101 One-on-One Ep.237 อำนาจรัฐ ความรุนแรง บนความเคลื่อนไหวของม็อบประชาชน กับ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว
Streamed live on Aug 30, 2021
The101world
หลังเกิดความรุนแรงในการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดการถกเถียงถึง ‘เส้น’ ที่ควรจะเป็นทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม คำว่า ‘สันติวิธี’ ถูกยกมาคุยกันอีกครั้งในสถานการณ์เช่นนี้
ขอบเขตของการใช้สันติวิธีเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐอยู่ที่ตรงไหน เราจะมองการปราบปรามผู้ชุมนุมผ่านแว่นตาสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร ควรทบทวนนิยาม ‘ความรุนแรง’ อย่างไร เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางกายภาพ หนทางแบบไหนที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำร้า��ประชาชนได้ และรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลแบบไหนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Streamed live on Aug 30, 2021
The101world
หลังเกิดความรุนแรงในการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดการถกเถียงถึง ‘เส้น’ ที่ควรจะเป็นทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม คำว่า ‘สันติวิธี’ ถูกยกมาคุยกันอีกครั้งในสถานการณ์เช่นนี้
ขอบเขตของการใช้สันติวิธีเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐอยู่ที่ตรงไหน เราจะมองการปราบปรามผู้ชุมนุมผ่านแว่นตาสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร ควรทบทวนนิยาม ‘ความรุนแรง’ อย่างไร เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางกายภาพ หนทางแบบไหนที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำร้า��ประชาชนได้ และรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลแบบไหนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
101 ชวนเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มาคุยว่าด้วยประเด็นเหล่านี้ วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 19.00 น. ติดตามพร้อมกันทุกแพลตฟอร์มของThe101.world
ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
The101.world
August 31 at 8:47 AM ·
หลังเกิดความรุนแรงในการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดการถกเถียงถึง ‘เส้น’ ที่ควรจะเป็นทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม คำว่า ‘สันติวิธี’ ถูกยกมาคุยกันอีกครั้งในสถานการณ์เช่นนี้
.
ขอบเขตของการใช้สันติวิธีเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐอยู่ที่ตรงไหน เราจะมองการปราบปรามผู้ชุมนุมผ่านแว่นตาสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร ควรทบทวนนิยาม ‘ความรุนแรง’ อย่างไร เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางกายภาพ หนทางแบบไหนที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายประชาชนได้ และรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลแบบไหนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
.
101 ชวนเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มาคุยว่าด้วยประเด็นเหล่านี้
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/bencharat-saechua-interview-2/
The101.world
August 31 at 8:47 AM ·
:: มองการชุมนุมผ่านสามแว่นตา ::
.
การมองจากแว่นที่ต่างกันส่งผลต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ต่างกัน ถ้าเรามองการชุมนุมจากแว่นสันติวิธี เราอาจจะดูว่าผู้ชุมนุมปฏิบัติตามหลักสันติวิธีหรือไม่ แต่ถ้าเปลี่ยนมามองเรื่องสิทธิในการชุมนุม อำนาจรัฐ และความรุนแรง มุมในการมองจะเปลี่ยนไป เราจะไม่ตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมใช้สันติวิธีและมีความชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน แต่เราจะตั้งคำถามว่ารัฐปฏิบัติหน้าที่ในการเอื้ออำนวยการชุมนุมและให้สิทธิประชาชนในการแสดงออกได้จริงหรือไม่ ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ประชาชนมีสิทธิแสดงความเห็นและชุมนุมประท้วง รัฐมีหน้าที่ต้องช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้สิทธินี้ได้เต็มที่และประสานงานกับผู้จัดการชุมนุมเพื่อลดทอนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไป หรือในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุม รัฐก็ต้องจัดการกับผู้ใช้ความรุนแรงเป็นรายบุคคล
.
