ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Charnvit Kasetsiri
14h ·
Credit สุชาติ สวัสดิ์ศรี
เมื่อลมเปลี่ยนทิศ
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "อนุสาวรีย์ปราบกบฎ" ( หมายถึง "กบฎบวรเดช" เมื่อปี พ.ศ.2476 ) และมีความเป็นมาดังปรากฎข้อเท็จจริงในฐานะที่เป็นวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตาม " พ.ร.บ.โบราณสถานฯ " ของกรมศิลปากร มีหลักฐานปรากฎอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นการที่ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ได้ถูกเคลื่อนย้ายหายไป โดยไร้ร่องรอย หน่วยงานราชการในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร ที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรมจึงย่อมต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมาย และหากไม่ปฎิบัติตามกฎหมายก็จะต้องมีความผิด ( ย้อนหลัง ) ในฐานะ "ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ตาม ม.157"
ตามข้อเท็จจริง อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฎ ( บวรเดช )" ดังกล่าวนี้ ได้ถูกเคลื่อนย้ายหายไปอย่างมีพยานรู้เห็น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2561 ดังนั้นจึงอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม และนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
.....
คิดอย่าง
December 28, 2018 ·
"...#กระทรวงกลาโหมขออุททิศอนุสสาวรีย์นี้ไว้แก่ชาติไทย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติเตือนใจชาวไทยว่า อย่าแตกความสามัคคีกันทั้งการคิด การพูดและการทำ หากแม้ว่าสิ่งระลึกเตือนสะเทือนใจนี้จะเป็นคุณประโยนช์แก่บ้านเมืองแม้แต่น้อย ก็ขอให้ผลอันนี้ได้ไปเป็นเครื่องประดับวิญญาณแก่สหายที่รักผู้กล้าหาญของเกล้ากระหม่อมทั้ง 17 นายนั้นตลอดกาล" (1)
.
#อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
.
ชื่ออื่น ๆ : #อนุสาวรีย์ทหารปราบกบฏ #อนุสาวรีย์_17_ทหารและตำรวจ #อนุสาวรีย์หลักสี่ #อนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม #อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
.
สร้างเพื่อเชิดชูเกียรติ และรำลึกถึงทหาร ตำรวจฝ่ายคณะราษฎรที่เสียชีวิตในการรบปะทะกับกองกำลังกบฏที่นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดชในปี พ.ศ.2476
.
#ออกแบบโดย_พันโทหลวงนฤมิตรเรขการ (เยื้อน นฤมิตรเรขการ) อาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอาร์ตเดคโค ผสมความนิยมโครงสร้างคอนกรีตแบบไทยโมเดิร์น
.
#การออกแบบมุ่งหมายให้อนุสาวรีย์มีลักษณะ_เรียบง่าย_สง่างาม_และทันสมัย แวดล้อมด้วยสัญลักษณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรัฐธรรมนูญอันเป็นสิ่งสูงสุด
.
ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการใช้คุณลักษณะสมัยใหม่ในการออกแบบ แต่อนุสาวรีย์นี้ก็ยังปรากฏเค้าของการใช้องค์ประกอบทางศาสนาคือดอกบัว ซึ่งยังสามารถเชื่อมโยงเรากลับไปถึงการทำ #เจดีย์บรรจุอัฐิอย่างจารีต
.
(พันโทหลวงนฤมิตรเรขการ ยังเป็นผู้เดียวกับที่ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างเมรุพระราชทานเพลิงศพทหารตำรวจที่เสียชีวิตในการปราบกบฏ ซึ่งตั้งขึ้นที่สนามหลวงอีกด้วย)
.
#ตัวอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่บนอัฒจรรย์ 5 ชั้น ออกแบบเป็นรูปเสาคล้ายกระสุนปืนใหญ่ หรือปลียอดเจดีย์ ในผังแปดเหลี่ยม (สี่เหลี่ยมปาดมุม) มีกลีบบัวประดับซ้อนกันขึ้นไป 2 ชั้น ยอดของกลีบบัวมีพานรัฐธรรมนูญอันสะท้อนถึงการสละชีพเพื่อรักษารัฐธรรมนูญ ผนังด้านทิศตะวันตกเป็นด้านหน้า จารึกรายชื่อ ทหารตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิตในการปราบกบฏ
.
