ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
10 hours ago
·
พรุ่งนี้! ศาลอาญา นัด 45 นักกิจกรรม WeVo ฟังคำพิพากษาคดี ‘อั้งยี่-ซ่องโจร’ เหตุถูกจับกุมก่อน #ม็อบ6มีนา64
.
วันพรุ่งนี้ (24 ธ.ค. 2567) เวลา 09.00 น. ศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษาในคดีของประชาชนและนักกิจกรรมกลุ่ม We Volunteer (#WeVo) รวมทั้งสิ้น 45 คน ในข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่-ซ่องโจร, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, มียุทธภัณฑ์และเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จากเหตุถูกจับกุมที่บริเวณห้างเมเจอร์รัชโยธิน เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 ก่อนที่กลุ่มผู้ชุมนุม REDEM จะเดินขบวนจากห้าแยกลาดพร้าวไปหน้าศาลอาญา
.
.
6 มี.ค. 64 – เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมกลุ่ม WeVo และประชาชน โดยไม่แสดงหมายจับหรือข้อหาที่เป็นเหตุให้ถูกจับ มีรายงานการทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธข่มขู่ผู้ถูกจับ
.
ที่มาที่ไปของคดีนี้ เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 กลุ่ม “รีเด็ม” (REDEM) นัดหมายชุมนุม #ม็อบ6มีนา เดินขบวนจากห้าแยกลาดพร้าว ไปหน้าศาลอาญา เพื่อทำกิจกรรมเผาขยะหน้าศาล ทว่าก่อนเริ่มการชุมนุมกลับมีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธเข้าจับกุมทีมการ์ดวีโว่ และประชาชน ที่บริเวณลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน โดยไม่ได้แสดงหมายจับ และไม่ได้มีการแจ้งข้อหาที่เป็นเหตุให้ถูกจับกุม รวมทั้งไม่แจ้งสถานที่ที่จะควบคุมตัวไป โดยทั้งหมดยังไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม #ม็อบ6มีนา แต่อย่างใด ทั้งนี้มีรายงานการทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธข่มขู่ผู้ถูกจับกุมบางคน ทั้งยังมีการยึดสิ่งของทั้งหมดที่พกติดตัว เช่น โทรศัพท์ กระเป๋า เงินสด
.
หลังการจับกุม “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ และผู้ถูกจับกุมรวมทั้งหมด 18 ราย ซึ่งเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี 2 ราย ถูกควบคุมไปแจ้งข้อกล่าวหาที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี (บก.ตชด. ภาค 1) ในข้อหา เป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
.
ต่อมา เกิดเหตุการณ์ที่รถควบคุมผู้ต้องขังอีก 2 คัน ถูกเข้าสกัด จนรถทั้งสองคันไม่สามารถวิ่งไปต่อได้ ผู้ถูกควบคุมตัวจึงร่วมกันเดินเท้าไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.พหลโยธิน ในคืนนั้น เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้หลบหนี ทั้งสอบถามเหตุผลการจับกุม และอำนาจที่เจ้าหน้าที่ใช้จับกุม รวมทั้งขอให้ติดตามทรัพย์สินส่วนตัวที่ถูกยึดไป ก่อนที่ทั้งหมดจะได้รับหมายเรียกจาก สน.พหลโยธิน ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาใน 4 ข้อหาเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564
.
ต่อมา พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาทั้งหมด รวมทั้งเยาวชน เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 โดยมี 8 คน ถูกแจ้งข้อหามียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 10 ราย ถูกแจ้งข้อหามีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
ส่วนกลุ่มที่เดินเข้าไปพบพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ในคืนวันเกิดเหตุ ถูกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่า หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง รวมทั้งมีการเข้าไปแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับปิยรัฐในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในข้อหามียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครอง ทั้งหมดให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ก่อนอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีทั้ง 45 คนเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564
.
.
สืบพยานยาว 31 นัด ฝ่ายโจทก์-จำเลยนำพยานเข้าสืบทั้งสิ้น 54 ปาก
.
ในคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ก่อนที่ศาลนัดสืบพยานทั้งสิ้น 31 นัด ตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย. - ต.ค. 2567 ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณา มีจำเลย 1 รายเสียชีวิตไปอีกด้วย ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกไป
,การสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 27 นัด (ระหว่างวันที่ 23-26, 30 เม.ย., 1,3,7-9, 14-17, 21, 23-24, 28-31 พ.ค., 4-7 มิ.ย., และ 6, 27 ส.ค. 2567) ซึ่งอัยการโจทก์นำพยานเข้าเบิกความทั้งสิ้น 48 ปาก ได้แก่ ผู้กล่าวหา, ตำรวจผู้จับกุม, ตำรวจผู้ถ่ายภาพขณะจับกุม, ตำรวจผู้ขับรถควบคุมผู้ต้องหา, หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล เขตจตุจักร, พนักงานห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน, พนักงาน Blu-O สาขาเมเจอร์รัชโยธิน, ตำรวจผู้ตรวจค้นของกลางในที่เกิดเหตุ, เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน, สันติบาลผู้ทำรายงานสืบสวนกลุ่ม WeVo, พนักงานสืบสวน และพนักงานสอบสวน ซึ่งตามคำฟ้องและการนับสืบอัยการโจทก์ มีประเด็นโดยสรุปดังนี้
.
ข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่ - ซ่องโจร ตาม ป.อาญา มาตรา 209 - 210 อ้างว่าจำเลย 45 คน ร่วมกันมั่วสุมสมคบกันเป็นอั้งยี่ โดยจําเลยกับพวกอีกกว่า 600 คน ได้ร่วมกันเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลโดยใช้ชื่อว่า We Volunteer ซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการสามารถรับรู้กันได้เฉพาะในระหว่างสมาชิก โดยมี ปิยรัฐ ทงเทพ (จําเลยที่ 1) เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทําหน้าที่ชักชวนประชาชนทั่วไปเข้าเป็นสมาชิก เป็นผู้วางแผนสั่งการ และมีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินการ โดยสมาชิกกลุ่มจะมีการแสดงสัญลักษณ์ในรูปแบบเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปรากฏสัญลักษณ์คําว่า We Volunteer โดยมีวัตถุประสงค์มิชอบด้วยกฎหมาย มีพฤติกรรมร่วมกันชุมนุมมั่วสุม สมคบกันวางแผนเป็นยุทธวิธีขั้นตอน ซ่องสุมกําลัง ฝึกกําลังพลเพื่อแบ่งหน้าที่กันตามระบบสายบังคับบัญชา มีการตระเตรียมซุกซ่อนอาวุธที่ใช้ในการกระทําความผิดได้ มีวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกโดยใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ต่าง ๆ แจ้งนัดหมายการชุมนุม โดยประสงค์ให้รู้กันเฉพาะสมาชิก จากนั้นจะแฝงตัวออกมาในกลุ่มผู้ชุมนุมในบทบาทของการ์ดอาสาสมัครดูแลความปลอดภัยในการชุมนุมทางการเมือง แต่ความจริงมีวัตถุประสงค์อันมิชอบด้วยกฎหมาย
.
อีกทั้งจำเลย 45 คนสมคบกันเป็นซ่องโจร โดยจับกลุ่ม นัดหมายประชุมกัน ปรึกษาหารือ ตลอดจนมีการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ วางแผนยุทธวิธีขั้นตอน เตรียมกำลังคนโดยแบ่งหน้าที่ระหว่างกัน และตกลงกันเพื่อจะไปกระทำความผิดในการชุมนุมทางการเมืองที่บริเวณหน้าศาลอาญา โดยได้ร่วมกันเตรียมอาวุธ หนังสติ๊ก ลูกแก้ว ลูกเหล็ก ระเบิดควัน และวัตถุอื่นจํานวนหลายชนิดและหลายรายการ
.
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ อ้างว่าจำเลยทั้ง 45 คน ชุมนุมทํากิจกรรม และมั่วสุมกันภายในห้องคาราโอเกะ ห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน ซึ่งเป็นสถานที่คับแคบ แออัด และบริเวณลานจอดรถของห้าง เพื่อทําการประชุมมั่วสุม และรวมพลกันเพื่อจะเคลื่อนตัวไปกระทําการอันมิชอบด้วยกฎหมายในบริเวณที่มีการชุมนุม โดยไม่มีการควบคุมให้มีการสวมหน้ากากอนามัย ไม่จัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และไม่มีการป้องกันตามมาตรการที่กำหนด
.
ข้อหาตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ อ้างว่าจำเลย 8 คน ครอบครองเสื้อเกราะป้องกันกระสุน อันเป็นยุทธภัณฑ์ตามกฎหมายและประกาศกระทรวงกลาโหมไว้ในครอบครองไม่ได้รับใบอนุญาต อีกทั้งจำเลย 7 คน ครอบครองวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
ข้อหาหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวน ตาม ป.อาญา มาตรา 190 (เฉพาะจําเลยที่ 17-45) อ้างว่า ขณะมีการควบคุมตัวจำเลยไปส่งให้พนักงานสอบสวนที่กองบังคับการตํารวจตระเวนชายแดนภาค 1 จําเลยได้หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมตัวตามอํานาจของเจ้าพนักงานดังกล่าว
.
.
และมีการสืบพยานจำเลย 4 นัด (ระหว่างวันที่ 17, 24 ก.ย. และ 8, 15 ต.ค. 2567) ซึ่งทนายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความทั้งสิ้น 6 ปาก ได้แก่ ทนายความในชั้นจับกุม, พยานความเห็น และจำเลยในที่เกิดเหตุ 4 คน โดยฝ่ายจำเลยมีข้อต่อสู้ในคดีดังนี้
.
ข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่ - ซ่องโจร ตาม ป.อาญา มาตรา 209 - 210 มีข้อต่อสู้ว่า กลุ่ม WeVo ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการกระทำผิดกฎหมาย แต่กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ประชาชนที่รวมตัวกันขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการชุมนุมของประชาชน
.
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มีข้อต่อสู้ว่า การรวมตัวในที่เกิดเหตุ ไม่ได้รวมตัวที่เป็นการมั่วสุม และสถานที่เกิดเหตุ (ลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน) เป็นสถานที่โล่งกว้าง ไม่แออัด และไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
.
ข้อหาตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ มีข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับวิธีการตรวจยึดและจัดเก็บพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
.
ข้อหาหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวน ตาม ป.อาญา มาตรา 190 (เฉพาะจําเลยที่ 17-45) มีข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้หลบหนีขณะถูกคุมขัง และหลังจากเหตุชุลมุน จำเลยได้เดินทางไปมอบตัวที่ สน.พหลโยธิน ทันที
.
.
ผู้ถูกจับกุมยืนยัน โดน ตร.ข่มขู่-ทำร้ายหลายรูปแบบ แต่ในระหว่างการสืบพยาน โจทก์เบิกความว่าไม่ได้ใช้ความรุนแรง ยืนยันจับกุมถูกตามยุทธวิธี
.
ตลอดการสืบพยานฝ่ายโจทก์ พยานโจทก์ที่เป็นตำรวจผู้มีส่วนร่วมในการจับกุม แทบจะทุกคนล้วนเบิกความในทำนองว่า ผู้ถูกจับกุมมีการชุมนุมมั่วสุมกัน และวางแผนเตรียมอาวุธเพื่อก่อเหตุวุ่นวายและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งยังมีการบุกล้อมรถควบคุมผู้ต้องขังและรุมทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเลยที่เบิกความถึงกรณีการใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงล่วงละเมิดกับผู้ถูกจับกุม ทั้งยังมีการยึดทรัพย์สินของผู้ถูกจับกุมบางรายไปด้วย
แม้ทนายจำเลยจะพยายามถามถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกจับกุมตัวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ได้รับคำตอบกลับเพียงว่า ‘เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ต้องหา และการที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าควบคุมตัวโดยสั่งให้ผู้ถูกจับกุมนอนคว่ำลงกับพื้นนั้น เป็นไปอย่างถูกต้องตามยุทธวิธีแล้ว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการหลบหนี เนื่องจากเป็นการควบคุมคนจำนวนมาก’
.
คำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีส่วนร่วมในการจับกุมยังคงมีความขัดแย้ง และไม่ตรงกับคำให้การของผู้ถูกจับกุมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะข้อเท็จจริงเรื่องความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นขณะจับกุม
.
ผู้ถูกจับกุมหลายคนในคดีนี้ ยืนยันว่าโดนตำรวจข่มขู่และทำร้ายร่างกายหลายรูปแบบ ทั้งรุมกระทืบ บังคับให้คลาน โดนหมวกกันน็อคฟาด โดนทรมานจนหายใจไม่ออก และโดนเอาพลุควันยัดปาก โดนตบหน้า เตะ และเหยียบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เท้า ขา หลัง มือ ไปจนถึงบริเวณศีรษะ โดยมีบางคนถูกนำปืนจี้หัวและบังคับให้คลานอีกด้วย
.
.
