8 ธันวาคม 2024
บีบีซีไทย
หลังกองกำลังกลุ่มกบฏได้เปิดฉากโจมตีรัฐบาลซีเรียครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่ากลุ่มกบฏซึ่งประจำการอยู่ในกรุงดามัสกัส ประกาศว่าเมืองหลวง "ปลอด" จากการปกครองอันยาวนานของบาชาร์ อัล-อัสซาด แล้ว หลังจากกองกำลังรัฐบาลถอนตัวออกไป
มีรายงานว่าอัสซาดได้ออกจากกรุงดามัสกัสโดยเครื่องบินไปยังจุดหมายปลายทางที่ไม่เปิดเผย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีเสียงปืนในใจกลางกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย ขณะที่กองกำลังกบฏที่ต่อต้านการปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยังคงรุกคืบอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
ฟุตเทจที่ยังไม่ได้รับการยืนยันซึ่งแชร์บนโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่ามีผู้ต้องขังนับพันคนได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำไซด์นายา สถานที่ซึ่งฝ่ายตรงข้ามของอัสซาดถูกทรมานและประหารชีวิต
ด้านนายกรัฐมนตรีซีเรียกล่าวว่าเขายังคงอยู่ในกรุงดามัสกัส และพร้อมที่จะช่วยทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประชาชน
ในสุนทรพจน์ที่ถ่ายทอดผ่านโซเชียลมีเดีย โมฮัมเหม็ด กาซี อัล-จาลาลี ยังกล่าวด้วยว่า ซีเรีย "สามารถเป็นประเทศปกติที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและโลกได้" เขายังกล่าวว่าจะให้ความร่วมมือกับผู้นำประเทศที่ประชาชนเป็นผู้เลือก
ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวว่ากำลังจับตามองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรีย
ขณะที่สถานการณ์ในซีเรียยังไม่แน่นอนนั้น บีบีซีไทยชวนย้อนกลับไปทำความรู้จักกับบาชาร์ อัล-อัสซาด
มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในชีวิตของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย แต่เหตุการณ์ที่อาจเรียกว่ามีอิทธิพลมากที่สุดคืออุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่ห่างไกลจากที่ที่เขาอาศัยอยู่หลายพันกิโลเมตร
แท้จริงแล้วบาชาร์ อัล-อัสซาด ไม่ได้ถูกวางตัวไว้ให้รับตำแหน่งสืบทอดอำนาจจากบิดา เส้นทางนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของบาเซล อัล-อัสซาด พี่ชายของเขา ในอุบัติเหตุทางรถยนต์ใกล้กรุงดามัสกัส ช่วงต้นปี 1994 ขณะนั้นบาชาร์กำลังศึกษาด้านจักษุวิทยาอยู่ในกรุงลอนดอน
หลังการเสียชีวิตของบาเซล มีการวางแผนเพื่อเตรียมให้น้องชายอย่างเขาพร้อมรับอำนาจในซีเรีย
ต่อมาเขาได้นำพาประเทศผ่านสงครามนองเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายแสนคนและทำให้ผู้คนอีกนับล้านต้องพลัดถิ่นฐาน
ทว่าบาชาร์ อัล-อัสซาดเปลี่ยนจากแพทย์ไปเป็นผู้นำเผด็จการที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมสงครามได้อย่างไร
มรดกของบิดา
หลังกองกำลังกลุ่มกบฏได้เปิดฉากโจมตีรัฐบาลซีเรียครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่ากลุ่มกบฏซึ่งประจำการอยู่ในกรุงดามัสกัส ประกาศว่าเมืองหลวง "ปลอด" จากการปกครองอันยาวนานของบาชาร์ อัล-อัสซาด แล้ว หลังจากกองกำลังรัฐบาลถอนตัวออกไป
มีรายงานว่าอัสซาดได้ออกจากกรุงดามัสกัสโดยเครื่องบินไปยังจุดหมายปลายทางที่ไม่เปิดเผย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีเสียงปืนในใจกลางกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย ขณะที่กองกำลังกบฏที่ต่อต้านการปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยังคงรุกคืบอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
