![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhwfMLdCP2yqSBAnhpMuRWpBQA35ay7DT8iYEMNVb7vZp3UqeYN2BKBsx6pSYH9tfexeLV2FtG0HQgmDdAxMOYwW3cPmKvi44k8qpWe9avizxrTTs-9s9RsOoFRvDG_UQbPltybVyzl7RV9_3vcu6fBgESdS0YFP9xWlwJwNWvaeNOMF862AhBTkw/w396-h207/download%20(15).jpeg)
30 January 2025
The Matter
“ตอนนี้ยังพอกล้อมแกล้ม ปีที่แล้วทำพอเสมอตัว ปีนี้ทำท่าไม่ดี ขาดทุน ถ้าเป็นอย่างนี้ 2-3 ปี จะเลิกทำแล้ว ทำไม่ได้หรอก เพราะว่าต้นทุนมันสูง”
ยุทธนา แซ่ลี้ เกษตรกรเลี้ยงกุ้งวัย 53 ปี ที่เช่าพื้นที่ราว 600 ไร่ในการทำวังกุ้ง ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เปิดใจกับ The MATTER
ต้นปี 2568 ปลาหมอคางดำ หรือ blackchin tilapia ปลาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น กับลักษณะเด่น คือ จุดสีเข้มใต้คาง ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรไทย แม้ว่าจะเคยเป็นข่าวใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเคยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดพื้นที่แพร่ระบาดไว้ถึง 19 จังหวัด
ยุทธนาเล่าให้เราฟังว่า เริ่มเห็นปลาหมอคางดำตั้งแต่ช่วงปี 2554-2555 จากนั้นก็พบเห็นมาตลอด
“ประมาณสักปี 2554-2555 ปลาหมอคางดำเริ่มระบาด พอเริ่มระบาดปุ๊บ รายได้เราก็จะหายไปเลย จากที่เคยได้จากกุ้ง สมมติว่ารายได้ปีหนึ่งก็ประมาณ 2-3 แสนบาทตอนนี้เหลือประมาณแสนบาท หายไปครึ่ง”
The MATTER ลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เพื่อสำรวจปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ที่ยังไม่หายไปจากแหล่งน้ำไทย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjivaS52AZQEilPtGHp3Xih136FM4sJ4BZI-67_gsjjrmAuYcfrb4QeAME_0dEyIMd_eoE9_6T9P3eXG0I816BI0VFSWNCNtehS97e7s2zydc6TWfMe-rlUZczC7xlXpp_7gAJF1Xp1gBUlm0nMz__GfVb8rHuPj0aTJkVEDirQugybSxfpPbFyjg/w400-h266/DSC03105-scaled.jpg)
ปลาหมอคางดำยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทบรายได้เกษตรกร
ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ท่ามกลางอากาศเย็นในเดือนกมราคม เรานัดพบกับยุทธนาที่วังกุ้ง หรือบ่อกุ้ง ในพื้นที่เช่าขนาด 600 ไร่ของเขา ขับรถบนถนนลูกรังส่วนบุคคลได้ 15 นาที เราพบกับยุทธนา หรือพี่โจ๊ก ที่ปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าว ล้อมรอบด้วยวังกุ้ง
ยุทธนาพาเราไปหว่านแห ก่อนจะพบว่า สัตว์น้ำที่ติดแห มีแต่ปลาหมอคางดำ แม้จะเป็นวังกุ้งก็ตาม
วังกุ้งของยุทธนา เป็นพื้นที่เช่าราว 600 ไร่ ค่าเช่าปีละประมาณ 600,000 บาท ประกอบกับต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมันดันน้ำ ค่าอุปกรณ์สึกหรอ เดือนละประมาณ 50,000 บาท แต่การระบาดของปลาหมอคางดำทำให้รายได้แทบไม่พอค่าใช้จ่าย รายได้จากกุ้งหายไปปีละหลักแสนบาท