นอกจากสองมุมมองที่กล่าวมาแล้ว อีกมุมมองหนึ่งคือมองในมุมปฏิบัติการเพื่อต่อต้านและท้าทายอำนาจรัฐ ซึ่งสันติวิธีเป็นอีกหนึ่งวิธีในการต่อต้านอำนาจรัฐ แต่ก็ยังมีวิธีการอีกหลายรูปแบบ สิ่งที่เราควรให้ความสนใจคือ การออกมาของประชาชนนั้นเป็นการตั้งคำถามต่ออำนาจรัฐบางอย่างในสภาวะที่ประชาชนไม่สามารถใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อสะท้อนเสียงของตนเองออกมาได้
:: เส้นแบ่งระหว่างความรุนแรงกับสิทธิในการชุมนุม ::
.
ที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการชุมนุมใช้ความรุนแรง เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูว่าเส้นแบ่งของความรุนแรงมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเรื่องที่เคยเป็นประเด็นเมื่อปีที่แล้วอย่างการสาดสีใส่ตำรวจ จากเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดการถกเถียงว่าอะไรคือเส้นแบ่งว่าการประท้วงนั้นรุนแรงหรือไม่รุนแรง
.
ส่วนตัวมองว่าต้องย้อนไปถึงหลักการพื้นฐานว่า ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมรวมตัว รัฐมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นถ้าการชุมนุมไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งทำร้ายชีวิตคน ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือชักจูงกันไปทำร้ายคนอื่น สิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหา นี่อาจเป็นเส้นแบ่งที่เราต้องขยายให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้มากที่สุด เราจะต้องนิยามความรุนแรงในลักษณะที่เอื้อต่อการใช้สิทธิของประชาชนให้ได้มากที่สุดด้วย
.
เพราะฉะนั้นถ้าเรานิยามว่าการด่าหยาบคาย การสาดสีหน้าหน่วยงานราชการ หรือการเผาสัญลักษณ์ของการชุมนุมประท้วงล้วนแต่เป็นความรุนแรง การขีดเส้นในลักษณะนี้จะทำให้สิทธิในการชุมนุมถูกจำกัดและหดตัวลง
.
ดังนั้นอยากชักชวนให้นิยามและขีดเส้นความรุนแรงในลักษณะที่จะขยายสิทธิการชุมนุมให้ได้มากที่สุดและอยากให้ทำความเข้าใจปฏิบัติการเหล่านี้ในฐานะการต่อต้านขัดขืนอำนาจรัฐ ซึ่งมีอำนาจทั้งเชิงกายภาพและการสั่งให้คนเห็นพ้องต้องกันกับอุดมการณ์รัฐ ฉะนั้นผู้ชุมนุมอาจเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจคน แต่การกระทำที่ไม่ถูกใจคนไม่ได้หมายความว่านั่นคือความรุนแรง เพราะเขาไม่ได้ไปทำให้เกิดความเสียหายหรือมุ่งร้ายไปเอาชีวิตใคร
.
สำหรับประเด็นที่มีบางคนใช้ความรุนแรงในการชุมนุม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการชุมนุมทั้งหมดเป็นการชุมนุมที่รุนแรง หรือผู้ชุมนุมบางคนมีการพกพาอาวุธ ก็ต้องมาดูว่าอาวุธที่ว่าคืออะไร หรือมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร การใช้อาวุธไม่ได้หมายความว่าต้องฆ่าใคร บางอย่างอาจใช้เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างจากตำรวจ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ดูแลการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองก็ได้ออกคำอธิบายเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า ในกรณีที่มีบางคนในการชุมนุมใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่เหมารวมว่าการชุมนุมทั้งหมดนั้นเป็นการชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง และหากจะมีการจับกุม ก็ต้องจับเฉพาะคนที่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช่การกวาดจับผู้ชุมนุมทุกคน
:: เมื่อตำรวจไม่เอื้ออำนวยให้ประชาชนใช้สิทธิในการชุมนุม ::
.