อ่านข่าวบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/71927
พรุ่งนี้! ศาลอาญา นัด 45 นักกิจกรรม WeVo ฟังคำพิพากษาคดี ‘อั้งยี่-ซ่องโจร’ เหตุถูกจับกุมก่อน #ม็อบ6มีนา64
.
วันพรุ่งนี้ (24 ธ.ค. 2567) เวลา 09.00 น. ศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษาในคดีของประชาชนและนักกิจกรรมกลุ่ม We Volunteer (#WeVo) รวมทั้งสิ้น 45 คน ในข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่-ซ่องโจร, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, มียุทธภัณฑ์และเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จากเหตุถูกจับกุมที่บริเวณห้างเมเจอร์รัชโยธิน เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 ก่อนที่กลุ่มผู้ชุมนุม REDEM จะเดินขบวนจากห้าแยกลาดพร้าวไปหน้าศาลอาญา
.
.
6 มี.ค. 64 – เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมกลุ่ม WeVo และประชาชน โดยไม่แสดงหมายจับหรือข้อหาที่เป็นเหตุให้ถูกจับ มีรายงานการทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธข่มขู่ผู้ถูกจับ
.
ที่มาที่ไปของคดีนี้ เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 กลุ่ม “รีเด็ม” (REDEM) นัดหมายชุมนุม #ม็อบ6มีนา เดินขบวนจากห้าแยกลาดพร้าว ไปหน้าศาลอาญา เพื่อทำกิจกรรมเผาขยะหน้าศาล ทว่าก่อนเริ่มการชุมนุมกลับมีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธเข้าจับกุมทีมการ์ดวีโว่ และประชาชน ที่บริเวณลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน โดยไม่ได้แสดงหมายจับ และไม่ได้มีการแจ้งข้อหาที่เป็นเหตุให้ถูกจับกุม รวมทั้งไม่แจ้งสถานที่ที่จะควบคุมตัวไป โดยทั้งหมดยังไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม #ม็อบ6มีนา แต่อย่างใด ทั้งนี้มีรายงานการทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธข่มขู่ผู้ถูกจับกุมบางคน ทั้งยังมีการยึดสิ่งของทั้งหมดที่พกติดตัว เช่น โทรศัพท์ กระเป๋า เงินสด
.
หลังการจับกุม “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ และผู้ถูกจับกุมรวมทั้งหมด 18 ราย ซึ่งเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี 2 ราย ถูกควบคุมไปแจ้งข้อกล่าวหาที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี (บก.ตชด. ภาค 1) ในข้อหา เป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
.
ต่อมา เกิดเหตุการณ์ที่รถควบคุมผู้ต้องขังอีก 2 คัน ถูกเข้าสกัด จนรถทั้งสองคันไม่สามารถวิ่งไปต่อได้ ผู้ถูกควบคุมตัวจึงร่วมกันเดินเท้าไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.พหลโยธิน ในคืนนั้น เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้หลบหนี ทั้งสอบถามเหตุผลการจับกุม และอำนาจที่เจ้าหน้าที่ใช้จับกุม รวมทั้งขอให้ติดตามทรัพย์สินส่วนตัวที่ถูกยึดไป ก่อนที่ทั้งหมดจะได้รับหมายเรียกจาก สน.พหลโยธิน ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาใน 4 ข้อหาเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564
.
ต่อมา พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาทั้งหมด รวมทั้งเยาวชน เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 โดยมี 8 คน ถูกแจ้งข้อหามียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 10 ราย ถูกแจ้งข้อหามีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
ส่วนกลุ่มที่เดินเข้าไปพบพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ในคืนวันเกิดเหตุ ถูกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่า หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง รวมทั้งมีการเข้าไปแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับปิยรัฐในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในข้อหามียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครอง ทั้งหมดให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ก่อนอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีทั้ง 45 คนเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564
.
.
สืบพยานยาว 31 นัด ฝ่ายโจทก์-จำเลยนำพยานเข้าสืบทั้งสิ้น 54 ปาก
.
ในคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ก่อนที่ศาลนัดสืบพยานทั้งสิ้น 31 นัด ตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย. - ต.ค. 2567 ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณา มีจำเลย 1 รายเสียชีวิตไปอีกด้วย ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกไป
,การสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 27 นัด (ระหว่างวันที่ 23-26, 30 เม.ย., 1,3,7-9, 14-17, 21, 23-24, 28-31 พ.ค., 4-7 มิ.ย., และ 6, 27 ส.ค. 2567) ซึ่งอัยการโจทก์นำพยานเข้าเบิกความทั้งสิ้น 48 ปาก ได้แก่ ผู้กล่าวหา, ตำรวจผู้จับกุม, ตำรวจผู้ถ่ายภาพขณะจับกุม, ตำรวจผู้ขับรถควบคุมผู้ต้องหา, หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล เขตจตุจักร, พนักงานห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน, พนักงาน Blu-O สาขาเมเจอร์รัชโยธิน, ตำรวจผู้ตรวจค้นของกลางในที่เกิดเหตุ, เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน, สันติบาลผู้ทำรายงานสืบสวนกลุ่ม WeVo, พนักงานสืบสวน และพนักงานสอบสวน ซึ่งตามคำฟ้องและการนับสืบอัยการโจทก์ มีประเด็นโดยสรุปดังนี้
.
ข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่ - ซ่องโจร ตาม ป.อาญา มาตรา 209 - 210 อ้างว่าจำเลย 45 คน ร่วมกันมั่วสุมสมคบกันเป็นอั้งยี่ โดยจําเลยกับพวกอีกกว่า 600 คน ได้ร่วมกันเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลโดยใช้ชื่อว่า We Volunteer ซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการสามารถรับรู้กันได้เฉพาะในระหว่างสมาชิก โดยมี ปิยรัฐ ทงเทพ (จําเลยที่ 1) เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทําหน้าที่ชักชวนประชาชนทั่วไปเข้าเป็นสมาชิก เป็นผู้วางแผนสั่งการ และมีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินการ โดยสมาชิกกลุ่มจะมีการแสดงสัญลักษณ์ในรูปแบบเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปรากฏสัญลักษณ์คําว่า We Volunteer โดยมีวัตถุประสงค์มิชอบด้วยกฎหมาย มีพฤติกรรมร่วมกันชุมนุมมั่วสุม สมคบกันวางแผนเป็นยุทธวิธีขั้นตอน ซ่องสุมกําลัง ฝึกกําลังพลเพื่อแบ่งหน้าที่กันตามระบบสายบังคับบัญชา มีการตระเตรียมซุกซ่อนอาวุธที่ใช้ในการกระทําความผิดได้ มีวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกโดยใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ต่าง ๆ แจ้งนัดหมายการชุมนุม โดยประสงค์ให้รู้กันเฉพาะสมาชิก จากนั้นจะแฝงตัวออกมาในกลุ่มผู้ชุมนุมในบทบาทของการ์ดอาสาสมัครดูแลความปลอดภัยในการชุมนุมทางการเมือง แต่ความจริงมีวัตถุประสงค์อันมิชอบด้วยกฎหมาย
.
อีกทั้งจำเลย 45 คนสมคบกันเป็นซ่องโจร โดยจับกลุ่ม นัดหมายประชุมกัน ปรึกษาหารือ ตลอดจนมีการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ วางแผนยุทธวิธีขั้นตอน เตรียมกำลังคนโดยแบ่งหน้าที่ระหว่างกัน และตกลงกันเพื่อจะไปกระทำความผิดในการชุมนุมทางการเมืองที่บริเวณหน้าศาลอาญา โดยได้ร่วมกันเตรียมอาวุธ หนังสติ๊ก ลูกแก้ว ลูกเหล็ก ระเบิดควัน และวัตถุอื่นจํานวนหลายชนิดและหลายรายการ
.
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ อ้างว่าจำเลยทั้ง 45 คน ชุมนุมทํากิจกรรม และมั่วสุมกันภายในห้องคาราโอเกะ ห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน ซึ่งเป็นสถานที่คับแคบ แออัด และบริเวณลานจอดรถของห้าง เพื่อทําการประชุมมั่วสุม และรวมพลกันเพื่อจะเคลื่อนตัวไปกระทําการอันมิชอบด้วยกฎหมายในบริเวณที่มีการชุมนุม โดยไม่มีการควบคุมให้มีการสวมหน้ากากอนามัย ไม่จัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และไม่มีการป้องกันตามมาตรการที่กำหนด
.