“ทีนี้ ค่าเช่าที่ บางทีเราก็จะไม่พอเลยนะ เพราะว่าตอนนี้มันระบาดมาแล้ว มันเยอะ กำจัดมันก็ไม่หมด เพราะว่าในน้ำลำคลองมันก็มีหมด พอมันมี เราวิดน้ำเข้าไป ก็วิดเขาก็เข้าไปด้วย มันก็เกิดตลอด แม่พันธุ์เข้าไป 10 กว่าแม่ เข้าไปแม่หนึ่ง แพร่พันธุ์แป๊บเดียวก็เต็มแล้ว” ยุทธนาอธิบาย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhoJ9e7NeL_3tuYR-v-kemYadqTKkvfiDL__c1z7g0-FFij5FHBytkcgh7FiXfV1MhjJBHRMVZGbC4f1kpVGw-GqbiTl2ay27bKoUxX112B9Y-Drf0kqfd5WvtdsApeFhScovjaK9_TkuNNtlsTvaAkT3SBMXan4ea1sTV1VkJN6Bzj5W3XcOamaw/w399-h266/DSC03070-scaled.jpg)
เป็นคนสมุทรสาครโดยกำเนิด ยุทธนาทำอาชีพประมงมาทั้งชีวิต เริ่มจากออกเรือหาปลาในคลองและทะเล ก่อนจะเก็บสะสมทุนและย้ายมาทำบ่อกุ้งที่สมุทรสงคราม –ในหนึ่งเดือน เขาจะเปิดน้ำเพื่อดักกุ้ง 2-3 ครั้ง และให้ลูกขับไปส่งกุ้งที่ตลาดยายพ่วง ต.มหาชัย
“หนึ่งเดือนก็จะเปิดกุ้งแค่ 2-3 หนเอง เปิด 3-4 คืน ก็ปล่อยกุ้งเล็กไปต่อ มันก็โต พอใหญ่มา เราก็หมุนเวียนเปิด เมื่อก่อนปล่อยก็จะติด เดี๋ยวนี้ปล่อยไม่ค่อยติด
“ก็เปิดน้ำออกมา ก็จะมีกุ้งออกมาในอวน เราก็ตักขึ้นกลางคืน เพราะกลางคืนน้ำจะแห้งๆ น้ำทะเลจะลง เราก็เปิดออกมา ตักขึ้น คัดไซส์ เมื่อก่อนสนุก คืนเดียว โอ้โห ได้ 20-30 กิโลฯ เดี๋ยวนี้ 5 กิโลฯ จะได้หรือเปล่า ทีนี้มันก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายเราอีก ค่าใช้จ่ายเราเยอะ”
ตัวเขาเองพยายามกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อ หนึ่งปีกำจัดทิ้งหนึ่งครั้ง จากนั้นก็เตรียมบ่อใหม่ ปล่อยกุ้งเข้าไปกับน้ำใหม่ แต่พอทำเช่นนี้ ก็มีปลาหมอคางดำเกิดใหม่ใกล้เคียงกันกับกุ้ง “มันก็กัดกุ้งที่เราอยู่ เพราะกุ้งมันต้องลอกคราบไง มันต้องนิ่ม” เขาว่า
นั่นเท่ากับว่า ปลาหมอคางดำไม่เคยมีจำนวนน้อยลงเลย
“มันก็เยอะขึ้นทุกวัน วัง 30 ไร่ ทุกปีก็จับปลาหมอคางดำได้ 2 ตัน หรืออาจจะเกินกว่านั้น ถามว่า 200 ไร่ ก็คูณไป เป็น 10-20 ตันทุกปี”
ความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ต่อเนื่อง กับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
“อยากให้รัฐบาลลงมาแก้ไข ให้มาปรึกษากัน ผมมีแนวทางนะ ก็อยากมาคุยกันว่าจะทำยังไง ไม่อย่างนั้นเราก็คุยคนเดียว เราก็พูดคนเดียว ไม่มีใครเขารับฟัง เมื่อมันเกิดมาแล้ว เราจะไปซ้ำเติมทำไมว่า คนนู้นทำ คนนี้ทำ ก็พูดไม่ได้
“ต้องพูดว่า เราจะแก้ไขอย่างไรบ้าง ให้ประเทศเราอยู่ได้ ให้ประเทศชาติเราอยู่ได้ ให้เหมือนเดิม หรือให้มันดีกว่าเดิม” คือความเห็นจากเกษตรกรอย่างยุทธนา
สำหรับชาวประมง เขาเล่าว่า ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐเคยออกมายื่นมือให้ความช่วยเหลือ โดยการรับซื้อปลาหมอคางดำที่แพปลา ให้ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท ล่าสุด การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก็เพิ่งประกาศรับซื้ออีกในเดือนกุมภาพันธ์ ให้ราคา 15 บาท/กิโลกรัม
