มีติ่งเพื่อไทย (Kam Phaka liked) บอกว่า “เปเปอร์ที่คุณไหมพรรค #ก้าวไกล แชร์มา...สรุปสั้น ๆ ว่าไม่ยักจะเหมือน #ดิจิทัลวอลเล็ต (หรือ #เงินดิจิทัล) ที่ทาง #เพื่อไทย จะแจกให้ทุกคนที่มีอายุมากกว่า ๑๖ ปีเท่าไร” ก็เลยต้องไปดูต้นตอ
Sirikanya Tansakun @SirikanyaTansa1 ทวี้ตว่า “เจอแล้ว! ต้นกำเนิด digital wallet มาจากประเทศญี่ปุ่น” เป็นผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Journal of Public Economics เมื่อปี ค.ศ.๒๐๑๐ ซึ่ง “เหมือนเป๊ะ” กับนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของพรรคเพื่อไทย
ตรงที่ “เปเปอร์นี้ทำวิจัยกรณีของญี่ปุ่นในปี ๑๙๙๙ ที่แจกคูปอง ๒ หมื่นเยน ๓๑ ล้านใบ ให้ครอบครัวที่มีบุตร และผู้สูงอายุ คูปองใช้ได้เฉพาะร้านค้าในชุมชนเท่านั้น และมีอายุ ๖ เดือน” พบว่าผลคือ “ช่วยกระตุ้นการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน”
แต่ก็เพียง ๐.๑ ถึง ๐.๒ เท่าของเงินที่ได้รับแจก เท่านั้น ตัวอย่างสินค้าประเภทนี้ ได้แก่ “เสื้อผ้า เครื่องใช้ฟ้าขนาดเล็ก” แต่สำหรับสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร และน้ำมัน หรือสินค้าบริการ ไม่ปรากฏผลกระตุ้นในการจับจ่ายด้วยดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด
สิริกัญญา ตันสกุล แจงด้วยว่า “การจำกัดเวลาใช้จะมีผลก็ต่อเมื่อปกติคนซื้อของน้อยกว่านั้น แต่การใช้ให้หมดตามระยะเวลา ก็อาจไปลดการซื้อสินค้าในอนาคตอยู่ดี” และ “การจำกัดรัศมีการใช้จะมีผลก็ต่อเมื่อปกติคนซื้อของในชุมชนน้อยกว่านั้น”
จะให้แน่ใจกว่านี้ ไปดูที่ Pipat Luengnaruemitchai ค้นเจออีกคน งานวิจัยชื่อ “Did Japan's shopping coupon program increase spending?” พูดถึง “เมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๙๙ ตอนที่ญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ต่อเนื่องจากภาวะฟองสบู่แต”
จึงเกิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ แจกคูปอง ๒ หมื่นเยน ให้กับครอบครัวที่มีเด็กเล็กและคนชรา เป็นจำนวนถึง ๓๑ ล้านใบ “โดยกำหนดให้คูปองนี้ใช้ซื้อของได้เฉพาะในเขตพื้นที่ท้องถิ่นของผู้รับ และคูปองนี้จะหมดอายุถ้าไม่ใช้ภายในหกเดือน”
อ่า เหมือนขนาดนี้คุณพรี่ติ่งเพื่อไทย ยังดันทุรังบอกว่าไม่เหมือนกันเท่าไรนักอยู่อีก หรืจะพยายามปกปิดว่าไม่ได้ลอกมาจากไหน แล้วเอามาใช้อย่างทึ่มๆ ยัดใส่บล็อคเชน ให้ชื่อ ‘ดิจิทัล’ ทำให้มันดูขลัง ไม่บอกที่มาแล้วยังกำกวมเรื่องที่ไป
สิริกัญญาถึงได้บอกว่า “ไม่จำเป็นต้องเชื่องานวิจัยก็ได้ค่ะ แต่ก็ไม่ควรพูดเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีข้อมูลมายืนยัน” และถ้ายังดึงดันทำต่อให้ได้ละก็ เธอว่าถ้างั้นต้องจัดทำประเมินผล เก็บข้อมูลก่อน-หลังโครงการ เปิดเผยให้ประชาชนรับรู้
และรับผิดรับชอบกับผลของโครงการที่จะเกิดขึ้นด้วยค่ะ”
(https://www.facebook.com/lpipat/LEiFBaogwG9 และ https://twitter.com/sirikanyatansa1/status/1714937192018313468?s)