Voice TV
Yesterday at 7:00 AM ·
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2564 เว็บไซต์ 101.world ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเครือข่ายด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา (RoLD) ชวนวิทยากรหลายคนคุยเรื่อง จินตนาการใหม่ ความยุติธรรมไทย หนึ่งในนั้นคือ 'ธงชัย วินิจจะกูล' จากภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.วิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา สรุปความได้ดังนี้
รากฐานนิติศาสตร์ไทยไม่ได้เป็นรากของ rule of law แต่เป็นนิติศาสตร์ของรัฐที่มีอภิสิทธิ์เหนือประชาชน ดังนั้นกฎหมายไทยจึงมีพัฒนาการโดยมีสิ่งนี้เป็นรากฐานอยู่ ไม่ว่าจะปรับตัวอย่างไร รากฐานนี้ไม่ได้ถูกรื้อหรือสะสางอย่างจริงจัง แม้แต่หลัง 2475 และโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มันกลายเป็นอำนาจนิยมและเอียงเข้าข้างกษัตริย์ ให้อภิสิทธิ์แก่กษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ กราฟอาจไม่ใช่เส้นตรง มีขึ้นมีลง แต่แนวโน้มโดยทั่วไปกว่าศตวรรษเป็นแนวโน้มทำนองนั้น ทำให้รัฐบาลที่อ้างว่าปกป้องสถาบันกษัตริย์มีอำนาจอย่างเหลือล้นยิ่งกว่า ตอนนี้ยิ่งกว่า ‘ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ในยุคใดๆ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็น ‘การคาบเส้น’ อย่างเงียบๆ เรียบร้อยไปแล้ว อันนี้อาจเป็น Semi-absolute monarchy หรือขยับเข้าไปเป็นกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเงียบๆ ไม่ให้คนเห็น
ศาลยุติธรรมไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร เช่น ความกลัว ผลประโยชน์ รับใช้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ฯลฯ ก็ให้อภิสิทธิ์นี้เอื้ออำนวยแก่รัฐ อภิสิทธิ์ที่น่าเกลียดที่สุดและอันตรายที่สุด คือ อภิสิทธิ์ที่จะปลอดพ้นความผิด ลอยนวลพ้นผิด มันไม่ใช่แค่วัฒนธรรม แต่เป็นอภิสิทธิ์ทางกฎหมายที่ล้มรากฐานของ rule of law เป็นสิ่งตรงข้ามชนิดอยู่ด้วยกันไม่ได้
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ทำอย่างนั้น ถ้าเอาพฤติกรรมและคำตัดสินของศาลมาดู จะพบว่าเขาละเมิดเรื่อง rule of law อย่างคงเส้นคงวา คงเส้นคงวาในแง่ปกป้องสถาบันกษัตริย์ คงเส้นคงวาในแง่ให้อภิสิทธิ์รัฐเพื่อความมั่นคงของรัฐ เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญและระบบยุติธรรมที่พิจารณาไม่ให้ประกันนักเคลื่อนไหวด้วย ทั้งหมดนี้ทำงานอย่างคงเส้นคงวา
หลักสำคัญของ rule of law ที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกคือ ประชาชนเท่ากัน รัฐอย่ามายุ่มย่าม อย่ามาบังคับกะเกณฑ์โดยเอาความมั่นคงของรัฐเป็นใหญ่เหนือว่าผลประโยชน์หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ระบบกฎหมายที่ควรจะเป็นคือ อย่าให้รัฐมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคง เรื่องหน้าที่ เรื่องความรับผิดชอบของพลเมือง เหล่านี้เป็นข้ออ้างของนิติศาสตร์แบบไทยๆ ดังนั้น เราจำเป็นต้องข้ามให้พ้นนิติศาสตร์แบบไทยๆ นี้ซึ่งให้อภิสิทธิ์ทางกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งอภิสิทธิ์ลอยนวลพ้นผิด
