วันจันทร์, ธันวาคม 27, 2564

ทำไมเจ้าผู้ปกครองเลือกที่จะสร้างความกลัว ให้กับผู้คน ? อะไรจะเกิดขึ้น หากผู้คนก้าวข้ามความกลัว ? อ่านความเห็นของ Machiavelli


Ponchai Ponkul
Yesterday at 5:23 AM ·

ความรัก ความกลัว ความเกลียดชัง(ยาวมากใครไม่ชอบให้ผ่านไป)
ตอนที่1 ทำไมเจ้าผู้ปกครองจึงเลือกที่จะสร้างความกลัว ให้กับผู้คน?
-ในหนังสือ The Prince ของNiccolo Machiavelli บทที่17 มีข้อถกเถียงที่สำคัญว่า “การที่เจ้าผู้ปกครองเป็นที่รัก ย่อมดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัว???”
Machiavelli ตอบคำถามนี้ว่า เพราะเป็นการยากที่เจ้าผู้ปกครองจะเป็นทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน ดังนั้น #ถ้าเขาทำให้ผู้คนกลัว #เขาจะอยู่อย่างปลอดภัยมากกว่าการที่เขาทำให้ผู้คนรัก
………
ข้อสรุปของ Machiavelli นี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ดังนี้
-Machiavelli เชื่อว่า มนุษย์โดยทั่วไปแล้ว #อกตัญญูไม่รู้คุณคน #โลเลในเรื่องความจงรักภักดี #ปลิ้นปล้อนหลอกลวง #ขลาดกลัว #ละโมบ……(1)
-ตราบใดที่เจ้าผู้ปกครองยังคงประสบความสำเร็จอยู่ในอำนาจ ตราบนั้นพวกเขา(ข้าแผ่นดิน -subject) จะมอบกายถวายชีวิตให้แก่เจ้าผู้ปกครอง ……แต่ถ้าวันใดสถานการณ์คับขัน พวกเขาก็จะหันหลัง ทรยศเจ้าผู้ปกครองนั้น
-ดังนั้นเจ้าผู้ปกครองคนใดที่หลงวางเดิมพันของตน บนพันธะสัญญาของข้าแผ่นดิน(subject) แล้วละเลยข้อควรระวังอื่นๆ เจ้าผู้ปกครองคนนั้นจะฉิบหายในที่สุด ……มิตรภาพที่เจ้าผู้ปกครองมีกับพวกข้าแผ่นดิน(subject) เป็นมิตรภาพที่ได้มาด้วยการซื้อหา มันหาได้ง่าย แต่ไม่มั่นคง และไว้ใจไม่ได้ในสถานการณ์ที่คับขัน
-เพราะ Machiavelli เชื่อว่าข้าแผ่นดิน(subject) นั้นเป็นกลุ่มคนที่มีศีลธรรมต่ำ ดังธรรมชาติที่กล่าวไว้ใน(1) ดังนั้นเขาจึงเชื่อต่อไปว่า
-ถ้าพวกเขา-ข้าแผ่นดิน จะเลือกทำความขุ่นเคืองทำร้าย(offend)ใครสักคน พวกเขาจะเลือกทำกับคนที่พวกเขารักมากกว่าคนที่พวกเขากลัว ……เพราะความรักนั้นวางอยู่บนสายสัมพันธ์ของพันธะ (obligation)……แต่เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ เป็นดัง(1) สายสัมพันธ์ของพันธะนี้ จึงพร้อมที่จะแตกหายไปได้เสมอเมื่อผลประโยชน์อำนวย
-ตรงกันข้าม ความกลัว นั้นต่างจากความรัก เพราะมันที่วางอยู่บนความเกรงที่จะถูกลงโทษ ดังนั้น ความกลัวจึงไม่ใช่สายสัมพันธ์ที่จะแตกหายไปได้ง่ายๆเหมือนความรัก
……………
จากนี้ Machiavelli จึงลากข้อสรุปต่อไปว่า
-เมื่อเจ้าผู้ปกครองคนใดที่ไม่สามารถหรือไม่มีคุณลักษณะพอที่จะทำให้ผู้คนรักเขาได้ (2)……เขาก็ไม่ควรลังเลใจที่จะสร้างกลัวให้เกิดขึ้นกับผู้คน ไม่ควรกังวลกับชื่อเสียงที่จะเสียหายไปอันเนื่องมาจากการสร้างความกลัวนั้น……ขอแต่เพียง #อย่าทำให้ความกลัวกลายเป็นความเกลียดชัง
