Backpack Journalist
20h ·
“รัฐทวงคืนผืนป่าอย่างเอาเป็นเอาตายกับคนยากคนจน
แต่กลับเอาป่าสมบูรณ์ ไปให้นายทุนสัมปทานทำเหมือง”
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
.
ตอกย้ำทั้งความเจ็บปวดจากนโยบายรัฐที่เห็นประชาชนเป็นศัตรู
กับ 7 ปี นโยบายทวงคืนผืนป่าที่ประชาชน คนจน ชาติพันธุ์ถูกผลักให้เป็นอาชญากร
กับนโยบายรัฐที่อาจารย์ไชยณรงค์มองว่า เป็นนโยบายที่ลดพื้นที่ป่ามากกว่าเพิ่มจากการประเคนให้นายทุน
.
นโยบายทวงคืนผืนป่า คือ การที่รัฐใช้นโยบายและกฎหมายก่ออาชญากรรมกับคนจน และทำให้คนจนจำนวนมากทั่วประเทศต้องตกเป็นอาชญากร เป็นนโยบายที่อยู่บนฐานอำนาจนิยมที่มีทหารอยู่เบื้องหลัง ผศ.ดร.ไชยณรงค์กล่าวว่า... “นโยบายทวงคืนผืนป่า ในปี 2557 ของ คสช. เหมือนกับสมัยรัฐประหาร รสช. เป๊ะ”
.
“การอนุรักษ์แบบนี้ตกยุคและขัดต่อกระแสสากล เป้าหมายการอนุรักษ์แบบนี้ ป่าจะสมบูรณ์แต่คนจะยากจน ซึ่งในขณะเดียวกันเราพบว่า รัฐมองชาวบ้านเป็นศัตรู ซึ่งเป็นทัศนคติแบบทหาร มองว่าชาวบ้านเป็นต้นต่อของการลดลงของป่า แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเราพบว่านโยบายรัฐ ตั้งแต่การสัมปทานทำไม้และการปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ สาเหตุหลักในการลดลงของป่า และสิ่งที่เกิดขึ้นจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ไม่ได้แตกต่างไปจากสิ่งที่เกิดขึ้นตอนที่มีการไล่รื้อ และอพยพคนในยุคของเผด็จการทหาร รสช. ในปี พ.ศ. 2534 ที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% ของประเทศ"
.
.
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ ยกตัวอย่างและตั้งข้อสังเกตหลายคดี หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า นโยบายทวงคืนผืนป่าเป็นสิ่งที่มองประชาชนเป็นศัตรูอย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่การกำลังพลลงพื้นที่พร้อมอาวุธสงคราม วิธีการสร้างหลักฐานแบบมัดมือชก ไปจนถึงการขมขู่ให้เซ็นเพื่อดำเนินคดี ที่งานนี้ตัวเลขการยึดคืนพื้นที่ที่แลกมาจากความเจ็บปวดของประชาชน
.
ยกตัวอย่างกรณีของภูพานที่เจ้าหน้าให้ชาวบ้านไปยืนชี้แปลง โดยที่ชาวบ้านเข้าใจว่าจะได้ที่ดินทำกิน แต่เจ้าหน้าที่กลับเอาตรงนี้มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีกับชาวบ้าน และในบางพื้นที่ก็มีการข่มขู่ให้คืนที่ดิน ข่มขู่ให้ยอมเซ็นแล้วดำเนินคดี
.
“นี่เป็นความเจ็บปวด เพราะสำหรับชาวบ้านมองว่านี่เป็นการทำสงคราม เขาทำอะไรไม่ได้นอกจากนั่งร้องไห้ให้กับทรัพยสินที่พวกเขาพยายามสร้างขึ้นมา เพียงเพื่อให้ตัวเอง และลูกหลานดำรงชีวิตอยู่ได้ จะเห็นได้ว่าหน่วยงานที่ไปทวงคืนผืนป่าจะมีตัวเลขว่าวันนี้ยึดพื้นที่ได้เท่าไร”
.
และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่นิทานแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทวงคืนผืนป่า ที่ไม่ได้กระทบแค่คน 1 คน แต่ส่งผลกระทบไปถึงอีกหลายคนที่อยู่ข้างหลัง
“มีการดำเนินการกับชาวบ้านในหลายพื้นที่ซึ่งที่หนักที่สุดคือที่บ้านจัดระเบียบ อ.ภูพาน จ.สกลนคร ที่โดนทั้งหมู่บ้าน 34 คน 37 คดี หลายคนติดคุก บางคนอายุ 70 กว่าปีตาแทบจะมองไม่เห็นก็ติดคุก คนจนทั้งนั้นครับ มีอีกกรณีหนึ่งภรรยาติดคุก สามีไปที่โรงพักเพื่อขอเปลี่ยนตัวเพราะไม่มีใครหุงหาอาหารให้กับแม่ที่อายุมาก และลูก ผลที่ออกมา คือ ถูกจับทั้งสามีทั้งภรรยา แม่ที่อยู่ที่บ้านก็ช็อกเสียชีวิต ลูกก็กลายเป็นคนสติไม่ดี”
.
