แอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนหลักที่ออสเตรเลียมีให้แก่ประชาชน แต่ปัจจุบันมีคนเพิ่มขึ้นที่ไม่ต้องการวัคซีนชนิดนี้
โควิด-19 : แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนที่คนออสเตรเลียจำนวนหนึ่งกำลังหวั่นเกรง
เมื่อ 9 ชั่วโมงที่แล้ว
คนอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แต่ไม่สามารถเลือกรับวัคซีนไฟเซอร์ได้ เนื่องจากออสเตรเลียมีอยู่อย่างจำกัด
ปัญหานี้ส่งผลต่อออสเตรเลียอย่างไร
ออสเตรเลียเริ่มโครงการให้วัคซีนต้านโควิดในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และปัจจุบันได้เปิดให้บริการแก่ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม กลับมีคนวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วเพียง 3% ซึ่งถือว่ายังตามหลังชาติตะวันตกอื่น ๆ อยู่มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความลังเลใจในการรับวัคซีนของประชาชน แต่ยังรวมถึงความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลด้วย
จนถึงเดือน เม.ย. รัฐบาลออสเตรเลียต้องพึ่งพาวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก และมีการตั้งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นเพื่อเร่งการผลิตวัคซีนชนิดนี้
แต่ปัญหาก็คือ วัคซีนชนิดอื่นตัวเดียวที่ออสเตรเลียมีคือของบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก ส่งผลให้ประชาชนมีตัวเลือกของวัคซีนอยู่เพียงน้อยนิด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้คำมั่นที่จะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ หรือชนิดอื่น ๆ เช่น โมเดอร์นา และโนวาแวกซ์ ให้เพียงพอสำหรับประชาชนภายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
แต่การเปลี่ยนข้อแนะนำครั้งล่าสุดของทางการก็ทำให้จำนวนผู้ที่จะต้องรับวัคซีนไฟเซอร์ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคน ส่งผลให้คนออสเตรเลียกังวลว่าจะเกิดปัญหาวัคซีนขาดแคลน และเหลือแอสตร้าเซนเนก้าเป็นตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียว
โควิด-19 : แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนที่คนออสเตรเลียจำนวนหนึ่งกำลังหวั่นเกรง
เมื่อ 9 ชั่วโมงที่แล้ว
บีบีซีไทย
บรรดาแพทย์ในออสเตรเลียรายงานว่ามีประชาชนที่ยกเลิกการนัดหมายรับวัคซีนต้านโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางกระแสความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังจากพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันใหม่หมู่คนวัย 50 ปีเศษเพิ่มขึ้น
ข่าวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลออสเตรเลียได้ปรับแก้ข้อแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดแก่ประชาชน โดยจำกัดการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแก่ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
เรื่องนี้ส่งผลให้ปัจจุบันผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี จะได้รับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์แทน ซึ่งออสเตรเลียมีอยู่อย่างจำกัด
อาการแบบไหนที่ต้องระวังหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
ไฟแนนเชียลไทมส์เรียกร้องแอสตร้าเซนเนก้าชี้แจง หลังโรงงานไทยส่งมอบล่าช้า
รพ. ภูมิพล แจงผลชันสูตรหญิง 46 ปีที่ตายหลังฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
ผู้สันทัดกรณีชี้ว่า การที่ประชาชนปฏิเสธการรับวัคซีน ซึ่งวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าถือเป็นวัคซีนที่มีใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในโลก และเป็นวัคซีนหลักที่ออสเตรเลียฉีดให้แก่ประชาชน ก็อาจสร้างความประหลาดใจให้แก่ประเทศอื่นที่กำลังต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่เผชิญการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากมองว่าความเสี่ยงที่จะติดโควิดมีน้อยกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีน
ความลังเลใจในการรับวัคซีนเป็นปัญหาในออสเตรียเลียมาหลายเดือนแล้ว แต่ตอนนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าการปรับแก้ข้อแนะนำการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั้นจะยิ่งขัดขวางความคืบหน้าในการให้วัคซีนของออสเตรเลีย
พญ.คาเรน ไพรซ์ ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปแห่งออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า "ประชาชนทั่วประเทศพากันยกเลิกนัดหมาย (การรับวัคซีน) หรือสอบถามว่าพวกเขาควรได้รับวัคซีนโดสที่สองหรือไม่"