-Machiavelli เชื่อว่า #การทำให้ผู้คนกลัวโดยไม่สร้างความเกลียดชังนั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้(3) ตราบเท่าที่ #เจ้าผู้ปกครองไม่แตะต้องทรัพย์สินและผู้หญิงของพลเมืองและของข้าแผ่นดิน
-เขาจึงสอนเจ้าผู้ปกครองว่า……อย่าแตะต้องทรัพย์สินของคนอื่นเพราะมนุษย์จะลืมกลัวความตายทันทีที่มีใครมาแตะต้องทรัพย์สินนั้น
-นอกจากนี้ เขายังสอนอีกว่า เจ้าผู้ปกครองคนใดก็ตาม ถ้าลองได้มีชีวิตอยู่ด้วยการปล้นชิงเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เจ้าผู้ปกครองคนนั้นก็จะมีข้ออ้างในการปล้นชิงทรัพย์สินผู้อื่นอยู่ร่ำไป
…………
Machiavelli จึงสรุปในตอนท้ายว่า
-เพราะว่า มนุษย์จะรักใครชอบใครก็เป็นไปตามความพอใจของตน
-แต่มนุษย์จะกลัวใครนั้น ไม่ได้เป็นไปตามใจกำหนดของตน แต่เป็นไปตามการกำหนดของเจ้าผู้ปกครองที่เป็นผู้สร้างความกลัวนั้น
-ดังนั้นเจ้าผู้ปกครองที่ฉลาดเฉลียวจึงต้องเลือกทำให้ผู้คนกลัวเขามากกว่าทำให้ผู้คนรักเขา……เพราะความกลัวเป็นแบบแผนที่ควบคุมได้ง่ายกว่าความรัก……ขอแต่เพียง อย่าให้ความกลัวกลายเป็นความเกลียดชัง
เก็บความจาก THE PRINCE(Wisehouse Classics Education),Chapter XVII,Concern cruelty and clemency,and whether it is better to be loved than feared.Loc1058-1088
…………………
ตอนที่2 ความเห็นส่วนตัวบางประการ
A. สิ่งที่Machiavelli พูดและสอน
1.หนังสือเล่มนี้ได้จากความรู้และประสบการณ์จริงของMachiavelli ที่ทำงานการเมืองราว12ปี ในอิตาลี ……ดูได้จากตัวอย่างที่เขายกมาจากปวศทั้งยุคกรีกโรมัน และในอิตาลีช่วงนั้น
แม้จะเขียนมา500ปีแล้ว แต่ก็มีอิทธิพลอย่างสูงต่อชนชั้นปกครองทั่วโลก มันเป็นสุดยอดของเคล็ดลับวิชาที่สอนเจ้าผู้ปกครองว่า เป้าหมายสำคัญของเขาอยู่ที่ -เขาจะอยู่รอด รักษาอำนาจ และรักษารัฐ (principality)ของเขาได้อย่างไร!
2.เฉพาะอิทธิพลของบทที่17นี้ ส่งผลให้การใช้ Hard power อันได้แก่ กฏหมาย คุกตะราง กำลังอาวุธ ถือเป็น”Norm” ที่ไม่ต้องตั้งคำถามสำหรับเจ้าผู้ปกครอง ตลอดมา
-พูดง่ายๆ คิดอะไรไม่ออก ตำราบอกไว้ว่า “ขังไว้ก่อน ฆ่าไว้ก่อน ทำให้กลัวไว้ก่อน”……เรื่องอื่นค่อยคุยกันทีหลัง
3.Machiavelli เชื่อและสอนว่า การทำให้ผู้คนกลัวโดยไม่สร้างความเกลียดชังนั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้(3) ……ขอเพียงแค่อย่าแตะต้องทรัพย์สินและผู้หญิงของพลเมืองและข้าแผ่นดิน เท่านั้น
……………
B.สิ่งที่Machiavelli ไม่ได้พูด ไม่ได้สอน
4.สภาวะทางจิต ของเจ้าผู้ปกครองและผู้คน
4.1 #เจ้าผู้ปกครองคนใดที่ไม่ได้รักหรือไม่สามารถรักคนอื่นได้ (ไม่ได้หมายถึงความรักแบบหนุ่มสาว)ต่างหาก ไม่ว่าคุณลักษณะเช่นนี้จะเป็นผลมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือมาจากเหตุใดก็ตาม… เจ้าผู้ปกครองเช่นนี้ย่อมไม่สามารถหรือไม่มีคุณลักษณะพอที่จะทำให้ผู้คนรักเขาได้!!(2)…เพราะคุณไม่ได้รักคนอื่นต่างหาก คนอื่นจึงไม่รักคุณ!…เพราะคุณไม่สามารถรักคนอื่นได้ต่างหาก คนอื่นจึงไม่รักคุณ!
