ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 45,000 คนถูกสังหาร ในช่วงสงครามที่ยาวนาน 14 เดือน ระหว่างอิสราเอลและฮามาส ตามตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มฮามาส
ทำไมการหยุดยิงยังไม่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา
มูฮันนาด ดูตุนจีบีบีซีแผนกภาษาอารบิก
28 ธันวาคม 2024
แม้จะมีความหวังในเชิงบวก แต่ความพยายามให้เกิดการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและฮามาสในฉนวนกาซาต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายพยายามจะปรับแก้เงื่อนไขที่ยังไม่ตรงกัน
แถลงการณ์ล่าสุดของทางการอิสราเอลและฮามาส รวมถึงคำกล่าวของคณะผู้ไกล่เกลี่ย ล้วนเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าข้อตกลงนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และโลกจะได้เห็นการลงนามในข้อตกลงขั้นสุดท้ายในเร็ว ๆ นี้ ทว่ากระบวนการเจรจายังไม่คืบหน้า
วิทยุอิสราเอลรายงานว่า เงื่อนไขใหม่ที่อิสราเอลเรียกร้องอาจทำให้ข้อตกลงกับฮามาสล่าช้าออกไป และฮามาสจะกลับมาหารือพร้อมข้อเรียกร้องอีกชุดเช่นกัน
นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล กล่าวว่า มีความคืบหน้าที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่เขาย้ำว่าไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะบรรลุข้อตกลง
สหรัฐฯ อียิปต์ กาตาร์ และล่าสุดตุรกี พยายามรับบทผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างอิสราเอลและฮามาสเพื่อยุติสงครามในฉนวนกาซาที่กินเวลานานถึง 14 เดือน และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วประมาณ 45,000 ราย
ทำไมการหยุดยิงยังไม่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา
มูฮันนาด ดูตุนจีบีบีซีแผนกภาษาอารบิก
28 ธันวาคม 2024
แม้จะมีความหวังในเชิงบวก แต่ความพยายามให้เกิดการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและฮามาสในฉนวนกาซาต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายพยายามจะปรับแก้เงื่อนไขที่ยังไม่ตรงกัน
แถลงการณ์ล่าสุดของทางการอิสราเอลและฮามาส รวมถึงคำกล่าวของคณะผู้ไกล่เกลี่ย ล้วนเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าข้อตกลงนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และโลกจะได้เห็นการลงนามในข้อตกลงขั้นสุดท้ายในเร็ว ๆ นี้ ทว่ากระบวนการเจรจายังไม่คืบหน้า
วิทยุอิสราเอลรายงานว่า เงื่อนไขใหม่ที่อิสราเอลเรียกร้องอาจทำให้ข้อตกลงกับฮามาสล่าช้าออกไป และฮามาสจะกลับมาหารือพร้อมข้อเรียกร้องอีกชุดเช่นกัน
นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล กล่าวว่า มีความคืบหน้าที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่เขาย้ำว่าไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะบรรลุข้อตกลง
สหรัฐฯ อียิปต์ กาตาร์ และล่าสุดตุรกี พยายามรับบทผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างอิสราเอลและฮามาสเพื่อยุติสงครามในฉนวนกาซาที่กินเวลานานถึง 14 เดือน และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วประมาณ 45,000 ราย
เงื่อนไขและความซับซ้อนใหม่
อาคารที่อยู่อาศัยหลายร้อยแห่งถูกทำลายจนกลายเป็นซากปรักหักพังในช่วง 14 เดือนของสงคราม
ตามรายงานของวิทยุอิสราเอล คณะรัฐมนตรีของนายเนทันยาฮู ต้องการให้ฮามาสส่งรายชื่อตัวประกันชาวอิสราเอลที่ยังถูกกักขังมาทั้งหมด
ผู้ไกล่เกลี่ยระบุว่า การพูดคุยมีความก้าวหน้าตามสมควร โดยอิสราเอลพร้อมจะส่งรายชื่อผู้ถูกกักขังชาวปาเลสไตน์ที่จะได้รับการปล่อยตัวในขั้นแรกของข้อตกลง
อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์บางรายระบุว่า เงื่อนไขล่าสุดของอิสราเอลได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการทำข้อตกลง และฮามาสก็ยังไม่ได้ส่งมอบรายชื่อใด ๆ ให้ตามที่มีการร้องขอ
รายงานบางฉบับคาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เงื่อนไขใหม่นี้จะทำให้การเจรจาต้องยืดเยื้อออกไป
