วันศุกร์, มิถุนายน 18, 2564

ในวันที่การเมืองกลายเป็นเรื่องของทุกคนอย่างแท้จริง กลุ่มชาวเพศหลากหลาย ได้เข้ามามีบทบาทนำในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร63 อย่างน่าสนใจ ติดตามเรื่องของพวกเค้า



ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
Yesterday at 8:40 AM ·

ฟ้า – พรหมศร วีระธรรมจารี
.
นักกิจกรรมผู้เคยถูกคุมขังในชั้นสอบสวน คดี ม. 112 กับราคาที่ต้องแลกเพื่อการต่อสู้
.
“คนทั่วไป ถ้ามองเราจากภายนอก อาจจะบอกว่าเราเป็นเกย์ เป็นตุ๊ด แต่สำหรับตัวเราเอง เรามองว่าตัวเองเป็นคนไม่มีเพศ (non-binary) ไม่ใช่แค่ชาย หญิง หรือเกย์ เพราะเรารู้สึกว่าตัวเองมีความหลากหลายเกินกว่านั้น”
.
“สมัยมอปลายเป็นช่วงที่ครอบครัวเริ่มเข้าใจว่าเราเป็นเพศอะไร เท้าความก่อนว่า ตอนแรกเรายังชอบผู้หญิงปกติ แต่เริ่มมาชัดเจนว่าชอบผู้ชายก็สมัยช่วงมอปลาย เราไม่เคยพูดตรงๆ แต่พ่อแม่เขารู้เอง แม่เคยถามเราว่า ตกลงเราชอบผู้ชายใช่ไหม ณ เวลานั้น เรายังไม่สามารถตอบแม่ได้ว่าเราชอบผู้ชายหรือผู้หญิง แต่เรามีความสุขกับการอยู่กับใครสักคนที่รู้สึกดีด้วย ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ แม่เราก็ไม่ได้ว่าอะไรหลังจากนั้น ฟ้าโชคดีด้วยตรงที่ครอบครัวเราเป็นครอบครัวคนจีนที่หัวสมัยใหม่”
.
“(การเป็น LGBTIQ+ กับเรื่องการเลือกปฏิบัติ?) เราเป็นคนค่อนข้างสตรองมากในการใช้ชีวิต ทำให้ไม่ค่อยเจอปัญหาอะไรเลย แต่ด้วยความที่ครอบครัวเราเป็นครอบครัวคนจีน มันก็จะมีการเหน็บแนมกันบ้างจากทางญาติ ทำไมลูกลื้อไม่เป็นชายร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำไมต้องมีจริตเป็นผู้หญิง ทำไมต้องเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ มักจะโดนจากในฝั่งญาติของเรา มากกว่าที่จะโดนจากคนภายนอก เราจัดการความรู้สึกตัวเอง ง่ายที่สุดเลยคือไม่สนใจ เพราะเราไม่สามารถไปห้ามความคิดใครในโลกได้ เรามีหน้าที่จัดการเรื่องทั้งหมดให้มันเบ็ดเสร็จที่ตัวเราเท่านั้น”
.
“ส่วนเรื่องการเคลื่อนไหว ฟ้าสนใจเรื่องการเมืองมานาน เคยไปร่วมชุมนุมตั้งแต่กับกลุ่มเสื้อแดง สมัยปี 53 ซึ่งนานมากแล้ว แต่ที่ออกมาเคลื่อนไหวชัดเจน น่าจะประมาณช่วงปีที่ผ่านมา ประมาณกลางปี พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของ #คณะราษฎร2563
.
“ชีวิตก่อนหน้าม็อบเสื้อแดง เอาจริงๆ เราอยู่ในสังคมที่ทุกอย่างเป็นปกติ ครอบครัวเองก็มีฐานะในระดับหนึ่ง แต่เราแค่ไม่ชอบความเหลื่อมล้ำที่ฝังในสังคม เรามองเห็นปัญหาผ่านทางมุมมองของพ่อกับแม่ มุมมองของบรรดาญาติของเรา พวกเขา รวมทั้งตัวเราเองอยู่ในฐานะที่มีอภิสิทธิ์ด้านชนชั้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำไมญาติเรา ครอบครัวเราทำบางอย่างได้ แต่ทำไมคนอื่นในสังคมเขากลับทำไม่ได้? เราเห็นว่าปัญหานี้มันมีอยู่มาตลอด จนทำให้หมักหมมและมันสะสมกับตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนวันหนึ่งทำให้เรารู้สึกว่า เราต้องออกมาทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สังคมนี้มันดีขึ้น”
.