“พอหมดงบ ก็เงียบไป แต่ปลามันไม่หมด ปลามันอยู่คงเดิม” ยุทธนาให้ความเห็นย้ำ
“มันก็กระทบกันหมด เพราะความที่ประเทศไทยเป็นอ่าวเล็กๆ ธุรกิจคือการประมง ประมงทะเลก็ดี ประมงชายฝั่งก็ดี ประมงในคลอง หรือประมงวังกุ้ง บ่อกุ้ง ก็เป็นประมงทั้งหมด
“แต่ปลาตัวนี้เขากระจายไปหมด ทั้งในคลอง ทั้งในแม่น้ำ ทั้งออกทะเล ก็ว่ากันไป พวกเดินเรือก็กระทบกันหมด กระชังปูม้า เลี้ยงปูม้าก็ดี ลูกกุ้งที่จะเกิดใหม่มา ก็โดนหมด เราจะกินอะไรต่อไป ก็ลำบาก”
The Matter
“ตอนนี้ยังพอกล้อมแกล้ม ปีที่แล้วทำพอเสมอตัว ปีนี้ทำท่าไม่ดี ขาดทุน ถ้าเป็นอย่างนี้ 2-3 ปี จะเลิกทำแล้ว ทำไม่ได้หรอก เพราะว่าต้นทุนมันสูง”
ยุทธนา แซ่ลี้ เกษตรกรเลี้ยงกุ้งวัย 53 ปี ที่เช่าพื้นที่ราว 600 ไร่ในการทำวังกุ้ง ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เปิดใจกับ The MATTER
ต้นปี 2568 ปลาหมอคางดำ หรือ blackchin tilapia ปลาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น กับลักษณะเด่น คือ จุดสีเข้มใต้คาง ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรไทย แม้ว่าจะเคยเป็นข่าวใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเคยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดพื้นที่แพร่ระบาดไว้ถึง 19 จังหวัด
ยุทธนาเล่าให้เราฟังว่า เริ่มเห็นปลาหมอคางดำตั้งแต่ช่วงปี 2554-2555 จากนั้นก็พบเห็นมาตลอด
“ประมาณสักปี 2554-2555 ปลาหมอคางดำเริ่มระบาด พอเริ่มระบาดปุ๊บ รายได้เราก็จะหายไปเลย จากที่เคยได้จากกุ้ง สมมติว่ารายได้ปีหนึ่งก็ประมาณ 2-3 แสนบาทตอนนี้เหลือประมาณแสนบาท หายไปครึ่ง”
The MATTER ลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เพื่อสำรวจปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ที่ยังไม่หายไปจากแหล่งน้ำไทย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjivaS52AZQEilPtGHp3Xih136FM4sJ4BZI-67_gsjjrmAuYcfrb4QeAME_0dEyIMd_eoE9_6T9P3eXG0I816BI0VFSWNCNtehS97e7s2zydc6TWfMe-rlUZczC7xlXpp_7gAJF1Xp1gBUlm0nMz__GfVb8rHuPj0aTJkVEDirQugybSxfpPbFyjg/w400-h266/DSC03105-scaled.jpg)
ปลาหมอคางดำยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทบรายได้เกษตรกร
ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ท่ามกลางอากาศเย็นในเดือนกมราคม เรานัดพบกับยุทธนาที่วังกุ้ง หรือบ่อกุ้ง ในพื้นที่เช่าขนาด 600 ไร่ของเขา ขับรถบนถนนลูกรังส่วนบุคคลได้ 15 นาที เราพบกับยุทธนา หรือพี่โจ๊ก ที่ปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าว ล้อมรอบด้วยวังกุ้ง
ยุทธนาพาเราไปหว่านแห ก่อนจะพบว่า สัตว์น้ำที่ติดแห มีแต่ปลาหมอคางดำ แม้จะเป็นวังกุ้งก็ตาม
