บีบีซีไทย - BBC Thai
16h ·
อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิดในไทยขยับเข้าใกล้ 1%
.
จำนวนผู้เสียชิวิตจากโควิด-19 ในไทยทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการระบาดในไทยที่ 51 รายจากการรายงานของศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ของรัฐบาลช่วงเช้าวันนี้ (23 มิ.ย.) ก่อนหน้านี้จำนวนผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุดอยู่ที่ 47 ราย เมื่อวันที่ 27 พ.ค.
.
จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่เริ่มการระบาดในปี 2563 อยู่ที่ 1,693 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตที่ 0.75% แต่หากดูอัตราการเสียชีวิตเฉพาะช่วงการระบาดระลอกเดือน เม.ย. 2564 จะพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 0.30% วันที่ 30 เม.ย. เป็น 0.72% วันที่ 31 พ.ค. และขยับขึ้นต่อเนื่องเป็น 0.81% ณ วันที่ 22 มิ.ย.
.
ทางด้าน นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ระบุว่าสถานการณ์การระบาดในกรุงเทพและปริมณฑลน่าเป็นห่วงจากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด 2 เดือน ทำให้สถานการณ์เตียงรองรับผู้ป่วยโควิดเหลือน้อย ผู้ป่วยเข้าถึงเตียงได้ยาก แต่ยืนยันว่าทุกภาคส่วนจะเร่งหาเตียงให้ผู้ป่วยอย่างเร็วที่สุด .
....
บีบีซีไทย - BBC Thai
นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เสนอให้ "อ่าน" ข้อมูลที่ ศบค.รายงานเพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่แท้จริง ดังนี้
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ - เป็นการพบจากการสุ่มตรวจเท่านั้น จำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงจึงอาจมีมากกว่าที่รายงาน
ผู้ที่รักษาหายแล้ว - ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่รักษาอยู่ใน รพ.สนามหรือฮอสปิเทล การ
ที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลับบ้านได้จึงไม่ได้มีนัยสำคัญ เพราะไม่ได้กระทบกับระบบสาธารณสุขมากนัก
ผู้ป่วยหนักและใส่เครื่องช่วยหายใจ - ตัวเลขที่ ศบค.รายงานค่อนข้างนิ่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์ดี แต่อาจเป็นเพราะไอซียูของ รพ. มีผู้ป่วยอยู่เต็มแล้ว อีกทั้งผู้ป่วยไอซียูมักครองเตียงนาน ตัวเลขผู้ป่วยหนักหรือใส่ท่อช่วยหายใจจึงแทบไม่ขยับหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก ดังนั้นจึงต้องดูที่อัตราการเสียชีวิตว่าลดลงจริงหรือไม่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bbc.com/thai/thailand-57511627
นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เสนอให้ "อ่าน" ข้อมูลที่ ศบค.รายงานเพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่แท้จริง ดังนี้
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ - เป็นการพบจากการสุ่มตรวจเท่านั้น จำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงจึงอาจมีมากกว่าที่รายงาน
ผู้ที่รักษาหายแล้ว - ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่รักษาอยู่ใน รพ.สนามหรือฮอสปิเทล การ
ที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลับบ้านได้จึงไม่ได้มีนัยสำคัญ เพราะไม่ได้กระทบกับระบบสาธารณสุขมากนัก
ผู้ป่วยหนักและใส่เครื่องช่วยหายใจ - ตัวเลขที่ ศบค.รายงานค่อนข้างนิ่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์ดี แต่อาจเป็นเพราะไอซียูของ รพ. มีผู้ป่วยอยู่เต็มแล้ว อีกทั้งผู้ป่วยไอซียูมักครองเตียงนาน ตัวเลขผู้ป่วยหนักหรือใส่ท่อช่วยหายใจจึงแทบไม่ขยับหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก ดังนั้นจึงต้องดูที่อัตราการเสียชีวิตว่าลดลงจริงหรือไม่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bbc.com/thai/thailand-57511627
Of the 433 patients who require ventilators, 210 are being treated in Bangkok. The Ministry of Public Health said yesterday there were only 20 hospital beds left at public hospitals that could handle severe cases.#โควิด19 #โควิดวันนี้ #โควิด19วันนี้ #WhatsHappeningInThailand pic.twitter.com/HpRpP9vFHB
— Thai Enquirer (@ThaiEnquirer) June 23, 2021