“ตัวเราเองสามารถอยู่เฉยๆ ได้โดยที่ไม่ได้เดือดร้อน แต่เราเลือกที่จะออกมาสร้างความเปลี่ยนแปลง คิดว่าครั้งหนึ่งอยากจะสร้างประวัติศาสตร์ให้กับตัวเองและสังคม ดีกว่าจะอยู่เฉย แล้วปล่อยให้ทุกอย่างพังพินาศไป เลือกที่จะมีความสุขอยู่คนเดียว ในขณะที่ทุกคนรอบข้างล้วนเดือดร้อน เรารู้สึกว่า ถ้าเราเลือกนิ่งเฉย คือเรากำลังเป็นคนเห็นแก่ตัว ยิ่งในสภาวะสังคมแบบตอนนี้”
.
“จนวันนี้ที่มีม็อบคณะราษฯ และเราได้เข้ามาเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัว ฟ้ารู้สึกว่า ทุกคนในตอนนี้เห็นหมดแล้วว่าปัญหาทั้งหมดในประเทศ มันมีต้นตอมาจากไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ฉะนั้น ในเมื่อเราเห็นปัญหาแล้ว ทำไมเราถึงไม่แก้ปัญหา?”
.
“สำหรับคดีความที่โดนตอนนี้ หลักๆ จะมีคดีมาตรา 112 ราว 4 คดี แต่ในส่วนของคดีที่ทำให้ถูกฝากขัง มาจากกรณี save นิว มธ. เป็นการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 วันนั้นพวกเราไปกันที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เพื่อกดดันศาลให้รีบปล่อยตัวเพื่อนของเรา แล้วหลังจากนั้นก็ได้มีการปราศรัยและร้องเพลงแปลงเล็กๆ น้อยๆ”
.
“ช่วงที่ถูกฝากขังในคุก จริงๆ ก่อนหน้า เราทำใจไว้แล้วระดับหนึ่ง แต่พอถึงเวลาต้องเข้าไป มันเลวร้ายมาก การถูกพรากอิสรภาพมันเหมือนเป็นบทลงโทษ ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้อยู่ในสถานะนักโทษด้วยซ้ำ เพราะศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษา มันคือเรื่องเลวร้ายที่สุดแล้วในชีวิตกับการที่ต้องได้รับโทษอย่างฉกาจฉกรรจ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน การนอน อาบน้ำ หรืออะไรก็ตาม มันทำให้เกิดปัญหาตามมา สิ่งที่เราได้จากเรือนจำคือโรคผิวหนัง เชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังต้องรักษาอยู่”
.
“ระหว่างอยู่ในคุก กิจวัตรประจำวันของเราคือ ตื่นเช้ามา เราต้องลงไปพร้อมผู้ช่วยเหลือเพื่อไปอาบน้ำ ศัพท์ข้างในเขาเรียกว่า #เปิดห้อง ฟ้าจะลงมาตอนประมาณ 6.40 – 6.45 ก็จะอาบน้ำ แล้วจากนั้นก็ใช้ชีวิตเหมือนผู้ถูกคุมขังคนอื่นๆ แต่ระหว่างช่วงที่พวกเขาทำงานกัน ฟ้าจะไปอยู่ส่วนอื่น ไปเดินเล่นบ้าง ไปอ่านหนังสือบ้าง พอถึงเวลาก็กลับมาอาบน้ำ แล้วก็ขึ้นหอนอน ทุกอย่างจะวนซ้ำๆ กันไปทุกวัน ไม่ได้มีอะไรพิเศษเลยข้างใน”
.