ข้อหาตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ อ้างว่าจำเลย 8 คน ครอบครองเสื้อเกราะป้องกันกระสุน อันเป็นยุทธภัณฑ์ตามกฎหมายและประกาศกระทรวงกลาโหมไว้ในครอบครองไม่ได้รับใบอนุญาต อีกทั้งจำเลย 7 คน ครอบครองวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
ข้อหาหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวน ตาม ป.อาญา มาตรา 190 (เฉพาะจําเลยที่ 17-45) อ้างว่า ขณะมีการควบคุมตัวจำเลยไปส่งให้พนักงานสอบสวนที่กองบังคับการตํารวจตระเวนชายแดนภาค 1 จําเลยได้หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมตัวตามอํานาจของเจ้าพนักงานดังกล่าว
.
.
และมีการสืบพยานจำเลย 4 นัด (ระหว่างวันที่ 17, 24 ก.ย. และ 8, 15 ต.ค. 2567) ซึ่งทนายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความทั้งสิ้น 6 ปาก ได้แก่ ทนายความในชั้นจับกุม, พยานความเห็น และจำเลยในที่เกิดเหตุ 4 คน โดยฝ่ายจำเลยมีข้อต่อสู้ในคดีดังนี้
.
ข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่ - ซ่องโจร ตาม ป.อาญา มาตรา 209 - 210 มีข้อต่อสู้ว่า กลุ่ม WeVo ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการกระทำผิดกฎหมาย แต่กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ประชาชนที่รวมตัวกันขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการชุมนุมของประชาชน
.
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มีข้อต่อสู้ว่า การรวมตัวในที่เกิดเหตุ ไม่ได้รวมตัวที่เป็นการมั่วสุม และสถานที่เกิดเหตุ (ลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน) เป็นสถานที่โล่งกว้าง ไม่แออัด และไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
.
ข้อหาตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ มีข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับวิธีการตรวจยึดและจัดเก็บพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
.
ข้อหาหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวน ตาม ป.อาญา มาตรา 190 (เฉพาะจําเลยที่ 17-45) มีข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้หลบหนีขณะถูกคุมขัง และหลังจากเหตุชุลมุน จำเลยได้เดินทางไปมอบตัวที่ สน.พหลโยธิน ทันที
.
.
ผู้ถูกจับกุมยืนยัน โดน ตร.ข่มขู่-ทำร้ายหลายรูปแบบ แต่ในระหว่างการสืบพยาน โจทก์เบิกความว่าไม่ได้ใช้ความรุนแรง ยืนยันจับกุมถูกตามยุทธวิธี
.
ตลอดการสืบพยานฝ่ายโจทก์ พยานโจทก์ที่เป็นตำรวจผู้มีส่วนร่วมในการจับกุม แทบจะทุกคนล้วนเบิกความในทำนองว่า ผู้ถูกจับกุมมีการชุมนุมมั่วสุมกัน และวางแผนเตรียมอาวุธเพื่อก่อเหตุวุ่นวายและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งยังมีการบุกล้อมรถควบคุมผู้ต้องขังและรุมทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเลยที่เบิกความถึงกรณีการใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงล่วงละเมิดกับผู้ถูกจับกุม ทั้งยังมีการยึดทรัพย์สินของผู้ถูกจับกุมบางรายไปด้วย
แม้ทนายจำเลยจะพยายามถามถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกจับกุมตัวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ได้รับคำตอบกลับเพียงว่า ‘เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ต้องหา และการที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าควบคุมตัวโดยสั่งให้ผู้ถูกจับกุมนอนคว่ำลงกับพื้นนั้น เป็นไปอย่างถูกต้องตามยุทธวิธีแล้ว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการหลบหนี เนื่องจากเป็นการควบคุมคนจำนวนมาก’
.
คำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีส่วนร่วมในการจับกุมยังคงมีความขัดแย้ง และไม่ตรงกับคำให้การของผู้ถูกจับกุมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะข้อเท็จจริงเรื่องความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นขณะจับกุม
.
ผู้ถูกจับกุมหลายคนในคดีนี้ ยืนยันว่าโดนตำรวจข่มขู่และทำร้ายร่างกายหลายรูปแบบ ทั้งรุมกระทืบ บังคับให้คลาน โดนหมวกกันน็อคฟาด โดนทรมานจนหายใจไม่ออก และโดนเอาพลุควันยัดปาก โดนตบหน้า เตะ และเหยียบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เท้า ขา หลัง มือ ไปจนถึงบริเวณศีรษะ โดยมีบางคนถูกนำปืนจี้หัวและบังคับให้คลานอีกด้วย
.
.
อ่านข่าวบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/71927