ในภาพรวมจะเห็นว่า การปราบปรามที่ผ่านมาเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ การยิงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา การใช้เครื่องขยายเสียง LRAD หรือการฉีดน้ำ ควรเป็นมาตรการที่ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น แต่ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีฐานคิดว่า ตำรวจมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ แต่มีฐานคิดว่าต้องควบคุมไม่ให้ประชาชนเดินไปถึงบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ พอจุดตั้งต้นเป็นอย่างนั้น แรงปฏิกิริยาของทั้งสองฝ่ายเลยไม่ได้เป็นไปในลักษณะที่จะช่วยให้เกิดการชุมนุมหรือเอื้อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกัน การยิงแก๊สน้ำตา ยิงกระสุนยาง หรือการวางตู้คอนเทนเนอร์กีดขวางล้วนสะท้อนวิธีคิดของตำรวจและเป็นการจำกัดสิทธิในการชุมนุมรวมตัวของประชาชน
.
จริงๆ ก็มีการฝึกอบรมการควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อนอยู่แล้วว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ เหตุการณ์ต้องรุนแรงขั้นไหนถึงใช้อาวุธได้ หรือแม้กระทั่งการอบรมว่าตำรวจจะเข้าไปประสานงานกับแกนนำการชุมนุมอย่างไรเพื่อให้การชุมนุมผ่านไปได้ด้วยดี เรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ในบางประเทศมีการจัดฝึกอบรมเฉพาะให้แก่ตำรวจที่จะมาทำหน้าที่นี้ แต่ในเมืองไทยพบว่ามีหลายครั้งที่เอาเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้เป็นตำรวจมาควบคุมฝูงชน เช่น เจ้าหน้าที่ทหาร เรื่องนี้ก็ส่งผลให้ความรุนแรงเกิดการปะทุได้ง่าย เพราะเขาไม่ได้ถูกฝึกให้ควบคุมฝูงชน แต่ถูกฝึกมาเป็นนักรบให้ทำลายศัตรู ดังนั้นการอบรมเจ้าหน้าที่และการใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจในการรับมือฝูงชนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยไม่ให้ไปถึงขั้นปราบปราม
:: วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดของผู้มีอำนาจ ::
.
กรณีการสังหารประชาชนครั้งใหญ่ๆ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 มีหลักฐานชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่รัฐฆ่าประชาชน แต่ก็ไม่ได้มีการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ
.
รัฐไทยเป็นรัฐลอยนวลพ้นผิด ปัจจัยหนึ่งอาจเพราะสังคมไม่ได้ตั้งมั่นกับสิทธิมนุษยชนมากพอที่จะกดดันให้รัฐต้องยอมรับผิด นอกจากนี้ คนบางกลุ่มในสังคมก็ยอมรับความชอบธรรมของการสังหารประชาชน เช่น ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือกรณีคนเสื้อแดง เจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดก็ยังคงอยู่ในอำนาจ หรืออย่างกรณีเรื่องคลุมถุงดำล่าสุด มีหลักฐานชัดเจนขนาดนั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างแท้จริง
.
ทั้งเรื่องวัฒนธรรม เรื่องสิทธิมนุษยชนที่ยังขาดความเข้าใจ การขาดการกดดันรัฐให้ออกมารับผิดชอบ และกลไกทางกฎหมายของรัฐก็ไม่ได้มีการวางระบบเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนผู้มีอำนาจในสังคมก็ยังวนเวียนอยู่ในอำนาจทางการเมือง ทำให้การเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำเกินกว่าเหตุเป็นไปได้ยาก
:: เวทีแห่งการสร้างความชอบธรรม ::
.
ในนัยหนึ่ง การประท้วงคือการแย่งชิงพื้นที่ความชอบธรรม ยิ่งถ้ามองจากมุมมองของปฏิบัติการต่อต้านแบบไม่ใช้ความรุนแรง มันคือสงครามเรื่องความชอบธรรมว่าใครสามารถสร้างความชอบธรรมให้ขบวนการหรือข้อเรียกร้องของตัวเองได้มากกว่า และพอมีความรุนแรงเกิดขึ้นมาแม้เพียงนิดเดียวก็มักถูกเอามาขยายเพื่อลดทอนความชอบธรรมของขบวนการเคลื่อนไหว ฉะนั้นเป็นโจทย์ที่ยากเหมือนกันว่าผู้ชุมนุมจะรักษาความชอบธรรมไว้อย่างไร ในขณะเดียวกันก็ต้องตั้งคำถามต่อฐานความชอบธรรมที่รัฐอ้างอยู่
.