วังกุ้งของยุทธนา เป็นพื้นที่เช่าราว 600 ไร่ ค่าเช่าปีละประมาณ 600,000 บาท ประกอบกับต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมันดันน้ำ ค่าอุปกรณ์สึกหรอ เดือนละประมาณ 50,000 บาท แต่การระบาดของปลาหมอคางดำทำให้รายได้แทบไม่พอค่าใช้จ่าย รายได้จากกุ้งหายไปปีละหลักแสนบาท
“ทีนี้ ค่าเช่าที่ บางทีเราก็จะไม่พอเลยนะ เพราะว่าตอนนี้มันระบาดมาแล้ว มันเยอะ กำจัดมันก็ไม่หมด เพราะว่าในน้ำลำคลองมันก็มีหมด พอมันมี เราวิดน้ำเข้าไป ก็วิดเขาก็เข้าไปด้วย มันก็เกิดตลอด แม่พันธุ์เข้าไป 10 กว่าแม่ เข้าไปแม่หนึ่ง แพร่พันธุ์แป๊บเดียวก็เต็มแล้ว” ยุทธนาอธิบาย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhoJ9e7NeL_3tuYR-v-kemYadqTKkvfiDL__c1z7g0-FFij5FHBytkcgh7FiXfV1MhjJBHRMVZGbC4f1kpVGw-GqbiTl2ay27bKoUxX112B9Y-Drf0kqfd5WvtdsApeFhScovjaK9_TkuNNtlsTvaAkT3SBMXan4ea1sTV1VkJN6Bzj5W3XcOamaw/w399-h266/DSC03070-scaled.jpg)
เป็นคนสมุทรสาครโดยกำเนิด ยุทธนาทำอาชีพประมงมาทั้งชีวิต เริ่มจากออกเรือหาปลาในคลองและทะเล ก่อนจะเก็บสะสมทุนและย้ายมาทำบ่อกุ้งที่สมุทรสงคราม –ในหนึ่งเดือน เขาจะเปิดน้ำเพื่อดักกุ้ง 2-3 ครั้ง และให้ลูกขับไปส่งกุ้งที่ตลาดยายพ่วง ต.มหาชัย
“หนึ่งเดือนก็จะเปิดกุ้งแค่ 2-3 หนเอง เปิด 3-4 คืน ก็ปล่อยกุ้งเล็กไปต่อ มันก็โต พอใหญ่มา เราก็หมุนเวียนเปิด เมื่อก่อนปล่อยก็จะติด เดี๋ยวนี้ปล่อยไม่ค่อยติด
“ก็เปิดน้ำออกมา ก็จะมีกุ้งออกมาในอวน เราก็ตักขึ้นกลางคืน เพราะกลางคืนน้ำจะแห้งๆ น้ำทะเลจะลง เราก็เปิดออกมา ตักขึ้น คัดไซส์ เมื่อก่อนสนุก คืนเดียว โอ้โห ได้ 20-30 กิโลฯ เดี๋ยวนี้ 5 กิโลฯ จะได้หรือเปล่า ทีนี้มันก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายเราอีก ค่าใช้จ่ายเราเยอะ”
ตัวเขาเองพยายามกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อ หนึ่งปีกำจัดทิ้งหนึ่งครั้ง จากนั้นก็เตรียมบ่อใหม่ ปล่อยกุ้งเข้าไปกับน้ำใหม่ แต่พอทำเช่นนี้ ก็มีปลาหมอคางดำเกิดใหม่ใกล้เคียงกันกับกุ้ง “มันก็กัดกุ้งที่เราอยู่ เพราะกุ้งมันต้องลอกคราบไง มันต้องนิ่ม” เขาว่า
นั่นเท่ากับว่า ปลาหมอคางดำไม่เคยมีจำนวนน้อยลงเลย
“มันก็เยอะขึ้นทุกวัน วัง 30 ไร่ ทุกปีก็จับปลาหมอคางดำได้ 2 ตัน หรืออาจจะเกินกว่านั้น ถามว่า 200 ไร่ ก็คูณไป เป็น 10-20 ตันทุกปี”
ความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ต่อเนื่อง กับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
“อยากให้รัฐบาลลงมาแก้ไข ให้มาปรึกษากัน ผมมีแนวทางนะ ก็อยากมาคุยกันว่าจะทำยังไง ไม่อย่างนั้นเราก็คุยคนเดียว เราก็พูดคนเดียว ไม่มีใครเขารับฟัง เมื่อมันเกิดมาแล้ว เราจะไปซ้ำเติมทำไมว่า คนนู้นทำ คนนี้ทำ ก็พูดไม่ได้
“ต้องพูดว่า เราจะแก้ไขอย่างไรบ้าง ให้ประเทศเราอยู่ได้ ให้ประเทศชาติเราอยู่ได้ ให้เหมือนเดิม หรือให้มันดีกว่าเดิม” คือความเห็นจากเกษตรกรอย่างยุทธนา