ยังมีอีกหลายข้อสังเกตที่อาจารย์ไชยณรงค์บอกว่าเป็นสิ่งที่รัฐมองผิด อย่างการดำเนินคดีโลกร้อนกับประชาชน ที่อาจารย์เห็นว่า คนที่ทำให้โลกร้านจริงๆ คืออุตสาหกรรม การดำเนินคดีโลกร้อนนี้จึงไม่ต่างไปจากการรักแกและก่ออาชญากรรมกับคนจนอย่างชัดเจน ก่อนที่จะทิ้งท้ายปิดวงสนทนาด้วยข้อเสนอ 5 ข้อ
.
ข้อแรก คือ รัฐต้องใช้หลักความรู้ใหม่ เปลี่ยนทัศนคติว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้
.
“ไทยมีความรู้ในการจัดการป่าเยอะแยะมากมาย แต่รัฐเลือกใช้ความรู้แบบนิเวศวิทยากระแสหลัก ซึ่งเป็นความรู้ที่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติ เหมือนรัฐเอามาจัดการป่าเลยเป็นการแยกคนออกจากป่า และตอนนี้สังคมเราไม่ได้อัปจนถึงขั้นเราต้องเลือกทางเดียวอย่างที่รัฐบาลทำอยู่ ผมเสนอให้หาความรู้อื่นๆ มีอีกหลายความรู้ที่ยอมรับคนอยู่กับป่า ป่าสมบูรณ์ คนไม่ยากจนเราสามารถทำได้ ไม่ใช่จัดการแบบที่ผ่านมาคือ ป่าสมบูรณ์ แต่คนยากจน คนเป็นอาชญากร”
.
ข้อสอง คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการป่า ซึ่งอาจารย์บอกว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าเป็นสิ่งที่สำคัญ และได้มีการพิสูจน์ในหลายพื้นที่ ในหลายประเทศว่าการมีส่วนร่วมมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้มากกว่าการให้รัฐลงมาจัดการเพียงฝ่ายเดียว
.
“เราเห็นกรณีของป่าชัดเจนว่ารัฐมีอคติกับคนจน ไม่มีอำนาจต่อรองก็ไปดำเนินคดีเขา ทำให้เห็นความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันรัฐทวงคืนผืนป่าอย่างเอาเป็นเอาตายกับคนยากคนจน แต่กลับเอาป่าสมบูรณ์ที่มีลักษณะนิเวศเฉพาะ อย่างป่าทับกวาง หรือ 3 พันไร่ไปให้นายทุนสัมปทานทำเหมือง หรืออุทยานเขาใหญ่ที่เป็นมรดกโลก ก็มีแผนการสร้างเขื่อน 8-9 เขื่อนซึ่งทำลายป่าอย่างถาวรเลย นโยบายแบบนี้ถ้าไม่มีส่วนร่วมก็จะตรวจสอบไม่ได้ ทวงที่ดินจากคนยากคนจน ทวงป่าแต่เอาไปประเคนทุน แบบนี้ไม่ยุติธรรม”
.
.
“เราจะไปหวังว่าจะเป็นมรดกโลก ผมทำนายเลยว่าเป็นไปไม่ได้ตราบใดที่คุณยังรังแกพี่น้องบางกลอย”
.
ประโยคเด็ดจากข้อเสนอที่ 3 ของอาจารย์ไชยณรงค์ ที่ใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้นจริง คือ มีกฎหมายป่าไม้ที่มีมิติสังคม มิติชุมชนอยู่ในนั้น กฎหมายที่ไม่มองประชาชนเป็นศัตรู โดยใช้ มติ ครม 3 สิงหาคม 2553 (แนวทางและนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง) ที่จะแก้ปัญหาให้กับกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ได้ และจะเป็นโมเดลในการแก้ไขปัญหาการทวงคืนผืนป่า โดยที่รัฐจะต้องมีการบังคับใช้ในหน่วยการราชการที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้
.
“กฎหมายทุกฉบับมองประชาชนเป็นศัตรูหมดมีแต่ดำเนินคดีๆ เรื่องสิทธิชุมชน เรื่องสิทธิตามประเพณีไม่มีอยู่ในตัวบทกฎหมาย และไม่มีอยู่หัวของนักการจัดการป่าไม้ เลยเกิดปัญหาแบบพี่น้องบางกลอย โลกเขาไปถึงไหน เขามีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมือง เราไม่เคยปฏิบัติ เราไม่เคยรู้เลย เราจะเอาแต่ป่าอย่างเดียว แล้วเราจะไปหวังว่าจะเป็นมรดกโลก ผมทำนายเลยว่าเป็นไปไม่ได้ตราบใดที่คุณยังรังแกพี่น้องบางกลอย โลกไปถึงไหน แต่นักการจัดการป่าไม้ไทยอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้”
.
