![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgb7fa8ZXWtfJdsA9iktT8j3_i8Vp3dIitjpbwpaUJRqh7obYTUkgV9gr_W62awBjpP_gv25EucyYYzInEucQdWNSoNwXNW_sGxrWuJDKTnVaHAvM8A_r_Q3K0zMPGkp8CXBEE8oB9zFDT-RNqO_yr5ilYdmrCYNNMYMYqD-v0GuNSrQ3lrFGt5Rg/w410-h410/477587506_1030704669103152_294885034312842933_n.jpg)
iLaw
8 hours ago
·
รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญบอกชัดแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาอีก https://www.ilaw.or.th/articles/50461
.
ข้อกล่าวอ้างว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ต้องทำประชามติถามประชาชน “ก่อน” รวมแล้วต้องทำประชามติสามครั้งนั้น เป็น “ธง” ที่ถูกยกขึ้นมาอ้างเพียงเพื่อต้องการปกป้องรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ยังคงอยู่ต่อไป โดยไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ และการอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นข้ออ้างที่ “ผิด” เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้วว่า รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องทำประชามติ “ก่อน” และ “หลัง” ซึ่งรวมแล้วก็เท่ากับสองครั้ง ไม่ใช่สามครั้ง
ทุกครั้งที่มีข้อเสนอให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังขึ้น จะมีเสียงของ “คนบางกลุ่ม” ที่ไม่ยอมรับแต่ไม่มีเหตุผลใดมาคัดค้าน จึงพยายามอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ผ่านประชามติของประชาชนมาแล้ว ดังนั้น การจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องทำประชามติเพื่อสอบถามประชาชนทั้งหมด “ก่อน” ถึงจะเริ่มกระบวนการทั้งหลายได้ ทำให้การไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติถามประชาชนถึงสามครั้ง ได้แก่
1. ทำประชามติ “ก่อน” ทุกอย่างจะเริ่มต้น ตามที่มีบางคนกล่าวอ้าง
2. ทำประชามติ ตามมาตรา 256 (
![](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t83/1/16/1f60e.png)
3. ทำประชามติ หลังยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ ก่อนการประกาศใช้
ซึ่งก็ปรากฏว่า ทุกคนที่กล่าวอ้างว่าจำเป็นต้องทำกระบวนการให้ยากและมากขนาดนี้เป็นคนที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ 2560 จึงไม่ต้องการให้เกิดการแก้ไขทั้งสิ้น ทั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดพิเศษที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ทั้งสว. ชุดที่มาจากระบบ “เลือกกันเอง” อันเป็นระบบพิเศษตามรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ฝ่ายรัฐบาลที่กำลังครองอำนาจอยู่ในขณะนั้นและยังพึงพอใจกับสถานะทางการเมืองของตัวเอง
ข้อกล่าวอ้างว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ต้องทำประชามติถามประชาชน “ก่อน” รวมแล้วต้องทำประชามติสามครั้ง ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยวินิจฉัยไว้แล้ว และเคยบอกอีกครั้งด้วยว่า จะไม่วินิจฉัยซ้ำอีก หากมีข้อเสนอใดที่ต้องการส่งเรื่องไปถามศาลรัฐธรรมนูญใหม่ในประเด็นนี้ ก็เท่ากับเป็นข้อเสนอที่ต้องการ “ถ่วงเวลา” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เลื่อนออกไปเท่านั้น แต่ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
.
2540 เคยทำมาแล้ว รัฐสภาเปิดทางจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่ต้องทำประชามติ
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 เคยถูกเรียกว่าเป็น “ฉบับประชาชน” ที่มีที่มาชอบธรรมและเชื่อมโยงกับประชาชนมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา จุดเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากกระแสความไม่พอใจการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร และกระแสเรียกร้องปฏิรูปการเมือง หลังเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ปี 2535 หรือที่เรียกกันว่า “พฤษภาทมิฬ” อันจบลงด้วยความรุนแรงและความสูญเสีย
หลังเหตุการณ์ความรุนแรงหลากหลายกลุ่ม เรียกร้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ที่มาจากคณะรัฐประหารและยังคงใช้บังคับอยู่ จนกระทั่งในปี 2538 บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) ขี้นมา และนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 โดยการลงมติของรัฐสภา กลายเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 มีสาระสำคัญคือให้มี “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” หรือ สสร. เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภา
ดังนั้น การจัดทำต้องเริ่มต้นด้วยอำนาจของรัฐสภา โดยการลงมติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้บังคับอยู่เพื่อเพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป ซึ่งรัฐสภามีอำนาจสามารถทำได้ และ “เคยทำมาแล้ว” ทั้งตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในอดีตและปัจจุบัน ไม่เคยมีข้อใดที่บอกว่า “ต้อง” ทำประชามติก่อนการที่รัฐสภาจะพิจารณาและลงมติ เพียงแต่ไม่มีข้อห้าม หากคณะรัฐมนตรีต้องการจะถามความเห็นประชาชนก็สามารถสั่งให้ทำประชามติได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9 (2) แต่จะไม่ได้ทำก็ได้
.