#นามจารึกของ_17_ทหารและตำรวจวีรชนแห่งชาติ (2)
(ปรับปรุงรายชื่อใหม่ให้ตรงตามแผ่นป้ายจารึก)
.
1.นายพันโท หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล)
2.นายร้อยเอก ขุนศุกรนาคเสนีย์ (เจือ ศุกรนาค)
3.นาร้อยตำรวจเอก ขุนประดิษฐสกลการ (ไปล่ จันทรประดิษฐ์)
4.นายร้อยโท น่วม ทองจรรยา
5.นายร้อยตำรวจตรี ทอง แก่นอบเชย
6.นายดาบ ละมัย แก้วนิมิต
7.นายดาบ สมบุญ บัวชม
8.จ่านายสิบ หล่อ วงศ์พราหมณ์
9.จ่านายสิบ แฉล้ม ศักดิ์ศิริ
10.นายสิบเอก ชั้ว เผือกทุ่งใหญ่
11.นายสิบเอก ทองอิน เผือกผาสุข
12.นายสิบเอก เช้า สุขสวย
13.นายสิบเอก บุญช่วย สุมาลย์มาศ
14.นายสิบเอก พัน ยังสว่าง
15.นายสิบเอก จัน ศุขเนตร
16.นายสิบ ดา ทูคำมี
17.จ่านายสิบ หลิม เงินเจริญ
.
#ผนังด้านทิศใต้สลักเป็นรูปครอบครัวชาวนา ประกอบด้วยสามีถือเคียว ภรรยาถือรวงข้าว และบุตรถือเชือกมนิลา อันสื่อถึงราษฎรในอุดมคติ และสะท้อนลักษณะสำคัญของงานศิลปกรรมในยุคคณะราษฎรที่เน้นภาพเสมือนจริงของสามัญชน
.
#ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักร สื่อถึงศาสนาในองค์ประกอบ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คุ้มพงษ์ หนูบรรจง เสนอว่า ธรรมจักร สื่อถึงความสงบ และสันติสุขของบ้านเมืองหลังเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช (3)
.
#ด้านทิศตะวันออกเป็นโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสสติ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เป็นตัวแทนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังสื่อถึงการเสียสละเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้
.
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479 พันโทหลวงนฤมิตรเรขการ ผู้ออกแบบยังได้เป็นผู้นำอัฐของวีรชนทั้ง 17 นายเข้าไปตั้งในแท่นภายในอนุสาวรีย์ และปิดผนึกทางเข้าด้านทิศตะวันตกด้วยแผ่นทองแดงจารึก 17 รายนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดอนุสาวรีย์อย่างสมบูรณ์
.
#อ้างอิง
.
(1) คำกราบทูลของหลวงพิบูลสงครามต่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการเปิดอนุสาวรีย์ อ้างจาก : "ศรัญญู เทพสงเคราะห์ : อนุสาวรีย์ปราบกบฏกับการรำลึกวีรชนผู้พิทักษ์การปฎิวัติ พ.ศ. 2475 - ศิลปวัฒนธรรม 34,12 o.115-117
.
(2) เพิ่งอ้าง น.116
.
(3) อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ : ร่องรอยแห่งความหมายและความทรงจำ วารสารหน้าจั่ว ฉ.13 2559 โปรดดู : https://www.tci-thaijo.org/index.../NAJUA/article/view/72875
.
บางส่วนเก็บความจากบทความ ศรัญญู เทพสงเคราะห์ : อนุสาวรีย์ปราบกบฏกับการรำลึกวีรชนผู้พิทักษ์การปฎิวัติ พ.ศ. 2475 - ศิลปวัฒนธรรม 34,12