ความหมายของความแฟร์เปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของสังคม คำตัดสินของศาลที่ดีไม่ใช่แค่ควรปรับตามค่านิยมต่างๆ ของมหาชนที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสมรสเท่าเทียม ปัจจุบันมันเปลี่ยนไปมากแล้ว ไม่ใช่แค่ความเห็นผู้คน แต่ความรู้ด้วย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปเยอะ ฉะนั้น การเปลี่ยนความหมายของความแฟร์จึงเป็นเรื่องปกติ
สังคมไทยพยายามจะวางตัวตรงกลางระหว่างความขัดแย้ง เพราะกลัวจะเอียงเข้าข้างความขัดแย้ง สุดท้ายพอคู่ขัดแย้งเอียงซ้ายมากไป เอียงขวามากไป เราวางตัวตรงกลางมันก็จะเป๋ไปทันที ถ้าถามว่าหลักอยู่ตรงไหน ลองถามลองประเมินความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปว่าอะไรที่คิดว่าควรจะเป็นอย่างกลางๆ เช่น อย่าทำร้ายกัน ทั้งรัฐกับประชาชนหรือประชาชนด้วยกัน หลักความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนก็ยึดหลักประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เป็นต้น ถ้าเมื่อไรที่ความเป็นกลางระหว่างสองฝ่ายทำให้เราเป๋ไปจากหลักนี้ อันนี้ไม่กลางแล้ว ถ้าเรายืนให้ดียึดหลักการ ไม่ว่าใครจะเป๋ไปข้างไหนเวลาทะเลาะกัน เราอาจจะกลางน้อยลงหน่อย แต่อย่างน้อยที่สุดสังคมมันพอจะมีหลักยึด และเป็นหลักที่คงเส้นคงวา
ในปาฐกถาป๋วยฯ ปีที่แล้ว ในส่วนของ ‘ราชนิติธรรม’ ผมได้เตือนว่ามันได้เขยิบ มีแนวโน้มที่จะใช้เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเหตุผลในการใช้อภิสิทธิ์มากขึ้น และเพื่อให้ระบบกฎหมายนี้ย้อนกลับไปผูกติดกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดทิศทาง แต่ไม่นึกว่าปรากฏการณ์ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเมื่อไม่นานมานี้มันจะเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้และรุนแรงกว่าที่คิดมาก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มหลักๆ ทั้งหมดมันเป็นเช่นนี้มานานแล้ว แม้แต่การอ้างเรื่องขอคืนผืนป่า เป็นการอ้างเรื่องความมั่นคงด้วย คนทั่วไปอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องป่าไม้ แต่ในทางกฎหมายมันเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด
ทางออกคือ ไปให้พ้นนิติศาสตร์แบบไทยๆ คือ 1. ยึดหลักการอย่างคงเส้นคงวา 2. มีความเป็นมืออาชีพ ในความหมายว่า เข้าใจและเคารพในภารกิจของวิชาชีพนั้นๆ 3 ขณะที่พูดเรื่องใหญ่ การแก้ปัญหากลับคิดว่าต้องเริ่มจากเรื่องเล็ก รูปธรรมกรณีต่างๆ แล้วลากให้ถึงปัญหาเชิงสถาบบัน ลากให้ถึงระบบกฎหมาย บ้านเราเวลาเถียงเรื่องกฎหมายจะเจอคำตอบที่เป็นสูตร “ปัญหาอยู่ที่คนบังคับใช้” การให้เหตุผลแบบนี้เป็นการซุกปัญหาไว้ใต้พรม
เรื่องพวกนี้ต้องการคนใจกล้า ทำตามหลัก มีความเป็นมืออาชีพมากกว่านี้หน่อย เช่น ถ้า TIJ จะผลักดัน มันจะ disrupt กระบวนการยุติธรรม เช่นการยึดหลักว่าต้องให้ประกัน หากมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ต้องดีเบท สู้กันไป อาจไม่เปลี่ยนชั่วข้ามวันข้ามคืน แต่ต้องลงมือกระทำการบางอย่างซึ่งอาจขัดกับบรรดาขวาสุดโต่ง แล้วเราจะได้เห็นการปะทะสังสรรค์กันในวงการยุติธรรม วงการตำรวจ
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/yOerk46ZF