ฟุตเทจที่ยังไม่ได้รับการยืนยันซึ่งแชร์บนโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่ามีผู้ต้องขังนับพันคนได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำไซด์นายา สถานที่ซึ่งฝ่ายตรงข้ามของอัสซาดถูกทรมานและประหารชีวิต
ด้านนายกรัฐมนตรีซีเรียกล่าวว่าเขายังคงอยู่ในกรุงดามัสกัส และพร้อมที่จะช่วยทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประชาชน
ในสุนทรพจน์ที่ถ่ายทอดผ่านโซเชียลมีเดีย โมฮัมเหม็ด กาซี อัล-จาลาลี ยังกล่าวด้วยว่า ซีเรีย "สามารถเป็นประเทศปกติที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและโลกได้" เขายังกล่าวว่าจะให้ความร่วมมือกับผู้นำประเทศที่ประชาชนเป็นผู้เลือก
ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวว่ากำลังจับตามองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรีย
ขณะที่สถานการณ์ในซีเรียยังไม่แน่นอนนั้น บีบีซีไทยชวนย้อนกลับไปทำความรู้จักกับบาชาร์ อัล-อัสซาด
มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในชีวิตของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย แต่เหตุการณ์ที่อาจเรียกว่ามีอิทธิพลมากที่สุดคืออุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่ห่างไกลจากที่ที่เขาอาศัยอยู่หลายพันกิโลเมตร
แท้จริงแล้วบาชาร์ อัล-อัสซาด ไม่ได้ถูกวางตัวไว้ให้รับตำแหน่งสืบทอดอำนาจจากบิดา เส้นทางนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของบาเซล อัล-อัสซาด พี่ชายของเขา ในอุบัติเหตุทางรถยนต์ใกล้กรุงดามัสกัส ช่วงต้นปี 1994 ขณะนั้นบาชาร์กำลังศึกษาด้านจักษุวิทยาอยู่ในกรุงลอนดอน
หลังการเสียชีวิตของบาเซล มีการวางแผนเพื่อเตรียมให้น้องชายอย่างเขาพร้อมรับอำนาจในซีเรีย
ต่อมาเขาได้นำพาประเทศผ่านสงครามนองเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายแสนคนและทำให้ผู้คนอีกนับล้านต้องพลัดถิ่นฐาน
ทว่าบาชาร์ อัล-อัสซาดเปลี่ยนจากแพทย์ไปเป็นผู้นำเผด็จการที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมสงครามได้อย่างไร
มรดกของบิดา
บิดาของอัสซาดอย่าง ฮาเฟซ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกือบสามสิบปี
บาชาร์ อัล-อัสซาด เกิดในปี 1965 โดยมีบิดาคือฮาเฟซ อัล-อัสซาด และมารดาคือ อนิสา มักห์ลูฟ
เขาเกิดมาในช่วงที่ซีเรียมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่นเดียวกับภูมิภาคตะวันออกกลาง และที่อื่นๆ ในขณะนั้น อุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับครอบงำการเมืองในภูมิภาคนี้ในหลายประเทศ และซีเรียก็ไม่แตกต่างกัน
พรรคบาธเข้ายึดอำนาจหลังจากความล้มเหลวของสหภาพชั่วคราวระหว่างอียิปต์และซีเรีย (1958–1961) และส่งเสริมวาทกรรมชาตินิยมอาหรับ เช่นเดียวกับประเทศอาหรับส่วนใหญ่ในยุคนั้น ซีเรียไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและไม่มีการเลือกตั้งแบบหลายพรรค
ชุมชนชาวมุสลิมนิกายอะละวี (Alawite) ซึ่งครอบครัวอัสซาดนับถือนั้น เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ด้อยโอกาสที่สุดในซีเรีย ความยากลำบากทางเศรษฐกิจทำให้สมาชิกจำนวนมากในชุมชนนี้เข้าร่วมกองทัพซีเรีย ฮาเฟซ อัล-อัสซาด โดดเด่นขึ้นมาในฐานะนายทหารและผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันของพรรคบาธ จนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี 1966