คำวินิจฉัย 4/2564 ยืนยัน “รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้”
ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือรัฐบาล คสช.2 “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ได้เข้ามาเป็นวาระสำคัญ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2563 รัฐสภาได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งสิ้นเจ็ดฉบับ รวมทั้งฉบับที่มาจากการเข้าชื่อเสนอของประชาชนเป็นครั้งแรก มีสองฉบับที่ผ่านความเห็นชอบในวาระที่หนึ่ง คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอโดยสส. พรรคพลังประชารัฐฝ่ายรัฐบาล กับร่างฉบับที่เสนอโดยสส. พรรคฝ่ายค้าน มีเนื้อหาทำนองเดียวกันให้จัดตั้งสสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่ให้แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์
การประชุมในชั้นกรรมาธิการวาระที่สองมีแนวโน้มที่ดีและมีความเห็นที่สอดคล้องกันทุกฝ่าย จนกระทั่งถึงชั้นการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ไพบูลย์ นิติตะวัน สส.พรรคพลังประชารัฐ และสมชาย แสวงการ สว. ตั้งประเด็นว่า รัฐสภาอาจจะไม่มีอำนาจลงมติเพื่อให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีเพียงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราเท่านั้น ทำให้ สส. และสว. หลายคนไม่กล้าลงมติ จากนั้น สมาชิกรัฐสภาลงมติเพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภาตามมาตรา 210 (2) ของรัฐธรรมนูญ โดยสส. พรรคเพื่อไทยลงมติ “ไม่เห็นด้วย”
หลังรับเรื่องไปพิจารณาได้ไม่นานนัก ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2564 วินิจฉัยว่า “รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง”
เนื่องจากคำถามที่รัฐสภาส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ คือ การตั้งคำถามถึงอำนาจหน้าที่ของตัวเองว่าจะทำอะไรได้แค่ไหนเพียงใด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญตอบว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า “รัฐสภาทำได้” และสำหรับคำถามที่ว่า จะต้องทำประชามติกี่ครั้ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก็ชัดเจนแล้วว่า ต้องให้ประชาชนลงประชามติ “เสียก่อน” และหลังทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วก็ทำประชามติ “อีกครั้งหนึ่ง” คำว่า “อีกครั้งหนึ่ง” อันเป็นคำสุดท้ายของคำวินิจฉัยฉบับนี้จึงทำให้เห็นชัดแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ทำประชามติสองครั้ง ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความอีก
นอกจากนี้หากดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเก้าคนที่วินิจฉัยในคดีนี้ ก็พบว่า เสียงช้างมาก หกคน เห็นว่าต้องทำประชามติสองครั้ง สองคนเห็นว่า จะต้องทำประชามติสามครั้ง ขณะที่เสียงข้างน้อย หนึ่งคนเขียนชัดว่า รัฐสภาไม่มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เลย ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีกว่า “เสียงส่วนใหญ่” ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นตอบคำถามชัดเจน จึงไม่มีปัญหาใดให้ต้องถกเถียงอีก https://www.ilaw.or.th/articles/43547?swcfpc=1
.
