Puangthong Pawakapan
14 hours ago
·
Dialogue with the Father โดยเลือดเนื้อเชื้อไขของวัฒน์ วรรลยางกูร – วนะ วสุ และวจนา วรรลยางกูร
ก่อนจะเข้าไปดู เราเข้าใจว่าเป็นการแสดงละครเวที แต่มันไม่ใช่ ไม่ใช่ละครที่ทำจากเรื่องจริงด้วยซ้ำ แต่คือเรื่องจริงที่บอกเล่าโดยเจ้าของเรื่องราวนั้นเอง ก่อนจะเข้าไปดู มีเพื่อนกระซิบล่วงหน้าว่ายาว 3 ชั่วโมง คิดในใจว่าจะฉันจะไหวมั้ย เป็นการแสดงที่ยาวจริง แต่พวกเขาไม่ได้ทำเพื่อเอาใจคนดู เขาทำเพราะเขาอยากเล่าเรื่องราวของพ่อ วัฒน์ วรรลยางกูร
พวกเขาเล่าด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ไม่พยายามเร้าอารมณ์ผู้ชมเลย แต่ก็ทำให้เราน้ำตาซึมหลายครั้ง
วิธีเล่าของพวกเขาน่าทึ่งมาก ไม่น่าเชื่อวาการเล่าผ่านนวนิยาย บทกวี หนังสือ ข้าวของที่รายล้อมตัววัฒน์และพวกเขาในบ้านที่ใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก ไปจนถึง “อาหารประจำ” จะสามารถร้อยเรียงสารพัดเรื่องราวไว้ด้วยกันได้ วนะ วสุ และวจนาทำให้เราเห็นตัวตนหลากหลายด้านของวัฒน์ที่มีแต่คนในเท่านั้นที่จะได้เห็น, ความคิดความเชื่อและการต่อสู้ของวัฒน์ตั้งแต่ 6 ตุลาจนถึงหลังรัฐประหาร 2557, ความผูกพันที่พวกเขามีกับพ่อ (และแม่ ซึ่งเราอยากได้ยินมากกว่านี้), งานแต่ละชิ้นของพ่อสัมพันธ์กับพวกเขาอย่างไร, พ่อมีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างไร ฯลฯ
ฟังแล้วก็เข้าใจเลยว่าทำไมจึงมี Dialogue with the Father ขึ้นมา จะมีสักกี่ครอบครัวกัน ที่ลูกๆ จะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพ่อของตนได้มากขนาดนี้ ปกติเรามักจะได้ยินว่าผู้ชายที่เป็นนักเคลื่อนไหว นักเขียน ศิลปินชื่อดัง มักจะล้มเหลวเรื่องความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว แต่วัฒน์กลับตรงกันข้าม และด้วยความผูกพันนี้เองที่เราได้เห็น legacy ของพ่อบนตัวลูกๆ ทั้งสามอย่างชัดเจน ถ้าดวงวิญญาณของคุณวัฒน์สามารถมานั่งดูการแสดงรำลึกนี้ได้ แกคงภูมิใจในตัวเองไปอีกหลายชาติ ... การปฏิวัติล้มเหลวก็ช่างหัวมันเถอะ
เรื่องเล่าในช่วงครึ่งแรก ทำให้เราเห็นว่าการฆาตกรรมหมู่ 6 ตุลาส่งผลต่อวัฒน์อย่างมาก ทั้งความคิดและวิถีชีวิต เขาตัดสินใจเข้าป่าจับปืนขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ แต่การลี้ภัยเข้าป่า แม้จะลำบากกาย เสี่ยงตายกลางป่า แต่ที่นี่ทำให้ “สหายร้อย” ได้เจอกับคู่ชีวิตของเขา “อัศนา วรรลยางกูร” ที่มาจากครอบครัวจีน... ที่นี่ เราไม่ได้ยินเสียงของความโดดเดี่ยวอ้างว้างของวัฒน์ เราเข้าใจเองว่าอย่างน้อยที่นี่ วัฒน์มีคนรัก และมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในป่าอยู่มากทีเดียว และมันเป็นช่วงเวลาแห่งความหวัง ... เป็นช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษาปัญญาชนกว่า 3,000 คนเข้าร่วมการปฏิวัติกับพรรคคอมมิวนิสต์