4.2เส้นแบ่งระหว่างความกลัวและความเกลียดชังนั้นบางมากๆๆๆ
เขาได้เตือนเจ้าผู้ปกครองว่าอย่าแตะต้องทรัพย์สินของพลเมือง อย่าแตะต้องทรัพย์สินของข้าแผ่นดิน ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจต้อง #รวมถึงการไม่แตะต้องทรัพย์สินของชาติของแผ่นดิน ด้วย
เมื่อไรที่เจ้าผู้ปกครองละเมิดสิ่งนี้ ผู้คนก็จะก้าวข้ามเส้นแบ่งของความกลัวและความเกลียดชัง……เมื่อนั้นการสร้างความกลัวโดยไม่สร้างความเกลียดชังจึงไม่ใช่สิ่งที่ไปกันได้(3)ตามที่Machiavelli สอนอีกแล้ว……สิ่งที่เหลือจึงมีแต่ ความเกลียดชัง!
5.Machiavelli ไม่ได้สอนว่า เจ้าผู้ปกครองควรทำอย่างไรในสถานการณ์ที่ความกลัวของผู้คนได้หมดสิ้นไปเหลือแต่ความเกลียดชัง
-เมื่อไม่มีคำสอน และเจ้าผู้ปกครองเองก็เต็มไปด้วยความกลัวและความเกลียด……จึงไม่มีอะไรที่เจ้าผู้ปกครองจะทำได้มากไปกว่าการเดินหน้า #สร้างความกลัวให้กับผู้คนต่อไป โดยอาศัย Hard power “ขังไว้ก่อน ฆ่าไว้ก่อน ทำให้กลัวไว้ก่อน”… เรื่องอื่นค่อยคุยกันทีหลัง
-แต่นั่นยิ่งก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ ที่ปีนเกลียวสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างความกลัวและความเกลียดชัง
-สิ่งที่ตามมาแน่นอนคือความฉิบหายของเจ้าผู้ปกครองและรัฐ (principality)ของเขา……ถึงตอนนั้น ต่อให้ขุดศพ Machiavelli กลับขึ้นมาเป็นกุนซือ ก็สายไปเสียแล้ว!
…………………
รู้ครับว่า มันเป็นการบังอาจมากสำหรับชาวบ้านอย่างผม ที่พูดถึงgreat bookเล่มนี้ แต่บรรยายกาศมันเกินห้ามใจจริงๆ
-ถอดความตามความเข้าใจฉบับภาษาอังกฤษ…ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยไว้ มันไม่ง่ายที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษที่มีไวยากรณ์ซับซ้อนและแปลจากภาษาอิตาลีซึ่งเขียนเมื่อ500ปีที่แล้ว
-ผู้สนใจกรุณาอ่านเปรียบเทียบหลายๆเวอร์ชั่น นะครับ
...


Ponchai Ponkul
December 21 at 6:51 PM ·

การเลือกผู้ช่วย หรือคนใกล้ตัวเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเจ้าผู้ปกครอง(Prince,Ruler)
และ #วิธีแรกในการประเมินสติปัญญาของเจ้าผู้ปกครองคือให้ดูที่คนใกล้ตัวเขา
อยากรู้ว่ากษัตริย์Louis XVI มีสติปัญญาแค่ไหน ก็ดูที่คนใกล้ตัวเขา
หมายเหตุ
The Princeฉบับ(Wisehouse Classic Edition),Translated by W.K.Marriot,Chapter XXII,Concerning of secretaries of princes,Loc1391 แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า…
“And the first opinion which one forms of a prince,and of his understanding,is by observing the men he has around him.”