วันเสาร์, สิงหาคม 13, 2565

ไทม์ไลน์ ความพยายามสร้างลัทธิ hyper-royalism


Pavin Chachavalpongpun
22h

ส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างลัทธิ hyper-royalism คือการนำเอาราชประเพณีเก่ากลับมาใช้ บวกกับการประกาศวันหยุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ วันหยุดแรกที่มีการประกาศก็คือ วันแม่ โดยใช้วันเกิดของสิริกิต์เป็นวันแม่แทน คือวันที่ 12 สิงหา ประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1976 จากนั้นก็มีวันหยุดอื่นๆ ตามมาอีกมาก
- 1976 วันแม่ครั้งแรก
- 1977 ภูมิพลอายุครบ 50 ปี
- 1980 วันพ่อวันแรก โดยใช้วันเกิดภูมิพล 5 ธันวา
- 1982 กรุงเทพ 200 ปีและราชวงศ์จักรี
- 1987 ภูมิพลเกิดครบ 5 รอบ 60 ปี
- 1988 ฉลองภูมิพลครองราชย์นานสุดในประวัติศาสตร์ไทย (ชนะจุฬาลงกรณ์ที่ครองราชย์ 42 ปี)
- 1996 ครองราชย์ครบ 50 ปี Golden Jubilee
- 1997 ภูมิพลอายุ 70 ปี
- 1999 เกิดครบ 6 รอบ 72 ปี
- 2006 ครองราชย์ครบ 60 ปี Diamond Julibee เป็นกษัตริย์ที่มีชีวิตอยู่ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก
- 2007 อายุครบ 80 ปี
- 2010 แต่งงานครบ 60 ปี
- 2011 วันเกิดครบ 7 รอบ 84 ปี
- 2016 ภูมิพลตาย
....ดังนั้นเราจะเห็นว่า การประกาศใช้วันพ่อหรือวันแม่ มันคือจุดประสงค์ทางการเมืองของการสร้างความเข้มแข็งให้พระราชอำนาจ ไม่ใช่เป็นการระลึกถึงพ่อ/แม่อะไรทั้งสิ้น เพราะในต่างประเทศ การกำหนดวันพ่อ/วันแม่ไม่ได้กำหนดตามวันเกิดของกษัตริย์/ราชินีแต่อย่างใด
#12สิงหาคมวันแม่แห่งชาติ #โฆษณาชวนเชื่อ