จากนั้น ฮาเฟซ อัล-อัสซาด รวบอำนาจและขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 1971 เขาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศนี้จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2000
ความยาวนานของการครองตำแหน่งนี้เป็นเรื่องน่าจดจำในประวัติศาสตร์หลังการประกาศเอกราชของซีเรีย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการรัฐประหารทางทหารหลายครั้ง
เขาปกครองด้วยความเด็ดขาด ปราบปรามฝ่ายต่อต้าน และปฏิเสธการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เขาแสดงความยืดหยุ่นในนโยบายต่างประเทศ โดยสร้างพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต แต่เข้าร่วมกับพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ ในสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991
การแพทย์และกรุงลอนดอน
บาชาร์พบกับอัสมา อัล-อัคราส ผู้ที่จะเป็นภรรยาในอนาคตของเขา ที่กรุงลอนดอน
บาชาร์ อัล-อัสซาด เลือกเส้นทางที่ทั้งแตกต่างและห่างไกลจากการเมืองและการทหาร โดยเขาตัดสินใจประกอบอาชีพในวงการแพทย์
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดามัสกัส เขาย้ายไปสหราชอาณาจักรในปี 1992 เพื่อศึกษาต่อด้านจักษุวิทยา (Ophthalmology) ที่โรงพยาบาล Western Eye Hospital ในกรุงลอนดอน
ตามสารคดีของบีบีซี ในปี 2018 เรื่อง "A Dangerous Dynasty: The Assads" [อาจแปลเป็นภาษาไทยว่า "ราชวงศ์อันตราย: ตระกูลอัสซาด"] บาชาร์ใช้ชีวิตในลอนดอนอย่างเพลิดเพลิน เขาชื่นชมฟิล คอลลินส์ นักร้องชาวอังกฤษ และเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในหลายด้าน
ณ กรุงลอนดอน บาชาร์ได้พบกับอัสมา อัล-อัคราส ผู้ที่จะเป็นภรรยาในอนาคตของเขา ตนนั้นอัสมากำลังศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่คิงส์คอลเลจลอนดอน และต่อมาได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในหลักสูตร MBA ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อย่างไรก็ตาม ชีวิตของเธอกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในไม่ช้า
ในฐานะบุตรคนที่สองของฮาเฟซ อัล-อัสซาด บาชาร์แทบไม่ได้รับความสนใจมากนักเมื่อเทียบกับบาเซล พี่ชายของเขา ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ผู้สืบทอดโดยชอบธรรม"
ทว่าการเสียชีวิตของบาเซลในเดือน ม.ค. 1994 เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของบาชาร์ไปอย่างสิ้นเชิง เขาถูกเรียกตัวกลับจากลอนดอนทันที นี่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมให้เขาเป็นผู้นำคนต่อไปของซีเรีย
บาชาร์เข้าร่วมกองทัพและเริ่มสร้างภาพลักษณ์ในที่สาธารณะ เพื่อเตรียมตัวสำหรับบทบาทในอนาคตของเขา
ความฝันแห่งการเปลี่ยนแปลง
บาชาร์ อัล-อัสซาด เลือกเส้นทางที่ทั้งแตกต่างและห่างไกลจากการเมืองและการทหาร โดยเขาตัดสินใจประกอบอาชีพในวงการแพทย์
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดามัสกัส เขาย้ายไปสหราชอาณาจักรในปี 1992 เพื่อศึกษาต่อด้านจักษุวิทยา (Ophthalmology) ที่โรงพยาบาล Western Eye Hospital ในกรุงลอนดอน