สถานการณ์ในตอนนี้เอื้อต่อการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของรัฐ แต่ปัญหาในตอนนี้คือผู้ชุมนุมมีหลายกลุ่ม ไม่ได้มีแกนนำแน่ชัดที่สามารถไปบอกให้ทุกคนทำตามแบบเดียวกันได้ เป็นโจทย์ยากว่าจะสร้างความชอบธรรมอย่างไร อาจต้องถอยกลับมาวางยุทธศาสตร์กันใหม่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบสำเร็จรูป
.
นอกจากนี้อยากเสริมประเด็นเรื่องความบริสุทธิ์ของการชุมนุม หากสังเกตจากการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปีที่แล้ว ฐานความชอบธรรมในการรับรู้ของสาธารณะคือนี่เป็นการชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชน ซึ่งทำให้คนในสังคมรู้สึกว่านี่เป็นพลังบริสุทธิ์ แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ความชอบธรรมไม่ควรอยู่ที่ว่าเพราะเขาเป็นนักศึกษาหรือเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นใครก็มีความชอบธรรมในการชุมนุมพอกัน
.
อย่างเรื่องความชอบธรรมของการชุมนุมที่ม็อบดินแดง พอผู้ชุมนุมถูกมองว่าเป็นเด็กแว้น เด็กอาชีวะ เด็กสลัม หรือการตีตราว่าคนกลุ่มนี้ต้องใช้ความรุนแรง ก็อาจทำให้คนบางกลุ่มรู้สึกว่าผู้ชุมนุมกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ป่วนเมือง ถ้าตำรวจใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ก็อาจรู้สึกว่าจะไม่มีปัญหา นี่จึงเป็นจุดจี้ใจว่าทำไมเราถึงไม่ควรเอาสิทธิในการชุมนุมไปผูกกับสถานะบางอย่างในสังคม เพราะสิทธิในการชุมนุมเป็นสิทธิของทุกคน
.
อีกโจทย์หนึ่งของการชุมนุมที่ดินแดงคือ ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าคนกลุ่มนี้เป็นใครและทำไมถึงเลือกใช้การต่อสู้ด้วยวิธีนี้ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องมาทำความเข้าใจ โดยทำความเข้าใจบนฐานที่ว่าตอนนี้ระบบการเมืองไทยไม่ได้มีพื้นที่ให้คนได้แสดงออกเพื่อที่จะต่อต้านอำนาจรัฐมากนัก ถ้าเราเอาวิธีนี้มามองม็อบดินแดง ก็อาจมองได้ว่า กลุ่มคนที่ออกมาชุมนุมที่ดินแดงอาจไม่มีช่องทางอื่นในการแสดงออกถึงความไม่พอใจหรือการต่อต้านรัฐให้คนอื่นเห็น แต่พอมาชุมนุมแล้วเจอสิ่งกีดขวางหรือการยิงแก๊สน้ำตา-กระสุนยาง เลยทำให้มีการปะทะกันต่อเนื่องไป แต่ถ้าตรงนั้นไม่มีแนวกั้นเมื่อไหร่ มันก็กลายเป็นพื้นที่ธรรมดา
:: ความหวังภายใต้สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยการด่า ::
.
การชุมนุมตลอดสองปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีการพูดคุยถกเถียงทั้งจากการแสดงออกบนท้องถนน รวมถึงการอภิปรายกันในรัฐสภา ถ้าประชาชนยังแข็งขันที่จะพูดถึงปัญหาและจุดบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็ยังมีความหวังว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีการสูญเสียด้วยเหมือนกัน
.
