วันอาทิตย์, ตุลาคม 02, 2559

พอลุงตูบบ่นว่าเหนื่อย โพลเจ้าเก่า ก็ออกมาช่วยปลอบใจ ขณะที่ ไพร่ฟ้าหน้าแฉะ และธุรกิจในประเทศกำลังตาย





พอบ่นว่าเหนื่อย โพลก็ออกมาช่วยปลอบใจลุงตูบ

ดุสิตโพลเจ้าเก่า “สอบถามในหัวข้อ ‘ใคร’ ที่จะทำให้ประชาชนสมหวังในปีที่ ๓ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์” ก็ได้ความว่า ๗๔.๕๖ เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นใครอื่นนอกจากประยุทธ์นั่นละ

นอกนั้นไม่มีอะไรมาก วนๆ อยู่กับประยุทธ์ แม้กระทั่งตั้ง ๘๓.๑๘ เปอร์เซ็นต์อยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ก็ยังบอกรัฐบาลประยุทธ์นี่ละจะทำได้ (๔๘.๓๑ เปอร์เซ็นต์)

(http://www.thairath.co.th/content/740781)


ไพร่ฟ้าหน้าแฉะ (เพราะตอนนี้น้ำท่วมเกือบครบทุกจังหวัดแล้วมั้ง) ก็เลยมั่นใจว่านาโย้กไม่บ้าแน่ (โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลไทยบริจาคเงิน ๓ หมื่นดอลลาร์ สำหรับปฏิบัติการช่วยเหลือผุ้ประสบอุทกภัยในเกาหลีเหนือ)

วันก่อนบ่น “เครียดนะ มาลงที่ผมทุกเรื่อง” โดยเฉพาะเรื่องน้องชาย น้องสะใภ้และหลานชาย “เหนื่อยมากตั้งแต่กลับจากอเมริกา เวียนหัว คิดอะไรไม่ออก สมองตื้อ พูดไม่เพราะ ไม่ต่อเนื่อง”

(ถอดจากถ้อยคำของ Deep Blue Sea ‏@WassanaNanuam)







อ้าว อาการเหล่านั้นไม่ต้องเวียนหัวทั่นก็เป็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะพูดไม่เพราะ ไม่ต่อเนื่อง นั่นประจำ ช่วงนี้ถึงได้โดนข้าราชการท้าทายสองรายซ้อน รายแรกก็อดีตผู้ว่าฯ จันทบุรี จำกันได้นิ

รายที่สองนี่เป็นรองอธิบดีอัยการ “ท่านมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๔ สั่งเลื่อนลดปลดย้ายข้าราชการต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำทุจริตทั้งที่ยังไม่มีการสอบสวน แค่สงสัยเท่านั้น...

จนครอบครัวเขาเสียชื่อเสียงไปมากมายก่ายกองและเสียหายไปชั่วลูกชั่วหลาน พอคนในตระกูลจันทร์โอชาโดนเข้าบ้าง ท่านจะไปโวยวายทำไม เหมือนกันแหละครับ ไม่โดนเองไม่รู้สึก พอท่านรู้สึกท่านก็จะสั่งตรวจสอบเขาบ้าง”







นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา โพสต์ข้อความปกป้องนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และนายศรีสุวรรณ จรรยา ที่โดนประยุทธ์จวกว่าทำงานทำการอะไร คอยแต่ฟ้องโน่นฟ้องนี่

(https://www.matichonweekly.com/featured/article_9802)

เรื่องพวกนั้นก็ยังไม่ใช่ปัญหาหลักของประชาชน ที่โพลดุสิตบอกว่าจำนวนท่วมท้นอยากให้เศรษฐกิจดี อันนี้เห็นพ้องกันทั่วทุกฟาก แม้กระทั่ง ปีย์ มาลากุล (September 26 at 11:39am) ที่ใช้หน้าเฟชบุ๊คเล่นงานผู้ว่าฯ แบ๊งค์ชาติ

“ตอนนี้ธุรกิจในประเทศเรากำลังตาย และต้องย้ายที่ประกอบธุระกิจหลายอย่าง เช่นสิ่งทอ และอื่นๆ อีกหลายชนิดไปประเทศอื่นที่ค่าเงินของเค้าปรับถูกต้องกับเศรษฐกิจปัจจุบันของโลก

