วันจันทร์, ตุลาคม 23, 2566
ความมึนงงรอบล่าสุดของเงินหมื่นดิจิตอล 'รัฐต้องการเป็นเจ้าของซุปเปอร์แอพ จึงไม่ใช้เป๋าตังค์ ที่เป็นของกรุงไทย' ลองมาไล่ดูทีละตัวว่าใครอาจเป็นเจ้าของบ้าง ที่ไม่ไช่รัฐไทย
Saroj Coke Ativitavas
3d·
ความมึนงงรอบล่าสุดของเงินหมื่นดิจิตอล 'รัฐต้องการเป็นเจ้าของซุปเปอร์แอพ จึงไม่ใช้เป๋าตังค์ ที่เป็นของกรุงไทย'
.
พิธีกรคุณดนัย เจาะลึกทั่วไทย ถาม "ทำไมไม่ใช้แอพเป๋าตังค์ที่มีอยู่เดิมแล้ว คนใช้ประจำอยู่แล้ว (ส่วนใหญ่ซื้อหวย) มีคนใช้แล้ว 40 ล้านคน (registered แล้ว KYC แล้ว)
.
จุลพันธ์ตอบ "รัฐต้องการเป็นเจ้าของแอพ เป๋าตังค์ธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าของ เป็นบริษัทมหาชน รัฐเป็นแค่ผู้กำกับ" ซึ่งถือเป็นมุกใหม่ เมื่อก่อนจะตอบว่า เพราะต้องการเขียนเงื่อนไข 4km ซึ่ง Blockchain Technology แห่งอนาคตเท่านั้นที่ทำได้
.
สงสัยทีมงานรู้แล้วว่า ไม่ต้องใช้ Blockchain ก็ทำได้ เลยตัดสินใจเปลี่ยนมุก
.
ถามต่อ "เห็นบอกว่าธนาคารรัฐจะเป็นคนทำ เป็นทีมกรุงไทยทำใช่ไหมครับ? ไม่ใช่จ้างเอกชนเจ้าไหนทำ"
จุลพันธ์ "ให้สมาคมธนาคารรัฐไปคุยกัน รอข้อสรุป"
.
ทีมไอทีธนาคารรัฐไหนที่มีศักยภาพนอกจากกรุงไทย? ออมสิน Exim ธกส ธอส ธนาคารอิสลาม SMEBank? ไม่น่าต้องรอสรุป
.
สรุปคือ รัฐต้องการเป็นเจ้าของซุปเปอร์แอพ (ยังไม่มีชื่อเรียก) จึงไม่ใช้เป๋าตังค์ของกรุงไทย เพราะต้องการถือหุ้น 100% เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว จึงให้กรุงไทยพัฒนาซุปเปอร์แอพขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ให้กรุงไทยเป็นเจ้าของ รัฐจะเป็นเจ้าของเอง งงไหม ?
.
คาดว่าทีมกรุงไทย คงใช้วิธี clone app ขึ้นมาใหม่แล้วเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนโลโก้ เป็นซุปเปอร์แอพ ตัดฟีเจอร์ที่ไม่ใช้ออก ก็เสร็จแล้ว ไม่เห็นยากเลย เห็นไหม
.
โอเค โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อประเทศ ไม่ใช่แค่ ถนน สะพาน สนามบิน รถไฟฟ้า ประปา ไฟฟ้า อีกต่อไป
.
แต่มันคือ digital infra อย่าง Data Center, High Speed Internet, 5G Network, Digital ID, Digital Payment, E-Commerce
.
ลองมาไล่ดูทีละตัวว่าใครเป็นเจ้าของบ้าง
.
Data Center: รัฐไทยใช้ Huawei Cloud, AWS, Azure ครับ ประทับใจมาก ข้อมูลสำคัญของประเทศอยู่ในมือต่างชาติ (cloud ไทยก็มีแต่เล็ก คนละ scale )
.