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2564 เว็บไซต์ 101.world ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเครือข่ายด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา (RoLD) ชวนวิทยากรหลายคนคุยเรื่อง จินตนาการใหม่ ความยุติธรรมไทย หนึ่งในนั้นคือ 'ธงชัย วินิจจะกูล' จากภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.วิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา สรุปความได้ดังนี้
รากฐานนิติศาสตร์ไทยไม่ได้เป็นรากของ rule of law แต่เป็นนิติศาสตร์ของรัฐที่มีอภิสิทธิ์เหนือประชาชน ดังนั้นกฎหมายไทยจึงมีพัฒนาการโดยมีสิ่งนี้เป็นรากฐานอยู่ ไม่ว่าจะปรับตัวอย่างไร รากฐานนี้ไม่ได้ถูกรื้อหรือสะสางอย่างจริงจัง แม้แต่หลัง 2475 และโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มันกลายเป็นอำนาจนิยมและเอียงเข้าข้างกษัตริย์ ให้อภิสิทธิ์แก่กษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ กราฟอาจไม่ใช่เส้นตรง มีขึ้นมีลง แต่แนวโน้มโดยทั่วไปกว่าศตวรรษเป็นแนวโน้มทำนองนั้น ทำให้รัฐบาลที่อ้างว่าปกป้องสถาบันกษัตริย์มีอำนาจอย่างเหลือล้นยิ่งกว่า ตอนนี้ยิ่งกว่า ‘ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ในยุคใดๆ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็น ‘การคาบเส้น’ อย่างเงียบๆ เรียบร้อยไปแล้ว อันนี้อาจเป็น Semi-absolute monarchy หรือขยับเข้าไปเป็นกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเงียบๆ ไม่ให้คนเห็น
ศาลยุติธรรมไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร เช่น ความกลัว ผลประโยชน์ รับใช้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ฯลฯ ก็ให้อภิสิทธิ์นี้เอื้ออำนวยแก่รัฐ อภิสิทธิ์ที่น่าเกลียดที่สุดและอันตรายที่สุด คือ อภิสิทธิ์ที่จะปลอดพ้นความผิด ลอยนวลพ้นผิด มันไม่ใช่แค่วัฒนธรรม แต่เป็นอภิสิทธิ์ทางกฎหมายที่ล้มรากฐานของ rule of law เป็นสิ่งตรงข้ามชนิดอยู่ด้วยกันไม่ได้
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ทำอย่างนั้น ถ้าเอาพฤติกรรมและคำตัดสินของศาลมาดู จะพบว่าเขาละเมิดเรื่อง rule of law อย่างคงเส้นคงวา คงเส้นคงวาในแง่ปกป้องสถาบันกษัตริย์ คงเส้นคงวาในแง่ให้อภิสิทธิ์รัฐเพื่อความมั่นคงของรัฐ เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญและระบบยุติธรรมที่พิจารณาไม่ให้ประกันนักเคลื่อนไหวด้วย ทั้งหมดนี้ทำงานอย่างคงเส้นคงวา
หลักสำคัญของ rule of law ที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกคือ ประชาชนเท่ากัน รัฐอย่ามายุ่มย่าม อย่ามาบังคับกะเกณฑ์โดยเอาความมั่นคงของรัฐเป็นใหญ่เหนือว่าผลประโยชน์หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ระบบกฎหมายที่ควรจะเป็นคือ อย่าให้รัฐมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคง เรื่องหน้าที่ เรื่องความรับผิดชอบของพลเมือง เหล่านี้เป็นข้ออ้างของนิติศาสตร์แบบไทยๆ ดังนั้น เราจำเป็นต้องข้ามให้พ้นนิติศาสตร์แบบไทยๆ นี้ซึ่งให้อภิสิทธิ์ทางกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งอภิสิทธิ์ลอยนวลพ้นผิด
