วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 06, 2559

แนวคิด'เมืองฟองน้ำ'อยู่กับน้ำท่วมให้ได้สไตล์จีน





โดย สุชาณี รุ่งเหมือนพร
Voice TV Blog

5 ตุลาคม 2559

เฟอร์รารี ใต้ถุนบ้าน รถมอเตอร์ไซค์จะไม่พังเพราะน้ำท่วมอีกแล้ว ถ้าหน่วยงานรัฐหันมาแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ เปลี่ยนทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองซับน้ำแบบจีน


หลังเกิดน้ำท่วมในจีนบ่อยครัง ทั้งปัญหาการจัดการน้ำ หรือปัญหาเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วรัฐบาลจีนก็ตัดสินใจว่า "พอซักที" ต่อจากนี้ เราจะต้องหันมาจัดการกับมันจริงๆจังๆเสียที

"Go with the flow"

การแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบของจีน เป็นลักษณะ"ไหลไปตามน้ำ"ไม่ใช่การปล่อยให้น้ำรอการระบายจนพาหนะและบ้านเรือนเสียหาย แล้วค่อยให้มันแห้งทีหลัง แต่คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่าปัญหาน้ำท่วมในเมืองใหญ่เป็นปัญหาก็จริง แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่คือการผลักไสไล่ส่งมัน เพราะน้ำท่วมแต่ละครั้ง การรอให้มันระบายต้องใช้เวลานาน โดยเฉพาะในฤดูฝน จีนจึงตัดสินใจหันมาโอบอุ้มปัญหาน้ำท่วมแบบชิคๆคูลๆ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ที่ดูดซับน้ำท่วมจากฝนทุกหยดที่ตกลงมา แถมหมุนเวียนและกักเก็บไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำอีกด้วย

"Sponge City"







แนวคิด "Sponge City" หรือเมืองฟองน้ำ เป็นแนวคิดมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งรัฐบาลจีนเสนอให้ใช้ใน 16 เขตเมืองทั่วประเทศ แนวคิดนี้เนื้อหาสำคัญคือการหาวิธี"ดูดซึม กรอง เก็บ ส่ง"ฝนทุกหยดที่ตกลงมาและหมุนเวียนให้มันอยู่ในเมืองนั้นๆ โดยการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ แปลงให้เป็นน้ำเสียกลายเป็นน้ำที่นำมากักเก็บและใช้ประโยชน์ได้

"ถนนมีรู"

การสร้างถนนและทางเดินแบบ"ฟองน้ำ" คือวิธีสร้างถนนและทางเดินแบบใหม่ ที่ทำให้ดูดซึมน้ำได้เร็วกว่าปกติ การสร้างถนนหรือทางเดินเหล่านี้ใช้วัสดุที่่ใช่สร้างถนนหรือทางเดินแบบทั่วไป เช่น คอนกรีต หรือ ปูน แต่จะมีกรรมวิธีผลิตที่ทำให้พื้นผิวมีรูมากกว่าพื้นทั่วไป สามารถให้น้ำไหลผ่านสู่ชั้นผิวดินเร็ว ช่วยลดการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำหรือทะเลไม่ทันและทำให้เกิดน้ำท่วม ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ที่จีนคิดขึ้น แต่เป็นเทคโนโลยีการสร้างถนนที่มีผู้ผลิตเอกชนในหลายประเทศเคยคิดค้นมาแล้ว การสร้างถนนแบบนี้มีประโยชน์มาก เพราะน้ำจะซึมเข้าสู่ชั้นผิวดินอย่างรวดเร็ว ดังที่เห็นในคลิปด้านล่าง





Topmix Permeable - The ultimate permeable concrete system
TARMAC·A YEAR AGO


    เว็บไซต์ของ Chinawatterrisk.org องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของฮ่องกง อ้างรายวิจัยในสหรัฐฯชีว่าวิธีนี้แก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมได้กว่า 50-93%

