The Momentum
June 20 at 4:00 AM ·
เสากินรีคือการโกงกินในระบบ ที่ใช้คำว่าวัฒนธรรมและนวัตกรรมมาครอบ
.
หลังมีการเปิดเผยเรื่องราวของเสาไฟฟ้ากินรีหลายต้น ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่การทุ่งหญ้ารกร้างในตำบลราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างความสงสัยให้กับผู้พบเห็นอย่างมาก ว่าเหตุใดผู้รับผิดชอบท้องที่อย่างองค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ จึงต้องสร้างเสาไฟฟ้าราคาแพงจำนวนมากเอาไว้ในสถานที่เช่นนั้น และที่สำคัญ ยังมีระยะห่างในการตั้งที่ค่อนข้างแคบ จนเหมือนกับว่าไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะให้แสงสว่างแต่อย่างใด
.
ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาก็คือ เรื่องราวของเสาไฟหน้าตาแปลกๆ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ราชาเทวะเพียงที่เดียว แต่องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลอีกหลายแห่งทั่วประเทศ ก็มีเสาไฟหน้าตาแปลกประหลาดและราคาแพงแบบเดียวกันทั่วไปหมด ราวกับเป็นแฟชั่นใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.
The Momentum พูดคุยประเด็นนี้กับ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมชวนวิเคราะห์ถึงปัญหาการโกงกินในแวดวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเขามองว่าเสาไฟกินรีเป็นหนึ่งในรูปแบบ ‘การโกงกินในระบบ’ ที่ยากจะแก้ไขในปัจจุบัน
.
“เสาไฟกินรีหรือเสาไฟอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็น 10 ปีแล้ว เราขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัด เราก็จะเห็นเสาไฟที่มีประติมากรรมสวยงาม เห็นป้ายซอย ป้ายถนน ที่มีการตกแต่งใช้ลวดลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องที่ ไม่ได้มีแค่กรอบลายไทยที่เหมือนที่ใช้ในกรุงเทพฯ เราจะเห็นว่ามีซุ้มประดับในเทศกาลหรือในโอกาสต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มีรูปปั้นประดับตามสะพาน ตามวงเวียน ตามอนุสาวรีย์ หรือตามแหล่งชุมชน ซึ่งเป็นรูปไก่ แคน หรือเครื่องดนตรี”
.
มานะเปิดประเด็นด้วยการอธิบายถึงลักษณะของเสาไฟฟ้าประเภทนี้และงานประติมากรรมอื่นๆ ว่า มีการจัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ ดังที่จะได้เห็นลวดลายที่มีความสอดคล้องกับพื้นที่ที่เสาก่อตั้งอยู่ ถึงแม้จะเป็นโครงการปกติขององค์กรส่วนท้องถิ่น แต่หากพิจารณาถึงขั้นตอนต่างๆ ก่อนหน้า ก็เรียกได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลอยู่ไม่น้อย
.
“เดิมทีเสาไฟคือเรื่องของความปลอดภัย ให้แสงสว่าง แล้วมันจะมีราคากลางของกรมทางหลวงหรือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจนของมันอยู่
.
“แต่ถ้าหากคุณใส่ปลากระโห้ ใส่ปลาตะเพียน ใส่กินรีเข้าไป มันจะกลายเป็นศิลปะ ซึ่งตามกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐฯ พ.ศ. 2560 เขาจะเปิดช่องให้ซื้อในราคาที่สูงได้ เปิดช่องให้ถึงขนาดที่ว่าแม้จะแพงกว่าเจ้าอื่นๆ ถึง 20% แต่ถ้าเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรม ก็สามารถซื้อได้
.
“ต่อมาในปี 2559 ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เขาเห็นความจำเป็นว่า ประเทศไทยจะขับเคลื่อนได้ ต้องอาศัยงานวิจัย งานนวัตกรรม เขาจึงให้สำนักงบประมาณจัดทำบัญชีนวัตกรรมไทย มีใจความว่า หากสินค้ารายการใดมีงานวิจัยหรือมีเงื่อนไขเชิงนวัตกรรมเป็นไปตามที่ สวทช. กำหนด เขาก็จะบรรจุเอาไว้ในบัญชีนวัตกรรม ซึ่งถ้ามีการขึ้นบัญชีประเภทนี้แล้ว ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก ซึ่งบัญชีแบบนี้มีจำนวนสินค้าที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้น ถ้าเป็นรายการจัดซื้อจัดจ้าง ก็สามารถใช้วิธีพิเศษในการคัดเลือกผู้ประกอบการในการซื้อขายได้”
.
ดังนั้น จากเสาไฟธรรมดาก็จะกลายเป็นเสาไฟที่มีปลากระโห้ ปลาตะเพียน แล้วพอในปี 2559 ก็จะเป็นเสาไฟปลากระโห้ที่มีโซลาร์เซลล์ ทำให้เสาไฟฟ้าราคาดี วิธีการจัดซื้อก็ง่าย ซึ่งถ้าไปตรวจสอบรายการสั่งซื้อเสาไฟกินรีย้อนหลังไปประมาณ 5 ปี จะมีทั้งหมด 6,700 ต้นเป็นอย่างน้อย เป็นมูลค่ารวมประมาณ 500 ล้านบาท
.
“แต่น่าแปลกใจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 7,853 แห่งในประเทศไทยทุกวันนี้ ยังไม่มีหน่วยงานราชการไหนตอบได้ว่า เสาไฟประเภทนี้ที่ซื้อย้อนหลังไป 5 ปี มีมูลค่าเท่าไร มีจำนวนเท่าไร”
.
นอกจากนี้มานะยังอธิบายถึงรูปแบบของการทำธุรกิจในการจัดซื้อเสาไฟประเภทนี้ ในลักษณะที่มีการ ‘ฮั้ว’ กับภาคเอกชนอยู่ก่อนแล้ว นั่นจึงเป็นเหตุให้การจัดซื้อเสาไฟฟ้าราคาสูงเช่นนี้ปรากฏขึ้นอยู่ในหลายท้องที่
.
“อีกลักษณะคือการฮั้วกันในระบบ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ผมขอพูดถึงคดีการทุจริตสนามฟุตซอล ซึ่งเป็นการคอร์รัปชันที่ถูกชักใยระดับประเทศ โดยการซื้อเริ่มจากนักธุรกิจ กลุ่มพ่อค้า ที่ไปร่วมมือกับนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง เขาจะวางแผนกันไปแปลงญัตติและแปลงงบประมาณมา ตามที่เราเห็นในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด แล้วพอได้งบประมาณก็บงการวางแผนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อพร้อมๆ กัน มันเลยกลายเป็นว่าการโกงเกิดขึ้นจากเตี๊ยมกันของส่วนบน เพื่อสร้างสัญญาซื้อขายให้เกิดขึ้นในส่วนภูมิภาค แบบนี้ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับทั้งกลุ่มที่ร่วมกันฮั้วเพื่อเอางบประมาณ และองค์กรส่วนท้องถิ่นที่จัดซื้อในราคาที่สูงเกินจริง”
.
แล้วทำไมวิธีการแบบนี้ถึงระบาดออกไปเป็นวงกว้าง?
.
มานะอธิบายว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นของไทย ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะการคอร์รัปชันที่ ‘เลียนแบบ’ กัน ถ้าย้อนกลับไปดูจะเห็นว่า ในช่วงหนึ่งอาจจะเห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซื้อสนามฟุตซอลเต็มไปหมด อีกช่วงหนึ่งก็จะเห็นการจัดซื้อเครื่องกรองน้ำ สร้างสนามออกกำลังกาย ซื้ออุปกรณ์สร้างโซลาร์เซลล์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากชักใย
.
“ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า การที่เสาไฟประเภทนี้โผล่ขึ้นมาหลากหลายท้องที่ ก็เกิดจากปรากฏการณ์เช่นนี้ของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
.
เมื่อถามถึงแนวทางแก้ไข มานะยอมรับว่า หากจะให้ยกเลิกระบบการจัดซื้อเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ในเมื่อเสาไฟประเภทนี้ยังสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้ เพียงแต่ต้องมีการจำกัดและกำหนดขอบเขตให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
.
“ถ้าเราดูข่าวย้อนหลังประมาณปี 2561 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเคยสอบสวนเรื่องนี้เพียงแค่คดีเดียว ดังนั้น สิ่งที่น่าสังเกตคือ เราจะไม่เห็นการชี้มูลความผิดในการซื้อขายเสาไฟฟ้าเหล่านี้เท่าไร ส่วนหนึ่งเราต้องยอมรับว่าสิ่งที่ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นออกมาชี้แจงว่า เขาทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ มีการประกาศ มีการจัดทำสัญญาใบสั่งซื้อ (PO) มีการประมูล ซึ่งถ้าอ้างอิงตามกฎหมายและวัฒนธรรม สิ่งที่เขาพูดออกมาก็ถือว่าถูกต้องในแง่ของกฎหมาย
.
“แต่เราก็ต้องมาพิจารณากันว่า ในแง่การดำเนินการที่ถูกต้อง มันมีเบื้องหลังอย่างไร ถามว่าเราจะแก้ไขการโกงในระบบ ณ ตอนนี้ยังเป็นเรื่องยาก เพราะการเปิดช่องให้ซื้อราคาที่สูงกว่า ด้วยเงื่อนไขที่ง่ายกว่า ในบางส่วนก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าผลประโยชน์ตกถึงประชาชนจริงๆ ในอนาคต จึงอาจต้องมาหารือกันต่อว่าจะใช้ทำอย่างไร จึงจะเกิดการจัดซื้อเสาไฟฟ้าที่รัดกุมกว่านี้
.
“ดังนั้น ผมว่าเราต้องเริ่มสร้างทัศนคติให้คนในชุมชนตรวจสอบสิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น บอกให้เข้าใจว่างบประมาณที่ใช้จัดซื้อคือภาษีประชาชน เงินเหล่านี้ควรใช้ให้เห็นประโยชน์ ควรใช้ในสิ่งที่เกิดคุณค่าในระยะยาว ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ ก็ควรต้องมาตรวจสอบกันว่าเงินภาษีนั้นสมควรไหมกับการเอาไปทำเสาไฟฟ้ากินรีติดโซลาร์เซลล์เช่นนี้”
.
ภาพ: กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร / Thai News Pix
Phattita Cheraiem
4h ·
อห. สภา อบต.ราชาเทวะ อนุมัติจ่ายขาดงบสะสม 68.4 ล้านบาท ซื้อ #เสาไฟกินรี เพิ่ม 720 ต้น ราคาต้นละ 95,000 บาท
เข้าร่วมประชุม 25 คน
ขาด 4 คน
เห็นชอบ 15 คน
ไม่เห็นชอบ 5 คน
งดออกเสียง 4 คน
สรุปพิรุธ "เสาไฟกินรี" และรูปแบบการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ | EXPLAINER l workpointTODAY
Jun 22, 2021
Jun 22, 2021
Atukkit Sawangsuk
9h ·
ตู่สั่งตรวจสอบ ตรวจสอบใครวะ
รัฐประหารเคยสั่งแขวนแล้วปล่อย
คมชัดลึกชี้ตัว สายตรงบ้านใหญ่ปากน้ำ พ่อผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ
:
เสาไฟกินรีได้ไปต่อ สภาอบต.ราชาเทวะ อนุมัติงบ 68 ล้าน ซื้อเพิ่ม 720 ต้น เหตุมีคนร้องขอ
https://www.matichon.co.th/region/news_2790171
:
นายกอบต.ราชาเทวะ โต้ สตง.สอบเสาไฟฟ้ากินรี67ล. ยันทำถูกต้อง 'บิ๊กตู่' คืนตำแหน่ง ม.44 ด้วย
https://www.isranews.org/.../isra.../78474-news02-78474.html
โดน สตง.ตรวจสอบตั้งแต่ปี 55-56 เรียกคืนเงิน 67 ล้าน
โดน ม.44 สั่งแขวนตั้งแต่ปี 58 แต่ปี 61 ก็ปล่อยเฉย
:
ส่อง "ทรงชัย" นายก อบต.ราชาเทวะ
https://www.komchadluek.net/news/scoop/470861
ทรงชัย นกขมิ้น จึงได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อบต.ราชาเทวะ ติดต่อกันมาหลายสมัย และด้วยความเป็นผู้นำท้องถิ่น ที่เป็นสายตรง “บ้านใหญ่อัศวเหม” เมื่อปี 2562 ทรงชัย จึงสนับสนุนให้ลูกชาย ลงสมัคร ส.ส.สมุทรปราการ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
“จาตุรนต์ นกขมิ้น” ลูกชายของทรงชัย สมัคร ส.ส.ที่เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.บางพลี (ยกเว้น ต.หนองปรือ และ ต.ราชาเทวะ) ซึ่งลูกชายของนายกฯ ทรงชัย ไม่ได้ลงในพื้นที่ ต.ราชาเทวะ เนื่องจาก กกต.แบ่งเขตใหม่ ยก ต.ราชาเทวะ ไปไว้เขตเลือกที่ 5 ที่มี กรุง ศรีวิไล เป็นเจ้าของพื้นที่อยู่
ทายาทนายก อบต.ราชาเทวะ ต้องแข่งกับแชมป์เก่า-วรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย แต่ผลเลือกตั้งกลับพลิกความคาดหมาย
ปรากฏว่า วุฒินันท์ บุญชู พรรคอนาคตใหม่(พรรคก้าวไกล) ชนะเลือกตั้ง ได้ 36,320 คะแนน ส่วน จาตุรนต์ นกขมิ้น ได้ 35,441 คะแนน แพ้ไปแบบฉิวเฉียด ซึ่งผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ สื่อท้องถิ่นรายงานว่า จาตุรนต์ชนะ แต่พอนับคะแนน 100% ก็แพ้ไปแบบน่าเสียดาย
อนาคตทางการเมืองของ “ทรงชัย” และลูกชาย “จาตุรนต์” ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของ “บ้านใหญ่อัศวเหม”