ตามสารคดีของบีบีซี ในปี 2018 เรื่อง "A Dangerous Dynasty: The Assads" [อาจแปลเป็นภาษาไทยว่า "ราชวงศ์อันตราย: ตระกูลอัสซาด"] บาชาร์ใช้ชีวิตในลอนดอนอย่างเพลิดเพลิน เขาชื่นชมฟิล คอลลินส์ นักร้องชาวอังกฤษ และเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในหลายด้าน
ณ กรุงลอนดอน บาชาร์ได้พบกับอัสมา อัล-อัคราส ผู้ที่จะเป็นภรรยาในอนาคตของเขา ตนนั้นอัสมากำลังศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่คิงส์คอลเลจลอนดอน และต่อมาได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในหลักสูตร MBA ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อย่างไรก็ตาม ชีวิตของเธอกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในไม่ช้า
ในฐานะบุตรคนที่สองของฮาเฟซ อัล-อัสซาด บาชาร์แทบไม่ได้รับความสนใจมากนักเมื่อเทียบกับบาเซล พี่ชายของเขา ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ผู้สืบทอดโดยชอบธรรม"
ทว่าการเสียชีวิตของบาเซลในเดือน ม.ค. 1994 เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของบาชาร์ไปอย่างสิ้นเชิง เขาถูกเรียกตัวกลับจากลอนดอนทันที นี่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมให้เขาเป็นผู้นำคนต่อไปของซีเรีย
บาชาร์เข้าร่วมกองทัพและเริ่มสร้างภาพลักษณ์ในที่สาธารณะ เพื่อเตรียมตัวสำหรับบทบาทในอนาคตของเขา
ความฝันแห่งการเปลี่ยนแปลง
ภาพถ่ายตระกูลอัสซาดที่ปกครองซีเรียมากว่าครึ่งศตวรรษ
ฮาเฟซ อัล-อัสซาดเสียชีวิตในเดือน มิ.ย. ปี 2000 และบาชาร์ วัย 34 ปีได้ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีอย่างรวดเร็ว หลังจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญซีเรียเพื่อลดเกณฑ์อายุขั้นต่ำลงจากเดิมซึ่งกำหนดไว้ที่ 40 ปี
บาชาร์ อัล-อัสซาด เข้าพิธีสาบานตนในฤดูร้อนปี 2000 โดยนำเสนอแนวทางทางการเมืองใหม่ ๆ เขากล่าวถึง "ความโปร่งใส ประชาธิปไตย การพัฒนา ความทันสมัย ความรับผิดชอบ และความคิดเชิงสถาบัน"
ไม่กี่เดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง บาชาร์ได้แต่งงานกับอัสมา อัล-อัคราส พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน ได้แก่ ฮาเฟซ, เซอิน และคาริม
ในช่วงแรก คำพูดของบาชาร์เกี่ยวกับการปฏิรูปทางการเมืองและเสรีภาพของสื่อสร้างความหวังให้กับชาวซีเรียจำนวนมาก รูปแบบการเป็นผู้นำของเขา ประกอบกับการศึกษาจากตะวันตกของอัสมา ดูราวกับเป็นสัญญาณของยุคสมัยใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง
ซีเรียได้สัมผัสรสชาติของการถกเถียงทางสังคมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เรียกว่า "ดามัสกัสสปริง" (ฤดูใบไม้ผลิดามัสกัส) ในห้วงเวลาสั้น ๆ ทว่าภายในปี 2001 กองกำลังความมั่นคงก็ได้กลับมาใช้มาตรการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อต้านอย่างเปิดเผย
บาชาร์เริ่มดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบจำกัดที่ส่งเสริมแค่การเติบโตของภาคเอกชน และในช่วงแรกของการเป็นประธานาธิบดีก็เป็นช่วงที่ลูกพี่ลูกน้องของเขาอย่าง รามี มักห์ลูฟ ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญ
มักห์ลูฟได้สร้างอาณาจักรเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งนักวิจารณ์มองว่าเป็นตัวอย่างของการผสานรวมระหว่างความมั่งคั่งและอำนาจ
อิรักและเลบานอน
การลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ราฟิก ฮารีรี เพิ่มแรงกดดันต่อบาชาร์ อัล-อัสซาดมากขึ้น
