เรื่องราวของตลาดข้าวและนโยบายรับจำนำข้าว (1)
โดย : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
วันที่ 17 กรกฎาคม 2558
กรุงเทพธุรกิจ
การค้าขายข้าวในอดีต ก่อนที่จะเริ่มมีนโยบายรับจำนำข้าว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลเปรมนั้น
เป็นตลาดที่ชาวนาในฐานะผู้ผลิตจะไปขายข้าวในพื้นที่ใกล้แหล่งผลิต เช่น ท่าข้าว ตลาดกลาง สหกรณ์การเกษตร และโรงสี ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจขายข้าวให้กับแหล่งใดนั้น ขึ้นอยู่กับราคาที่ให้และต้นทุนขนส่งจากนา (ระยะทางจากนาข้าวถึงแหล่งรับซื้อ) จากนั้นข้าวจะถูกแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อขายต่อไปยังนายหน้าหรือหยง พ่อค้าในประเทศและผู้ส่งออกข้าว แล้วจะมีเครือข่ายของผู้รับซื้อในต่างประเทศ ต่อมาเมื่อมีการใช้นโยบายรับจำนำข้าว ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลเปรมจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีเว้นระยะช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ใช้นโยบายประกันราคา ได้ทำให้โครงสร้างตลาดของข้าวค่อยๆ เปลี่ยนไป
โดยเฉพาะเมื่อใช้นโยบายรับจำนำแทรกแซงราคา แบบตั้งเป้าหมายราคา ยิ่งทำให้โครงสร้างตลาดแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้ประเทศมาตั้งแต่หลังสนธิเบาว์ริง แต่ทำไมชาวนาผู้ผลิตข้าวจึงเป็นกลุ่มคนที่ยังยากจนที่สุด เวลานี้มีประชากรในภาคเกษตรประมาณ 6.8 ล้านคนยังอยู่อย่างยากจน ต้องมีความผิดปกติในโครงสร้างตลาดอย่างแน่นอน ตลาดข้าวดูเหมือนเป็นตลาดเสรี แต่ไม่เป็นธรรม รัฐจึงต้องเข้าแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ แต่การแทรกแซงโดยรัฐในหลายกรณีก็ไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยการทุจริตรั่วไหลที่ควบคุมไม่ได้
ประกอบกับชาวนาต้องเผชิญกับสภาวะทางธรรมชาติ และอากาศที่ไม่แน่นอน อย่างปีนี้ก็เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง การปลูกข้าวหรือพืชเกษตรอื่นๆ ที่ยังต้องอาศัยธรรมชาติเป็นด้านหลัก จากการที่ระบบชลประทานยังไม่ได้มาตรฐานดีพอ ที่จะปลูกข้าวหรือพืชเกษตรต่างๆ โดยไม่ต้องรอความเมตตาจากฟ้าฝน ปัญหาของข้าวไทยและพืชเกษตรบางตัว มีไล่เรียงตั้งแต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ งบวิจัยพัฒนาการผลิตข้าวและพืชเกษตรน้อย ระบบชลประทานไม่ครอบคลุม (67% ปลูกข้าวนอกเขตชลประทาน - ข้อมูลปี 2554) เกษตรกรและชาวนาลดลง เพราะไม่มีความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้ เป็นต้น
นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวนั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้มาอย่างยาวนานหลายรัฐบาล หลังจากมาตรการกีดกันการส่งออก และเก็บค่าพรีเมียมข้าว ได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2529 โดยนโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรนี้ มุ่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาผลกระทบ จากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรต่อเกษตรกร ภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวม
โครงการรับจำนำในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด รัฐบาลได้มีบทบาทมาชี้นำตลาดมากขึ้นตามลำดับ ชาวนาส่วนใหญ่ขายข้าวผ่านโครงการรับจำนำ ทำให้ธุรกิจท่าข้าวและตลาดกลางข้าวซบเซา
ในช่วงห้าหกทศวรรษที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมของไทย ได้มีพัฒนาการไปจากเดิมมาก โดยในช่วงปี2500 นั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี เกือบร้อยละ 40 มาจากภาคเกษตรกรรม มีประชากรอยู่ 27 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในภาคเกษตรกรรมร้อยละ 80 ขณะที่ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจากภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11 ของจีดีพี โดยมีคนไทยหนึ่งในสามอยู่ในภาคเกษตรกรรม
ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา แรงงานภาคเกษตรกรรมในชนบท หลั่งไหลสู่อุตสาหกรรมและภาคบริการ ผลจากการหลั่งไหลออกนอกภาคเกษตรกรรม เพราะภาคเกษตรกรรมมีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน และในที่สุดประเทศไทยก็ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร และต้องอาศัยแรงงานต่างด้าวในการทำงาน ผลผลิตต่อไร่ของการปลูกข้าวในไทยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นเท่าไรในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศร้อยละ 60 อาศัยน้ำฝน และปีนี้ (2558) ก็เผชิญภัยแล้งอย่างหนัก ทำให้ผลผลิตออกมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ผลผลิตต่อไร่ของไทยต่ำมากเพียง 338 กิโลกรัมต่อไร่ แม้กระทั่งผลผลิตต่อไร่ในพื้นที่ชลประทานของข้าวไทยเอง ก็ต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของอาเซียนและโลก
ตั้งแต่ปี 2524 สมัยรัฐบาลเปรมได้มีการรับจำนำข้าวตันละ 2,500-2,700 บาท เวลานั้นชาวนาส่วนใหญ่ยังมีที่ดินของตัวเอง รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ในกฎหมายเช่านา ให้สัญญาเช่าเป็นแบบ 6 ปี โดยให้จ่ายค่าเช่ารายปี เป็นหลักประกันให้ชาวนาในการประกอบอาชีพ มีการดำเนินนโยบายรับจำนำต่อในสมัยรัฐบาลชาติชาย โดยที่ราคาข้าวขยับขึ้นมาจำนำที่ประมาณต้นละ 3,000 กว่าบาท ช่วงนั้นเศรษฐกิจขยายตัวสูงมาก ราคาที่ดินขยับตัวขึ้นสูงมาก จนกระทั่งชาวนาและเกษตรกรจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจขายที่ดินของตัวเองออกมา และผืนนาหรือสวนเกษตรต่างๆ ถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรม
ต่อมาในยุครัฐบาลชวน รัฐบาลบรรหารและรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยังคงรับจำนำข้าวผ่านกลไก องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) กำกับดูแลนโยบายภาพรวม บางรัฐบาลรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจนั่งประธาน กนข.สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตัวนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานเอง
(อ่านต่อพรุ่งนี้)
-----------------------
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
นักวิชาการอิสระ
อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ooo
เรื่องราวของตลาดข้าวและนโยบายรับจำนำข้าว (2)
โดย : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
กรุงเทพธุรกิจ
การค้าขายข้าวในอดีต ก่อนที่จะเริ่มมีนโยบายรับจำนำข้าว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลเปรมนั้น
เป็นตลาดที่ชาวนาในฐานะผู้ผลิตจะไปขายข้าวในพื้นที่ใกล้แหล่งผลิต เช่น ท่าข้าว ตลาดกลาง สหกรณ์การเกษตร และโรงสี ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจขายข้าวให้กับแหล่งใดนั้น ขึ้นอยู่กับราคาที่ให้และต้นทุนขนส่งจากนา (ระยะทางจากนาข้าวถึงแหล่งรับซื้อ) จากนั้นข้าวจะถูกแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อขายต่อไปยังนายหน้าหรือหยง พ่อค้าในประเทศและผู้ส่งออกข้าว แล้วจะมีเครือข่ายของผู้รับซื้อในต่างประเทศ ต่อมาเมื่อมีการใช้นโยบายรับจำนำข้าว ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลเปรมจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีเว้นระยะช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ใช้นโยบายประกันราคา ได้ทำให้โครงสร้างตลาดของข้าวค่อยๆ เปลี่ยนไป
โดยเฉพาะเมื่อใช้นโยบายรับจำนำแทรกแซงราคา แบบตั้งเป้าหมายราคา ยิ่งทำให้โครงสร้างตลาดแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้ประเทศมาตั้งแต่หลังสนธิเบาว์ริง แต่ทำไมชาวนาผู้ผลิตข้าวจึงเป็นกลุ่มคนที่ยังยากจนที่สุด เวลานี้มีประชากรในภาคเกษตรประมาณ 6.8 ล้านคนยังอยู่อย่างยากจน ต้องมีความผิดปกติในโครงสร้างตลาดอย่างแน่นอน ตลาดข้าวดูเหมือนเป็นตลาดเสรี แต่ไม่เป็นธรรม รัฐจึงต้องเข้าแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ แต่การแทรกแซงโดยรัฐในหลายกรณีก็ไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยการทุจริตรั่วไหลที่ควบคุมไม่ได้
ประกอบกับชาวนาต้องเผชิญกับสภาวะทางธรรมชาติ และอากาศที่ไม่แน่นอน อย่างปีนี้ก็เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง การปลูกข้าวหรือพืชเกษตรอื่นๆ ที่ยังต้องอาศัยธรรมชาติเป็นด้านหลัก จากการที่ระบบชลประทานยังไม่ได้มาตรฐานดีพอ ที่จะปลูกข้าวหรือพืชเกษตรต่างๆ โดยไม่ต้องรอความเมตตาจากฟ้าฝน ปัญหาของข้าวไทยและพืชเกษตรบางตัว มีไล่เรียงตั้งแต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ งบวิจัยพัฒนาการผลิตข้าวและพืชเกษตรน้อย ระบบชลประทานไม่ครอบคลุม (67% ปลูกข้าวนอกเขตชลประทาน - ข้อมูลปี 2554) เกษตรกรและชาวนาลดลง เพราะไม่มีความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้ เป็นต้น
นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวนั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้มาอย่างยาวนานหลายรัฐบาล หลังจากมาตรการกีดกันการส่งออก และเก็บค่าพรีเมียมข้าว ได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2529 โดยนโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรนี้ มุ่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาผลกระทบ จากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรต่อเกษตรกร ภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวม
โครงการรับจำนำในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด รัฐบาลได้มีบทบาทมาชี้นำตลาดมากขึ้นตามลำดับ ชาวนาส่วนใหญ่ขายข้าวผ่านโครงการรับจำนำ ทำให้ธุรกิจท่าข้าวและตลาดกลางข้าวซบเซา
ในช่วงห้าหกทศวรรษที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมของไทย ได้มีพัฒนาการไปจากเดิมมาก โดยในช่วงปี2500 นั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี เกือบร้อยละ 40 มาจากภาคเกษตรกรรม มีประชากรอยู่ 27 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในภาคเกษตรกรรมร้อยละ 80 ขณะที่ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจากภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11 ของจีดีพี โดยมีคนไทยหนึ่งในสามอยู่ในภาคเกษตรกรรม
ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา แรงงานภาคเกษตรกรรมในชนบท หลั่งไหลสู่อุตสาหกรรมและภาคบริการ ผลจากการหลั่งไหลออกนอกภาคเกษตรกรรม เพราะภาคเกษตรกรรมมีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน และในที่สุดประเทศไทยก็ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร และต้องอาศัยแรงงานต่างด้าวในการทำงาน ผลผลิตต่อไร่ของการปลูกข้าวในไทยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นเท่าไรในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศร้อยละ 60 อาศัยน้ำฝน และปีนี้ (2558) ก็เผชิญภัยแล้งอย่างหนัก ทำให้ผลผลิตออกมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ผลผลิตต่อไร่ของไทยต่ำมากเพียง 338 กิโลกรัมต่อไร่ แม้กระทั่งผลผลิตต่อไร่ในพื้นที่ชลประทานของข้าวไทยเอง ก็ต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของอาเซียนและโลก
ตั้งแต่ปี 2524 สมัยรัฐบาลเปรมได้มีการรับจำนำข้าวตันละ 2,500-2,700 บาท เวลานั้นชาวนาส่วนใหญ่ยังมีที่ดินของตัวเอง รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ในกฎหมายเช่านา ให้สัญญาเช่าเป็นแบบ 6 ปี โดยให้จ่ายค่าเช่ารายปี เป็นหลักประกันให้ชาวนาในการประกอบอาชีพ มีการดำเนินนโยบายรับจำนำต่อในสมัยรัฐบาลชาติชาย โดยที่ราคาข้าวขยับขึ้นมาจำนำที่ประมาณต้นละ 3,000 กว่าบาท ช่วงนั้นเศรษฐกิจขยายตัวสูงมาก ราคาที่ดินขยับตัวขึ้นสูงมาก จนกระทั่งชาวนาและเกษตรกรจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจขายที่ดินของตัวเองออกมา และผืนนาหรือสวนเกษตรต่างๆ ถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรม
ต่อมาในยุครัฐบาลชวน รัฐบาลบรรหารและรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยังคงรับจำนำข้าวผ่านกลไก องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) กำกับดูแลนโยบายภาพรวม บางรัฐบาลรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจนั่งประธาน กนข.สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตัวนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานเอง
(อ่านต่อพรุ่งนี้)
-----------------------
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
นักวิชาการอิสระ
อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ooo
เรื่องราวของตลาดข้าวและนโยบายรับจำนำข้าว (2)
โดย : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
วันที่ 18 กรกฎาคม 2558, 01:00
กรุงเทพธุรกิจ
ในช่วงปี 2550-2554 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทย ก็ต่ำสุดในกลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวหลักๆ ของโลกแล้ว