Internet: NT (CAT/TOT), True, 3BB, AIS, UIH, Symphony ส่วนใหญ่ก็ของเอกชนไทย ของรัฐ (NT) ก็บริษัทมหาชนเช่นกัน (คลังถือ 100% แต่ market share น้อยนิด)
.
Mobile Network (4G/5G): AIS, True/Dtac เอกชนล้วน ๆ NT อย่าไปนับเลย
.
Digital ID: National Digital ID ถือหุ้นโดยธนาคารทั้งรัฐและเอกชน ช่วยกันลงขัน แบ่งกันถือหุ้น
.
Digital Payment: ITMX (ถือหุ้นโดยธนาคารเอกชนหลายแห่ง) , PromptPay ก็ถือหุ้นโดยธนาคารทุกแห่ง
.
E-commerce: Lazada, Shopee จีนล้วน ๆ
.
สรุปไม่มี digital tech infra ตัวไหนที่ถือหุ้น 100% โดยรัฐบาลเลย แต่พอเป็นซุปเปอร์แอพแจกเงินหมื่นบาท ซึ่้งใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำเป็นต้องเป็นของรัฐ 100% ?
.
[Disclaimer: เห็นด้วยในหลักการว่าโครงสร้างพื้นฐานควรเป็นของบริษัทไทย ไม่ใช่ต่างชาติ แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทย มันเป็นของไทย/ รัฐ ซะทีไหน]
.
แถมมีประเด็นน่าลุ้น เรื่องการเงินอีกด้วย ซึ่งเกิดจากการที่ 'รัฐเป็นเจ้าของ' vs. กรุงไทย ซึ่งเป็นคนะละ entity กัน (ก็จุลพันธ์พูดเอง)
.
คำถามคือการ 'ยืนยันตัวตน' (e-KYC) 50 ล้านคนเนี่ย กรุงไทยจะคิดตังค์ กับรัฐ (entity อะไรก็ไม่รู้) ไหม? ปกติธนาคารคิด 200 บาทต่อครั้งนะ x 50 ล้าน = หมื่นล้านเบา ๆ
.
หรือจะยกเว้นให้ (waive) ให้ ทำ e-KYC ให้ฟรีไม่คิดเงิน? เอาดีดี
.
ยังมีเรื่อง 'ค่าธรรมเนียม' ตอนจังหวะที่ 'แลกเงินดิจิตอลเป็นเงินจริง' อีก มองเงินดิจิตอลเป็นเหมือนคูปอง ซึ่งพอรัฐเป็นเจ้าของ (entity อะไรก็ไม่รู้ สมมติเป็น ตั้งบริษัท A ขึ้นมา แล้วคลังถือ 100%)
.
ประชาชน (ร้านค้า) ถือไปแลกเงินสด 'ที่ธนาคาร' ธนาคารก็บอกว่าอันนี้ไม่ใช่คูปองผม (เพราะซุปเปอร์แอพเป็นของบริษัท A) เพราะมันคนจะเจ้าของกัน นี่มันไม่ใช่ closed loop งั้นก็ต้องคิดค่าใช้จ่าย ในตลาดคิดเป็นครั้ง (5,10,20 บาท แล้วแต่) หรือโหดหน่อยก็คิดเป็น % of transaction value (เหมือนบัตรเครดิต)
.
หรือธนาคาร (ที่รับแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริง) ใจดีไม่คิดเงิน ? ทำให้ฟรี จะตอบคำถามผู้ถือหุ้น (ที่ไม่ใช่รัฐ) ได้ใช่ไหม? หรือรัฐจะตั้งงบอีกก้อน มาจ่ายค่าธรรมเนียมพวกนี้ เอาดีดี
.
หรือคิดไปไกลแบบสุดขั้วกว่านั้นคือ มีบริษัท Nominee หน้าใหม่ ถือหุ้นโดย นาย X นาง Y 6 เดือนจบโครงการแล้วปล่อยบริษัทร้าง รับเงินผ่านบัญชีม้า เป็นม้ามืดมารับงานนี้ หยิบชิ้นเนื้อปลามันไปกิน เก็บกินค่าธรรมเนียมพุงปลิ้น เป็น Unicorn ในหกเดือน โตไวแบบ Startup อย่างที่รัฐต้องการเลย
.