“สิ่งที่เราเลือกใช้เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมระหว่างคุมขังก็คือการอดอาหารพร้อมกันกับเพนกวินและรุ้ง จริงๆ เราอดอาหารไปสองรอบ ทั้งสองรอบรวม 28 วัน คิดว่าถ้าได้รับการปล่อยตัวช้ากว่านั้น เราก็น่าจะต้องอดนานกว่านั้น เหตุผลที่เลือกใช้การต่อสู้วิธีนี้ เหตุผลที่หนึ่งเลยคือเรารักเพนกวินมาก เป็นเหมือนพี่น้องกัน น้องอดแล้ว แล้วตัวเราล่ะ? เราก็ต้องสู้ แล้วตอนนั้นรุ้งเองก็สู้ด้วย แล้วทำไมเราจะไม่สู้ คือแน่นอนว่า มันไม่สามารถตอบได้ว่า การอดอาหารของเรามันจะเป็นเรื่องน่าสนใจของรัฐไหม? มันจะทำให้เขาเห็นใจเราบ้างไหม? แต่ฟ้าคิดว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องต่อสู้และเราต้องกระทำ เราไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยเพื่อยอมรับอำนาจอยุติธรรมที่มีต่อเราได้”
.
“แม้ว่าเราจะเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ข้างในเขาก็ปฏิบัติกับเราเหมือนที่เราเป็นนักโทษชายคนหนึ่ง ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรมาก แต่อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่างออกไป ในฐานะที่เราเป็นนักโทษการเมืองด้วย เป็น LGBTIQ+ ด้วย เขาจะไม่ตรวจอะไรเรามากมาย แต่ในส่วนอื่นคือปกติ พูดง่ายๆ เลยว่า กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติต่อนักโทษที่มีความหลากหลายทางเพศเสมือนหนึ่งว่าเป็นนักโทษชาย ไม่ว่านักโทษคนนั้นจะแปลงเพศหรือทำหน้าอกมาก็ตาม หรือแม้จะเหมือนผู้หญิงแค่ไหนก็ตาม เขาก็ยังปฏิบัติเสมือนเป็นนักโทษชาย และไม่ได้มีการป้องกันอะไรให้กับคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ”
.
“สิ่งที่เยียวยาเราตอนอยู่ในคุกเลยคือหนังสือของมหาตมะ คานธี อัตชีวประวัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ และรัฐธรรมนูญฉบับของอาจารย์ปรีดี รวมไปถึงหนังสืออื่นๆ เราเยียวยาตัวเองด้วยหนังสือ เพราะไม่สามารถคุยกับใครได้ คนเดียวที่เราคุยด้วยได้คือทนายตอนที่เขามาเยี่ยม ไม่ได้เจอครอบครัว เพราะมาตรการห้ามเยี่ยม เนื่องจากการระบาดของโควิด ชีวิตในนั้นมันเป็นชีวิตที่จำเจและน่าเบื่อมาก”
.
“ถึงเราจะไม่ค่อยได้คุยกับพ่อกับแม่มากมายก่อนเข้าคุก แต่อย่างน้อย เราคิดว่า การที่เราได้อยู่บ้านแล้วเจอเขาทุกวันเป็นเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข แต่อยู่มาวันหนึ่ง เราไม่สามารถเจอครอบครัวได้ มันเป็นเรื่องที่ทรมานมากนะ ไม่มีทางรู้เลยว่า ข้างนอกเขาเป็นอย่างไรบ้าง รับรู้แค่ว่า เวลาที่มองนาฬิกา เขาน่าจะกำลังทำกิจกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ อันนี้เป็นความเจ็บปวดซึ่งมันทรมานใจถึงที่สุด”
.
“ตอนยังอยู่ข้างใน เราได้ข่าวว่า มีผู้ต้องขังในเรือนจำติดโควิด สำหรับเรา เราว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะผู้ต้องขังทุกคนต้องนอนติดกันหมด มันปกติมากด้วยซ้ำที่มีจะมีใครสักคนเป็นโควิด แล้วส่งต่อเชื้อให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ลามกันต่อไป ไม่ได้เหนือความคาดหมายหรือเป็นเรื่องที่ประหลาด ก็น่าตั้งคำถามว่า มาตรการห้ามเยี่ยมญาติมันใช้ป้องกันการระบาดของโควิดได้จริงหรือไม่”
.