สงครามอิรักในปี 2003 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบาชาร์ อัล-อัสซาดกับรัฐบาลชาติตะวันตกเสื่อมลงอย่างมาก ประธานาธิบดีซีเรียคัดค้านการบุกอิรักที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งบางคนมองว่าเกิดจากความหวาดกลัวว่าสหรัฐฯ อาจมุ่งเป้าโจมตีซีเรียเป็นลำดับถัดไป
ด้านฝั่งของวอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าวหาซีเรียว่าทำเป็นมองไม่เห็นการลักลอบขนอาวุธให้กับกลุ่มกบฏที่ต่อต้านการยึดครองอิรักโดยสหรัฐฯ และปล่อยให้กลุ่มหัวรุนแรงข้ามพรมแดนยาวระหว่างสองประเทศ
ในเดือน ธ.ค. 2003 สหรัฐฯ ได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อซีเรียด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิรักเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับการที่ซีเรียเข้าไปปรากฏตัวในเลบานอนด้วย
ในเดือน ก.พ. 2005 อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ราฟิก ฮารีรี หนึ่งในผู้คัดค้านซีเรียคนสำคัญในเลบานอน ถูกลอบสังหารด้วยเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในใจกลางกรุงเบรุต หลายฝ่ายกล่าวกาว่าเป็นฝีมือซีเรียและพันธมิตรอย่างรวดเร็ว
การประท้วงครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในเลบานอน พร้อมกับแรงกดดันระหว่างประเทศที่มีต่อรัฐบาลซีเรียซึ่งนำไปสู่การถอนทหารซีเรียออกจากเลบานอน หลังมีการประจำการของทหารอยู่นานเกือบ 30 ปี
อย่างไรก็ตาม อัล-อัสซาดและพันธมิตรสำคัญในเลบานอนอย่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ยังคงปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารฮารีรี แม้ว่าศาลพิเศษระหว่างประเทศจะตัดสินในปี 2020 ว่าสมาชิกของฮิซบอลเลาะห์มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าวก็ตาม
อาหรับสปริง
สงครามอิรักในปี 2003 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบาชาร์ อัล-อัสซาดกับรัฐบาลชาติตะวันตกเสื่อมลงอย่างมาก ประธานาธิบดีซีเรียคัดค้านการบุกอิรักที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งบางคนมองว่าเกิดจากความหวาดกลัวว่าสหรัฐฯ อาจมุ่งเป้าโจมตีซีเรียเป็นลำดับถัดไป
ด้านฝั่งของวอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าวหาซีเรียว่าทำเป็นมองไม่เห็นการลักลอบขนอาวุธให้กับกลุ่มกบฏที่ต่อต้านการยึดครองอิรักโดยสหรัฐฯ และปล่อยให้กลุ่มหัวรุนแรงข้ามพรมแดนยาวระหว่างสองประเทศ
ในเดือน ธ.ค. 2003 สหรัฐฯ ได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อซีเรียด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิรักเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับการที่ซีเรียเข้าไปปรากฏตัวในเลบานอนด้วย
ในเดือน ก.พ. 2005 อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ราฟิก ฮารีรี หนึ่งในผู้คัดค้านซีเรียคนสำคัญในเลบานอน ถูกลอบสังหารด้วยเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในใจกลางกรุงเบรุต หลายฝ่ายกล่าวกาว่าเป็นฝีมือซีเรียและพันธมิตรอย่างรวดเร็ว
การประท้วงครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในเลบานอน พร้อมกับแรงกดดันระหว่างประเทศที่มีต่อรัฐบาลซีเรียซึ่งนำไปสู่การถอนทหารซีเรียออกจากเลบานอน หลังมีการประจำการของทหารอยู่นานเกือบ 30 ปี