ถึงแม้อิสราเอลออกมาให้ความเห็นต่อความคืบหน้าของการเจรจา แต่รายงานของสื่อระบุว่า ผู้ไกล่เกลี่ยจากสหรัฐฯ เดินทางออกจากกรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานที่เจรจาที่กำลังเกิดขึ้น นี่อาจสะท้อนให้เห็นถึงความชะงักงันในบางประเด็น
แหล่งข่าวจากสหรัฐฯ ระบุว่า ปัญหาสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ ข้อตกลงเกี่ยวกับจำนวนตัวประกันชาวอิสราเอลที่จะได้รับการปล่อยตัวในระยะแรก และตัวตนของผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ที่จะถูกระบุในข้อตกลงว่าพร้อมปล่อยตัว
นอกจากนี้ยังต้องตกลงกันในประเด็นที่ซับซ้อนกว่าว่าใครจะเป็นผู้ปกครองฉนวนกาซาหลังจากบรรลุข้อตกลง ในจำนวนนี้รวมถึงการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนทัพของอิสราเอลออกจากพื้นที่ การอนุญาตให้ผู้พลัดถิ่นกลับประเทศ และการบริหารจัดการจุดผ่านแดนต่าง ๆ
เชิงบวก แต่ตึงเครียด
ชาวอิสราเอลร่วมชุมนุมที่กรุงเยรูซาเลม เรียกร้องให้ยุติสงคราม
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ แหล่งข่าวอิสราเอลบางคนกล่าวว่า มีสัญญาณเบื้องต้นว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในเวลาไม่กี่วัน
สถานีโทรทัศน์ช่อง 12 ของอิสราเอลรายงานว่า มีรายชื่อตัวประกันชาวปาเลสไตน์ที่ตกลงกันไว้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวในขั้นแรกตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนตัวประกัน "นี่หมายถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างระมัดระวัง" ทีวีช่อง 12 รายงาน
อย่างไรก็ตาม รายงานและแหล่งข่าวบางส่วนจากฝ่ายค้านของอิสราเอลระบุว่า เงื่อนไขใหม่ของ เนทันยาฮู อาจมุ่งเป้าไปที่ "การชะลอกระบวนการบรรลุข้อตกลงหยุดยิง"
ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องราวยังสลับซับซ้อนมากขึ้น เมื่อฮามาสตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ของอิสราเอลด้วยการยื่นข้อเรียกร้องเพิ่มเติม โดยให้ถอนตัวออกจากฉนวนกาซาทั้งหมดและยุติสงครามแลกกับการปล่อยตัวประกันทั้งหมดในคราวเดียว
ความท้าทายของอิสราเอล
พรรคการเมืองของอิสราเอลมีความเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการการเจรจาและยุติความตึงเครียดในปัจจุบัน
ยาอีร์ ลาปิด ผู้นำฝ่ายค้านของอิสราเอล กล่าวหาว่า เนทันยาฮู เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยของเขาต่อการยุติสงครามท่ามกลางการเจรจาที่ดำเนินอยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขัดขวางความพยายามไกล่เกลี่ย
คำวิจารณ์เหล่านี้ตอกย้ำถึงความแตกต่างในอิสราเอลต่อการจัดการวิกฤต ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันที่ เนทันยาฮู ต้องเผชิญจากทั้งฝ่ายค้าน ครอบครัวของตัวประกัน รวมถึงจากฝ่ายค้านหัวรุนแรงภายในรัฐบาลของเขาเอง โดยเฉพาะจากรัฐมนตรี เช่น อิตามาร์ เบน-กวีร์ และ เบซาเลล สโมทริช ซึ่งนำทีมค้านการทำข้อตกลงกับฮามาส
ในบริบทนี้ อามิไช ชิคลี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิสราเอล เปิดเผยรายละเอียดของข้อตกลงที่เสนอว่า ในระยะแรกจะรวมถึงช่วงเวลาสงบศึก 42 วัน โดยการพักปฏิบัติการทางทหารมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ ของข้อตกลง และเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามภาระผูกพันร่วมกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
บทบาทของอียิปต์และกาตาร์
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ แหล่งข่าวอิสราเอลบางคนกล่าวว่า มีสัญญาณเบื้องต้นว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในเวลาไม่กี่วัน
สถานีโทรทัศน์ช่อง 12 ของอิสราเอลรายงานว่า มีรายชื่อตัวประกันชาวปาเลสไตน์ที่ตกลงกันไว้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวในขั้นแรกตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนตัวประกัน "นี่หมายถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างระมัดระวัง" ทีวีช่อง 12 รายงาน
อย่างไรก็ตาม รายงานและแหล่งข่าวบางส่วนจากฝ่ายค้านของอิสราเอลระบุว่า เงื่อนไขใหม่ของ เนทันยาฮู อาจมุ่งเป้าไปที่ "การชะลอกระบวนการบรรลุข้อตกลงหยุดยิง"
ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องราวยังสลับซับซ้อนมากขึ้น เมื่อฮามาสตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ของอิสราเอลด้วยการยื่นข้อเรียกร้องเพิ่มเติม โดยให้ถอนตัวออกจากฉนวนกาซาทั้งหมดและยุติสงครามแลกกับการปล่อยตัวประกันทั้งหมดในคราวเดียว
ความท้าทายของอิสราเอล
พรรคการเมืองของอิสราเอลมีความเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการการเจรจาและยุติความตึงเครียดในปัจจุบัน
ยาอีร์ ลาปิด ผู้นำฝ่ายค้านของอิสราเอล กล่าวหาว่า เนทันยาฮู เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยของเขาต่อการยุติสงครามท่ามกลางการเจรจาที่ดำเนินอยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขัดขวางความพยายามไกล่เกลี่ย
คำวิจารณ์เหล่านี้ตอกย้ำถึงความแตกต่างในอิสราเอลต่อการจัดการวิกฤต ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันที่ เนทันยาฮู ต้องเผชิญจากทั้งฝ่ายค้าน ครอบครัวของตัวประกัน รวมถึงจากฝ่ายค้านหัวรุนแรงภายในรัฐบาลของเขาเอง โดยเฉพาะจากรัฐมนตรี เช่น อิตามาร์ เบน-กวีร์ และ เบซาเลล สโมทริช ซึ่งนำทีมค้านการทำข้อตกลงกับฮามาส
ในบริบทนี้ อามิไช ชิคลี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิสราเอล เปิดเผยรายละเอียดของข้อตกลงที่เสนอว่า ในระยะแรกจะรวมถึงช่วงเวลาสงบศึก 42 วัน โดยการพักปฏิบัติการทางทหารมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ ของข้อตกลง และเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามภาระผูกพันร่วมกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
บทบาทของอียิปต์และกาตาร์
ยูเอ็นเผยเหยื่อที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว 70% ในรอบ 6 เดือนเป็นผู้หญิงและเด็ก
ในความพยายามเริ่มต้นเปิดเจรจาอีกครั้ง คณะผู้แทนอียิปต์เดินทางมาถึงโดฮาเพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย
รายงานบางแห่งยืนยันว่า การเจรจาอาจอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย โดยมีความเป็นไปได้ที่จะประกาศข้อตกลงภายในไม่กี่วัน
เมื่อปีใหม่ใกล้เข้ามา ดูเหมือนว่าแรงกดดันให้ทั้ง 2 ฝ่ายเร่งต้องบรรลุข้อตกลงเพื่อยุติสงครามจะทวีความรุนแรงขึ้น และปูทางไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุม
ท่ามกลางความก้าวหน้าที่ระมัดระวังและอุปสรรคอันซับซ้อน การเจรจาระหว่างอิสราเอลและฮามาสเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเชลยศึกและตัวประกันยังคงตึงเครียด
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังรอคอยการประกาศข้อตกลงที่จะช่วยยุติความขัดแย้ง ปัญหาทางการเมืองและความมั่นคงภายในระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ดูเหมือนจะเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
รถไฟเหาะตีลังกาอันยาวนาน
โยสซี คูเปอร์วาสเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองและความมั่นคงของอิสราเอล กล่าวกับบีบีซีว่า เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาผลลัพธ์ที่แน่นอนของการเจรจา
คูเปอร์วาสเซอร์ ผู้เคยรับราชการในกระทรวงกลาโหมของอิสราเอล กล่าวว่า "ไม่มีหลักประกันว่าจะมีบางอย่างเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม มีโอกาส แต่ต้องมีการประนีประนอมจากทั้ง 2 ฝ่ายมากกว่านี้"
อดีตนายพลอิสราเอลเชื่อว่า ทั้งอิสราเอลและฮามาสมีแรงจูงใจทั้งหมดที่จะบรรลุข้อตกลง โดยให้เหตุผลว่าฮามาสอ่อนกำลังลงหลังการสนับสนุนจากอิหร่านและพันธมิตรในภูมิภาคลดลงไป
อย่างไรก็ตาม คูเปอร์วาสเซอร์ กล่าวเสริมว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าเส้นทางสู่ข้อตกลงจะง่าย "การเจรจามีความซับซ้อนมาก และต้องได้รับการประนีประนอมอย่างมากจากทั้ง 2 ฝ่าย แต่สถานการณ์ในปัจจุบันอาจเป็นโอกาส แม้มีข้อจำกัดในการก้าวไปข้างหน้าก็ตาม"
เขายังเปรียบเปรยการเจรจานี้ว่าเป็นเหมือน "รถไฟเหาะตีลังกา" โดยกล่าวว่า "วันหนึ่งดูเหมือนว่าจะมีความก้าวหน้า แต่พออีกวันถัดมาก็มีอุปสรรคใหม่เกิดขึ้น"
https://www.bbc.com/thai/articles/czd47p39gy1o