แต่ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยไม่มีปัญหา และการส่งออกข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2520-2554 ปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 2.2 แสนตัน ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก และความร่ำรวยจากการส่งออก จึงเป็นผลมาจากการขูดรีดผลประโยชน์ส่วนเกินจากผู้ผลิต คือ ชาวนา เมื่อชาวนาสามารถขายข้าวได้ในราคาสูงจากราคารับจำนำ จึงทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวลดลง หลังใช้นโยบายรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อเกวียน สิ่งที่สะท้อนว่าความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก เป็นผลจากกลยุทธ์ด้านราคาเป็นหลัก และต้องกดราคาข้าวในประเทศให้ต่ำ ผู้ผลิตชาวนาจึงได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากแรงงานของตัวเองไม่มากนัก หากการส่งออกข้าวไทยจะดีขึ้น หรือความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น ต้องเกิดจาก การลงทุนปรับปรุงพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และการลดต้นทุน เป็นต้น
ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในปัจจุบัน ทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวลง และไม่อยู่ในสภาพที่จะดูดซับแรงงานชนบทได้ ผู้คนในชนบทโดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวค่อยๆ ถอยห่างจากชนบทและภาคเกษตรกรรม เพื่อหนีความไม่มั่นคงทางด้านรายได้ และความยากจน ลูกหลานเกษตรกรไม่อยากเป็นเกษตรกรอีกต่อไป ภาวะดังกล่าวมีความจำเป็นต้องมีมาตรการหรือนโยบาย เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร ด้วยการแทรกแซงราคาโดยรัฐ ในกรณีของพืชผลเกษตรอย่างเช่น ข้าว ต้องจำเป็นต้องรับจำนำในราคาสูงเพื่อรักษาพื้นที่การผลิตข้าวเอาไว้ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวและพืชผลอื่นๆ อย่างรุนแรงมาก มีความจำเป็นต้องสร้างระบบชลประทานทั่วถึงและทันสมัย ลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับรายได้และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร
ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจรุนแรง จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายเชิงรุก ด้วยการรับจำนำข้าวในราคาสูง จึงแก้ปัญหาได้รวดเร็ว และแน่นอนย่อมมีผลกระทบบางด้านเกิดขึ้น และอาจเกิดแรงต่อต้านจากผู้มีแนวทางแตกต่างหรือผู้เสียผลประโยชน์
การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในสังคมไทย ถือว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในระดับรุนแรงมากๆ เนื่องจากกลุ่มที่ถือครองที่ดินสูงสุด 20% แรก ถือครองที่ดินมากกว่ากลุ่มที่ถือครองที่ดินต่ำสุด 20% ล่างสุดมากถึง 325 เท่า นอกจากนี้ กลุ่มที่ถือครองที่ดินสูงสุด 20% แรกนี้ ยังถือครองที่ดินคิดเป็น 80% กว่า และคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศนี้ 10% แรก ถือครองที่ดินเกือบ 90% ของทั้งประเทศ นอกจากนี้ จากผลการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินยังพบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค หรือการกระจายการถือครองที่ดินสูงถึง 0.89 การที่ค่า Gini Coefficient มีค่าสูงเกือบ 0.9 สะท้อนถึงความไม่ธรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรและการรับจำนำข้าว เป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เป็นวิธีการแก้ปัญหาราคาตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร และราคาข้าวได้รวดเร็วที่สุด เป็นนโยบายควรนำกลับมาใช้ชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ ซึ่งดีกว่าใช้วิธีแจกเงินให้เกษตรกรต่อไร่ นโยบายรับจำนำข้าวย่อมดีกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่า การแก้ปัญหาด้วยการแจกเงินต่อไร่ให้เกษตรกร การรับจำนำ รัฐบาลยังมีสต็อกข้าว
อย่างไรก็ตาม แผนการรับจำนำครั้งใหม่ ต้องทบทวนจุดอ่อนในอดีต เช่น ไม่รับจำนำในราคาสูงเกินราคาตลาดมากเกินไป ไม่รับจำนำทุกเมล็ด แยกรับจำนำข้าวในราคาตามระดับคุณภาพ ตรวจสอบขั้นตอนการรับจำนำให้โปร่งใส และลดการรั่วไหลทุจริต เป็นต้น