ความหมายของความแฟร์เปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของสังคม คำตัดสินของศาลที่ดีไม่ใช่แค่ควรปรับตามค่านิยมต่างๆ ของมหาชนที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสมรสเท่าเทียม ปัจจุบันมันเปลี่ยนไปมากแล้ว ไม่ใช่แค่ความเห็นผู้คน แต่ความรู้ด้วย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปเยอะ ฉะนั้น การเปลี่ยนความหมายของความแฟร์จึงเป็นเรื่องปกติ
สังคมไทยพยายามจะวางตัวตรงกลางระหว่างความขัดแย้ง เพราะกลัวจะเอียงเข้าข้างความขัดแย้ง สุดท้ายพอคู่ขัดแย้งเอียงซ้ายมากไป เอียงขวามากไป เราวางตัวตรงกลางมันก็จะเป๋ไปทันที ถ้าถามว่าหลักอยู่ตรงไหน ลองถามลองประเมินความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปว่าอะไรที่คิดว่าควรจะเป็นอย่างกลางๆ เช่น อย่าทำร้ายกัน ทั้งรัฐกับประชาชนหรือประชาชนด้วยกัน หลักความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนก็ยึดหลักประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เป็นต้น ถ้าเมื่อไรที่ความเป็นกลางระหว่างสองฝ่ายทำให้เราเป๋ไปจากหลักนี้ อันนี้ไม่กลางแล้ว ถ้าเรายืนให้ดียึดหลักการ ไม่ว่าใครจะเป๋ไปข้างไหนเวลาทะเลาะกัน เราอาจจะกลางน้อยลงหน่อย แต่อย่างน้อยที่สุดสังคมมันพอจะมีหลักยึด และเป็นหลักที่คงเส้นคงวา
ในปาฐกถาป๋วยฯ ปีที่แล้ว ในส่วนของ ‘ราชนิติธรรม’ ผมได้เตือนว่ามันได้เขยิบ มีแนวโน้มที่จะใช้เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเหตุผลในการใช้อภิสิทธิ์มากขึ้น และเพื่อให้ระบบกฎหมายนี้ย้อนกลับไปผูกติดกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดทิศทาง แต่ไม่นึกว่าปรากฏการณ์ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเมื่อไม่นานมานี้มันจะเกิดขึ้นเร็วขนาดนี้และรุนแรงกว่าที่คิดมาก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มหลักๆ ทั้งหมดมันเป็นเช่นนี้มานานแล้ว แม้แต่การอ้างเรื่องขอคืนผืนป่า เป็นการอ้างเรื่องความมั่นคงด้วย คนทั่วไปอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องป่าไม้ แต่ในทางกฎหมายมันเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด
ทางออกคือ ไปให้พ้นนิติศาสตร์แบบไทยๆ คือ 1. ยึดหลักการอย่างคงเส้นคงวา 2. มีความเป็นมืออาชีพ ในความหมายว่า เข้าใจและเคารพในภารกิจของวิชาชีพนั้นๆ 3 ขณะที่พูดเรื่องใหญ่ การแก้ปัญหากลับคิดว่าต้องเริ่มจากเรื่องเล็ก รูปธรรมกรณีต่างๆ แล้วลากให้ถึงปัญหาเชิงสถาบบัน ลากให้ถึงระบบกฎหมาย บ้านเราเวลาเถียงเรื่องกฎหมายจะเจอคำตอบที่เป็นสูตร “ปัญหาอยู่ที่คนบังคับใช้” การให้เหตุผลแบบนี้เป็นการซุกปัญหาไว้ใต้พรม
เรื่องพวกนี้ต้องการคนใจกล้า ทำตามหลัก มีความเป็นมืออาชีพมากกว่านี้หน่อย เช่น ถ้า TIJ จะผลักดัน มันจะ disrupt กระบวนการยุติธรรม เช่นการยึดหลักว่าต้องให้ประกัน หากมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ต้องดีเบท สู้กันไป อาจไม่เปลี่ยนชั่วข้ามวันข้ามคืน แต่ต้องลงมือกระทำการบางอย่างซึ่งอาจขัดกับบรรดาขวาสุดโต่ง แล้วเราจะได้เห็นการปะทะสังสรรค์กันในวงการยุติธรรม วงการตำรวจ
อ่านที่ https://www.voicetv.co.th/read/yOerk46ZF
...
ดูคลิปเสวนาที่ลิงค์นี้