วันศุกร์, ธันวาคม 17, 2564

ทางเลือกมีไม่มากเมื่ออยากสู้


Thanapol Eawsakul
December 13 at 7:11 AM ·

จาตุรนต์ ฉายแสง กลับเพื่อไทย คือชัยชนะของทักษิณ ชินวัตร
หรือปัญหาของการตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย ในปัจจุบัน
...................
แทบเป็นที่แน่นอนแล้วว่าพรุ่งนี้พรรคเพื่อไทยจะแถลงข่าวการกลับพรรคเพื่อไทยของ จาตุรนต์ ฉายแสง
ในฐานะคนที่ติดตามชีวิตทางการเมืองของจาตุรนต์ ฉายแสง ตั้งแต่การเริ่มเล่นการเมืองครั้งแรกหลังจากทิ้งปริญญาเอกคณะเศรษฐศาสตร์มาลงการเมืองที่ฉะเชิงเทรา เขต 1 แม้เจ้าตัวจะมีการย้ายพรรคมาหลายคร้งแล้ว
ผมคิดวา การกลับบ้านครั้งนี้ น่าจะเป็นความผิดหวังครั้งหนึ่งในชีวิตทางการเมืองของจาตุรนต์ ฉายแสง
ตั้งแต่มาอยู่พรรคไทยรักไทยในปี 2544 จาตุรนต์ ฉายแสง คือคนหนึ่งที่ยืนหยัดกับพรรคจนนาทีสุดท้าย
ภายหลังรัฐประหาร 2549 ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นรักษาการหัวหน้าพรรค สู้จนถึงวันสุดท้ายที่ ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และโดนตัดสิทธิการเมืองไป 5 ปี
เมื่อพ้นโทษแบบก็มารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอยู่จนวันสุดท้ายที่โดนรัฐประหาร (30 มิถุนายน 2556 – 22 พฤษภาคม 2557)
ภายใต้กติการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2560 จึงมีการแตกแบงค์พัน จาตุรนต์ได้รับมอบหมาบให้ไปเป็น แคนดิเตตนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ
แต่ด้วยสูตรพิศดาร ทักษิณ ไปเอาพี่สาวของในหลวง ร.10 มาเป็นแคนดิเดตนายก ของพรรคไทยรักษาชาติ แทนจาตุรนต์ ฉายแสง
จนส่งผลให้ถูกยุบพรรค และแพ้ทั้งกระดาน ในที่สุด เมื่อประยุทธ์ ได้เป้ฯนายกต่อทั้ง ๆ ที่พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเป็นอันดับ 1
ผมคิดว่าเป็นแผลในใจของจาตุรนต์ ไม่มากก็น้อย
ดังนั้นเราจึงเห็นท่าทีของจาตุรนต์ ที่ถอยห่างจากพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด
เช่นกรณีงบกลาง ที่เป็นดีเบทกันระหว่างพรรคฝ่ายค้ายด้วยกันเอง
จาตุรนต์ แปลกใจ เพื่อไทยโหวตเห็นด้วย !
โยก 1.6 หมื่นล้านเข้างบกลาง ให้บิ๊กตู่
https://www.springnews.co.th/feature/813918
พร้อม ๆ กับ ภารกิจสุดท้าย ในการตั้งพรรคใหม่
‘จาตุรนต์ ฉายแสง’ เปิดใจ ‘ภารกิจใหม่’ ตั้งพรรคเสนอทางออกประเทศ
https://www.matichon.co.th/.../special.../news_2907347
จาตุรนต์ยอมรับตั้งพรรคใหม่ เป็นอิสระไม่ใช่สาขาเพื่อไทย ยึดประชาธิปไตย สร้างการเมืองประชาชน
https://thestandard.co/chaturon-chaisang-admit-on.../
แต่อย่างที่ทราบการตั้งพรรคการเมืองใหม่ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยกติกาหยุมหยิมทำให้มีต้นทุนมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระบบบัตรใบเดียวของรัฐะรรมนูญ 2560 ก่อนแก้ไข ถ้าอยากได้คะแนนมาก ก็ต้อง ส.ส.เขตให้มากที่สุด
หรือระบบบัตร 2 ใบ หลังแก้ไข ก็มีแนวโน้มให้พรรคใหญ่ได้เปรียบ ทำให้พรรคขนาดกลางถึงเล็ก เสียเปรียบไปอีกแบบ
ข่าวเรื่องการ "ถอดใจ" ของคนในพรรคจาตุรนต์ ฉายแสง จึงออกมาเป็นระยะ ๆ
จนเมื่อมี "ข่าวหลุด" ออกมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ว่าจะตุรนต์จะกลับเพื่อไทย
(และไม่มีการปฏิเสธจากเจ้าตัว ก็แปลว่าทุกอย่างน่าจะเป็นจริง)
จาตุรนต์ ยุติพรรคเส้นทางใหม่ ย้ายครอบครัว “ฉายแสง” กลับเพื่อไทย
https://www.prachachat.net/politics/news-817266
ในวิถีนักการเมืองการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติ ถ้าดูจากเส้นทางของจาตุรนต์
พรรคประชาธิปัตย์ (2529 - 2531)
พรรคประชาชน (2531 - 2532)
พรรคชาติไทย (2532 - 2534)
พรรคความหวังใหม่ (2535 - 2543)
พรรคไทยรักไทย (2544 - 2550)- ถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
พรรคเพื่อไทย (2556 - 2561)
พรรคไทยรักษาชาติ (2561 - 2562)
พรรคเส้นทางใหม่ (2564)
แต่ถ้าสังเกตดูจาตุรนต์เมื่อออกมาแล้วจะไม่กลับไปพรรคเดิมอีก เว้นแต่ถูกตัดสิทธิ 5 ปีจากพรรคไทยรักไทยแล้วเข้าพรรคเพื่อไทย
ถ้าสรุปงานนี้จาตุรนต์ คือผู้แพ้
และทักษิณ ชินวัตร ก็คือผู้ชนะในเกมนี้
เพราะถึงที่สุดแล้ว พรรคทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นพรรค ไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อไทย ก็ "ชนะ" ในการเลือกตั้งมาตลอด แถมเลือกตั้งครั้งหน้าก็สามารถฝันถึงชัยชนะแบบแลนด์สไลด์ได้ รวมทั้งไม่ต้องปวดหัวเรื่องการเงินในพรรคอีก
รวมทั้งพรรคเพื่อไทยก็เป็นเซฟโซน เพราะไม่ "ทะลุเพดาน" ของการเมืองในสภาผู้แทนเหมือนพรรคก้าวไกล ที่โดนขู่ยุบพรรคเช้าเย็น ด้วยเรื่องข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
แต่อีกด้านหนึ่งเพราะการตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย ในปัจจุบัน ต้องมีต้นทุนที่สูงมาก ทั้งในแง่ข้อกฎหมายหยุมหยิม ต้นทุนการเงินที่มหาศาล กติกานับคะแนนที่ีไม่เอื้อสำหรับพรรคเล็ก
ทั้งหมดนี้ก็ทำให้คนอย่างจาตุรนต์ ฉายแสง ต้องกลืนเลือด กลับเพื่อไทย
ปล. ภาพประกอบ จาตุรนต์ ฉายแสง ในชุดนักโทษเพราะออกมาต่อต้านรัฐประหาร 2557อย่างเปิดเผย