ข้อเสนอที่ 4 คือ ผู้ที่ถูกทวงคืนผืนป่า ต้องมีกองทุนในการเยียวยา
ซึ่งได้มีการยกตัวอย่าง พ่อสมคิดที่จะออกจากคุกในอีก 18 เดือนข้างหน้า พ่อสมคิดไม่มีลูกหลาน ไม่มีญาติพี่น้องเลย ท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งเองอาจารย์ก็มีการตั้งคำถามว่ากรณีแบบนี้ “เราจะดูแลเขาอย่างไรกับคนจนจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังจากนโยบายทวงคืนผืนป่าที่ยังคงต่อเนื่องในปัจจุบัน” นำมาสู่ข้อเสนอนี้
.
และข้อเสนอสุดท้าย คือ การนำทหารออกไปจากการจัดการป่าไม้ของชาติ รวมถึงการจัดการทรัพยากรทุกอย่าง“อันนี้คือปัญหาใหญ่ของรัฐไทยที่นำไปสู่การจัดการทรัพยากรในลักษณะอำนาจนิยม ไม่มีมิติสังคมเลย ใช้แต่อำนาจกฎหมาย อำนาจจับขังคุก อย่างที่มีคนถูกจับขังในหลายพื้นที่ ผมคิดว่าทหารไม่ควรมาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ที่มีความละเอียด มีความสลับซับซ้อน จะคิดแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่าไม่ได้”
.
.
ชมคลิปย้อนหลัง: https://web.facebook.com/BackpackJournalistTPBS/videos/251248886771747/
.
#BackpackJournalist #ทวงคืนผืนป่า #คนกับป่า #คดีรุกป่า #ThaiPBS #ที่ดินคือชีวิต
Backpack Journalist was live.
June 13 at 5:08 AM ·
7 ปี ทวงคืนผืนป่า สู่ปีแห่งการเดินหน้าแก้ปัญหาที่ดิน
34,804 คดี ช่วง ต.ค. 2556 - ก.ย. 2561
เป็นคดีที่ชาวบ้านถูกดำเนินคดีรุกพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้
46,600 คดี ในระยะ ต.ค.2556 - ก.ย.2562
เป็นคดีที่ชาวบ้านถูกดำเนินคดีรุกพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ
.
เกือบ 1 แสนคดีรุกป่าในช่วงที่รัฐบาลเดินหน้า “ทวงคืนผืนป่าเป็นของชาติ”
.
7 ปี ทวงคืนผืนป่า อธิบดีกรมป่าไม้ เคยให้สัมภาษณ์ว่า ในมุมของคนทำงาน ยังยืนยันว่านโยบายทวงคืนป่าในรัฐบาล คสช.จนถึงปัจจุบัน(2562) ได้ผลดี จากเดิมประเทศไทยเคยมีปัญหาบุกรุกป่ามากกว่าปีละแสนไร่ ลดลงเหลือปีละหมื่นไร่
.
7 ปี ทวงคืนผืนป่า ภาคประชาสังคมที่ทำงานเรื่องนี้มองว่า ทำให้เห็นรอยร้าวความขัดแย้งระหว่าง เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนหลายพื้นที่
.
7 ปี ทวงคืนผืนป่า ชาวบ้านเดินทางขอให้ยกเลิกนโยบายละกระจายสิทธิคืนให้ชุมชน ซึ่งจำนวนไม่น้อยอยู่มาก่อนประกาศกฏหมายป่าไม้
.
.
กะเทาะรากการจัดการป่า การจัดการที่ดิน จากคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 ถึง “แผนแม่บทป่าไม้ฯ” ที่รัฐไทยใช้เป็นเครื่องมือสร้างป่าเพิ่ม ชวนกันมองสะท้อนปัญหาและปรับเข็มทิศสู่ทางออก กับ เสวนา Online BackpackJournalist X ที่ดินคือชีวิต
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564 (17.00-18.30 น.)
แลกเปลี่ยนไปกับ วิทยากร 5 ท่าน
.
สมชาติ รักษ์สองพลู ชาวกะเหรี่ยงบ้านกลาง จ.ลำปาง
พรพนา ก๊วยเจริญ กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เล่าฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ผู้ประสานงานศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
สาทิตย์ วงษ์หนองเตย คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำเนินรายการ
วิภาพร วัฒนวิทย์ Backpack Journalist