เรื่องจินตนาการของคน ที่มโนไปเรื่อยนี่ ก็ต้องโทษตัวเองที่ คิดลวก ๆ ทำไปคิดไป ทำงานแบบ agile move fast break thing ด้วยงบ 5 แสนล้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ ที่จะต้องใช้คืนด้วยภาษีประชาชน แต่ไม่ลงรายละเอียดอะไรสักกะอย่าง ถามอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ (ด้วยคำพูดที่ฟังดูดี แต่สรุปคือ ไม่รู้น่ะแหล่ะ) ต่อไปห้ามแซวบิ๊กป้อมแล้วนะ เพราะตัวเองก็ทำเหมือนกัน
.
คาดว่าคำตอบคือ เอ่อ ... คณะกรรมการกำลังหารือกันอยู่ครับ ด้วยน้ำเสียง มั่นใจ น่าเชื่อถือ ดูดีมีความรู้ ศึกษามาเยอะ (แต่ไส้ในโหรงเหรง)
.
จุลพันธ์บอกว่าซุปเปอร์แอพมีความสำคัญ ต่อไปอนาคตจะมีโครงการต่อยอดอีกมาก กรูถามจริ๊ง (ถามแบบนายอาร์ม ..)
.
แอพที่พัฒนาโดยรัฐ มันเคยมีตัวไหนเหลือรอดด้วยหรือ? เป๋าตังค์ (ซึ่งสร้างได้ดีจริง ) แต่ถ้าไม่มี super killer app อย่างหวย 80 บาท จะเหลือคนใช้กี่คน?
.
แต่ฟังแล้วอย่าหลงทาง หลงกล หลงคิด ไปว่ารัฐกำลังจะสร้าง 'โครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินแห่งอนาคต' มันคนละเรื่องกัน สิ่งที่รัฐจะทำมันก็แค่ 'สร้างแอพ' ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน โปรดอย่าสับสน
.
แถมเป็นแอพที่มีอยู่แล้ว และดีอยู่แล้วในตลาดหลายตัวด้วย เช่น เป๋าตังค์ SCBEasy KPlus TrueMoney LinePay ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่ใช้ เพราะ 'รัฐต้องการเป็นเจ้าของ' ไม่งงนะ
.
ยังไม่จบ เดาได้เลยว่า เผ่าภูมิจะเถียงว่า ก็ Blockchain ไง digital infra แห่งโลกอนาคต ที่เราจะสร้างทิ้งไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบไป
.
ทำไมต้อง Blockchain (โอเคไม่พูดเรื่องเขียนเงื่อนไขแล้วก็ได้ คนเริ่มจับได้แล้ว) เพราะมันโปร่งใส ปลอดภัย ไม่มีใคร hack ได้ไง พท ชูเรื่องนี้มาตลอด
.
เพราะไม่เชื่อในตัวกลาง (ในที่นี้คือรัฐ) Blockchain จึงต้อง Decentralized ไม่ใช่ว่ามี validator node น๊อยเดียว และเป็นหน่วยงานรัฐหมด แบบนี้แมร่งเรียก centralized แล้วไม่เห็นต้อง Blockchain เลย มันย้อนแย้งในสิ่งที่ พท ขายมาตลอด
.
งั้นกลับลำ decentralized network ก็ได้วะ เปิดให้ทุกคนมาเป็น validator ได้ โปร่งใส ไร้ศูนย์กลางกันไปเลย อ้าวงั้นรัฐก็ 'ไม่ได้เป็นเจ้าของ' network นี้ แล้วไหนบอกว่าซุปเปอร์แอพ รัฐต้องเป็นเจ้าของ 100% ไง
.
ถ้าใครไม่งงกับรอบนี้ ช่วยกรุณาอธิบายที