"มันทำให้เกิดอุปสรรคใหญ่ในโครงการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน" เธอกล่าว
"เราต้องจัดกลุ่ม (ผู้รับวัคซีน) ใหม่ และต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้ง มันสำคัญมากที่จะต้องดำเนินโครงการฉีดวัคซีนต่อไป เพราะเรายังมีผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และขณะนี้เรากำลังเห็นการแพร่ระบาดในชุมชนอีกครั้ง"
ทำไมคนออสเตรเลียไม่กล้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
ทางการออสเตรเลียได้เปลี่ยนคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากพบกรณีลิ่มเลือดอุดตันใหม่หมู่คนวัย 50 ปีเศษที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราความเสี่ยงอยู่ที่ 2.7 รายต่อผู้ได้รับวัคซีนโดสแรก 100,000 คน
ความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 รายต่อคนอายุต่ำกว่า 50 ปีที่ได้รับวัคซีนโดสแรก 100,000 คน
แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ความเสี่ยงเช่นนี้ถือว่าเป็นระดับต่ำมาก และการตัดสินใจจำกัดการให้วัคซีนครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นโดยพิจารณาจากบริบทที่ออสเตรเลียมีจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิดในระดับต่ำ
ทางการได้เรียกร้องให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้วเข้ารับวัคซีนโดสที่สอง โดยชี้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดเข็มที่สองจะลดลงไปถึง 10 - 15 เท่า โดยข้อมูลจากโครงการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าของสหราชอาณาจักรบ่งชี้ว่า อัตราการเกิดปัญหาดังกล่าวจะอยู่ที่ 1.5 รายต่อผู้ได้รับวัคซีนโดสที่สอง 1 ล้านคน
แต่นั่นกลับยังไม่ช่วยคลายความกังวลของประชาชนได้ โดย นพ.ท็อดด์ คาเมรอน แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในนครเมลเบิร์นซึ่งดูแลคลินิคฉีดวัคซีนหลายแห่งในเมือง บอกบีบีซีว่า ผู้คนต้องการรับวัคซีนไฟเซอร์มากกว่า โดยมองว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีมากกว่าของไฟเซอร์
"ปัญหาคือการที่สังคมมองว่ามีวัคซีนสองชนิด คือชนิดที่ดี และชนิดที่ดีน้อยกว่า ดังนั้นประชาชนจึงพูดด้วยเหตุผลว่า "ทำไมฉันถึงไม่ได้ชนิดที่ดี"
บรรดาแพทย์ในออสเตรเลียรายงานว่ามีประชาชนที่ยกเลิกการนัดหมายรับวัคซีนต้านโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางกระแสความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังจากพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันใหม่หมู่คนวัย 50 ปีเศษเพิ่มขึ้น
ข่าวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลออสเตรเลียได้ปรับแก้ข้อแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดแก่ประชาชน โดยจำกัดการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแก่ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
เรื่องนี้ส่งผลให้ปัจจุบันผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี จะได้รับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์แทน ซึ่งออสเตรเลียมีอยู่อย่างจำกัด
อาการแบบไหนที่ต้องระวังหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
ไฟแนนเชียลไทมส์เรียกร้องแอสตร้าเซนเนก้าชี้แจง หลังโรงงานไทยส่งมอบล่าช้า
รพ. ภูมิพล แจงผลชันสูตรหญิง 46 ปีที่ตายหลังฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
ผู้สันทัดกรณีชี้ว่า การที่ประชาชนปฏิเสธการรับวัคซีน ซึ่งวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าถือเป็นวัคซีนที่มีใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในโลก และเป็นวัคซีนหลักที่ออสเตรเลียฉีดให้แก่ประชาชน ก็อาจสร้างความประหลาดใจให้แก่ประเทศอื่นที่กำลังต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่เผชิญการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากมองว่าความเสี่ยงที่จะติดโควิดมีน้อยกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีน
ความลังเลใจในการรับวัคซีนเป็นปัญหาในออสเตรียเลียมาหลายเดือนแล้ว แต่ตอนนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าการปรับแก้ข้อแนะนำการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปนั้นจะยิ่งขัดขวางความคืบหน้าในการให้วัคซีนของออสเตรเลีย
พญ.คาเรน ไพรซ์ ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปแห่งออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า "ประชาชนทั่วประเทศพากันยกเลิกนัดหมาย (การรับวัคซีน) หรือสอบถามว่าพวกเขาควรได้รับวัคซีนโดสที่สองหรือไม่"