อย่างไรก็ตาม อัล-อัสซาดและพันธมิตรสำคัญในเลบานอนอย่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ยังคงปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารฮารีรี แม้ว่าศาลพิเศษระหว่างประเทศจะตัดสินในปี 2020 ว่าสมาชิกของฮิซบอลเลาะห์มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าวก็ตาม
อาหรับสปริง
กระแสการประท้วง "อาหรับสปริง" แผ่ขยายมาถึงซีเรียในปี 2011
ในช่วงทศวรรษแรกของการปกครองโดยบาชาร์ อัล-อัสซาด มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของซีเรียกับอิหร่าน และกระชับความสัมพันธ์กับกาตาร์และตุรกี ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ความสัมพันธ์กับซาอุดีอาระเบียมีทั้งช่วงที่ดีขึ้นและแย่ลง แม้ในช่วงแรก รัฐบาลซาอุฯ จะสนับสนุนประธานาธิบดีหนุ่มคนนี้ก็ตาม
โดยรวมแล้ว บาชาร์ อัล-อัสซาด ดำเนินนโยบายต่างประเทศตามรอยบิดา คือใช้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางทหารโดยตรง
หลังจากครองอำนาจมา 10 ปี ก็สามารถใช้คำว่าเผด็จการกับแนวทางการปกครองของอัสซาดได้ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามกับเขายังถูกปราบปรามตลอด
ในเดือน ธ.ค. 2010 อัสมา อัล-อัสซาด ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Vogue โดยกล่าวว่าประเทศของเธอบริหารด้วยวิถี "ประชาธิปไตย"
ในวันเดียวกันนั้นเอง โมฮัมเหม็ด บูอาซีซี ผู้ขายผักในตูนิเซียจุดไฟเผาตัวเองหลังถูกตบหน้าจากตำรวจหญิง จุดประกายการลุกฮือในตูนิเซียที่นำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีซีน เอล-อาบิดีน เบน อาลี
การลุกฮือในตูนิเซียได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับขบวนการปฏิวัติทั่วโลกอาหรับ โดยขยายไปถึงอียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน และซีเรีย
บทสัมภาษณ์ของ Vogue ซึ่งตีพิมพ์ในเดือน มี.ค. 2011 ภายใต้หัวข้อ "A Rose in the Desert" (ดอกกุหลาบในทะเลทราย) ซึ่งให้คำจัดความซีเรียว่าเป็น "ประเทศที่ปราศจากการระเบิด ความตึงเครียด และการลักพาตัว" ถูกถอนออกในภายหลัง และภาพลักษณ์ที่ดีเหล่านี้ก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในไม่กี่เดือนถัดมา
กลางเดือน มี.ค. มีการประท้วงเกิดขึ้นในกรุงดามัสกัส และไม่กี่วันต่อมา การชุมนุมเริ่มต้นขึ้นในเมืองดารา ทางตอนใต้ หลังจากเด็กหลายคนถูกจับกุมเพราะเขียนข้อความต่อต้านอัสซาดบนกำแพง
อัสซาดใช้เวลาสองสัปดาห์ก่อนจะกล่าวปราศรัยกับประชาชน ในที่ประชุมรัฐสภา เขาสัญญาว่าจะจัดการกับสิ่งที่เขาเรียกว่า "แผนสมคบคิด" ที่มุ่งเป้าไปยังซีเรีย พร้อมยอมรับว่าความต้องการของประชาชนจำนวนมากยังไม่ได้รับการตอบสนอง
การยิงผู้ชุมนุมในเมืองดาราโดยกองกำลังความมั่นคงทำให้การประท้วงยิ่งรุนแรงขึ้น และนำไปสู่การเรียกร้องให้บาชาร์ อัล-อัสซาดลาออกในหลายเมือง รัฐบาลตอบโต้ด้วยความรุนแรง โดยกล่าวโทษ "ผู้ก่อวินาศกรรมและผู้แทรกแซงที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังต่างชาติ"
ภายในไม่กี่เดือน สถานการณ์ได้ยกระดับไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มฝ่ายค้านที่จับอาวุธขึ้นทั่วประเทศ
การแทรกแซงระหว่างประเทศ, กลุ่มญิฮาด และอาชญากรรมสงคราม
เมืองหลายแห่งในซีเรียถูกทำลายล้างจากสงครามที่ยาวนานกว่าทศวรรษ
เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น การประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตของสหประชาชาติพุ่งขึ้นจากหลักหมื่นเป็นหลักแสน ท่ามกลางการเข้ามาเกี่ยวข้องของมหาอำนาจระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