“จนวันที่ได้รับอิสรภาพ เราถึงได้รู้ว่า มวลชนข้างนอกเองเขาก็ยังคงเคลื่อนไหวและยอมอดอาหารเป็นเพื่อนเรา พอทราบแล้วรู้สึกตื้นตันมาก เพราะตอนอยู่ข้างใน เราไม่รู้เลยว่าข้างนอกมีคนพูดถึงเราบ้างไหม? หรือจริงๆ แล้วเราเป็นอย่างไรบ้างในสายตาของมวลชน หรือมีคนสนใจ หรือมีการเคลื่อนไหวอะไรเพื่อเราไหม? เราไม่สามารถตอบได้จริงๆ ข้างในมันมีแต่ความอ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว เหงา แต่พอออกมาแล้วรู้สึกว่า ไม่เสียแรง ไม่เสียดาย และไม่เสียใจเลย ที่เราต้องสูญเสียอิสรภาพไป ต่อให้อดอาหารนานกว่านี้ เราก็เชื่อว่าเราทำได้ เพราะอย่างน้อยเราก็รู้ว่าเราไม่ได้สู้อยู่คนเดียว มันมีคนที่ยังสู้อยู่เคียงข้างเรา”
.
“(ทราบมาว่าคุณแม่ของฟ้าเส้นเลือดในสมองแตกระหว่างที่ฟ้าถูกฝากขัง?) ใช่ เราเองก็เพิ่งจะทราบเรื่องอาการป่วยของแม่ก็ตอนวันที่ติดกำไล EM ตอนนั้นเราช็อก พูดตรงๆ ว่ารับไม่ได้ ทรมานมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น คิดว่า ทำไมอิสรภาพของเรากลับต้องแลกด้วยชีวิตของแม่? แม้ว่าตอนนี้แม่จะเริ่มแข็งแรงแล้ว แต่ความเจ็บปวดใจก็ยังคงอยู่”
.
“การสูญเสียอิสรภาพในครั้งนี้มันสอนเรา กลับทำให้เราอยากสู้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะฟ้ารู้สึกว่า การที่เขาเอาเราไปขังก็เพราะต้องการให้เส้นของการต่อสู้มันลดลง แต่แน่นอนว่าไม่สามารถทำได้ เพราะจริงๆ ข้อเรียกร้องทั้งหมด หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ฟ้าถูกกักขัง มันเป็นข้อเรียกร้องของมวลชน นั่นคือสิ่งที่เป็นความฝันของพวกเขา ไม่ใช่แค่ความฝันของฟ้าคนเดียว ถ้าฟ้าเป็นคนเรียกร้องแล้วมวลชนไม่ตาม มันก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่อันนี้ เพราะฟ้าเป็นคนเรียกร้อง ออกมาต่อสู้ แล้วมวลชนก็เลือกที่จะตาม นั่นก็คือมติของพวกเขา ต่อให้ไม่มีพวกแกนนำ แต่มวลชนก็ยังยึดมั่นในแนวทางเดิม ไม่ได้ต่างกันเลย ไม่ว่าเราจะอยู่ข้างนอกหรือข้างในที่คุมขัง”
.
“(กังวลไหมถ้าวันหนึ่งเราอาจต้องเข้าไปข้างในอีกรอบ?) ไม่กังวล เพราะเรามีครอบครัวเป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วก็บรรดาผู้ชุมนุมทั้งหลายที่อยู่ข้างนอก ฟ้าต้องพูดจริงๆ ว่า ผู้ชุมนุมทั้งหลายที่คอยสนับสนุนการชุมนุม พวกเขาเปรียบเสมือนมารดาและบิดาของการชุมนุม คอยหล่อเลี้ยงการชุมนุมให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง เราปฏิเสธไม่ได้ได้เลยว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่บริสุทธิ์ มันเกิดขึ้นจากมวลชน เกิดจากเงินก้อนต่างๆ ที่มวลชนเอามาบริจาคร่วมกัน พวกเขาก็เหมือนพ่อแม่ที่หล่อเลี้ยงลูก ม็อบหรือการชุมนุมก็เหมือนลูก ตราบใดที่มวลชนยังสู้ ฟ้าก็จะสู้ จะไม่มีวันถอยเด็ดขาด จะไม่ยอมแพ้ เพราะถ้าเรามากลัวเอาตอนนี้ ก็เท่ากับว่าเราทรยศต่อแรงเชียร์แรงใจ แรงสนับสนุนจากมวลชน”
.
