วันจันทร์, ธันวาคม 09, 2567

ร่างแก้พรบ.กลาโหม สกัดรัฐประหาร ฉบับ “สุทิน” เบาลงไปเลย เมื่อเทียบกับร่าง ฯของพรรคเพื่อไทย วัดใจ“ทักษิณ เดิมพันปฏิวัติ?


เดิมพันปฏิวัติ?พรบ.กห.ฉบับ“พท”แรง!ยึดอำนาจ7เสือกห.สกัดสืบทอดอำนาจกองทัพ-รปห.เทียบร่างสุทิน”วัดใจแม้ว

WassanaNanuam

Dec 8, 2024

พรบ.กห.ฉบับ“เพื่อไทย”แรง!ยึดอำนาจ7เสือกห.สกัดสืบทอดอำนาจกองทัพ-รัฐประหาร วัดใจ“ทักษิณ เทียบ ร่าง ฉบับ กห. ยุค“สุทิน”
 
ร่างแก้พรบ.กลาโหม สกัดรัฐประหาร ฉบับ “สุทิน” เบาลงไปเลย 
เมื่อเทียบกับร่าง ฯของพรรคเพื่อไทย 
เสนอ ให้ ส่งโผทหาร ที่ผ่านบอร์ด7 เสือกลาโหม แล้ว เข้า ครม. สกัดสืบทอดอำนาจในกองทัพ 
แก้ไข สัดส่วนทหาร ในสภากลาโหม 
ให้ “นายกฯ” เป็นประธาน สภากลาโหม 
กำหนด คุณสมบัติ นายพล 
มาตรา 35 สกัดรัฐประหาร 
ให้นายกฯสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ชั่วคราว -สอบสวน
ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการพักราชการ
เปิดช่อง ทหาร แข็งข้อ มีสิทธิไม่ร่วมรัฐประหาร ไม่ถือว่าผิดวินัยทหาร-กฎหมายอาญาทหาร 
ชี้ื รัฐประหาร เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
ท่าที กองทัพ ผบ.เหล่าทัพ กำลังถูกจับตามอง หลังจากมีรายงานข่าว ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ของพรรคเพื่อไทย ที่เนิ้อหา หนักกว่า ร่างของกลาโหม ในยุค นายสุทิน คลังแสง เป็น รมวกลาโหม ที่ให้ ทหารร่วมร่าง และแก้ไข และผ่านสภากลาโหม แล้ว
 
หลังมีรายงานข่าวจาก “มติชน” ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่ในส่วนของการรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77
 
ระบุว่า นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) และคณะ ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…) พ.ศ. … โดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็น เบื้องต้นได้รับคำวินิจฉัยจากประธานสภาว่าไม่เป็นร่างการเงิน
 
และได้เปิดรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568
 
ทั้งนี้ จากการเปิดรับฟังความเห็นมาแล้ว 4 วัน พบว่ามีผู้ให้ความสนใจ 11,230 คน เห็นด้วย 88.89% และไม่เห็นด้วย 11.11%
 
สำหรับหลักการและเหตุผลของการแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่า ให้อำนาจคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้น เพราะมองว่าการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 แม้จะมีการแต่งตั้งกรรมการที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นกรรมการ แต่การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลมีการวางตัวบุคคลที่เป็นพวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้สืบสาย เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่อไป
 
ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับนายทหารที่มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่ใช่พวกพ้องของผู้บัญชาการเหล่าทัพ
 
ข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างแก้ไข พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า คนที่ไม่ใช่พวกพ้องเสียโอกาสได้ก้าวหน้าในชีวิตราชการทหารและทำให้การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ขาดความโปร่งใส

ดังนั้น จึงควรให้อำนาจ ครม.เป็นผู้พิจารณา อีกทั้งควรปรับองค์ประกอบของกรรมการให้เหมาะสม รวมถึง องค์ประกอบของสภากลาโหม ให้หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นสมาชิกสภากลาโหม ให้นายกฯเป็นประธานสภากลาโหม แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตัดกองทัพ ออกจากสภากลาโหมบางส่วน ให้เหลือเพียง 1-2 คนก็เพียงพอ
 
ขณะที่ตัวร่าง พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขนั้น ยังได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายทหารชั้นนายพล มาตรา 25 ที่จะได้รับการแตั้งตั้งเป็นอย่างน้อยด้วย คือ 1.ไม่เคยมีพฤติกรรมเป็นผู้อิทธิพลหรือพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การค้ามนุษย์ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
 
2.ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับหน่วยย งานในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือประกอบธุรกิจหรือกิจการอันเกี่ยวข้องกับราชการกระทรวงกลาโหม
 
3.ไม่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือถูกดำเนินคดีอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หมิ่นประมาท หรือลหุโทษ
 
นอกจากนั้น ใยังเพิ่มเติมการจัดระเบียบปฏิบัติราชการทหารในมาตรา 35 ซึ่งเดิมกำหนดหน้าที่ทหารเพื่อปราบปรามจลาจล พบว่าร่างแก้ไขได้เพิ่ม ข้อห้ามใช้กำลังทหารหรือข้าราชการทหาร ในกรณีของการยึด หรือควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากรัฐบาลหรือเพื่อก่อการกบฏ รวมถึงขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนราชการต่างๆ ห้ามใช้เพื่อธุรกิจหรือกิจการอันเป็นประโยชน์ส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา และกระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายอื่นๆ
 
ทั้งนี้ ได้กำหนดด้วยว่า ข้าราชการทหารที่ได้รับคำสั่งให้ทำ ย่อมมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่ถือว่าผิดวินัยทหารหรือกฎหมายอาญาทหาร
 
รวมถึง ยังเพิ่มบทลงโทษนายทหารที่ฝ่าฝืนหรือพบการเตรียมการผิดมาตรา 35 ด้วยการหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ชั่วคราวตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการสอบสวนโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการพักราชการตามที่กฎหมายกำหนด
 
ทั้งนี้ ในสาระสำคัญของมาตรา 35 ที่เสนอแก้ไขนั้น ย้ำความสำคัญคือ เพื่อป้องกันไม่ให้ทหารได้ใช้อำนาจในทางที่ผิดและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุฃ

https://www.youtube.com/watch?v=QNGiNFUlUC0