"มันทำให้เกิดอุปสรรคใหญ่ในโครงการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน" เธอกล่าว
"เราต้องจัดกลุ่ม (ผู้รับวัคซีน) ใหม่ และต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้ง มันสำคัญมากที่จะต้องดำเนินโครงการฉีดวัคซีนต่อไป เพราะเรายังมีผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และขณะนี้เรากำลังเห็นการแพร่ระบาดในชุมชนอีกครั้ง"
ทำไมคนออสเตรเลียไม่กล้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
ทางการออสเตรเลียได้เปลี่ยนคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากพบกรณีลิ่มเลือดอุดตันใหม่หมู่คนวัย 50 ปีเศษที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราความเสี่ยงอยู่ที่ 2.7 รายต่อผู้ได้รับวัคซีนโดสแรก 100,000 คน
ความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 รายต่อคนอายุต่ำกว่า 50 ปีที่ได้รับวัคซีนโดสแรก 100,000 คน
แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ความเสี่ยงเช่นนี้ถือว่าเป็นระดับต่ำมาก และการตัดสินใจจำกัดการให้วัคซีนครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นโดยพิจารณาจากบริบทที่ออสเตรเลียมีจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิดในระดับต่ำ
ทางการได้เรียกร้องให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้วเข้ารับวัคซีนโดสที่สอง โดยชี้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดเข็มที่สองจะลดลงไปถึง 10 - 15 เท่า โดยข้อมูลจากโครงการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าของสหราชอาณาจักรบ่งชี้ว่า อัตราการเกิดปัญหาดังกล่าวจะอยู่ที่ 1.5 รายต่อผู้ได้รับวัคซีนโดสที่สอง 1 ล้านคน
แต่นั่นกลับยังไม่ช่วยคลายความกังวลของประชาชนได้ โดย นพ.ท็อดด์ คาเมรอน แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในนครเมลเบิร์นซึ่งดูแลคลินิคฉีดวัคซีนหลายแห่งในเมือง บอกบีบีซีว่า ผู้คนต้องการรับวัคซีนไฟเซอร์มากกว่า โดยมองว่าความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีมากกว่าของไฟเซอร์
"ปัญหาคือการที่สังคมมองว่ามีวัคซีนสองชนิด คือชนิดที่ดี และชนิดที่ดีน้อยกว่า ดังนั้นประชาชนจึงพูดด้วยเหตุผลว่า "ทำไมฉันถึงไม่ได้ชนิดที่ดี"
คนอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แต่ไม่สามารถเลือกรับวัคซีนไฟเซอร์ได้ เนื่องจากออสเตรเลียมีอยู่อย่างจำกัด
ปัญหานี้ส่งผลต่อออสเตรเลียอย่างไร
ออสเตรเลียเริ่มโครงการให้วัคซีนต้านโควิดในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และปัจจุบันได้เปิดให้บริการแก่ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม กลับมีคนวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วเพียง 3% ซึ่งถือว่ายังตามหลังชาติตะวันตกอื่น ๆ อยู่มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความลังเลใจในการรับวัคซีนของประชาชน แต่ยังรวมถึงความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลด้วย
จนถึงเดือน เม.ย. รัฐบาลออสเตรเลียต้องพึ่งพาวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก และมีการตั้งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นเพื่อเร่งการผลิตวัคซีนชนิดนี้
แต่ปัญหาก็คือ วัคซีนชนิดอื่นตัวเดียวที่ออสเตรเลียมีคือของบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก ส่งผลให้ประชาชนมีตัวเลือกของวัคซีนอยู่เพียงน้อยนิด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้คำมั่นที่จะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ หรือชนิดอื่น ๆ เช่น โมเดอร์นา และโนวาแวกซ์ ให้เพียงพอสำหรับประชาชนภายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
แต่การเปลี่ยนข้อแนะนำครั้งล่าสุดของทางการก็ทำให้จำนวนผู้ที่จะต้องรับวัคซีนไฟเซอร์ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคน ส่งผลให้คนออสเตรเลียกังวลว่าจะเกิดปัญหาวัคซีนขาดแคลน และเหลือแอสตร้าเซนเนก้าเป็นตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียว
โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรีแองเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนีแถลงว่า นางแมร์เคิลฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 2 เป็นวัคซีนโมเดอร์นา ต่างจากเข็มแรกที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า
— กรุงเทพธุรกิจ (@ktnewsonline) June 22, 2021
อ่านต่อ: https://t.co/gDvNtRjscf#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ pic.twitter.com/MwvY0W5jsG