    "สวนลอยฟ้า







    การสร้างสวนบนหลังคาของอาคารคต่างๆ เป็นการเลียนแบบการดูดซึมน้ำแบบธรรมชาติ ให้ฝนที่ตกลงมาแทนที่จะไหลลงสู่พื้นดินและท่วมบ้านเรือนเสียหาย ซึมเข้าสู่ต้นไม้ ดอกไม้ ที่อยู่ในสวนแทน ถึงแม้ว่าวิธีนี้ จะไม่ใช่การช่วยลดน้ำท่วมในปริมาณมาก แต่หากทุกอาคารบ้านเรือนสร้างสวนแบบนี้ไว้บนหลังคา แน่นอนว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น







    สวนที่สร้างไว้บนอาคารของมหาวิทยาลัย City University ในฮ่องกง

    งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย City Universityในฮ่องกง(ที่สร้างสวนอยู่บนหลังคา)ยืนยันว่า สวนของมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งกักเก็บน้ำชั้นดี ที่สามารถต่อท่อนำน้ำมาใช้ในห้องน้ำของม.ได้เกือบครึ่งหนึ่ง และยังช่วยลดอุณหภูมิรอบอาคารได้ประมาณ 1 องศาอีกด้วย


    "ไม่ได้หรอก มันแพง เมืองไทยเงินไม่เยอะเหมือนจีนนะ"


    วิธีที่จะช่วยส่งเสริมแนวคิดเมืองฟองน้ำให้สำเร็จมากขึ้น คือการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อช่วยระบายและกักเก็บน้ำใหม่ เช่น บ่อเก็บน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้งบประมาณมหาศาล บางคนอาจสงสัยว่า วิธีแบบนี้หากจะนำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในไทยจะแพงเกินไป สู้ขุดลอกหรือรื้อท่อระบายน้ำสร้างใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าไม่ได้

    แต่นักวิจัยชาวจีนในนครเซี่ยงไฮ้ได้จัดทำผลวิจัยออกมาแล้วว่า การลอกและรื้อท่อเก่าจะใช้เงินและเวลามากกว่าวิธีการสร้างสาธารณูปโภคแบบใหม่ (นี่ยังไม่รวมผลกระทบที่ประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก อย่างการรื้อระบบขนส่งสาธารณะทำให้การจราจรติดขัด) ซึ่งองค์กร Chinawaterrisk.org ก็ได้ประเมินค่าใช้จ่ายของการสร้างสาธารณูปโภคในบางเขตที่0uoประกาศให้เป็นเมืองฟองน้ำในกรุงปักกิ่งเอาไว้แล้ว ไทยก็ควรศึกษาไว้และนำไปปรับใช้ตามงบประมาณที่เรามี







    ตามตารางด้านบน วิธีที่ถูกที่สุดในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมคือการสร้างสวนสาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวรอบๆเขตเมือง(แล้ว กทม.มีกี่สวนกันนะ?) รองลงมาคือการทำพื้นถนนหรือฟุตบาทมีรู ส่วนอันดับ 3 คือการสร้างสวนสาธารณะบนหลังคา ซึ่งปัจจุบัน บางคอนโด(ราคาแพง)ในกรุงเทพก็เริ่มสร้างกันบ้างแล้ว รัฐสามารถร่วมมือเอกชนหันมาศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง


    เขียนโดย... สุชาณี รุ่งเหมือนพร @Suchanee_R

    อ้างอิง

    https://www.theatlantic.com/international/archive/2015/11/china-sponge-cities-floods/417498/
    http://citiscope.org/story/2016/ca
    http://www.power-to-the-people.net/2016/01/sponge-cities-what-is-it-all-about/
    http://chinawaterrisk.org/resources/analysis-reviews/sponge-cities-an-answer-to-floods/
    http://citiscope.org/story/2016/can-sponge-cities-solve-chinas-urban-flooding-problem
    http://theconversation.com/how-a-garden-on-your-roof-could-fight-floods-this-winter-24043
    http://www.cctv-america.com/2015/10/28/what-does-a-sponge-city-look-like