ต้องบริหารจัดการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาล อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้ได้สภาพคล่องมาชำระหนี้ชาวนา และทำให้เกิดภาระทางการคลังให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ต้องสร้างความมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงิน เพื่อปล่อยกู้หรือชำระเงินให้ชาวนาที่ถือใบประทวน โดยสถาบันการเงินสามารถนำใบประทวนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน มารับเงินจากรัฐบาลได้ต่อไป
ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ในการศึกษาทบทวนปัญหา และข้อผิดพลาดจากนโยบายรับจำนำข้าว เพื่อนำมาสู่การพิจารณาว่า จะปรับปรุงนโยบายรับจำนำข้าวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรรายได้น้อย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้หลุดพ้นจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจ
นโยบายรับจำนำข้าวที่ผ่านมา ได้ทำให้ชาวนายากจนจำนวนไม่ต่ำกว่า 3.45 แสนราย ได้รับเงินจำนำข้าวเฉลี่ยรายละ 94,579 บาท และชาวนาระดับกลางและรายได้สูงไม่ต่ำกว่า 2.69 แสนราย ได้รับเงินจำนำข้าวเฉลี่ยรายละ 405,937 บาท นอกจากนี้ ยังทำให้ชาวนาบางรายที่มีที่ดินขนาดนา 100 ไร่ขึ้นไป มีรายได้ปีละ 2-3 ล้านบาท หรือชาวนาที่มีที่ดินขนาดใหญ่จะได้รายได้เฉลี่ย 4-6.6 แสนบาทต่อปี ด้วยระดับรายได้แบบนี้จึงทำให้ภาคเกษตรกรรมไทยเติบโตและขยายตัวได้อย่างมั่นคงต่อไป
รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวนาอย่างชัดเจน จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจของชาวนาจำนวนมากดีขึ้น ลดปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาธิปไตยฐานรากเข้มแข็งขึ้น ประชาธิปไตยรากฐานเข้มแข็ง จากฐานะทางเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองที่มากขึ้นของชาวนา มาตรการรับจำนำข้าวในราคาสูงโดยรัฐกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ทำให้ชาวนาจำนวนไม่น้อยหลุดพ้นจากกับดักความยากจน
นอกจากนี้ การทำให้ “ผู้คนในภาคเกษตรกรรม” มีรายได้สูงขึ้น เท่ากับเป็นการสกัดกั้นการอพยพย้ายถิ่นของชาวชนบท และรักษาสมดุลโครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งลดปัญหาสังคมและความแออัดของเมืองใหญ่
สต็อกข้าวของรัฐบาลที่สะสมเพิ่มขึ้น จากการรับจำนำ ต้องบริหารจัดการให้ดี (จำนวนนี้สามารถนำมาเป็นอาหารสำรองทางยุทธศาสตร์ จากการขาดแคลนอาหารในอนาคต จากภาวะโลกร้อนได้ แต่ต้องมีระบบเก็บรักษาคุณภาพดีๆ) การมีสต็อกจำนวนมากขึ้น จะทำให้การระบายข้าวบริหารยากขึ้น เมื่อปล่อยข้าวออกมาในตลาด จะกดราคาในตลาดให้ปรับตัวลดลง รัฐบาลก็จะขาดทุนเพิ่มเติมอีก ส่วนการเก็บข้าวไว้รอให้ราคาตลาดโลกสูงขึ้น ค่อยทยอยขาย รัฐก็ต้องมีระบบการจัดเก็บสต็อกข้าวที่ได้มาตรฐาน รายละเอียดของนโยบายรับจำนำบางส่วนต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อปิดจุดที่จะสร้างปัญหาและลดการรั่วไหล
การทุจริตนั้น อาจเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลอมใบประทวน การนำข้าวมาเวียนเทียน สต็อกลม การสวมสิทธิ ตลอดจน การใช้บริษัทในเครือข่ายรับซื้อข้าวจากรัฐบาล
ที่สำคัญ รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับจำนำเสียใหม่ ไม่ให้กลายเป็น การผูกขาดการค้าข้าวโดยรัฐบาล หรือตั้งราคาจำนำสูงเกินกว่าราคาตลาดมากๆ ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณราคาที่บิดเบือน ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวเกินพอดี เกินศักยภาพ และเบียดบังพื้นที่เพาะปลูกพืชผลประเภทอื่น เนื่องจากสามารถขายข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมากกว่า 40% (ในช่วงที่มีการรับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน) สิ่งนี้ทำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม เน้นปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตเร็วแทนพืชอื่น การรับจำนำแบบคละเกรดอาจทำให้คุณภาพข้าวย่ำแย่ลงในอนาคต เกษตรกรขาดแรงจูงใจผลิตข้าวคุณภาพ