สำหรับชาวประมง เขาเล่าว่า ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐเคยออกมายื่นมือให้ความช่วยเหลือ โดยการรับซื้อปลาหมอคางดำที่แพปลา ให้ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท ล่าสุด การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก็เพิ่งประกาศรับซื้ออีกในเดือนกุมภาพันธ์ ให้ราคา 15 บาท/กิโลกรัม
“พอหมดงบ ก็เงียบไป แต่ปลามันไม่หมด ปลามันอยู่คงเดิม” ยุทธนาให้ความเห็นย้ำ
“มันก็กระทบกันหมด เพราะความที่ประเทศไทยเป็นอ่าวเล็กๆ ธุรกิจคือการประมง ประมงทะเลก็ดี ประมงชายฝั่งก็ดี ประมงในคลอง หรือประมงวังกุ้ง บ่อกุ้ง ก็เป็นประมงทั้งหมด
“แต่ปลาตัวนี้เขากระจายไปหมด ทั้งในคลอง ทั้งในแม่น้ำ ทั้งออกทะเล ก็ว่ากันไป พวกเดินเรือก็กระทบกันหมด กระชังปูม้า เลี้ยงปูม้าก็ดี ลูกกุ้งที่จะเกิดใหม่มา ก็โดนหมด เราจะกินอะไรต่อไป ก็ลำบาก”
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiUypnl1FwMtZugtXyNX6cS3mJo8LTYMBnhdTTpxZd3XIF1AZAdu_7V2A5xAJqaOFnZ1qTMtXRQhZjbxljAINV8yEcJorUXMYUpQZlrKi86g2S5d8wd4EEpnHbNbcg9ChwV-5TVv_NRrN0QHjXOfTq5e0TGxUhFWL-kagMVCydLA_m9qymZHbHOeQ/w395-h263/DSC03154-scaled.jpg)
นอกจากเรื่องรายได้ อีกประการหนึ่งที่ยุทธนากังวล จากมุมมองของเขาเองที่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติและทะเล ก็คือเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ยุทธนาบอกกับเราว่า “ระบบนิเวศเราก็ไม่รู้ว่าเสียหรือเปล่า จริงๆ อยากให้นักวิชาการมาดูนะ อยากให้สำรวจว่า ทำไมปลาตัวนี้ถึงได้ทำปลาท้องถิ่นเราหายไปหมด จริงๆ หน่วยงานน่าเข้ามาตรวจ เราจะได้แก้ไขถูก ถ้าเราไม่หาต้นตอ เราก็แก้ไขไม่ถูกหรอก มันก็เป็นอยู่อย่างนี้
“ตอนนี้ตามธรรมชาติก็โดนปลาหมอคางดำ กุ้งธรรมชาติก็หายไปเยอะ ก็ไม่มีแล้ว น้อยไปเยอะแล้ว ทีนี้มันก็ลำบาก คนที่หากินที่อ่าวไทย ธรรมชาติเสียไปเราก็จบแล้ว”
เขาเล่าให้ฟังอีกว่า “ถามว่า เราไม่มีรายได้ขึ้นมา เราก็แย่เหมือนกัน ที่ก็จะโดนยึดเอา ก็เริ่มแย่ เราจะลำบากขึ้น ต่อไปจะทำกินมันไม่เหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนดันน้ำในคลอง กุ้งก็เยอะแยะ ไม่ต้องซื้อเชื้อมาปล่อย เพราะธรรมชาติมันยังเต็มอยู่
“ประมาณ 20 ปี ก่อน ไม่ต้องซื้อกุ้งปล่อย ธรรมชาติให้เยอะแยะ แต่เดี๋ยวนี้ต้องซื้อมาปล่อย เพราะว่าลูกกุ้งเรามันน้อยมาก ไม่มีเลย แตกต่างกันเยอะ”
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg11SyMRisxQ0728n1VKvjatQfh2x2Q91gGWD4oiyHD00wWnlVxCHeDAS76wPIg9XE-KaFvCyGfEhVogqwaC31Z4TqoZqTDc8z8nqjXLtAeDgQo3VgeYejcFS4ME-0TwFfVwXm8bfASHRhrX0etQg_PHKuVompRC2r3hrXKMWyxn_1cbi0oUDGMQg/w398-h265/7-1-scaled.jpg)
ยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม: ความพยายามจากภาคประชาชน
ปัญหาปลาหมอคางดำยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนต่อไป ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหานี้
เมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกร นำโดย ปัญญา โตกทอง ชาวประมงในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เช่นเดียวกัน เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอาชีพประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงพื้นบ้านจำนวน 1,400 คน ได้ยื่นฟ้องบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน) หรือบริษัท CPF พร้อมกรรมการบริหารรวม 9 คน จากปัญหาดังกล่าว
โดยยื่นฟ้องในคดีสิ่งแวดล้อม และเป็นการฟ้องแบบกลุ่ม เรียกค่าสนไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินรวม 2,486,450,000 บาท
การยื่นฟ้องเริ่มมีความคืบหน้า หลังจากที่ศาลนัดสืบพยาน เพื่อไต่สวนรับฟ้องคดีแบบกลุ่ม ในช่วงเดือนมกราคม 2568 นี้
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiKLFFsTNDAP7cyHESmnUXm8_pdFxdutnKHuJvMK-7FdZ4miHmTZ9dzU6r8tlxHeH1bCeHzLio3LnQGxHYmJt15AMbEOeSZHG9t8h52ukfkbt-wyPDdfpjQlejkUHGPTOAHnk9Vg3Knv9YmO-vKbwGUkDjhirUKUrVgXTGMywb9IeIYPtFB-XpHHQ/w400-h266/1-2-scaled.jpg)
“หลังจากที่มีการไต่สวนเสร็จแล้ว คาดว่าในวันที่ 30 [มกราคม] หลังจากนั้น ประมาณ 1 เดือน ศาลจะมีคำสั่งว่าจะรับฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่มหรือไม่” ว่าที่ ร.ต.สมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการฝ่ายคดี สภาทนายความ ให้สัมภาษณ์หลังศาลแพ่งกรุงเทพใต้ไต่สวนนัดแรก เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา
“ซึ่งเมื่อมีคำสั่งแล้ว คู่ความทั้งสองฝ่ายก็มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 7 วัน ถ้าเกิดศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำคดีแบบกลุ่ม ก็น่าเชื่อว่าทางฝ่ายจำเลยก็จะมีการอุทธรณ์ ในขณะเดียวกัน ในทางตรงข้าม ถ้าเกิดศาลออกมาอีกด้านหนึ่ง เราก็ต้องมีการอุทธรณ์ต่อไป”
คงต้องจับตากันต่อไปว่าเรื่องราวทั้งหมดจะจบลงอย่างไร
ที่แน่นอนคือ ปัญหานี้จะยังกระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน หากไม่ได้รับการแก้ไข
“ที่คิดตอนนี้ คือจะเปลี่ยนอาชีพไปทำสวน ทำสวนมะพร้าวก็ยังดีนะ เพราะยังส่งได้ตลอด ยังกินได้ตลอด” ยุทธนาเปิดใจกับเราทิ้งท้าย
“ก็เป็นประมงมา ก็เป็นอาชีพเราแหละ อาชีพค้าขายก็ค้าขาย อาชีพประมงก็ทำประมง อาชีพโรงงานคือทำงานโรงงาน แล้วก็เป็นอาชีพสืบต่อมายันลูกหลาน อย่างพวกพ่อแม่มีบริษัทก็สืบต่อกันไป บริษัทไหนอยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็เจ๊งไป ก็หมดไป
“วังกุ้งต่อไปก็อาจจะเป็นเหมือนกัน ตราบใดที่สภาพแวดล้อมยังเป็นอย่างนี้ มันก็ต้องหายไป อาจจะไม่มีกุ้งกิน กุ้งตอนนี้ก็ลดน้อยลงไป”
Graphic Designer: Phitsacha Thanawanich
Photographer: Asadawut Boonlitsak
Editor: Thanyawat Ippoodom
https://thematter.co/social/blackchin-tilapia-in-samut-songkhram/237705