รัฐสภาใหม่ไม่ชัวร์ ขอถามอีกรอบ แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าชัดเจนแล้ว
ต้นปี 2567 ภายใต้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย หลังการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองที่ประกาศนโยบายจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่รวบรวมเสียงสส. จากการเลือกตั้งได้มากกว่าพรรคการเมืองที่ไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน มีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. เข้าสู่วาระการพิจารณาสองฉบับ คือ ฉบับที่เสนอโดยสส.พรรคก้าวไกล และฉบับที่เสนอโดยสส. พรรคเพื่อไทย แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเองขณะนั้นกำลังวางแนวทางว่า จะต้องทำประชามติสามครั้ง ไม่ใช่สองครั้ง
ต่อมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่ยอมบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาเพราะเกรงว่า อาจกระทบกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 4/2564 วันที่ 29 มีนาคม 2567 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึง นัดประชุม และลงมติด้วยเสียงข้างมาก ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 233 เสียง ไม่เห็นด้วย 103 เสียง และงดออกเสียง 170 เสียง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัย (เป็นครั้งที่สอง) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาว่าจะต้องทำประชามติสามครั้งหรือสองครั้งก่อนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสส.พรรคเพื่อไทยที่ร่วมกันเสนอร่าง ก็ลงมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วย
หลังรับเรื่องไปพิจารณาได้ไม่นานนัก วันที่ 17 เมษายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ด้วยมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 โดยให้เหตุผลว่า การบรรจุวาระการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นหน้าที่และอำนาจของประธานรัฐสภา กรณีนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา คำร้องมีสาระสำคัญเป็นเพียงข้อสงสัย และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายเนื้อหาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยโดยละเอียดและชัดเจนแล้ว ไม่ใช่กรณีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาที่เกิดขึ้นแล้ว https://www.constitutionalcourt.or.th/.../article...
ข้อสงสัยในเรื่องอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึง “จบแล้ว” และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยเรื่องนี้ซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง หากยังมีการตั้งข้อสงสัยก็ควรพิจารณาจากคำวินิจฉัยฉบับที่ 4/2564 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนแล้วว่า รัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
.
ความเห็นนักวิชาการชัดเจน ทำประชามติสองครั้งเดินหน้าได้
ข้อถกเถียงเรื่องอำนาจหน้าที่ของรัฐสภายังคงไม่หมดไป และสส. กับสว. บางส่วนที่ต้องการรักษารัฐธรรมนูญ 2560 ยังคงพยายามตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 4/2564 เข้าข้างตัวเองว่าต้องทำประชามติสามครั้งอยู่เรื่อยๆ เพื่อหาทางที่จะไม่ต้องลงมติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้านพริษฐ์ วัชรสินธุ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้นัดหมายประชุมร่วมกับนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหาคำชี้แจงให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ซึ่งพริษฐ์เปิดเผยภายหลังว่า หลังการประชุมร่วมกันแล้วก็ได้คำตอบว่า ให้ทำประชามติสองครั้ง ไม่ใช่สามครั้ง
นอกจากนี้ศ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญเชิญมาให้ความเห็น ยังเคยเขียนบทความอธิบายไว้ต่อสาธารณะว่า ต้องทำประชามติสองครั้ง ไม่ใช่สามครั้ง โดยการทำประชามติตามมาตรา 256 (
![](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t83/1/16/1f60e.png)
“คำว่า “ก่อน” ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในปี พ.ศ. 2555 นั้น ไม่ควรตีความว่าศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง “ก่อนการเสนอญัตติ” ตามมาตรา 256 (1) เพราะในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในคดีนี้เป็นเวลาที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บังคับใช้และมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติแต่ประการใด
คำว่า “ก่อน” ที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้นี้ จึงหมายเพียงต้องการให้มีการจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อถามความเห็นของผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก่อนเท่านั้น ไม่ใช่ต้องการจัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อนการเสนอญัตติแต่ประการใด การจัดให้มีการออกเสียงประชามติจึงสามารถทำได้ในช่วงเวลาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ดังเช่นการบัญญัติไว้ในมาตรา256 (
![](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t83/1/16/1f60e.png)
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดทำและเผยแพร่ภาพอินโฟกราฟฟิก อธิบายคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ว่ารัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และวาดผังขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่แสดงว่ามีการทำประชามติทั้งหมดสองครั้ง ในข้อถกเถียงประเด็นนี้จึงชัดเจนว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชัดเจน เป็นที่ยุติแล้ว ไม่ต้องถกเถียงกันอีก https://occ_th.constitutionalcourt.or.th/.../%E0%B8%AD%E0...
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1030704665769819&set=a.625664036273886