ถ้าท่าทีของรัฐยังแข็งกร้าวอยู่แบบนี้ โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงยังมีอยู่มาก สังคมโดยรวมต้องช่วยกันส่งเสียงว่าเราต้องการการเปลี่ยนแปลง เพราะเราปรารถนาดีต่อสังคมไทยและเราจะร่วมมือกันอย่างไรเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นโดยไม่มีความรุนแรง และถ้าเราเห็นการใช้ความรุนแรงโดยรัฐก็ต้องออกมาช่วยกันพูด เหมือนที่พูดกันว่า ‘สังคมนี้ขับเคลื่อนด้วยการด่า’ ถ้าเราด่าบ่อยๆ รัฐอาจชะงักและรับฟังประชาชนมากขึ้น
.
ถ้าถามว่ามีความหวังแค่ไหน คิดว่าเราต้องมีความหวัง เพราะถ้าไม่หวัง นั่นหมายความว่าเรายอมแพ้
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/bencharat-saechua-interview-2/
The101.world
August 31 at 8:47 AM ·
หลังเกิดความรุนแรงในการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดการถกเถียงถึง ‘เส้น’ ที่ควรจะเป็นทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม คำว่า ‘สันติวิธี’ ถูกยกมาคุยกันอีกครั้งในสถานการณ์เช่นนี้
.
ขอบเขตของการใช้สันติวิธีเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐอยู่ที่ตรงไหน เราจะมองการปราบปรามผู้ชุมนุมผ่านแว่นตาสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร ควรทบทวนนิยาม ‘ความรุนแรง’ อย่างไร เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางกายภาพ หนทางแบบไหนที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายประชาชนได้ และรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลแบบไหนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
.
101 ชวนเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มาคุยว่าด้วยประเด็นเหล่านี้
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/bencharat-saechua-interview-2/
The101.world
August 31 at 8:47 AM ·
:: มองการชุมนุมผ่านสามแว่นตา ::
.
การมองจากแว่นที่ต่างกันส่งผลต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ต่างกัน ถ้าเรามองการชุมนุมจากแว่นสันติวิธี เราอาจจะดูว่าผู้ชุมนุมปฏิบัติตามหลักสันติวิธีหรือไม่ แต่ถ้าเปลี่ยนมามองเรื่องสิทธิในการชุมนุม อำนาจรัฐ และความรุนแรง มุมในการมองจะเปลี่ยนไป เราจะไม่ตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมใช้สันติวิธีและมีความชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน แต่เราจะตั้งคำถามว่ารัฐปฏิบัติหน้าที่ในการเอื้ออำนวยการชุมนุมและให้สิทธิประชาชนในการแสดงออกได้จริงหรือไม่ ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ประชาชนมีสิทธิแสดงความเห็นและชุมนุมประท้วง รัฐมีหน้าที่ต้องช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้สิทธินี้ได้เต็มที่และประสานงานกับผู้จัดการชุมนุมเพื่อลดทอนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไป หรือในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นในการชุมนุม รัฐก็ต้องจัดการกับผู้ใช้ความรุนแรงเป็นรายบุคคล
.
นอกจากสองมุมมองที่กล่าวมาแล้ว อีกมุมมองหนึ่งคือมองในมุมปฏิบัติการเพื่อต่อต้านและท้าทายอำนาจรัฐ ซึ่งสันติวิธีเป็นอีกหนึ่งวิธีในการต่อต้านอำนาจรัฐ แต่ก็ยังมีวิธีการอีกหลายรูปแบบ สิ่งที่เราควรให้ความสนใจคือ การออกมาของประชาชนนั้นเป็นการตั้งคำถามต่ออำนาจรัฐบางอย่างในสภาวะที่ประชาชนไม่สามารถใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อสะท้อนเสียงของตนเองออกมาได้
:: เส้นแบ่งระหว่างความรุนแรงกับสิทธิในการชุมนุม ::
.
ที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการชุมนุมใช้ความรุนแรง เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูว่าเส้นแบ่งของความรุนแรงมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเรื่องที่เคยเป็นประเด็นเมื่อปีที่แล้วอย่างการสาดสีใส่ตำรวจ จากเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดการถกเถียงว่าอะไรคือเส้นแบ่งว่าการประท้วงนั้นรุนแรงหรือไม่รุนแรง
.