“การเคลื่อนไหวในตอนนี้ เป้าหมายมันไปไกลมากแล้ว ถึงแม้จะยังไม่มีข้อเรียกร้องไหนที่บรรลุผล แต่อย่าลืมว่าตอนนี้พวกเรามาไกลเกินกว่าจะถอยกลับ ประชาชนในประเทศนี้ ไม่ว่าคุณจะสนใจการเมืองหรือไม่ ทุกคนได้เห็นแล้วว่า ปัญหามันน่ากลัวจริงๆ แล้วในเวลานี้ คนจำนวนมากกล้าลุกขึ้นมาพูดถึงปัญหาที่ว่าอย่างตรงไปตรงมา ทุกคนกล้าชนกับปัญหา อย่างในเรื่องของวัคซีนโตวิด คนตั้งคำถามกับรัฐเรื่องการจัดการและคุณภาพของวัคซีน ไม่มีข้อมูลหรือปัญหาถูกปิดซ่อนได้อีกต่อไป มากไปกว่านั้น น่าอัศจรรย์มาก คนหันมาสนใจการประชุมรัฐสภามากขึ้น แม้ว่าปัญหาเรื่องปากท้องจะยังเป็นประเด็นหลักในการต่อสู้อยู่ก็ตาม แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาอื่นๆ มันก็ถูกเล่นล้อไปพร้อมกับปัญหาเรื่องปากท้อง”
.
“หากลองมองประวัติศาสตร์ในอดีตเทียบกับการต่อสู้ในปัจจุบัน การต่อสู้ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่สวยงามที่สุด ฟ้าคิดว่า ต่อให้รุ่นนี้เราจะไม่ชนะ แต่ในการต่อสู้ของคนรุ่นต่อไป การต่อสู้จะยิ่งสวยงามขึ้นไปอีก มันจะเป็นเสมือนต้นไม้ที่คอยเจริญเติบโตและยิ่งหยั่งรากลึกลงไปเรื่อยๆ กลายเป็นต้นโพธิ์ที่พร้อมจะให้คุณประโยชน์กับสรรพสัตว์นานาชนิด”
.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
.
ในวันที่การเมืองกลายเป็นเรื่องของทุกคนอย่างแท้จริง กลุ่มชาวเพศหลากหลาย #LGBTIQA+ ได้เข้ามามีบทบาทนำในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร63 อย่างน่าสนใจ พวกเขาไม่ใช่สีสันของม็อบ แต่คือผู้ปราศรัยที่กล้าวิพากย์ระบบโครงสร้างที่ไม่เคยเป็นธรรม ผู้ร่วมชุมนุมที่ลุกขึ้นมาต่อรองกับรัฐเพื่ออนาคตที่ดีกว่า แกนนำที่พามวลชนเรือนหมื่นเผชิญหน้ากับสายธารของยุคสมัย หรือแม้กระทั่งการ์ดมวลชนที่พร้อมเอาร่างกายเป็นแนวปะทะความรุนแรง กระทั่งวันนี้ที่การชุมนุมเคี่ยวงวดจนใกล้จุดเดือด พวกเขายังคงมุ่งมั่น และพร้อมเคียงข้างไปบนถนนของการต่อสู้ เมื่อความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่สามารถรอได้อีกต่อไป
.
ศูนย์ทนายฯ ชวนสนทนากับเหล่าผู้ไม่ยอมจำนน เจตจำนงของพวกเขาที่ขอท้ารบทั้งต่อเผด็จการและระบอบปิตาธิปไตย ราคาที่ต้องแลก เพราะต้นทุนของการจองจำที่สูงกว่าคนทั่วไป และความหวังสูงสุดที่จะได้เห็นธงรุ้งโบกไสวเหนือสมรภูมิทางการเมืองเพื่อยืนยันสิ่งพื้นฐานที่สุด นั่นก็คือ เราทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน
.
