วันพุธ, กันยายน 15, 2564
เรื่อง ทมยันตี ที่หลายคนไม่ทราบแน่นอน
สุขุม สมหวัง ยังวัน
20h ·
ขอบันทึกไว้ตรงนี้ว่า เมื่อครั้งที่ผมเรียนอยู่ที่มธ. นักศึกษาปี 1 ทุกคนต้องเรียนวิชาพื้นฐานร่วมกันทั้งหมด ยังไม่มีการแยกคณะ
วิชาภาษาไทย ท.131 เป็นวิชาบังคับที่ทุกคนต้องเรียน
อาจารย์ประจำวิชาที่เป็นอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ เป็นพวกขวาตกขอบ เป็นสมาชิกกลุ่มนวพล ได้จัดให้มีการอภิปรายโดยเชิญนางวิมล เจียมเจริญ หรือทมยันตีคนนี้มาพูด โดยบังคับให้นศ.ปี 1 ทุกคนเข้าฟังและจะเอาไปออกในข้อสอบ
หัวข้ออภิปรายคือต่อต้านกระแส "เผาวรรณคดี" ที่นศ.ก้าวหน้าชูขึ้น เพื่อต่อต้านวรรณคดีศักดินาที่เต็มไปด้วยเนื้อหาเทิดทูนศักดินา มอมเมาแต่เรื่องรักๆใคร่ๆ และการชิงรักหักสวาท ฯลฯ
ทมยันตีขึ้นพล่ามคนเดียว เนื้อหาส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นไปตามหัวข้ออภิปราย แต่เน้นการด่านักศึกษาฝ่ายก้าวหน้าว่าเป็นสมุนคอมมิวนิสต์ ต้องการล้มล้างสถาบัน บราๆๆๆ
พอพูดจบ อาจารย์เปิดให้นศ.ตั้งคำถาม มีนศ.หลายคนขึ้นถาม หลายคนยกตัวอย่างบางบทบางตอนจากวรรณคดีศักดินาขึ้นถามว่า บทเหล่านี้มีข้อดีตรงไหน? จรรโลงคุณธรรมอย่างไร?
แทนที่จะตอบ นางวิมลกลับต่อว่านศ.ที่ถามต่างๆนานา ว่าเป็นสมุนรับใช้คอมมิวนิสต์บ้าง เป็นญวนแกวบ้าง
ในบรรดานักศึกษาที่ขึ้นเวทีจับไมค์ตั้งคำถามวันนั้น มีสุพจน์ แจ้งเร็ว(สหายมานะ) อดีตบรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ผู้มีศักดิ์เป็นปู่ของชลธิชา แจ้งเร็ว หรือน้องลูกเกด นักสู้สาวที่ยืนหยัดโรมรันกับเผด็จการทหารอย่างไม่มีลดราวาศอก อีกคนคือ ปกรณ์ รวีวร(แซ่ตัน) (สหายตา) กวีหนุ่ม ที่ต่อมาเขาเขียนบทกวีชื่อ "ลิลิตตุลาดูร" บรรยายภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยคำประพันธ์แบบลิลิต
สถานการณ์ในหอประชุมใหญ่เริ่มคุกรุ่น นศ.เริ่มโห่ไล่ จนในที่สุดอาจารย์สั่งปิดม่าน จบการอภิปรายครั้งนั้นเสียดื้อๆ
วันรุ่งขึ้น จึงมีการขุมนุมของนศ.ปี 1 เรียกร้องให้ทางมหาวิทยาลัยห้ามคณะศิลปศาสตร์ ใช้เนื้อหาที่นางวิมลพูดมาออกข้อสอบ มีนศ.ปี 1 เข้าร่วมอย่างล้นหลาม
ในที่สุด ทางมหาวิทยาลัยต้องยอมตามคำเรียกร้องของนักศึกษา เรื่องจึงยุติลง...