ส่วนตัวมองว่าต้องย้อนไปถึงหลักการพื้นฐานว่า ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมรวมตัว รัฐมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นถ้าการชุมนุมไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งทำร้ายชีวิตคน ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือชักจูงกันไปทำร้ายคนอื่น สิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหา นี่อาจเป็นเส้นแบ่งที่เราต้องขยายให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้มากที่สุด เราจะต้องนิยามความรุนแรงในลักษณะที่เอื้อต่อการใช้สิทธิของประชาชนให้ได้มากที่สุดด้วย
.
เพราะฉะนั้นถ้าเรานิยามว่าการด่าหยาบคาย การสาดสีหน้าหน่วยงานราชการ หรือการเผาสัญลักษณ์ของการชุมนุมประท้วงล้วนแต่เป็นความรุนแรง การขีดเส้นในลักษณะนี้จะทำให้สิทธิในการชุมนุมถูกจำกัดและหดตัวลง
.
ดังนั้นอยากชักชวนให้นิยามและขีดเส้นความรุนแรงในลักษณะที่จะขยายสิทธิการชุมนุมให้ได้มากที่สุดและอยากให้ทำความเข้าใจปฏิบัติการเหล่านี้ในฐานะการต่อต้านขัดขืนอำนาจรัฐ ซึ่งมีอำนาจทั้งเชิงกายภาพและการสั่งให้คนเห็นพ้องต้องกันกับอุดมการณ์รัฐ ฉะนั้นผู้ชุมนุมอาจเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจคน แต่การกระทำที่ไม่ถูกใจคนไม่ได้หมายความว่านั่นคือความรุนแรง เพราะเขาไม่ได้ไปทำให้เกิดความเสียหายหรือมุ่งร้ายไปเอาชีวิตใคร
.
สำหรับประเด็นที่มีบางคนใช้ความรุนแรงในการชุมนุม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการชุมนุมทั้งหมดเป็นการชุมนุมที่รุนแรง หรือผู้ชุมนุมบางคนมีการพกพาอาวุธ ก็ต้องมาดูว่าอาวุธที่ว่าคืออะไร หรือมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร การใช้อาวุธไม่ได้หมายความว่าต้องฆ่าใคร บางอย่างอาจใช้เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างจากตำรวจ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ดูแลการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองก็ได้ออกคำอธิบายเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า ในกรณีที่มีบางคนในการชุมนุมใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่เหมารวมว่าการชุมนุมทั้งหมดนั้นเป็นการชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง และหากจะมีการจับกุม ก็ต้องจับเฉพาะคนที่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช่การกวาดจับผู้ชุมนุมทุกคน
:: เมื่อตำรวจไม่เอื้ออำนวยให้ประชาชนใช้สิทธิในการชุมนุม ::
.
ในภาพรวมจะเห็นว่า การปราบปรามที่ผ่านมาเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ การยิงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา การใช้เครื่องขยายเสียง LRAD หรือการฉีดน้ำ ควรเป็นมาตรการที่ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น แต่ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีฐานคิดว่า ตำรวจมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ แต่มีฐานคิดว่าต้องควบคุมไม่ให้ประชาชนเดินไปถึงบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ พอจุดตั้งต้นเป็นอย่างนั้น แรงปฏิกิริยาของทั้งสองฝ่ายเลยไม่ได้เป็นไปในลักษณะที่จะช่วยให้เกิดการชุมนุมหรือเอื้อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกัน การยิงแก๊สน้ำตา ยิงกระสุนยาง หรือการวางตู้คอนเทนเนอร์กีดขวางล้วนสะท้อนวิธีคิดของตำรวจและเป็นการจำกัดสิทธิในการชุมนุมรวมตัวของประชาชน
.