สัญญาณอันตรายทั้งรู้ๆ เราจะพังเพราะตามกฎหมายรัฐบาลไม่สามารถจะสั่งแบงค์ชาติได้ จากยอดการส่งออกที่ติดลบอย่างต่อเนื่อง และการชะลอตัวหรือการหยุดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะท่านไม่ยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว”

เรื่องค่าเงินบาทไม่ลอยตัวธนาคารแห่งประเทศไทยกดไว้ที่ ๓๔-๓๖ บาทต่อดอลลาร์ ไม่ยอมปล่อยลอยถึง ๔๕-๔๖ บาทอย่างปีย์ว่า นั่นเป็นเรื่องการคลังเรายังไม่ขอแตะ ไม่รู้ว่าปีย์ซึมซับวิชานี้มาจากไหน

แต่สิ่งที่เขาพูดถึง “ธุรกิจในประเทศกำลังจะตาย” ก็พอดีกับที่ the Economist เอ่ยถึงอยู่เหมือนกัน บทความเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคมเรื่อง ‘The Dangers of Farsightedness’ ชี้ว่า

การวางแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวถึง ๒๐ ปี ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไหนในโลกเขาทำกัน

มาตรการต่างๆ ที่ไทยฮุนต้าตั้งท่าจะทำ ล้วนเก๋ไก่ ไทยแลนด์ ๔.๐ เอย ต่อไปจะเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตทางด้านไบโอเทคโนโลยี่ ด้านอินเตอร์เน็ต และเม็คคาโทรนิคส์ (เครื่องจักรกลบวกกับอีเล็คโทรนิคส์) ล้วนแล้วจะต้องรอการพิสูจน์

ข้อสำคัญภาคธุรกิจบริการของไทยเป็นส่วนทีได้รับการปกป้องมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าอเมริกาหรือสหภาพยุโรปไม่อยากเจรจาการค้าเสรีกับไทยฮุนต้า แม้ว่าพวกเขาจะเที่ยวคุยกับอินดดนีเซีย ฟิลิปปีนส์ และเวียตนาม

การรื้อฟื้นความอูฟูของธุรกิจในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ เศรษฐกิจไทยยังเคลื่อนตัวได้ไม่เต็มกำลังความสามารถ

ภาวะเงินเฟ้อต่ำเกินไปกว่าที่ธนาคารกลางคาดหวัง แอ็คเค้าท์เซอร์พลัสสูงเกินไป (๑๐ เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี) เครดิตส่วนตัวถูกกดให้ต่ำ (โตแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรก) หนี้สาธารณะอ่อนไป (๔๔ เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี)

แม้จะมีการทุ่มลงทุนภาครัฐขนานใหญ่ แต่ผู้บริโภคที่หนี้ล้นพ้นตัวก็ยังไม่กล้าจับจ่าย การลงทุนเอกชนจึงยังคงติดปลักไม่ขยับเขยื้อน







ธนาคารโลกตำหนิว่ากว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของการจับจ่ายภาครัฐในปี ๒๕๕๓ ไปกระจุกอยู่แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรเพียง ๑๗ เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกเหน็บว่า

“ไม่มีเศรษฐกิจของประเทศไหนที่วงเงินใช้จ่ายภาครัฐในระดับเดียวกัน จะล้มเหลวเท่า” ไทย

“แทนที่จะยกระดับการจับจ่ายของมวลชนส่วนใหญ่ในต่างจังหวัด คณะทหารฮุนต้ากลับมุ่งที่จะกระตุ้นการใช้เงินของนักท่องเที่ยวและพวกชาวกรุง มีการลดภาษีให้กับธุรกิจไม่กี่แห่ง”

(http://www.economist.com/…/21707980-junta-lavishes-attentio…)

ดิ เอ็คคอนอมิสต์ ย้ำว่าระบบธุรกิจแบบลูกค้า หรือ ‘Clientelism’ ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูในสมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี อาจจะถูกกีดกันในรัฐบาลทหารชุดนี้

“การสลับศูนย์อำนาจอาจจะทำให้ความเจริญรุ่งเรืองต้องเสียศูนย์ไปด้วยก็ได้”