แม้เมื่อป่าแตก วัฒน์กลับคืนสู่นาคร แกก็ยังมั่นคงในอุดมการณ์เพื่อประชาชน ชีวิตของวัฒน์และคนในครอบครัวจึงได้รับกระทบอย่างจังเมื่อเกิดรัฐประหาร 2557 ... มันไม่ง่ายเลยเมื่อคุณต้องลี้ภัยไปต่างแดนในช่วงที่สังขารคุณกำลังโรยรา ต้องอยู่กับความกลัว หลบๆ ซ่อนๆ แม้เมื่อได้ย้ายไปฝรั่งเศส วัฒน์รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่เราเชื่อว่าความเหงาไม่ปรานีเขา ยิ่งร่างกายอ่อนแอความเหงาจะยิ่งทารุณกับคุณมากขึ้น วัฒน์ต้องห่างไกลจากลูกๆ ที่รักออกไปอีก เขาไม่ได้เจ็บคนเดียว แต่ลูกๆ ทางนี้ก็เจ็บปวดอย่างมากเช่นกัน
นี่คือความอยุติธรรมที่พวกเขา 4 ชีวิตเผชิญนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แต่พวกเขาจะเรียกร้องความหาความยุติธรรมนี้จากใครได้เล่า สักกี่คนในสังคมนี้อยากรับรู้เรื่องราวเหล่านี้กัน? แม้แต่คนที่เคยประกาศจะต่อสู้กับระบอบอยุติธรรมอย่างแข็งกร้าว ทุกวันนี้ก็พากันปกป้องโอบอุ้มระบอบนี้ไว้อย่างไร้อย่างอาย.. Dialogue with the Father ยังเตือนเราว่า ยังมีเพื่อนๆ น้องๆ อีกจำนวนมากที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ และอีกหลายคนที่ยังติดคุกอยู่ อย่าลืมพวกเขา
https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/9166119910105353
Dialogue with the Father โดยเลือดเนื้อเชื้อไขของวัฒน์ วรรลยางกูร – วนะ วสุ และวจนา วรรลยางกูร
ก่อนจะเข้าไปดู เราเข้าใจว่าเป็นการแสดงละครเวที แต่มันไม่ใช่ ไม่ใช่ละครที่ทำจากเรื่องจริงด้วยซ้ำ แต่คือเรื่องจริงที่บอกเล่าโดยเจ้าของเรื่องราวนั้นเอง ก่อนจะเข้าไปดู มีเพื่อนกระซิบล่วงหน้าว่ายาว 3 ชั่วโมง คิดในใจว่าจะฉันจะไหวมั้ย เป็นการแสดงที่ยาวจริง แต่พวกเขาไม่ได้ทำเพื่อเอาใจคนดู เขาทำเพราะเขาอยากเล่าเรื่องราวของพ่อ วัฒน์ วรรลยางกูร
พวกเขาเล่าด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ไม่พยายามเร้าอารมณ์ผู้ชมเลย แต่ก็ทำให้เราน้ำตาซึมหลายครั้ง
วิธีเล่าของพวกเขาน่าทึ่งมาก ไม่น่าเชื่อวาการเล่าผ่านนวนิยาย บทกวี หนังสือ ข้าวของที่รายล้อมตัววัฒน์และพวกเขาในบ้านที่ใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก ไปจนถึง “อาหารประจำ” จะสามารถร้อยเรียงสารพัดเรื่องราวไว้ด้วยกันได้ วนะ วสุ และวจนาทำให้เราเห็นตัวตนหลากหลายด้านของวัฒน์ที่มีแต่คนในเท่านั้นที่จะได้เห็น, ความคิดความเชื่อและการต่อสู้ของวัฒน์ตั้งแต่ 6 ตุลาจนถึงหลังรัฐประหาร 2557, ความผูกพันที่พวกเขามีกับพ่อ (และแม่ ซึ่งเราอยากได้ยินมากกว่านี้), งานแต่ละชิ้นของพ่อสัมพันธ์กับพวกเขาอย่างไร, พ่อมีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างไร ฯลฯ
