วันพุธ, มีนาคม 20, 2562

มารู้จัก ‘Deepfake’ เครื่องมือของผู้ไม่หวังดีใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ความน่ากลัวที่เหนือกว่าข่าวปลอมทั่วไป ยากที่คนทั่วไปจะแยกแยะข้อเท็จจริง





ถ้ายังจำกันได้ ครั้งหนึ่ง THE STANDARD เคยนำเสนอเทคโนโลยีการนำเสนอข่าวปลอมที่วิวัฒนาการขึ้นไปอีกระดับอย่าง ‘Deepfake’ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้มันอาจจะกลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ไม่หวังดีใช้โจมตีกันไปมาก็ได้ และความน่ากลัวที่เหนือกว่าข่าวปลอมทั่วไปหรือคลิปเสียงปลอมคือความยากที่คนทั่วไปจะแยกแยะข้อเท็จจริง

กรณีคลิปเสียงปลอมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการรู้เท่าทันสื่อและการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกยุคปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากเหตุการณ์นี้คือผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อทันทีว่าคลิปเสียงที่ทางสถานีโทรทัศน์นำมาเปิดเผยเป็นเรื่องจริง แถมยังไปค้นหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพบเข้ากับต้นตอของการบิดเบือนข้อมูลในที่สุด

แต่กับประชาชนคนอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญการใช้สื่อหลากหลายช่องทาง รู้เท่าทันสื่อมากพอ และเสพสื่ออย่างมีสติ นี่ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ เพราะเท่ากับว่าไวรัสข่าวปลอมจะระบาดและแทรกซึมได้ง่ายขึ้นหากคุณไม่มีภูมิต้านทาน

ผศ.พิจิตรา ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคสารจะต้องพยายามแยกให้ออกระหว่างความเห็นกับข้อเท็จจริง ต้องดูว่าอะไรน่าเชื่อถือ พร้อมชี้ว่าในโลกของการเมือง เวทีดีเบตของสำนักข่าวต่างๆ ถือเป็นพื้นที่ที่ดีที่จะให้ประชาชนได้เข้าไปเก็บเกี่ยวข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง

“ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องชั่งน้ำหนักความเป็นไปได้ในเชิงนโยบายของผู้สมัครจากแต่ละพรรคด้วยนะคะ”

ด้านนครินทร์ทิ้งท้ายว่า “ก่อนถึงวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ผู้บริโภคต้องมีสติสูงมาก นอกจากจะห้ามไม่ให้ใครมาลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการกาบัตรเลือกตั้งของเราแล้ว ก็ต้องไม่ให้ใครมาลิดรอนสติของเราเป็นอันขาด”

ไม่ใช่แค่รู้เท่าทัน แต่ต้องเสพสื่ออย่างมีสติด้วยเช่นกัน

ที่มา 
The Standard