล้มเลิกแนวความคิดที่จะล้มสถาบันกษัตริย์หลังจากที่ถูกชักจูงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย ว่าต่างชาติจะเข้ามาแทรกแซงหากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถที่จะรับรองความมั่นคงของประเทศได้ จะด้วยอะไรก็ตามแต่แต่คณะราษฎร์ได้สละศักยภาพของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศเพื่อแลกกับความมั่นคงอันสั้น พวกเขาคิดผิดและส่งผลให้คณะราษฎรตัดโอกาสตัวเองที่จะทำเป้าหมายปฏิวัติให้สำเร็จลุร่วงในช่วงแรก
----------------------------------------------
แม้ร. 7 จะประกาศว่าให้อภัยคณะราษฎรในที่สาธารณะแล้ว แต่ก็ยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายล้มล้างคณะราษฎรรวมถึงทำแคมเปญสื่อหนังพิมพ์กล่าวหาคณะราษฎร์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และเป็นภัยต่อชาติบ้านเมือง ในปี 2476 ร.7 เขียนจดหมายไปถึงนายกรัฐมนตรีพญามโนปกรณ์ว่ารู้สึกวิตกกังวลมากที่จะมีการตั้งพรรคการเมืองเพราะคิดว่าพรรคการเมืองจะนำไปสู่ความรุนแรงและความไม่สงบเนื่องจากประชาชนยังไม่มีความพร้อมและเข้าใจระบอบประชาธิปไตย พญามโนปกรณ์เห็นด้วยเนื่องจากมีปัญหากับสมาชิกคณะราษฎร์หลายคนรวมถึงปรีดีด้วย
ร.7 ยังมีส่วนเกี่ยวข้องและให้การสนับสนุนก็หมดบวรเดชในด้านการเงินและการลงมือปฏิบัติ ร.7 ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายภาษีมรดกเนื่องจากไม่มีการยกเว้นภาษีให้แก่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ แต่อย่างไรก็ตามร่างดังกล่าวก็ผ่านรัฐสภา อย่างที่สองคือการแก้ไขกฎหมายวิอาญา ร.7 ไม่เห็นด้วยที่ตนเองจะไม่มีอำนาจในการอนุมัติประหารชีวิต และสิทธิ์ในให้อภัยโทษต่อนักโทษของกษัตริย์ถูกทำให้ไร้ประสิทธิภาพ แต่ร่างกฎหมายก็ผ่านสภาอีกเช่นกัน
----------------------------------------------
นอกจากนี้ร.7 ยังไม่พอใจลักษณะการอภิปรายในสภาเพราะตนเองถูกวิจารณ์อย่างจะอย่างหนักว่าไม่ยอมรับหลักการของความเท่าเทียมทางกฏหมายในกรณีการจ่ายภาษี ร.7 ส่งจดหมายไปให้รัฐบาลปี 2477 ระบุว่าไม่พอใจที่รัฐบาลไล่ทหารรักษาวังซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับกบฏวรเดชถูกไล่ออก ร.7 อ้างว่ากษัตริย์ต้องการทหารรักษาพระองค์เพื่อจะได้รักษาความปลอดภัย หากรัฐบาลไม่สามารถหาให้ได้ก็จะสละราชสมบัติ และอีกฉบับเขียนว่าหากรัฐบาลไม่ยอมละเว้นภาษีให้กับสำนักงานกษัตริย์มันจะนำไปสู่การลดสถานภาพของกษัตริย์ หากรัฐบาลไม่ยกเว้นภาษีนี้ ร.7 ก็จะไม่เซ็นกฎหมายที่ทำลายกษัตริย์โดยตรงหรือทางอ้อม
นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเลิกกล่าวหากษัตริย์ ให้มีการปราบปรามผู้ที่ดูถูกพระราชวงศ์จักรีอย่างเข้มงวด และรัฐบาลควรจะแสดงชัดเจนว่ามีความจงรักภักดีกับสถาบันกษัตริย์ และยังเรียกร้องให้รัฐบาลลดโทษผู้กลาวหารัฐบาลว่าเป็นโซเชียลลิซ และลดโทษผู้ถูกข้อหากบฏบรวรเดช และคืนเงินบำนาญให้คนเหล่านี้
ร.7 ยังเขียนจดหมายไปถึงราชเลขาธิการวังโดยระบุว่ารัฐบาลต้องการที่จะทำให้ร.7 เป็นกษัตริย์เหมือนในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร.7 ยอมรับไม่ได้ ข้อเขียนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการที่ ร.7 สละราชสมบัติเป็นเรื่องส่วนตัวและการต่อรองเกี่ยวกับสถานะอำนาจของสถาบันกษัตริย์โดยตรง ไม่ได้เพราะเชื่อมั่นในประชาธิปไตยแต่อย่างใด