เป็นที่รู้กันว่า ‘ซูเปอร์โพล’ (เดิมเรียก ‘เอแบ็ค’) ของ ‘นพดล กรรณิกา’ มีไว้เชียร์กับเลียอำนาจรัฐประหารและการสืบทอด ผลสรุปสำหรับปี ๒๕๖๔ ที่กำลังจะจากไปในอีกสี่ห้าวัน ยังมั่นคงกับหลักการ ‘เชลียร์’ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก ๖-๗ ปีที่ผ่านมา
จึงไม่แปลกที่ได้เห็นตำแหน่ง ‘คนดีของสังคม’ ได้กับ ‘ตูน บอดี้สแลม’ ผู้ที่กำลังอยู่ในใจกลางของกระแส ‘ทัวร์ลง’ ด้วยคำถามที่ว่า ‘วิ่งทำไม’ ในการจัดวิ่งแบบ ‘เวอร์ชวล’ สร้างวิมานบนอากาศเพื่อรับบริจาค ว่าจะเอาไปช่วยเด็ก ม.๓-๖ ซึ่งถูกรัฐบาลนี้ตัดออกไปจากโครงการเรียนฟรี
ยังมีคำถามประกบเข้าไปอีกด้วยว่า คราวที่แล้ววิ่งโด่งดังมาก ได้เงินบริจาคถึง ๑,๓๐๐ ล้านบาท แต่สาธารณะไม่ได้รับแจ้ง ไม่มีข้อมูลพลอมแพลมให้เห็นเลยว่าผ่านมาเป็นปี เอาเงินจำนวนนั้นไปทำอะไรบ้าง เห็นมีคนที่เขาเคยบริจาคให้ถามหา
อีกตำแหน่งอุปโลกโดยโพลกรรณิกา ‘บุคคลแห่งปี’ ได้กับเทพบุตรแห่งการ ‘ไม่รู้ๆ’ ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกรรณิกาบอกว่า “เป็นรองนายกฯ ที่ดูแลใส่ใจแก้ปัญหา (แบ่งเค้ก/แย่งหัวปลา) ด้วยตนเอง โดยเฉพาะความเดือดร้อนทุกข์ยากของคนฐานราก (แตก)”
ส่วน มิสเตอร์ ‘โฟโต้เจนิค’ คุณหมอที่ออกสื่อสังคมถี่มากเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรน่า จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก แรกๆ มีคนเชลียร์จะให้ส่งชิงรางวัลโนเบิ้ล แต่เจ้าตัวสนใจ ‘ซิโน’ มากกว่า หมอยง ภู่วรวรรณเอาไปครอง
ในแค้ทตากอรี่นี้มีข้อควรสังเกตุว่าปีนี้กรรณิกาจัดให้ถ้วนหน้า โดยเฉพาะอันดับสอง เหรียญทอง แน่นหนา เป็น ผอ.โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ ที่ก่อนโควิดมาก็มักจะฟัดกับพวกคนเสื้อแดง และเป็นนักแสดงละครสัตว์ห้อยโหนสถาบันกษัตริย์เก่งกาจ
โพลกรรณิกาบอกว่า ‘หมอนี่’ “อยู่ในกลุ่มต้นๆ ที่ออกตัวช่วยเหลือประชาชนผุ้ติดเชื้อโควิด” แต่ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสระลอกแรก แม่งประกาศไม่รับผู้ป่วยที่เป็นเสื้อแดงเสียงั้น เพราะเลือกปฏิบัติอย่างนี้ถึงได้ติดโพลกรรณิกาไง
ผู้ที่ได้อันดับสาม อยู่สถาบันจุฬาภรณ์ซึ่งจู่ๆ กลายเป็นผู้มีอำนาจเต็มนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัสรายหนึ่ง เทียบเท่าหน่วยงานหลักในทางระบาดวิทยาของรัฐ ช่วงที่ผู้คนร่ำร้องให้รัฐนำเข้าวัคซีนโควิดชนิด mRNA พี่เค้าก็ไปเอาซิโนฟาร์มมาขาย
