Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
9 hours ago ·
เห็นด้วยหรือไม่? สส.เพื่อไทย เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม สกัด #รัฐประหาร ห้ามก่อการกบฏ-ทหารมีสิทธิไม่ทำตามคำสั่งได้ เปิดรับฟังความเห็นประชาชนถึง 1 ม.ค.นี้
#พรบกลาโหม #กระทรวงกลาโหม #ประยุทธ์ศิริพานิชย์ #กฎอัยการศึก #เฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ #ไทยรัฐออนไลน
.....
เปิดรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา
โดยที่คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรสูงสุดในฝ่ายบริหาร แต่กลับไม่มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล โดยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 แต่งตั้งโดยคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นกรรมการเท่านั้น ทำให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลมีการวางตัวบุคคลของทางกองทัพที่เป็นพวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพให้สืบสายเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่อไป อันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับนายทหารที่มีความรู้ความสามารถ แต่มิใช่พวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพทำให้ไม่มีโอกาสได้ก้าวหน้าในชีวิตราชการทหารและทำให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลขาดความโปร่งใส จึงเป็นการสมควรที่จะให้คณะรัฐมนตรีได้มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแล้วได้ องค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีอยู่ก็ไม่มีความเหมาะสม จึงควรปรับองค์ประกอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ส่วนสภากลาโหมก็มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นนายทหาร ทั้งที่ภารกิจของราชการทหารมีความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นด้วย โดยเฉพาะด้านการใช้งบประมาณ จึงควรให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นสมาชิกสภากลาโหมด้วย โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภากลาโหมแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตัดองค์ประกอบของสมาชิกสภากลาโหมในส่วนของกองทัพออกบางส่วนเหตุเพราะการมีตัวแทนของส่วนราชการแต่ละกองทัพส่วนราชการละหนึ่งคนหรือสองคนก็เพียงพอและเหมาะสมแล้ว และผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นทหารชั้นนายพลควรเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามบางประการ จึงสมควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นนายทหารชั้นนายพลไว้ด้วย นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาพบว่านายทหารระดับสูงมีการใช้กำลังพลไปในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง จึงควรกำหนดข้อห้ามในการใช้กำลังทหารไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน หากมีการฝ่าฝืนก็ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างรอการสอบสวนได้ โดยมิต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสั่งพักราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ทหารได้ใช้อำนาจในทางที่ผิดและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบร่างแก้ไขเพิ่มเติม (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1) สำนักนายกรัฐมนตรี
2) กระทรวงกลาโหม
3) กองบัญชาการกองทัพไทย
4) กองทัพบก
5) กองทัพเรือ
6) กองทัพอากาศ
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1) กระทรวงการคลัง
2) กรมบัญชีกลาง
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
ประชาชน
ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น
ดาวโหลดเอกสารประกอบ
https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=427
ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา
โดยที่คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรสูงสุดในฝ่ายบริหาร แต่กลับไม่มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล โดยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 แต่งตั้งโดยคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นกรรมการเท่านั้น ทำให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลมีการวางตัวบุคคลของทางกองทัพที่เป็นพวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพให้สืบสายเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่อไป อันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับนายทหารที่มีความรู้ความสามารถ แต่มิใช่พวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพทำให้ไม่มีโอกาสได้ก้าวหน้าในชีวิตราชการทหารและทำให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลขาดความโปร่งใส จึงเป็นการสมควรที่จะให้คณะรัฐมนตรีได้มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแล้วได้ องค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีอยู่ก็ไม่มีความเหมาะสม จึงควรปรับองค์ประกอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ส่วนสภากลาโหมก็มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นนายทหาร ทั้งที่ภารกิจของราชการทหารมีความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นด้วย โดยเฉพาะด้านการใช้งบประมาณ จึงควรให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นสมาชิกสภากลาโหมด้วย โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภากลาโหมแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตัดองค์ประกอบของสมาชิกสภากลาโหมในส่วนของกองทัพออกบางส่วนเหตุเพราะการมีตัวแทนของส่วนราชการแต่ละกองทัพส่วนราชการละหนึ่งคนหรือสองคนก็เพียงพอและเหมาะสมแล้ว และผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นทหารชั้นนายพลควรเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามบางประการ จึงสมควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นนายทหารชั้นนายพลไว้ด้วย นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาพบว่านายทหารระดับสูงมีการใช้กำลังพลไปในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง จึงควรกำหนดข้อห้ามในการใช้กำลังทหารไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน หากมีการฝ่าฝืนก็ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างรอการสอบสวนได้ โดยมิต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสั่งพักราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ทหารได้ใช้อำนาจในทางที่ผิดและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบร่างแก้ไขเพิ่มเติม (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1) สำนักนายกรัฐมนตรี
2) กระทรวงกลาโหม
3) กองบัญชาการกองทัพไทย
4) กองทัพบก
5) กองทัพเรือ
6) กองทัพอากาศ
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1) กระทรวงการคลัง
2) กรมบัญชีกลาง
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
ประชาชน
ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายทหารชั้นนายพล แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีหน้าที่และอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล และกำหนดให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยคณะรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรายชื่อนายทหารบางคนหรือทั้งหมดที่เสนอมาและสั่งให้ทบทวนการเสนอรายชื่อใหม่ได้
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดห้ามการใช้กำลังทหารเพื่อกระทำการที่มิชอบด้วยกฎหมายบางประการ เช่น เพื่อยึดหรือควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากรัฐบาลหรือเพื่อก่อการกบฏ เพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ราชการของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อธุรกิจหรือกิจการ อันเป็นประโยชน์ส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่านายทหารชั้นสัญญาบัตรผู้ใดกระทำการหรือตระเตรียมการเพื่อยึดหรือควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากรัฐบาล หรือเพื่อก่อการกบฏ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสั่งให้นายทหารผู้นั้น หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างรอการสอบสวนได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสั่งพักราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดองค์ประกอบของสภากลาโหมให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภากลาโหม และลดจำนวนนายทหารที่เป็นตัวแทนของแต่ละเหล่าทัพลง และเพิ่มสัดส่วนของปลัดกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมบัญชีกลางเข้าเป็นสมาชิกสภากลาโหม
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของสมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิ
- ท่านเห็นว่าการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมและการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ในปัจจุบันมีปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ อย่างไร และการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร
- ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)
ดาวโหลดเอกสารประกอบ
https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=427