นโยบายแทรกแซงราคาหรือพยุงราคา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรับจำนำ นโยบายประกันราคาก็ตาม รัฐบาลควรนำมาใช้ระยะหนึ่ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาหรือเกษตรกร เมื่อราคาพืชผลตกต่ำและผันผวนเท่านั้น การแทรกแซงราคาที่ฝืนกลไกตลาด ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลานานๆเพราะจะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบตลาด ระบบการผลิตและฐานะทางการคลังของรัฐบาล และไม่สามารถสร้างรายได้หรือชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา หรือเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้ หลังจากที่รายได้เกษตรกรมีความมั่นคงด้วยการจำนำข้าวแล้ว ก็มุ่งไปที่การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มอำนาจของเกษตรกรในโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างการตลาด
ผมมีข้อเสนอในเรื่องนโยบายภาคเกษตรดังต่อไปนี้
ข้อแรก ต้องมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร รวมทั้งการผลักดันให้มีการเก็บภาษีที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้นำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการผลิต
ข้อสอง ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อ ไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน
ข้อสามใช้ เทคโนโลยี การบริหารจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)
ข้อสี่เพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มสวัสดิการให้ชาวนาและเกษตรกร
ข้อห้าทยอยลดระดับการแทรกแซงราคาลง (แต่ต้องไม่ยกเลิกทันที) โดยนำระบบประกันภัยพืชผลและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาแทนที่ ทำให้ “ไทย” เป็นศูนย์กลางของตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของภูมิภาค
ข้อหกพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร และมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
ข้อเจ็ดจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีภายใต้ WTO, FTA, AEC
ข้อแปดส่งเสริมการขยายฐานในรูป Offshore Farming เกษตรพันธสัญญาโดยเฉพาะในกลุ่ม
ประเทศ CLMV
ข้อเก้าการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ ครัวของโลก รัฐควรลดบทบาทแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าเกษตรลง ลดการบิดเบือนกลไกราคา
ข้อสิบจัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรให้มากและหลากหลาย และพัฒนาไทยสู่การเป็น “ครัวของโลก” และทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยของโลก
ข้อสิบเอ็ดทำให้ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหลาย เข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้น ปล่อยสินเชื่อถึงเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง โรงสี หรือบริษัทค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย บูรณาการการบริหารจัดการกองทุน ที่เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกร ให้เป็นเอกภาพและเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร
ข้อสิบสอง นำนโยบายรับจำนำข้าวกลับมาดำเนินการ จนกว่าราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้นระดับหนึ่ง และยกเลิกนโยบายแจกเงินให้ชาวนา เนื่องจากเป็นมาตรการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สิ้นเปลืองและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร นอกจากบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวนาในระยะสั้นมากๆ เพราะเงิน 1,000 บาท ใช้ไม่เกินสามวันก็หมดแล้ว นอกจากนี้ การกำหนดมาตรการแบบนี้อยู่บนฐานคิดแบบสังคมสังเคราะห์ และส่งเสริมวัฒนธรรมอุปถัมภ์ อันไม่ได้ทำให้ชาวนาเข้มแข็งขึ้นในระยะยาว และยังเป็นการทำให้ประชาธิปไตยฐานรากอ่อนแอลงด้วย
นอกจากนี้ เรายังต้องเตรียมตัวรับมือกับข้อตกลงการเปิดเสรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT-ทำข้อตกลงตั้งแต่ปี 2536) และข้อตกลง ATIGA ต่อข้าวไทย เช่น การปรับลดภาษี ไทยลดภาษีศุลกากรในสินค้าข้าวให้เหลือ 0% ตั้งแต่ปี 2553 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอื่นๆ ได้จัดข้าวอยู่ในบัญชีสินค้าที่มีการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) จึงค่อยทยอยลดภาษี
ประเด็นเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ประเด็นเรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่เราทำข้อตกลงเอาไว้เรื่องมีผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตข้าวในประเทศไทย เราจึงต้องมีมาตรการรับมือเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมข้าวและประเทศโดยรวม