รัสเซีย อิหร่าน และกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านเข้าแทรกแซงเพื่อสนับสนุนกองกำลังของอัสซาด ขณะที่ตุรกีและรัฐในอ่าวอาหรับให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏฝ่ายต่อต้าน
แม้ว่าการประท้วงต่อต้านอัสซาดในช่วงแรกจะเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพสำหรับทุกคน แต่ความขัดแย้งทางนิกายก็ปรากฏขึ้นในไม่ช้า และกลุ่มฝ่ายค้านบางกลุ่มกล่าวหาว่ารัฐบาลลำเอียงสนับสนุนชาวอะลาวีมากกว่าชาวสุหนี่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่
การแทรกแซงจากภูมิภาคยิ่งทำให้ความแตกแยกทางนิกายลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลุ่มอิสลามิสต์บางกลุ่มใช้วาทกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชาวอะลาวี ขณะที่กองกำลังติดอาวุธชีอะห์ที่ภักดีต่ออิหร่าน นำโดยกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ หลั่งไหลเข้าสู่ซีเรียเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอัสซาด
ในอิรักที่อยู่ใกล้เคียง กลุ่มหัวรุนแรงที่ตีความกฎหมายอิสลามอย่างเคร่งครัดกำลังผงาดขึ้น นั่นคือกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) กลุ่มนี้ฉวยโอกาสจากสงครามกลางเมืองเพื่อยึดดินแดนในซีเรีย และประกาศให้เมืองรักกาในภาคตะวันออกเป็นเมืองหลวง
ในเดือน ส.ค. 2013 มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนจากการโจมตีด้วยอาวุธเคมีในเขตกูตาตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายต่อต้านยึดครองอยู่ใกล้กรุงดามัสกัส
ด้านมหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มฝ่ายค้านในซีเรียกล่าวโทษระบอบการปกครองของอัสซาดว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้ แม้รัฐบาลซีเรียจะปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็ยอมตกลงที่จะรื้อคลังอาวุธเคมีของตนภายใต้แรงกดดันและคำขู่จากนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม การกระทำอันโหดร้ายของสงครามซีเรียไม่ได้สิ้นสุดลง รวมถึงการโจมตีด้วยอาวุธเคมีอีกหลายครั้ง คณะกรรมาธิการของสหประชาชาติกล่าวหาทุกฝ่ายในความขัดแย้งว่าได้ก่ออาชญากรรมสงคราม เช่น การฆาตกรรม การทรมาน และการข่มขืน
ภายในปี 2015 รัฐบาลของอัสซาดดูเหมือนจะใกล้ล่มสลาย หลังสูญเสียการควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางทหารโดยรัสเซียได้พลิกสถานการณ์ ช่วยให้อัสซาดยึดคืนพื้นที่สำคัญได้อีกครั้ง
สงครามกาซา
กองกำลังฝ่ายค้านได้รุกคืบอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
ข้อตกลงระดับภูมิภาคและนานาชาติ ระหว่างปี 2018 ถึง 2020 ได้ช่วยสร้างสถานการณ์ที่กองกำลังรัฐบาลสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของซีเรีย ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านอิสลามิสต์และกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดแบ่งการควบคุมในพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยเสริมสถานะของอัสซาด และเขาค่อย ๆ กลับเข้าสู่เวทีการทูตของโลกอาหรับ อาทิ ซีเรียกลับเข้าร่วมสันนิบาตอาหรับในปี 2023 และประเทศอาหรับหลายประเทศเปิดสถานทูตในกรุงดามัสกัสอีกครั้ง
