วันศุกร์, กันยายน 03, 2564

"บางครั้งความวุ่นวายไม่ได้ทำให้สังคมล่มสลาย และมันสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมได้ .. ความปั่นป่วนไม่ใช่เรื่องร้ายแรงถึงขั้นต้องปฏิเสธไม่ให้มีการประท้วงเกิดขึ้น"



The101.world
15h ·

"บางครั้งความวุ่นวายไม่ได้ทำให้สังคมล่มสลาย และมันสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมได้ .. ความปั่นป่วนไม่ใช่เรื่องร้ายแรงถึงขั้นต้องปฏิเสธไม่ให้มีการประท้วงเกิดขึ้น"
.
จากเหตุการณ์ปะทะที่สามเหลี่ยมดินแดงและปฏิบัติการตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐโดยกลุ่มเยาวรุ่นทะลุแก๊ส - ทะลุแก๊ซ ทำให้สังคมไทยกลับมาถกเถียงถึงหลักสันติวิธี นิยามความรุนแรงและความวุ่นวายอีกครั้ง
.
101 คุยกับ ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล และนักวิชาการอิสระผู้ศึกษาการต่อสู้ด้วยสันติวิธีของขบวนการภาคประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ผู้ที่ยืนยันว่าสันติวิธีไม่อาจถูกตีกรอบจำกัดจากคนวงนอกการปะทะ : https://www.the101.world/pakawadee-veerapaspong-interview/
.
"สันติวิธีเป็นเครื่องมือของคนที่อ่อนแอกว่าในการต่อสู้ โดยทั่วไป นักสันติวิธีสายปฏิบัติจึงพยายามนิยามให้กว้างที่สุดเพื่อเพิ่มอำนาจให้คนอ่อนแอ"
.
"ถ้าผู้ประท้วงบอกว่าจะชุมนุมโดยสันติ แต่โกรธเกรี้ยวและลุกขึ้นตอบโต้เมื่อมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐ นั่นก็เป็นเรื่องปกติในโลกการต่อสู้ ปัญหาคือบางครั้งสังคมไทยเข้าใจว่าสันติวิธีต้องไม่ตอบโต้อะไรเลย ... ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐยิงกระสุนยางมา เราโมโห ขว้างขวดน้ำกลับไป ซึ่งทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่คุณจะไม่นับว่าเป็นสันติวิธีหรือ? การตอบโต้เพราะความโกรธจากการถูกกระทำเป็นความรุนแรงในสายตาคุณหรือ?"
.
"เราอยากเรียกร้องให้ประชาชนที่ลงไปปะทะมีโอกาสเป็นผู้นิยามสันติวิธีของตัวเอง เพราะเขามีประสบการณ์ สัมผัสอารมณ์ความรู้สึกในตอนปะทะ ถ้าให้คนที่ลงไปปฏิบัติจริงเป็นผู้นิยามจะสร้างพื้นที่ของสันติวิธีในไทยได้มากกว่าเดิม"
.
"นักปฏิบัติการสันติวิธีต้องเป็นผู้นำของสังคมในการผลักให้เกิดมุมมอง ทัศนคติที่ต่างไปจากเดิมด้วย พูดง่ายๆ ว่านักสันติวิธีเชิงปฏิบัติคือคนที่สั่นคลอนสังคมให้คิดใหม่ มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การต่อสู้ ช่วงแรกคนในสังคมแทบทุกสังคมมักติดอยู่กับแนวคิดเดิมๆ กฎระเบียบเดิมๆ และนักสันติวิธีจะรับบทบาทท้าทาย ตั้งคำถามต่อสังคม ทำให้คนสะดุดกับความเชื่อเดิมจนต้องลุกขึ้นมาถกเถียงกันว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด"