วันอังคาร, มิถุนายน 22, 2564

ธนาพล เขียนถึง อ.พิชิต ไว้น่าฟัง



Thanapol Eawsakul
1h ·

ก่อนที่จะโดยคนรักทักษิณ "ยี้" พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คือนักวิชาการที่ยืนหยัดพิทักษ์ "ระบอบทักษิณ" อย่างหนักแน่นและมั่นคงที่สุดก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเรื่อยมาจนถึงกรณีเหมาเข่ง ตุลาคม 2556
....................
การวิจารณ์พรรคเพื่อไทยในปัจจุบันของพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ถูกมองจากคนรักทักษิณจำนวนไม่น้อยว่าเป็นประหนึ่ง "ยาพิษ" ที่ให้ตายก็ไม่เผาผีกันเลยทีเดียว
แต่ถ้าคนที่ติดตามความคิดของ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แล้วจะพบว่านี่คือ นักวิชาการที่ยืนหยัดพิทักษ์ "ระบอบทักษิณ" อย่างหนักแน่นและมั่นคงที่สุดก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเรื่อยมาจนถึงกรณีเหมาเข่ง ตุลาคม 2556
หนึ่งในบทความที่แสดงจุดยืนอย่างหนักแน่นของ พิชิต คงไม่พ้นบทความเรื่อง "ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน์"
https://prachatai.com/journal/2006/10/10014
บทความนี้พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เขียนขึ้นก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และได้ใช้นำเสนอในงานมหกรรม ตุลาประชาธิปไตย ในวาระ 30 ปี 6 ตุลา ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 7 ตุลาคม 2549 ไม่ถึง 20 วันหลังรัฐประหารนั่นเอง
ก่อนอานบทความชิ้นนี้ ต้องหมายเหตุด้วยว่า ท่ามกลางนักวิชาการเพียงน้อยนิดที่ออกมาสู้กับคณะรัฐประหารอย่างเปิดหน้าซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยนิด ชื่อของ พิชิต นั้นโดดเดนเป้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการร่วมชุมนุม เขียนบทความตอบโต้ ไปจนถึงการขึ้นเวทีปราศรัย และเดินสายไปทั่วประเทศ ก่อนที่จะมีสิ่งที่เรียกว่า "ขบวนการคนเสื้อแดง" ด้วยซ้ำ
ลองอ่านบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ การเมืองของพิชิต ข้างล่าง ผมคิดว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่นักวิชาการที่ศึกษาเสื้อแดงหลังการล้อมปราบ 2553 ซึกษากันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป้ฯคำอภิบายหลัก
เพียงแต่ว่าพิชิตเสนอไว้ก่อนรัฐประหาร 2549
...........................
ระบบเศรษฐกิจไทย ที่เป็นทุนนิยมขุนนาง ไม่เคยมีการปรับโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญมาตลอด 40 ปี ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความอ่อนแอเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถต่อสู้แข่งขันและแสวงหาประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ได้ ประกอบกับความผิดพลาดของธนาคารแห่งประเทศไทยในการดำเนินนโยบายอัตราแลก เปลี่ยน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค และนโยบายวิเทศธนกิจในช่วง 2532-2536 กระแสเงินทุน ระยะสั้นไหลบ่าเข้าสู่เศรษฐกิจไทยที่ยังเต็มไปด้วยระบบผูกขาด วิสาหกิจล้าสมัยขาดประสิทธิภาพ ระบบราชการและการเมืองที่ทุจริต เป็นผลให้แทนที่เงินทุนจะถูกใช้ไปในการปรับโครงสร้าง วางรากฐานเศรษฐกิจ ยกระดับเทคโนโลยีและความสามารถในการแข่งขันของระบบ ปรับตัวเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ เงินทุนเหล่านั้นกลับถูกใช้ไปในการเก็งกำไรหุ้นและอสังหาริมทรัพย์และการ ทุจริตในภาคธุรกิจ นำมาซึ่งวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งที่รุนแรงที่สุด
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แสดง ให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจการเมืองไทยยังคงล้าหลังและอ่อนแออย่างยิ่งในการเผชิญกับกระแส โลกาภิวัฒน์ และเป็นการเปิดโปงให้เห็นถึงความผิดพลาดล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของระบอบอำนาจ นิยมแฝงเร้นที่เป็นพันธมิตรของชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนขุนนาง และทุนภูธรในการปกครองบริหารประเทศ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อจำกัดอำนาจชน ชั้นขุนนางและนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของปวงชน
รัฐธรรมนูญปี 2540 ก้าว หน้าไปอย่างสำคัญด้วยการขยายขอบข่ายสิทธิเสรีภาพของประชาชนออกไปอย่างกว้าง ขวาง กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐที่เป็นเศรษฐกิจแบบเสรีที่อาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ให้รัฐมีหน้าที่ให้บริการการศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการประชาชน กระจายอำนาจ คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มีกลไกการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้งสาม มีองค์กรอิสระและกระบวนการตรวจสอบองค์กรและนักการเมืองอย่างกว้างขวาง ทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นสูงสุดมีความชัดเจนเป็น รูปธรรม ประชาชนมีการตื่นตัวในสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ และความสำคัญของการปกครองด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นความก้าวหน้าทางประชาธิปไตยครั้งสำคัญที่สุดของประเทศไทย และเป็นก้าวแรกไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ได้ เปลี่ยนดุลอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มทุนเก่ากับกลุ่มทุนใหม่อย่างสำคัญ เมื่อกลุ่มทุนเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารพาณิชย์ ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มทุนใหม่ได้รับความเสียหายน้อยกว่ามาก ส่วนรัฐธรรมนูญใหม่ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการเมืองด้วย การให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีวินัยพรรคสูง สามารถกำกับพฤติกรรมของนักการเมืองและกลุ่มการเมืองในพรรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้รัฐสภามีเสถียรภาพและรัฐบาลมีความมั่นคง นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอาจมีดุลอำนาจเหนือชนชั้นขุนนางได้เป็น ครั้งแรก สามารถดำเนินนโยบายบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระจากชนชั้น ขุนนาง เปิดโอกาสให้กลุ่มทุนใหม่ซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนได้เข้าสู่อำนาจผ่าน การเลือกตั้งทั่วไปปี 2544 จัดตั้งรัฐบาลที่เข้ม แข็ง แล้วนำนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเข้ามาบริหารประเทศ กำกับให้ระบบราชการดำเนินตามมาตรการของพรรคไทยรักไทย ผลักไสชนชั้นขุนนางให้ถอยออกไป
นโยบายปฏิรูป เศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทยมีสองด้านคือ ด้านหนึ่ง ดำเนินมาตรการประชานิยมที่แจกจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนชั้นล่างทั้งใน เมืองและชนบท เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กองทุนหมู่บ้าน โครงการสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ธนาคารประชาชน ปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล ทุนการศึกษาจากกองทุนหวยบนดิน การแปลงทรัพย์สินเป็นทุน เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีผลสะเทือนทางการเมืองอย่างถึงราก บั่นทอนความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาที่ประชาชนชั้นล่างมีมายาวนานต่อนักการเมือง ท้องถิ่น กลุ่มอิทธิพล และทุนภูธร ทำให้ประชาชนชั้นล่างเข้าใจได้เป็นครั้งแรกว่า ประชาธิปไตยอาจให้ประโยชน์แก่พวกเขาได้จริง ผลก็คือ ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทได้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยเป็น มาก่อนและกลายเป็นฐานพลังที่เข้มแข็งและสำคัญที่สุดของประชาธิปไตย