แม้วิกฤตเศรษฐกิจของซีเรียจะแย่ลงในทศวรรษที่สามของการปกครองโดยอัสซาด แต่ประธานาธิบดีก็ดูเหมือนจะรอดพ้นจากความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในเดือน ต.ค. 2023 กลุ่มฮามาสได้โจมตีอิสราเอลอย่างไม่คาดคิด จุดชนวนให้เกิดสงครามในฉนวนกาซา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงเลบานอน โดยเฉพาะพันธมิตรของอัสซาดอย่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
ความขัดแย้งดังกล่าวสร้างความสูญเสียอย่างหนักให้กับฮิซบอลเลาะห์ รวมถึงการเสียชีวิตของผู้นำ ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์
ในวันเดียวกับที่การหยุดยิงมีผลในเลบานอน กลุ่มฝ่ายค้านซีเรียที่นำโดยกลุ่มอิสลามิสต์ ฮายัต ตะห์รีร อัล-ชาม (HTS) ได้เปิดการโจมตีอย่างไม่คาดคิด และยึดเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ อเลปโป อย่างรวดเร็ว
ฝ่ายต่อต้านรุกคืบอย่างรวดเร็ว ยึดเมืองฮามาและเมืองอื่น ๆ ขณะที่พื้นที่ทางตอนใต้หลุดจากการควบคุมของรัฐบาล
สถานะของอัสซาดดูเหมือนจะตกอยู่ในความเสี่ยง และแม้แต่พันธมิตรสำคัญอย่างอิหร่านและรัสเซียก็อาจไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้
ตอนนี้คำถามสำคัญกลับมาอีกครั้งทั้งในซีเรียและทั่วโลกว่า "อัสซาดจะรอดหรือไม่ ? หรือการปกครองของเขาได้สิ้นสุดลงแล้ว ?"
https://www.bbc.com/thai/articles/cdr008142l7o
ข้อตกลงระดับภูมิภาคและนานาชาติ ระหว่างปี 2018 ถึง 2020 ได้ช่วยสร้างสถานการณ์ที่กองกำลังรัฐบาลสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของซีเรีย ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านอิสลามิสต์และกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดแบ่งการควบคุมในพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยเสริมสถานะของอัสซาด และเขาค่อย ๆ กลับเข้าสู่เวทีการทูตของโลกอาหรับ อาทิ ซีเรียกลับเข้าร่วมสันนิบาตอาหรับในปี 2023 และประเทศอาหรับหลายประเทศเปิดสถานทูตในกรุงดามัสกัสอีกครั้ง
แม้วิกฤตเศรษฐกิจของซีเรียจะแย่ลงในทศวรรษที่สามของการปกครองโดยอัสซาด แต่ประธานาธิบดีก็ดูเหมือนจะรอดพ้นจากความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในเดือน ต.ค. 2023 กลุ่มฮามาสได้โจมตีอิสราเอลอย่างไม่คาดคิด จุดชนวนให้เกิดสงครามในฉนวนกาซา ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงเลบานอน โดยเฉพาะพันธมิตรของอัสซาดอย่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
ความขัดแย้งดังกล่าวสร้างความสูญเสียอย่างหนักให้กับฮิซบอลเลาะห์ รวมถึงการเสียชีวิตของผู้นำ ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์
ในวันเดียวกับที่การหยุดยิงมีผลในเลบานอน กลุ่มฝ่ายค้านซีเรียที่นำโดยกลุ่มอิสลามิสต์ ฮายัต ตะห์รีร อัล-ชาม (HTS) ได้เปิดการโจมตีอย่างไม่คาดคิด และยึดเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ อเลปโป อย่างรวดเร็ว
ฝ่ายต่อต้านรุกคืบอย่างรวดเร็ว ยึดเมืองฮามาและเมืองอื่น ๆ ขณะที่พื้นที่ทางตอนใต้หลุดจากการควบคุมของรัฐบาล
สถานะของอัสซาดดูเหมือนจะตกอยู่ในความเสี่ยง และแม้แต่พันธมิตรสำคัญอย่างอิหร่านและรัสเซียก็อาจไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้
ตอนนี้คำถามสำคัญกลับมาอีกครั้งทั้งในซีเรียและทั่วโลกว่า "อัสซาดจะรอดหรือไม่ ? หรือการปกครองของเขาได้สิ้นสุดลงแล้ว ?"
https://www.bbc.com/thai/articles/cdr008142l7o