.
https://tlhr2014.com/archives/27013
.....



ประชาไท Prachatai.com
11h ·

“ถ้าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนควรจะต้องเป็นใหญ่ ซึ่งประชาชนทุกคนควรจะเท่ากันไม่ว่าเขาจะเป็นเพศอะไรหรือว่าเขาจะมีชนชั้นอะไร”
.
มีมี่ นักกิจกรรมเยาวชนวัย 17 ปีผู้เคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมทางเพศ กลายเป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ หลังขึ้นปราศรัยในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563
จากสมาชิกกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกและหนึ่งในกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการแสดงชุดสีดาลุยไฟ การแสดงที่ใช้การเต้นเพื่อสื่อสารถึงการต่อต้านวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ ในสังคม ปัจจุบันมีมี่เป็นแอดมินเพจ Feminist FooFoo ที่เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางเพศ และร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการนักเรียนเพื่อต่อต้านพ.ร.บ. การศึกษาฉบับใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่สภา
ประชาไทคุยกับมีมี่ถึงจุดเริ่มต้นของการออกมาเคลื่อนไหว ประสบการณ์การถูกดำเนินคดีในฐานะเยาวชนที่ออกมาแสดงออก และความสำคัญของความเป็นธรรมทางเพศในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
อ่านได้ที่: https://prachatai.com/journal/2021/06/93534
ดูได้ที่: https://youtu.be/yXstEgKeMIc


European Union in Thailand
13h ·

นักท่องเที่ยวต่างชาติมักบอกว่าเมืองไทยเป็นแดนสวรรค์ของ LGBTIQ แต่สำหรับชาว LGBTIQ ไทยแล้วนั้น ที่นี่เป็นสวรรค์ของพวกเขาจริงหรือ?
Kanith หรือ กนิษฐรินทร์ ไทยแหลมทอง ชวนทุกคนมาหาคำตอบกับผลงานล่าสุดของเธอในนิทรรศการศิลปะ “(อ)คติ” ที่แสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ชาว LGBTIQ ต้องเผชิญ โดยถ่ายทอดผ่านศิลปะกึ่งเหมือนจริงทั้งหมด 6 ภาพ
พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรม ProudToSupportPRIDE เพื่อลุ้นรับ Voucher ไอศกรีม Guss Damn Good มูลค่า 500 บาท จำนวน 20 รางวัล และของที่ระลึกจาก EU และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยเลือกภาพที่ตรงใจกดแชร์สาธารณะผ่าน Facebook ของตัวเอง หรือผ่านทาง Instagram โดยใช้ Filter IG ชื่อ ProudToSupportPRIDE โพสต์แบบสาธารณะลง Stories พร้อมแท็ก @LidoConnect
ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2564 ทีมงานจะสุ่มผู้โชคดีและประกาศรางวัลวันที่ 2 ก.ค. นี้ อย่าลืมบอกใครๆ ว่า "I'm #ProudToSupportPRIDE!!"
“Is Thai society as accepting to Thai LGBTIQ persons as it is to foreign travelers?”
Promising artist, Kanitharin “Kanith'' Thailamthong, invites her fans to answer this question through her latest creation, “PRIDE and Prejudice.” Designed to challenge social norms and stereotypes, this mini art exhibition will make you think of what you do or say that feeds LGBTIQ discrimination in everyday life.
Get a chance to win a 500 THB cash voucher from Guss Damn Good and gift bags from the EU and the Rights and Liberties Protection Department by selecting your favourite artwork. Share it on your Facebook or Instagram stories before 30 June, using the filter ProudToSupportPRIDE, tag @Lidoconnect and don’t forget to set your post to Public.
Twenty lucky winners will be announced on 2 July. Let’s stand up and be #ProudToSupportPRIDE!
#ProudToSupportPride
#EU4LGBTIQ
#EUinThailand
#RLPDalwayswithPRIDE
#LidoConnect