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนก็ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ มุ่งผลักดันให้ระบบทุนนิยมไทยก้าวเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างเต็มที่ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดเสรีการค้าและการลงทุน จัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ทยอยลดอัตราภาษีศุลกากร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ปฏิรูปกฎหมายและระบบราชการ ปฏิรูปการศึกษา และลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้งระบบ เป็นต้น ให้เศรษฐกิจไทยมีการปฏิรูปโครงสร้าง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้ในระบบโลกาภิวัฒน์ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการไหลเวียนของสินค้าและเงินทุนจำนวนมหาศาล
นโยบายดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนดุลทางชนชั้นครั้งใหญ่ ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทเกิดการตื่นตัวทางการเมืองที่สนับสนุน ประชาธิปไตยอย่างแข็งขัน ในขณะที่กลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนกลายเป็นอำนาจใหม่ที่ บงการแนวนโยบายแห่งรัฐและบั่นทอนอำนาจของชนชั้นขุนนางลงเรื่อย ๆ ส่วนในทางเศรษฐกิจ กลุ่มทุนใหม่ก็เติบโตเข้มแข็ง ยึดโยงกับระบบทุนนิยมโลกอย่างเหนียวแน่น มีพลังทั้งเงินทุน เทคโนโลยีใหม่ ขณะที่นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์กลับทำให้กลุ่มทุนเก่าซึ่งบอบช้ำ อย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ต้องสูญเสียประโยชน์ ถูกบั่นทอนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองลงเรื่อย ๆ จากกลุ่มทุนใหม่และทุนสากล
นโยบายปฏิรูปของ รัฐบาลไทยรักไทยยังทำให้ปัญญาชนชั้นกลางในเมืองส่วนหนึ่งไม่พอใจ ประกอบด้วย ข้าราชการ นักวิชาการ ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย ราษฎรอาวุโส นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นอนุรักษ์นิยมและปฏิเสธโลกาภิวัฒน์ พวกเขาคัดค้านนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมของรัฐบาลไทยรักไทยและตระหนักว่า ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองทำให้สถานะอภิสิทธิ์ชน ในสังคมและอำนาจต่อรองทางการเมืองของพวกตนถูกบั่นทอน พวกเขาริษยานโยบายประชานิยม เกลียดชังการโอนย้ายทรัพยากรและงบประมาณจากส่วนกลางไปยังประชาชนชั้นล่าง ทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ
พันธมิตรอำนาจ นิยมจึงได้ก่อตัวขึ้น เป็นแนวร่วมของชนชั้นขุนนาง กลุ่มทุนเก่า และปัญญาชนชั้นกลางบางส่วนในเมือง เพื่อล้มการเลือกตั้ง โค่นล้มผู้นำรัฐบาลไทยรักไทย ฉีกรัฐธรรมนูญ จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้ไขดุลอำนาจให้กลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นซึ่งชนชั้นขุนนางและกลุ่ม ทุนขุนนางกุมอำนาจรัฐ มีพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐสภา แต่รัฐบาลอ่อนแอ ถูกควบคุมด้วยอำนาจของชนชั้นขุนนางในราชการ ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ก็ยุตินโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ยึดโยงให้เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระบบทุนนิยมขุนนางล้าหลังต่อไป แนวร่วมชนชั้นขุนนาง-ทุนเก่า-ปัญญาชนชั้นกลางบางส่วน จึงเป็นปฏิกิริยาและถอยหลังเข้าคลอง ความเป็นขวาจัดของพวกเขายังแสดงออกผ่านวิธีการทางการเมืองที่ใช้สถาบันจารีต ประเพณีเป็นเครื่องมือ ใส่ร้ายป้ายสี กุข่าวสร้างเรื่องเท็จอย่างต่อเนื่อง ปลุกปั่นอารมณ์ความเกลียดชังอย่างสุดขั้ว ยั่วยุให้เกิดการปะทะนองเลือดและความรุนแรงระหว่างกลุ่มมวลชน กระทั่งเรียกร้องให้มีการยึดอำนาจรัฐประหาร ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นวิธีการเดียวกับพวกขวาจัด 6 ตุลาคม 2519
ในด้านเศรษฐกิจ กลุ่มทุนใหม่และพรรคไทยรักไทยอันเป็นตัวแทนยังคงยึดโยงอยู่กับเครือข่ายทุน ขุนนางและมีการทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับอำนาจทางการเมือง จึงกลายเป็นจุดอ่อนทางการเมืองในการต่อสู้กับพันธมิตรอำนาจนิยม แต่ในด้านการเมือง พวกเขาอิงฐานพลังและความตื่นตัวทางการเมืองประชาธิปไตยของชนชั้นล่างในเมือง และชนบท พวกเขาเป็นผู้ได้รับประโยชน์ทางการเมืองโดยตรงจากระบอบประชาธิปไตย พวกเขาจึงต้องปกป้องระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเอาไว้เพื่อผลประโยชน์ตน อีกทั้งพวกเขามีแนวนโยบายชัดเจนในการปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่เน้นการพัฒนาเติบโต ส่งเสริมระบบตลาด มีการแข่งขัน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยเน้นประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเกื้อหนุนต่อการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
เศรษฐกิจการเมือง ไทยปัจจุบันจึงเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างพันธมิตรอำนาจนิยมของชนชั้นขุน นาง กลุ่มทุนขุนนาง และปัญญาชนชั้นกลางบางส่วนในเมืองด้านหนึ่ง กับกลุ่มทุนใหม่ที่มีพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทนและมีฐานพลังการเมืองที่ชนชั้น ล่างในเมืองและชนบท อีกทั้งยังเป็นการต่อสู้สองแนวทางระหว่างระบอบอำนาจนิยมกับระบอบประชาธิปไตย ระหว่างระบบทุนนิยมขุนนางกับระบบทุนนิยมปฏิรูปโลกาภิวัฒน์
.............................
ในส่วนของทางออกนั้นพิชิตได้นำเสนอ การชูธงชาติไทยสามผืนไปสู่ประชาธิปไตยและโลกาภิวัฒน์ อันประกอบด้วย
.............................
ในยามนี้ ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องชูธงชาติไทยสามผืน และโบกสะบัดให้สูงเด่นคือ ธงประชาธิปไตย ธงโลกาภิวัฒน์ และธงความเป็นธรรมทางสังคม ธงสามผืนนี้เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เกื้อกูลสนับสนุนและเป็นเงื่อนไขให้แก่กัน เพราะไม่อาจมีประชาธิปไตยถ้าไม่มีโลกาภิวัฒน์ และไม่อาจมีโลกาภิวัฒน์ถ้าไม่มีประชาธิปไตย แต่ทว่า ทั้งประชาธิปไตยและโลกาภิวัฒน์จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและก่อเป็นดอก ผลแห่งการพัฒนาก้าวหน้าที่ยั่งยืนได้นั้น ก็จะต้องสามารถสนองตอบความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของประชาชนได้ สามารถแจกจ่ายประโยชน์ของประชาธิปไตยและโลกาภิวัฒน์ไปในหมู่ประชาชนอย่าง ทั่วถึงและเป็นธรรมได้
ธงประชาธิปไตยหมายถึง การต่อสู้ปกป้องระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเอาไว้ให้ได้ ต้านทานการเคลื่อนไหวที่มุ่งทำลายประชาธิปไตยและฟื้นระบอบอำนาจนิยม ธงประชาธิปไตยประกอบไปด้วยการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อเพิ่มมาตรการเสริมความแข็งแกร่งให้กับ ระบอบประชาธิปไตย
ธงโลกาภิวัฒน์ คือ การดำเนินนโยบายและมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจไทย ชดเชยจุดอ่อนและความเปราะบางในบางสาขาการผลิต สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพและก่อ ประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างยั่งยืน หลีกเลี่ยงผลกระทบที่บั่นทอนเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและแสวงผลประโยชน์ของประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก
ธงความเป็นธรรม ทางสังคม เน้นสร้างระบบประกันสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้เพื่อให้ดอกผลของประชาธิปไตยและโลกา ภิวัฒน์กระจายไปสู่ประชาชนส่วนข้างมากของประเทศ ก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมและลดความยากจน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยและโลกาภิวัฒน์มีความชอบธรรม มั่นคงและยั่งยืน
...............................
อ่านฉบับเต็ม
https://prachatai.com/journal/2006/10/10014


.....

อ.พิชิต นอกเมืองระยอง

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
Yesterday at 10:24 AM ·

เมื่อพบอุปสรรค มองไม่เห็นทางออก การแสวงหาหนทางที่แตกต่าง ท้องทะเลอันเวิ้งว้าง ภูเขาที่สูงตระหง่าน ท้องฟ้าอันสดใส ก็ทำให้เราตระหนักว่า คำถามที่เผชิญอยู่มันช่างเล็กน้อยเหลือเกิน ด้วยความอดทนและเมื่อถึงเวลาอันควร คำตอบก็จะปรากฏขึ้นตรงหน้า
ชีวิตคนเป็นอย่างนี้ ประชาธิปไตยก็เหมือนกัน