เสร็จแล้วโพลกรรณิกาบอก ‘หมอนั่น’ มีความชอบ “ช่วยบริหารจัดการและคลี่คลายสถานการณ์เรื่องวัคซีนโควิด-๑๙” อีกทั้ง “อิบายเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่าย” กว่าหมอยงนิดนึง แต่ชาวบ้านฟังแล้วไม่ได้งงเลยละ แต่ไม่มีใครรู้เรื่อง เพราะหมอเค้าอยู่คนละโลกกับเราๆ
อย่างไรก็ดีโพลนี้เป็นแถกเดียวกับ รธน.ที่ “ออกแบบมาเพื่อพวกเรา” ของเค้า จึงเป็นเรื่องสมบัติผลัดกันชมเสียมากกว่าจะมีคุณค่าจริงจังอะไรกับส่วนรวม ในกระบวนการสำรวจความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับสภาพการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา ปีนี้มีเรื่องน่าผิดหวัง
การตั้งฉายาทางการเมืองโดยชมรมนักข่าว เคยเป็นกิจกรรมล้อเลียนที่ให้ผลกระตุกกระตุ้นความไม่ชอบมาพากล และชมเชยการสร้างมาตรฐานที่เป็นคุณต่อสังคม ปีนี้สื่อประจำรัฐสภายกเลิกตำแหน่ง ‘คนดีศรีสภา’ ไปเป็นการถาวร ก็โอเค
กับฉายาอื่นๆ สภาอับปาง (สภาผู้แทนฯ) ผู้เฒ่าเฝ้ามรดก คสช. (พวก สว.ครึ่งห้าร้อย) ร่างทรง ‘ตู่ตั้ง’ (พรเพชร วิชิตชลชัย) สมพงษ์ (อมรวิวัฒน์) ตกสวรรค์ ดาวดับ (ประธานวิปรัฐบาล วิรัช รัตนเศรษฐ์ และ วัคซีนเต็มแขน (อนุทิน ชาญวีรกูล)
ล้วนแสบสันต์ไม่ย่อมไปกว่าปีก่อนๆ ก็จริงอยู่ หากแต่ปีนี้ขาดหล่นปรากฏการณ์สำคัญไปอย่างไม่อยากให้อภัย ดังที่ Thanapol Eawsakul ทักไว้ใช่เลย เรื่องสถาบันกษัตริย์ที่ “ผู้สื่อข่าวรัฐสภาพร้อมใจกันเพิกเฉย” ต่อหมุดหมายอันสำคัญนี้
“คือการพูดและอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อย่างน้อยก็เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐประหาร ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ‘ตั๋วช้าง’ ตอนต้นปี หรืองบประมาณกษัตริย์ ช่วงกลางปี” เป็นความคืบหน้าของความพยายามนำประชาธิปไตยกลับคืนมา
ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นที่ ยิ่งชีพ (เป๋า)@yingcheep ให้ข้อคิดไว้ ควรตระหนักแล้วสานต่อในปี ๖๕ ว่า “ปารีณา ไกรคุปต์ ไม่อยู่ในสภาแล้ว สิระ เจนจาคะ ไม่อยู่ในสภาแล้ว วิรัตน์ รัตนเศรษฐ ไม่อยู่ในสภาแล้ว พุฒิพงศ์ ปุณณกันต์ ไม่อยู่ในสภาแล้ว
‘ธรรมนัส’ ยังอยู่ แต่คงไม่ค่อยพูดอะไรแล้ว ปีเดียวบรรยากาศเปลี่ยนไปเยอะนะ ฝ่ายเชียร์พลังประชารัฐจะแอบคิดบ้างไหมว่าศาลตัดสิทธิ ส.ส. แต่ฝ่ายตัวเอง” คงยาก เพราะฝ่ายนั้นติดเชื้อในสมอง ดังถ้อยถากถางที่ว่า “คุณเป็นสลิ่ม ไม่มีทางแก้”
(https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/4944431308957002, https://www.facebook.com/workpointTODAY/posts/1802528770116393 และ https://thestandard.co/government-nickname-list-2021/)