จริงๆ ก็มีการฝึกอบรมการควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อนอยู่แล้วว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ เหตุการณ์ต้องรุนแรงขั้นไหนถึงใช้อาวุธได้ หรือแม้กระทั่งการอบรมว่าตำรวจจะเข้าไปประสานงานกับแกนนำการชุมนุมอย่างไรเพื่อให้การชุมนุมผ่านไปได้ด้วยดี เรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ในบางประเทศมีการจัดฝึกอบรมเฉพาะให้แก่ตำรวจที่จะมาทำหน้าที่นี้ แต่ในเมืองไทยพบว่ามีหลายครั้งที่เอาเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้เป็นตำรวจมาควบคุมฝูงชน เช่น เจ้าหน้าที่ทหาร เรื่องนี้ก็ส่งผลให้ความรุนแรงเกิดการปะทุได้ง่าย เพราะเขาไม่ได้ถูกฝึกให้ควบคุมฝูงชน แต่ถูกฝึกมาเป็นนักรบให้ทำลายศัตรู ดังนั้นการอบรมเจ้าหน้าที่และการใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจในการรับมือฝูงชนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยไม่ให้ไปถึงขั้นปราบปราม
:: วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดของผู้มีอำนาจ ::
.
กรณีการสังหารประชาชนครั้งใหญ่ๆ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 มีหลักฐานชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่รัฐฆ่าประชาชน แต่ก็ไม่ได้มีการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ
.
รัฐไทยเป็นรัฐลอยนวลพ้นผิด ปัจจัยหนึ่งอาจเพราะสังคมไม่ได้ตั้งมั่นกับสิทธิมนุษยชนมากพอที่จะกดดันให้รัฐต้องยอมรับผิด นอกจากนี้ คนบางกลุ่มในสังคมก็ยอมรับความชอบธรรมของการสังหารประชาชน เช่น ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือกรณีคนเสื้อแดง เจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดก็ยังคงอยู่ในอำนาจ หรืออย่างกรณีเรื่องคลุมถุงดำล่าสุด มีหลักฐานชัดเจนขนาดนั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างแท้จริง
.
ทั้งเรื่องวัฒนธรรม เรื่องสิทธิมนุษยชนที่ยังขาดความเข้าใจ การขาดการกดดันรัฐให้ออกมารับผิดชอบ และกลไกทางกฎหมายของรัฐก็ไม่ได้มีการวางระบบเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนผู้มีอำนาจในสังคมก็ยังวนเวียนอยู่ในอำนาจทางการเมือง ทำให้การเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ทำเกินกว่าเหตุเป็นไปได้ยาก
:: เวทีแห่งการสร้างความชอบธรรม ::
.
ในนัยหนึ่ง การประท้วงคือการแย่งชิงพื้นที่ความชอบธรรม ยิ่งถ้ามองจากมุมมองของปฏิบัติการต่อต้านแบบไม่ใช้ความรุนแรง มันคือสงครามเรื่องความชอบธรรมว่าใครสามารถสร้างความชอบธรรมให้ขบวนการหรือข้อเรียกร้องของตัวเองได้มากกว่า และพอมีความรุนแรงเกิดขึ้นมาแม้เพียงนิดเดียวก็มักถูกเอามาขยายเพื่อลดทอนความชอบธรรมของขบวนการเคลื่อนไหว ฉะนั้นเป็นโจทย์ที่ยากเหมือนกันว่าผู้ชุมนุมจะรักษาความชอบธรรมไว้อย่างไร ในขณะเดียวกันก็ต้องตั้งคำถามต่อฐานความชอบธรรมที่รัฐอ้างอยู่
.
สถานการณ์ในตอนนี้เอื้อต่อการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของรัฐ แต่ปัญหาในตอนนี้คือผู้ชุมนุมมีหลายกลุ่ม ไม่ได้มีแกนนำแน่ชัดที่สามารถไปบอกให้ทุกคนทำตามแบบเดียวกันได้ เป็นโจทย์ยากว่าจะสร้างความชอบธรรมอย่างไร อาจต้องถอยกลับมาวางยุทธศาสตร์กันใหม่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบสำเร็จรูป
.