ฟังแล้วก็เข้าใจเลยว่าทำไมจึงมี Dialogue with the Father ขึ้นมา จะมีสักกี่ครอบครัวกัน ที่ลูกๆ จะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพ่อของตนได้มากขนาดนี้ ปกติเรามักจะได้ยินว่าผู้ชายที่เป็นนักเคลื่อนไหว นักเขียน ศิลปินชื่อดัง มักจะล้มเหลวเรื่องความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว แต่วัฒน์กลับตรงกันข้าม และด้วยความผูกพันนี้เองที่เราได้เห็น legacy ของพ่อบนตัวลูกๆ ทั้งสามอย่างชัดเจน ถ้าดวงวิญญาณของคุณวัฒน์สามารถมานั่งดูการแสดงรำลึกนี้ได้ แกคงภูมิใจในตัวเองไปอีกหลายชาติ ... การปฏิวัติล้มเหลวก็ช่างหัวมันเถอะ
เรื่องเล่าในช่วงครึ่งแรก ทำให้เราเห็นว่าการฆาตกรรมหมู่ 6 ตุลาส่งผลต่อวัฒน์อย่างมาก ทั้งความคิดและวิถีชีวิต เขาตัดสินใจเข้าป่าจับปืนขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ แต่การลี้ภัยเข้าป่า แม้จะลำบากกาย เสี่ยงตายกลางป่า แต่ที่นี่ทำให้ “สหายร้อย” ได้เจอกับคู่ชีวิตของเขา “อัศนา วรรลยางกูร” ที่มาจากครอบครัวจีน... ที่นี่ เราไม่ได้ยินเสียงของความโดดเดี่ยวอ้างว้างของวัฒน์ เราเข้าใจเองว่าอย่างน้อยที่นี่ วัฒน์มีคนรัก และมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในป่าอยู่มากทีเดียว และมันเป็นช่วงเวลาแห่งความหวัง ... เป็นช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษาปัญญาชนกว่า 3,000 คนเข้าร่วมการปฏิวัติกับพรรคคอมมิวนิสต์
แม้เมื่อป่าแตก วัฒน์กลับคืนสู่นาคร แกก็ยังมั่นคงในอุดมการณ์เพื่อประชาชน ชีวิตของวัฒน์และคนในครอบครัวจึงได้รับกระทบอย่างจังเมื่อเกิดรัฐประหาร 2557 ... มันไม่ง่ายเลยเมื่อคุณต้องลี้ภัยไปต่างแดนในช่วงที่สังขารคุณกำลังโรยรา ต้องอยู่กับความกลัว หลบๆ ซ่อนๆ แม้เมื่อได้ย้ายไปฝรั่งเศส วัฒน์รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่เราเชื่อว่าความเหงาไม่ปรานีเขา ยิ่งร่างกายอ่อนแอความเหงาจะยิ่งทารุณกับคุณมากขึ้น วัฒน์ต้องห่างไกลจากลูกๆ ที่รักออกไปอีก เขาไม่ได้เจ็บคนเดียว แต่ลูกๆ ทางนี้ก็เจ็บปวดอย่างมากเช่นกัน
นี่คือความอยุติธรรมที่พวกเขา 4 ชีวิตเผชิญนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แต่พวกเขาจะเรียกร้องความหาความยุติธรรมนี้จากใครได้เล่า สักกี่คนในสังคมนี้อยากรับรู้เรื่องราวเหล่านี้กัน? แม้แต่คนที่เคยประกาศจะต่อสู้กับระบอบอยุติธรรมอย่างแข็งกร้าว ทุกวันนี้ก็พากันปกป้องโอบอุ้มระบอบนี้ไว้อย่างไร้อย่างอาย.. Dialogue with the Father ยังเตือนเราว่า ยังมีเพื่อนๆ น้องๆ อีกจำนวนมากที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ และอีกหลายคนที่ยังติดคุกอยู่ อย่าลืมพวกเขา
https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/9166119910105353