อย่างที่ ธนวัฒน์ วงศ์ชัย ว่าน่ะใช่เลย
องค์กรอิสระของ คสช.นี่มาตรฐานแน่นอน เอาพวกรัฐประหารก่อน ประชาธิปไตยทีหลัง เมื่อ
กกต.รับคำร้อง ศรีสุวรรณ จรรยา ยื่นยุบพรรคอนาคตใหม่ นัดไต่สวน ๖ มีนานี้เลย
ส่วนที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
ยื่นยุบพรรคพลังประชารัฐเอาไว้ก่อน ๑ อาทิตย์ ไม่มีความหมาย ไม่มีอะไรคืบหน้า
ไม่รู้ กกต.สนใจดูเอกสารหรือเปล่าด้วยซ้ำไป
อีกองค์กร (ที่ว่า) อิสระ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น
จัดการกวาดล้างระบอบทักษิณอย่างแน่วแน่ตลอดมา
ดังคดีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปล่อยให้มีการระบายข้าวแบบ ‘จีทูจี’ ก่อเกิดความเสียหายต่อรัฐมูลค่ามหาศาล
ซึ่งถูกพิพากษามีความผิด ศาลลงโทษจำคุกกว่า ๔๐ ปีไปแล้ว
ต่อมาเมื่อมีปฏิบัติการ ‘ดูด’ อดีต ส.ส. โดยกลุ่ม ‘สามมิตร’
ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อรวบรวมนักการเมืองจากพรรคเก่าๆ
เข้าไปสะสมอยู่ในพรรคพลังประชารัฐที่มีรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช.ร่วมก่อตั้งเพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงเสริม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ได้กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เป็นหนึ่งในอดีตนักการเมืองที่มีคนของ
คสช.เข้าไปคุยถึงในคุก จนกระทั่งปรากฏข่าวว่าลูกชายของนายบุญทรงย้ายสังกัดพรรคการเมืองจากเพื่อไทยไปอยู่พลังประชารัฐ
คดีเกี่ยวเนื่องกับการระบายข้าวอีกอย่างหนึ่งของนายบุญทรงที่ยังค้างอยู่
ในข้อหา “แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล
เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบสัญญาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จี ทู จี...
เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนปกปิดความจริงที่ต้องเปิดเผยไปเมื่อวันที่
๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑” นั้นอยู่ในขั้นตอนพิจารณามูลความผิดโดยคณะกรรมการปราบคอรัปชั่น
(ปปช.) เพิ่งจะผ่านการวินิจฉัยก่อนการเลือกตั้งไม่ถึง ๒๐ วัน
“ประชุมคณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีมติให้ตีตกข้อกล่าวหานายบุญทรง” ในคดีดังกล่าว
อ้างว่านายบุญทรงถูกตัดสินความผิดในเรื่องนี้ไปแล้ว การตั้งกรรมการตรวจสอบฯ โดยนายบุญทรงเพื่อใช้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีเท่านั้น
ปปช.จึงวินิจฉัยให้ข้อกล่าวหาตกไป
ทำให้เกิดความกังขาต่อความถูกต้องของข้อวินิจฉัย
โดย ปปช. ว่าเกี่ยวเนื่องไปถึงการย้ายพรรคไปพลังประชารัฐของลูกชายนายบุญทรงหรือไม่
อีกทั้งมีการสืบเนื่องกับกรณีที่ ปปช. ขุดคดีเก่าของทักษิณ-ยิ่งลักษณ์
และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เอาขึ้นมาเล่นซ้ำอีกครั้งหรือไม่
ปปช.เปลี่ยนแนวการวินิจฉัยในคดีเดียวกันจากหลังเท้าเป็นหน้ามือ
เป้นประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐอย่างนี้ ย่อมทำให้เข้าใจ ‘ไม่เป็นอื่น’ ได้ทันทีว่า
เอื้ออำนวยแก่พรรคพลังประชารัฐ
มาตรฐานอันเดียวกันนี่แหละที่ตุลาการใช้อยู่สม่ำเสมอ
ดังที่ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาคดี ‘๗ ตุลา’
พันธมิตรฯ ปิดล้อมสภาไม่ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
สามารถแถลงนโยบายเพื่อให้รัฐบาลพรรคพลังประชาชนชุดใหม่ของเขาเข้าบริหารงานในปี
๒๕๕๗ ได้
ศาลเลือกที่จะอ้างถึง ‘การปราศรัย’ ซึ่ง พธม. กล่าวหา “ให้ข้อมูลข้อเท็จริงที่น่าเชื่อว่า”
ทั้งรัฐบาลชุดก่อนของนายสมัคร สุนทรเวช และชุดของนายสมชาย “เป็นหุ่นเชิดของนายทักษิณ”
(ชินวัตร) อีกทั้งโยงไปถึงกรณีที่รัฐบาลนายสมัครเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๗ และ
๓๐๙ เพื่อช่วย “ทักษิณพ้นจากการตรวจสอบคดีทุจริต ๑๓ โครงการโดย คตส.” ด้วย
รวมความว่าการอภิปรายโจมตีเหล่านั้นเป็นการ
“ร่วมตรวจสอบนักการเมือง” และ “นำข้อมูลข้อเท็จจริงนั้นมาสื่อสารให้ประชาชนรับทราบ”
ไม่ถือเป็นความผิดตามคำฟ้องทั้ง ๕ ข้อหา
ทว่าประเด็นที่เป็นหัวใจของคดีนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยท่อเหล็กและไม้พลอง
รวมทั้งการพกพาระเบิดปิงปองในสถานที่ชุมนุม จนเกิดระเบิดขึ้นใต้รักแร้ในครอบครองของ
‘น้องโบว์’ อังคณา
ระดับปัญญาวุฒิ จนเสียชีวิต
กับการวางระเบิดแสวงเครื่องในรถจี๊บที่
‘สารวัตรจ๊าบ’ กระโดดขึ้นขับพุ่งมุ่งเข้าสู่ที่ทำการพรรคชาติไทย
แต่เกิดระเบิดขึ้นเสียก่อนทำให้พันตำรวจโท เมธี ชาติมนตรี เสียชีวิต
ทั้งคู่กลายเป็นวีรสตรี วีรบุรุษ ของพันธมิตรฯ ไป
ทั้งนี้ ธนาพล อิ๋วสกุล
ตั้งข้อสังเกตุว่า การที่ศาลไม่ยอม (หรือไม่กล้า) ตัดสินความผิดของแกนนำพันธมิตรฯ
๒๑ คนในเหตุการณ์นี้ เนื่องเพราะสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จไปงานศพของน้องโบว์
และนายอานันท์ ปันยารชุน ไปเป็นประธานงานศพของสารวัตรจ๊าบ