นอกจากนี้อยากเสริมประเด็นเรื่องความบริสุทธิ์ของการชุมนุม หากสังเกตจากการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปีที่แล้ว ฐานความชอบธรรมในการรับรู้ของสาธารณะคือนี่เป็นการชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชน ซึ่งทำให้คนในสังคมรู้สึกว่านี่เป็นพลังบริสุทธิ์ แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ความชอบธรรมไม่ควรอยู่ที่ว่าเพราะเขาเป็นนักศึกษาหรือเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นใครก็มีความชอบธรรมในการชุมนุมพอกัน
.
อย่างเรื่องความชอบธรรมของการชุมนุมที่ม็อบดินแดง พอผู้ชุมนุมถูกมองว่าเป็นเด็กแว้น เด็กอาชีวะ เด็กสลัม หรือการตีตราว่าคนกลุ่มนี้ต้องใช้ความรุนแรง ก็อาจทำให้คนบางกลุ่มรู้สึกว่าผู้ชุมนุมกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ป่วนเมือง ถ้าตำรวจใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ก็อาจรู้สึกว่าจะไม่มีปัญหา นี่จึงเป็นจุดจี้ใจว่าทำไมเราถึงไม่ควรเอาสิทธิในการชุมนุมไปผูกกับสถานะบางอย่างในสังคม เพราะสิทธิในการชุมนุมเป็นสิทธิของทุกคน
.
อีกโจทย์หนึ่งของการชุมนุมที่ดินแดงคือ ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าคนกลุ่มนี้เป็นใครและทำไมถึงเลือกใช้การต่อสู้ด้วยวิธีนี้ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องมาทำความเข้าใจ โดยทำความเข้าใจบนฐานที่ว่าตอนนี้ระบบการเมืองไทยไม่ได้มีพื้นที่ให้คนได้แสดงออกเพื่อที่จะต่อต้านอำนาจรัฐมากนัก ถ้าเราเอาวิธีนี้มามองม็อบดินแดง ก็อาจมองได้ว่า กลุ่มคนที่ออกมาชุมนุมที่ดินแดงอาจไม่มีช่องทางอื่นในการแสดงออกถึงความไม่พอใจหรือการต่อต้านรัฐให้คนอื่นเห็น แต่พอมาชุมนุมแล้วเจอสิ่งกีดขวางหรือการยิงแก๊สน้ำตา-กระสุนยาง เลยทำให้มีการปะทะกันต่อเนื่องไป แต่ถ้าตรงนั้นไม่มีแนวกั้นเมื่อไหร่ มันก็กลายเป็นพื้นที่ธรรมดา
:: ความหวังภายใต้สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยการด่า ::
.
การชุมนุมตลอดสองปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีการพูดคุยถกเถียงทั้งจากการแสดงออกบนท้องถนน รวมถึงการอภิปรายกันในรัฐสภา ถ้าประชาชนยังแข็งขันที่จะพูดถึงปัญหาและจุดบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็ยังมีความหวังว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีการสูญเสียด้วยเหมือนกัน
.
ถ้าท่าทีของรัฐยังแข็งกร้าวอยู่แบบนี้ โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงยังมีอยู่มาก สังคมโดยรวมต้องช่วยกันส่งเสียงว่าเราต้องการการเปลี่ยนแปลง เพราะเราปรารถนาดีต่อสังคมไทยและเราจะร่วมมือกันอย่างไรเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นโดยไม่มีความรุนแรง และถ้าเราเห็นการใช้ความรุนแรงโดยรัฐก็ต้องออกมาช่วยกันพูด เหมือนที่พูดกันว่า ‘สังคมนี้ขับเคลื่อนด้วยการด่า’ ถ้าเราด่าบ่อยๆ รัฐอาจชะงักและรับฟังประชาชนมากขึ้น
.
ถ้าถามว่ามีความหวังแค่ไหน คิดว่าเราต้องมีความหวัง เพราะถ้าไม่หวัง นั่นหมายความว่าเรายอมแพ้
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/bencharat-saechua-interview-2/